“กมล” เก็บหลักสูตรยุค “ภาวิช” ขึ้นหิ้งเปรียบเป็นงานวิจัย ชี้ กพฐ. และครูเห็นสอดคล้องไม่ถึงเวลาปรับใหญ่ ชี้ปฏิรูปใหม่ต้องดูทิศทางปฏิรูปประเทศเมื่อ สปช. เกิดเพื่อรู้คุณลักษณะคนที่พึ่งประสงค์
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเตรียมการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และได้ข้อสรุปว่าวิชาหน้าที่พลเมืองในสาระเกี่ยวกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยนั้น สพฐ. กับ กกต. ตกลงร่วมกันว่าจะใช้เนื้อหาของ กกต. ส่วนความคืบหน้าในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ เร็วๆ นี้ จะมีการอบรมครูแกนนำ จำนวน 1,200 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 4 รุ่น โดย 2 รุ่นแรก จะอบรมอยู่ในกรุงเทพฯ อีก 2 รุ่นไปอบรมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สำหรับกิจกรรมระหว่างอบรมจะพาครูแกนนำไปทัศนศึกษายังโบราณสถานและแหล่งประวัติศาสตร์ด้วย เพื่อให้ครูแกนนำได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และฝึกทักษะการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไปในตัว โดยการอบรมดังกล่าวจะเริ่มช่วงปลายเดือนกันยายนนี้
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าในการจัดทำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มี ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น ที่ผ่านมา สพฐ. ได้จ่ายเงินค่าจ้างดำเนินการจัดทำหลักสูตรไปแล้ว ประมาณ 85 % ของจำนวนเงินทั้งหมด เหลืออีกประมาณ 15 % ที่ สพฐ. จะต้องจ่ายหลังจากที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ได้ยกร่างหลักสูตรเสร็จสิ้น และส่งมอบให้ สพฐ. ซึ่งมีกำหนด ในเดือนธันวาคม 2557 นี้
“ที่ผ่านมา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เคยวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของร่างหลักสูตรดังกล่าวไปบ้างแล้ว และขอให้ไปปรับแก้ไข และกพฐ. ส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการ และครูผู้สอน ที่เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรทั้งระบบ แต่เห็นว่าควรจะมีการทบทวนและปรับในรายละเอียดเป็นรายวิชา อาทิ วิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง หรือแม้แต่หลักสูตรที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เหล่านี้ที่ควรจะมีการปรับเนื้อหาเป็นระยะ ดังนั้น ขณะนี้ในส่วนของ สพฐ. จึงทำเฉพาะการปรับย่อยแต่ถ้าจะปรับอีกทีก็ควรจะรอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกิดก่อน เพื่อให้รู้แนวทางการปฏิรูปประเทศว่าต้องการสร้างคนที่มีคุณลักษณะเช่นไร ถึงเวลานั้น ก็คงต้องมาปฏิรูปหลักสูตรกันอีกครั้งหนึ่ง ส่วนร่างหลักสูตรที่มีการจัดทำนั้นก็เปรียบเสมือนงานวิจัยที่ สพฐ. คงนำไว้เป็นข้อมูลต่อไป ในอนาคต”เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
allowtransparency="true">
;appId=307996899004" scrolling="no" frameborder="0" style="border:none; overflow:hidden; width:450px;
height:590px;" allowTransparency="true">
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเตรียมการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือร่วมกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และได้ข้อสรุปว่าวิชาหน้าที่พลเมืองในสาระเกี่ยวกับการปกครองในระบบประชาธิปไตยนั้น สพฐ. กับ กกต. ตกลงร่วมกันว่าจะใช้เนื้อหาของ กกต. ส่วนความคืบหน้าในการสอนวิชาประวัติศาสตร์ เร็วๆ นี้ จะมีการอบรมครูแกนนำ จำนวน 1,200 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 4 รุ่น โดย 2 รุ่นแรก จะอบรมอยู่ในกรุงเทพฯ อีก 2 รุ่นไปอบรมที่ จ.พระนครศรีอยุธยา สำหรับกิจกรรมระหว่างอบรมจะพาครูแกนนำไปทัศนศึกษายังโบราณสถานและแหล่งประวัติศาสตร์ด้วย เพื่อให้ครูแกนนำได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และฝึกทักษะการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไปในตัว โดยการอบรมดังกล่าวจะเริ่มช่วงปลายเดือนกันยายนนี้
นายกมล กล่าวต่อว่า ส่วนความคืบหน้าในการจัดทำร่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มี ศ.(พิเศษ) ภาวิช ทองโรจน์ เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน นั้น ที่ผ่านมา สพฐ. ได้จ่ายเงินค่าจ้างดำเนินการจัดทำหลักสูตรไปแล้ว ประมาณ 85 % ของจำนวนเงินทั้งหมด เหลืออีกประมาณ 15 % ที่ สพฐ. จะต้องจ่ายหลังจากที่ ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ได้ยกร่างหลักสูตรเสร็จสิ้น และส่งมอบให้ สพฐ. ซึ่งมีกำหนด ในเดือนธันวาคม 2557 นี้
“ที่ผ่านมา คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เคยวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ของร่างหลักสูตรดังกล่าวไปบ้างแล้ว และขอให้ไปปรับแก้ไข และกพฐ. ส่วนใหญ่เห็นว่ายังไม่ถึงเวลาต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักวิชาการ และครูผู้สอน ที่เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องปรับหลักสูตรทั้งระบบ แต่เห็นว่าควรจะมีการทบทวนและปรับในรายละเอียดเป็นรายวิชา อาทิ วิชาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง หรือแม้แต่หลักสูตรที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เหล่านี้ที่ควรจะมีการปรับเนื้อหาเป็นระยะ ดังนั้น ขณะนี้ในส่วนของ สพฐ. จึงทำเฉพาะการปรับย่อยแต่ถ้าจะปรับอีกทีก็ควรจะรอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกิดก่อน เพื่อให้รู้แนวทางการปฏิรูปประเทศว่าต้องการสร้างคนที่มีคุณลักษณะเช่นไร ถึงเวลานั้น ก็คงต้องมาปฏิรูปหลักสูตรกันอีกครั้งหนึ่ง ส่วนร่างหลักสูตรที่มีการจัดทำนั้นก็เปรียบเสมือนงานวิจัยที่ สพฐ. คงนำไว้เป็นข้อมูลต่อไป ในอนาคต”เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook
Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
allowtransparency="true">
;appId=307996899004" scrolling="no" frameborder="0" style="border:none; overflow:hidden; width:450px;
height:590px;" allowTransparency="true">