เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการตอบโต้กันเป็นกลอนในสังคมออนไลน์ระหว่างผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเรื่องการศึกษาของเยาวชนไทย การตอบโต้กันนั้นทำให้ผมนึกถึงภาพซึ่งเก็บไว้ในแฟ้ม จึงนำมาขึ้นหน้าสังคมออนไลน์ให้ชมกัน เป็นรูปนักเรียนห้อยโหนและนั่งบนหลังคารถกระบะซึ่งถูกดัดแปลงมาใช้เป็นรถโดยสาร ผมเขียนแนบว่ารูปนั้นสะท้อนสภาพการศึกษาไทยพร้อมกับแสดงความรู้สึกอึดอัดใจและฝากให้ สปช.เร่งเสนอการแก้ไขก่อนที่จะพากันไปดูงานต่างประเทศ เพียงไม่นานการวิจารณ์ก็ตามมาซึ่งพอสรุปได้ว่า ระบบการศึกษาไทยไม่ประสบผลสำเร็จ ทั้งที่มีงบประมาณจำนวนมหาศาลด้วยเหตุปัจจัยพื้นฐานหลายอย่าง
รายงานจากแหล่งต่างๆ ชี้บ่งว่า เมื่อพูดถึงการศึกษาของเยาวชนไทย ประเด็นที่ได้รับการมุ่งเน้นเป็นเพียงเรื่องการศึกษาในสถาบัน จึงเป็นการพูดกันในกรอบอันจำกัดมากเนื่องจากการศึกษามิได้เกิดขึ้นเฉพาะในสถาบันเท่านั้น ตรงข้าม การศึกษาส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายนอกสถาบัน โดยเฉพาะการปูฐานทางศีลธรรมจรรยาและหน้าที่พลเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค หรือสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเสียอีก
เพราะอะไร?
เพราะถ้าผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคต่างๆ ขาดศีลธรรมจรรยาและการทำหน้าที่พลเมืองอย่างครบถ้วน เขาจะใช้ความเชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไปในทางไม่เหมาะสม สังคมไทยเราเห็นกันอยู่เป็นประจำมานานแล้วมิใช่หรือ?
การปูฐานทางศีลธรรมจรรยาและหน้าที่พลเมืองมิได้มาจากการท่องตำราในสถาบันแบบท่องศีลห้า หรือบทอาขยาน หากมาจากการเห็นตัวอย่างที่ดีในสังคมรอบด้าน เริ่มจากในบ้านและชุมชนไปจนถึงในสถาบันการศึกษาและโลกกว้างซึ่งรวมทั้งในและนอกประเทศ ประเด็นหลักจึงอยู่ที่ในขณะนี้เยาวชนมีตัวอย่างที่ดีแค่ไหนโดยมองแค่ในเมืองไทยก็พอ ขอยกตัวอย่างบางกรณี
สภาพภายในบ้าน หรือครอบครัวเป็นอย่างไรในยุคนี้คงสรุปได้ทันทีว่ามีหลากหลายและส่วนที่ไม่น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีมีสูงมากหากดูจากอัตราการแตกแยกในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น
ในชุมชนและสังคมรอบด้าน การละเมิดกฎเกณฑ์ต่างๆ มีอย่างแพร่หลาย จากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ย้อนศรและการทิ้งสิ่งของลงบนถนนไปจนถึงการฉ้อฉลสารพัดรวมทั้งการฉ้อราษฎร์บังหลวง การสรรเสริญบุคคลที่ฉ้อฉลว่าดีเพราะเขามีเงินเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง สิ่งเหล่านี้มีให้เยาวชนเห็นเป็นรายวัน ฉะนั้น พวกเขาย่อมมองว่ากฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาหามีความสำคัญไม่และความฉ้อฉลมีโอกาสทำให้ได้รับการสรรเสริญ
ในสถาบันการศึกษาก็เช่นกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมออนไลน์มีภาพและข่าวหลายต่อหลายอย่าง รวมทั้งภาพครูคุยกันตลอดเวลาในขณะที่นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์และนั่งฟังครูอยู่ที่หน้าเสาธง เรื่องผู้บริหารสถาบันการศึกษาทำกิจการขายตรงในโรงเรียน และเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ไร้ยางอายเพราะใช้หลักการ “จ่ายครบจบแน่”
ในเมื่อสิ่งที่เยาวชนเห็นเป็นเสียเช่นนี้ เราจะหวังให้เยาวชนดีขึ้นมากกว่าสภาพที่เขาเห็นอยู่เป็นประจำย่อมเป็นไปได้ยาก รวมความว่า การปฏิรูปการศึกษาดังที่เคยทำมาในวงแคบๆ ไม่มีทางบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์หากสังคมรอบด้านมิได้รับการปฏิวัติให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญพร้อมๆ กันด้วย
ผลของการปฏิรูปการศึกษาโดยปราศจากการปฏิวัติทั่วไปมีตัวอย่างให้ดูอยู่แล้วจากการปฏิรูปครั้งใหญ่เมื่อหลายปีก่อน ผลของการปฏิรูปครั้งนั้นได้แก่การเพิ่มตำแหน่งใหญ่ๆ ที่ได้รับเงินเดือนสูงขึ้นมากจากในทรวงศึกษาธิการไปจนถึงสำนักงานเขตการศึกษาซึ่งตั้งขึ้นมาเกลื่อนปานดอกเห็ด งบประมาณจำนวนมากถูกลากไปใช้ในเรื่องไร้สาระ เช่น เมื่อผู้มีตำแหน่งใหญ่ๆ ไม่มีงานทำมากพอก็ไปกดดันให้ครูต้องทำรายงานเพิ่มบ้าง อบรมสัมมนาตามรีสอร์ตหรูหราบ้าง เชิญให้ไปช่วยงานนอกหน้าที่บ้าง ต้อนรับขับสู้อย่างเต็มที่ในพิธีไปเยี่ยมเยียนบ้าง ทั้งหลายทั้งปวงรวมกันเป็นการลดทอนเวลาของการเรียนการสอน นอกจากนั้น ยังมีการใช้จ่ายจำพวกสร้างป้ายชื่อโรงเรียนและสำนักงานเขตการศึกษาขนาดยักษ์อีกด้วย ภาพที่แนบมาเป็นของโรงเรียนบ้านกันจาน โรงเรียนชั้นประถมแห่งนั้นมีนักเรียนเพียง 45 คนซึ่งคงได้งบประมาณไม่มากนัก แต่ต้องถูกหักไปทำสิ่งที่ไม่มีผลดีต่อการเรียนการสอนเลยแม้แต่น้อย
อีกสองภาพเป็นป้ายชื่อเขตการศึกษาและสำนักงานให้บริการการศึกษาที่เลยและที่บุรีรัมย์ การทำป้ายแบบนี้มีอย่างแพร่หลาย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เน้นพิธีกรรมและขึ้นป้ายถ่ายรูปแทนการทำงานที่มีสาระ
อย่างแท้จริง วัฒนธรรมนี้มีแต่ความฉาบฉวยและมักง่ายที่แพร่กระจายไปทั่วทุกหัวระแหงของสังคมไทย ผลที่ออกมาจึงยังเป็นความไร้ประสิทธิภาพของการศึกษาในสถาบันเช่นเดิม
อนึ่ง ภาพแรกที่เห็นนักเรียนห้อยโหนและนั่งบนหลังคารถกระบะนั้นสะท้อนอะไรต่อมิอะไรที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญหาในการศึกษาของยาวชน เช่น ผู้ใหญ่ต้องการให้ลูกหลานไปเรียนที่โรงเรียนในเมืองเนื่องจากมองว่าลูกหลานจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่าการเรียนในโรงเรียนของชุมชน ปัจจัยที่ทำให้ผู้ใหญ่มองเช่นนั้นอาจเป็นเพียงค่านิยม หรืออาจเป็นเรื่องพื้นฐานซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงก็ได้
ค่านิยมอาจเกิดจากการเข้าใจผิด หรือการคิดว่าการศึกษาเกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน เมื่อเด็กอยู่ที่บ้านซึ่งมากกว่าการอยู่ในโรงเรียนหลายเท่า พวกเขาจึงมิได้รับความเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ซึ่งมักมุ่งหน้าหารายได้ หรือไม่ก็
ใช้เวลาหมดไปกับการสันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งวงเหล้า เล่นการพนัน หรือการดูละครโทรทัศน์ในยามค่ำคืนจนดึกดื่นและติดงอมแงม
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า กระบวนการพัฒนานำมาซึ่งอัตราการเกิดที่ต่ำลง เมื่อจำนวนเด็กในชุมชนลดลง ทางราชการก็ส่งครูและงบประมาณไปให้น้อยลง ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในระดับเดียวกันกับของโรงเรียนในเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เมื่อผู้ใหญ่ส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนในเมืองมากขึ้น โรงเรียนในชุมชนก็ยิ่งได้ครูและงบประมาณน้อยลงไปอีก อันเป็นการสร้างวังวนที่มีแต่ผลร้าย ยิ่งถ้าการบริหารจัดการโรงเรียนในชุมชนเป็นไปแบบเช้าชามเย็นชาม หรือการจ้างงานเป็นไปตามความพอใจของผู้มีอิทธิพลในชุมชนด้วยแล้ว วังวนนี้จะเป็นวงจรอัปรีย์ที่จะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมและการปิดโรงเรียนโดยปราศจากเหตุผลเบื้องต้นที่เหมาะสม
ในภาพ รถยนต์วิ่งไปตามถนนซึ่งแสดงว่าชุมชนมีถนนเข้าไปถึง การมีถนนเป็นผลของการพัฒนาที่ผ่านมา ถนนเอื้อให้การขนส่งผลิตผลของชุมชนไปยังตลาดง่ายขึ้นและการสัญจรไปมาสะดวกขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เป็นผลดีต่อโรงเรียนในชุมชนและประชาชนที่นั่น เช่น การตัดสินใจส่งเด็กไปเรียนในเมืองเนื่องจากค่านิยม ความปลอดภัยของเด็กมักถูกมองข้ามเพราะผู้มีอิทธิพลในชุมชนเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารซึ่งแม้แต่ข้าราชการตำรวจก็ยังเกรงใจ
ตอนนี้เรามี สปช.ซึ่งสมาชิกกลุ่มใหญ่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะ ทุกท่านมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ล้นเหลือ ฉะนั้น ท่านคงลงมือทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการไปดูงานต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หวังว่าท่านคงมองการศึกษาให้ครอบคลุมมากกว่าการเรียนในสถาบัน และการปฏิรูปการศึกษานั้นจะไม่มีทางสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหากสังคมทุกด้านซึ่งกำลังมีปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างสาหัสมิได้รับการปฏิวัติแบบขุดรากถอนโคนด้วย นั่นเป็นงานที่ท่านต้องสื่อกับสมาชิก สปช.อีก 10 กลุ่ม กับรัฐบาล และกับสังคมทั่วไปให้พวกเขาเข้าใจและเห็นคล้อยตาม
รายงานจากแหล่งต่างๆ ชี้บ่งว่า เมื่อพูดถึงการศึกษาของเยาวชนไทย ประเด็นที่ได้รับการมุ่งเน้นเป็นเพียงเรื่องการศึกษาในสถาบัน จึงเป็นการพูดกันในกรอบอันจำกัดมากเนื่องจากการศึกษามิได้เกิดขึ้นเฉพาะในสถาบันเท่านั้น ตรงข้าม การศึกษาส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายนอกสถาบัน โดยเฉพาะการปูฐานทางศีลธรรมจรรยาและหน้าที่พลเมืองซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่งกว่าความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค หรือสิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเสียอีก
เพราะอะไร?
เพราะถ้าผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคต่างๆ ขาดศีลธรรมจรรยาและการทำหน้าที่พลเมืองอย่างครบถ้วน เขาจะใช้ความเชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไปในทางไม่เหมาะสม สังคมไทยเราเห็นกันอยู่เป็นประจำมานานแล้วมิใช่หรือ?
การปูฐานทางศีลธรรมจรรยาและหน้าที่พลเมืองมิได้มาจากการท่องตำราในสถาบันแบบท่องศีลห้า หรือบทอาขยาน หากมาจากการเห็นตัวอย่างที่ดีในสังคมรอบด้าน เริ่มจากในบ้านและชุมชนไปจนถึงในสถาบันการศึกษาและโลกกว้างซึ่งรวมทั้งในและนอกประเทศ ประเด็นหลักจึงอยู่ที่ในขณะนี้เยาวชนมีตัวอย่างที่ดีแค่ไหนโดยมองแค่ในเมืองไทยก็พอ ขอยกตัวอย่างบางกรณี
สภาพภายในบ้าน หรือครอบครัวเป็นอย่างไรในยุคนี้คงสรุปได้ทันทีว่ามีหลากหลายและส่วนที่ไม่น่าจะเป็นต้นแบบที่ดีมีสูงมากหากดูจากอัตราการแตกแยกในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น
ในชุมชนและสังคมรอบด้าน การละเมิดกฎเกณฑ์ต่างๆ มีอย่างแพร่หลาย จากการขับขี่มอเตอร์ไซค์ย้อนศรและการทิ้งสิ่งของลงบนถนนไปจนถึงการฉ้อฉลสารพัดรวมทั้งการฉ้อราษฎร์บังหลวง การสรรเสริญบุคคลที่ฉ้อฉลว่าดีเพราะเขามีเงินเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง สิ่งเหล่านี้มีให้เยาวชนเห็นเป็นรายวัน ฉะนั้น พวกเขาย่อมมองว่ากฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาหามีความสำคัญไม่และความฉ้อฉลมีโอกาสทำให้ได้รับการสรรเสริญ
ในสถาบันการศึกษาก็เช่นกัน เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สังคมออนไลน์มีภาพและข่าวหลายต่อหลายอย่าง รวมทั้งภาพครูคุยกันตลอดเวลาในขณะที่นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์และนั่งฟังครูอยู่ที่หน้าเสาธง เรื่องผู้บริหารสถาบันการศึกษาทำกิจการขายตรงในโรงเรียน และเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ไร้ยางอายเพราะใช้หลักการ “จ่ายครบจบแน่”
ในเมื่อสิ่งที่เยาวชนเห็นเป็นเสียเช่นนี้ เราจะหวังให้เยาวชนดีขึ้นมากกว่าสภาพที่เขาเห็นอยู่เป็นประจำย่อมเป็นไปได้ยาก รวมความว่า การปฏิรูปการศึกษาดังที่เคยทำมาในวงแคบๆ ไม่มีทางบรรลุเป้าหมายตามอุดมการณ์หากสังคมรอบด้านมิได้รับการปฏิวัติให้เปลี่ยนไปในทางที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญพร้อมๆ กันด้วย
ผลของการปฏิรูปการศึกษาโดยปราศจากการปฏิวัติทั่วไปมีตัวอย่างให้ดูอยู่แล้วจากการปฏิรูปครั้งใหญ่เมื่อหลายปีก่อน ผลของการปฏิรูปครั้งนั้นได้แก่การเพิ่มตำแหน่งใหญ่ๆ ที่ได้รับเงินเดือนสูงขึ้นมากจากในทรวงศึกษาธิการไปจนถึงสำนักงานเขตการศึกษาซึ่งตั้งขึ้นมาเกลื่อนปานดอกเห็ด งบประมาณจำนวนมากถูกลากไปใช้ในเรื่องไร้สาระ เช่น เมื่อผู้มีตำแหน่งใหญ่ๆ ไม่มีงานทำมากพอก็ไปกดดันให้ครูต้องทำรายงานเพิ่มบ้าง อบรมสัมมนาตามรีสอร์ตหรูหราบ้าง เชิญให้ไปช่วยงานนอกหน้าที่บ้าง ต้อนรับขับสู้อย่างเต็มที่ในพิธีไปเยี่ยมเยียนบ้าง ทั้งหลายทั้งปวงรวมกันเป็นการลดทอนเวลาของการเรียนการสอน นอกจากนั้น ยังมีการใช้จ่ายจำพวกสร้างป้ายชื่อโรงเรียนและสำนักงานเขตการศึกษาขนาดยักษ์อีกด้วย ภาพที่แนบมาเป็นของโรงเรียนบ้านกันจาน โรงเรียนชั้นประถมแห่งนั้นมีนักเรียนเพียง 45 คนซึ่งคงได้งบประมาณไม่มากนัก แต่ต้องถูกหักไปทำสิ่งที่ไม่มีผลดีต่อการเรียนการสอนเลยแม้แต่น้อย
อีกสองภาพเป็นป้ายชื่อเขตการศึกษาและสำนักงานให้บริการการศึกษาที่เลยและที่บุรีรัมย์ การทำป้ายแบบนี้มีอย่างแพร่หลาย เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เน้นพิธีกรรมและขึ้นป้ายถ่ายรูปแทนการทำงานที่มีสาระ
อย่างแท้จริง วัฒนธรรมนี้มีแต่ความฉาบฉวยและมักง่ายที่แพร่กระจายไปทั่วทุกหัวระแหงของสังคมไทย ผลที่ออกมาจึงยังเป็นความไร้ประสิทธิภาพของการศึกษาในสถาบันเช่นเดิม
อนึ่ง ภาพแรกที่เห็นนักเรียนห้อยโหนและนั่งบนหลังคารถกระบะนั้นสะท้อนอะไรต่อมิอะไรที่เป็นปัจจัยทำให้เกิดปัญหาในการศึกษาของยาวชน เช่น ผู้ใหญ่ต้องการให้ลูกหลานไปเรียนที่โรงเรียนในเมืองเนื่องจากมองว่าลูกหลานจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่าการเรียนในโรงเรียนของชุมชน ปัจจัยที่ทำให้ผู้ใหญ่มองเช่นนั้นอาจเป็นเพียงค่านิยม หรืออาจเป็นเรื่องพื้นฐานซึ่งส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงก็ได้
ค่านิยมอาจเกิดจากการเข้าใจผิด หรือการคิดว่าการศึกษาเกิดขึ้นเฉพาะในโรงเรียน เมื่อเด็กอยู่ที่บ้านซึ่งมากกว่าการอยู่ในโรงเรียนหลายเท่า พวกเขาจึงมิได้รับความเอาใจใส่จากผู้ใหญ่ซึ่งมักมุ่งหน้าหารายได้ หรือไม่ก็
ใช้เวลาหมดไปกับการสันทนาการ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งวงเหล้า เล่นการพนัน หรือการดูละครโทรทัศน์ในยามค่ำคืนจนดึกดื่นและติดงอมแงม
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า กระบวนการพัฒนานำมาซึ่งอัตราการเกิดที่ต่ำลง เมื่อจำนวนเด็กในชุมชนลดลง ทางราชการก็ส่งครูและงบประมาณไปให้น้อยลง ส่งผลให้โรงเรียนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ในระดับเดียวกันกับของโรงเรียนในเมืองที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ เมื่อผู้ใหญ่ส่งลูกหลานไปยังโรงเรียนในเมืองมากขึ้น โรงเรียนในชุมชนก็ยิ่งได้ครูและงบประมาณน้อยลงไปอีก อันเป็นการสร้างวังวนที่มีแต่ผลร้าย ยิ่งถ้าการบริหารจัดการโรงเรียนในชุมชนเป็นไปแบบเช้าชามเย็นชาม หรือการจ้างงานเป็นไปตามความพอใจของผู้มีอิทธิพลในชุมชนด้วยแล้ว วังวนนี้จะเป็นวงจรอัปรีย์ที่จะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมและการปิดโรงเรียนโดยปราศจากเหตุผลเบื้องต้นที่เหมาะสม
ในภาพ รถยนต์วิ่งไปตามถนนซึ่งแสดงว่าชุมชนมีถนนเข้าไปถึง การมีถนนเป็นผลของการพัฒนาที่ผ่านมา ถนนเอื้อให้การขนส่งผลิตผลของชุมชนไปยังตลาดง่ายขึ้นและการสัญจรไปมาสะดวกขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน มันอาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ไม่เป็นผลดีต่อโรงเรียนในชุมชนและประชาชนที่นั่น เช่น การตัดสินใจส่งเด็กไปเรียนในเมืองเนื่องจากค่านิยม ความปลอดภัยของเด็กมักถูกมองข้ามเพราะผู้มีอิทธิพลในชุมชนเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารซึ่งแม้แต่ข้าราชการตำรวจก็ยังเกรงใจ
ตอนนี้เรามี สปช.ซึ่งสมาชิกกลุ่มใหญ่ได้รับเลือกเข้ามาเพื่อปฏิรูปการศึกษาโดยเฉพาะ ทุกท่านมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ล้นเหลือ ฉะนั้น ท่านคงลงมือทำงานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีการไปดูงานต่างประเทศ อย่างไรก็ดี หวังว่าท่านคงมองการศึกษาให้ครอบคลุมมากกว่าการเรียนในสถาบัน และการปฏิรูปการศึกษานั้นจะไม่มีทางสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีหากสังคมทุกด้านซึ่งกำลังมีปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างสาหัสมิได้รับการปฏิวัติแบบขุดรากถอนโคนด้วย นั่นเป็นงานที่ท่านต้องสื่อกับสมาชิก สปช.อีก 10 กลุ่ม กับรัฐบาล และกับสังคมทั่วไปให้พวกเขาเข้าใจและเห็นคล้อยตาม