**หลังรายชื่อสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว 250 คน คลื่นใต้น้ำจากคนอกหักยังไม่ปรากกเป็นพายุน้ำลายเหมือนก่อนหน้านี้
กระนั้นก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งเร่งเครื่องหาเวทีให้คนพลาดหวังได้เข้าร่วมขบวนรถไฟสายปฏิรูป เพราะต้องรีบปิดช่องโหว่ ช่องว่าง ก่อนที่จะเป็นชนวนถูกหยิบมาเล่นแง่เป็นกระแสปั่นให้หัวหมุนได้
ที่ผ่านมากระแสล็อกสเปกมาแรง ถึงขั้นทำให้คสช.ตั้งรับไม่ถูกกระบวนท่า โดนซัดหลายระลอก แต่ดีที่โครงสร้างข้อกฎหมายรัดกุมให้อำนาจหัวหน้า คสช.จัดการได้เบ็ดเสร็จ ไม่ต้องมาเสียเวลา ซึ่งก็เป็นวิธีที่ห้วนจนไม่มีคำอธิบาย แม้จะยันแบบเสียงแข็ง“ไม่มีล็อกแน่”แต่ก็ทำให้คนขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่จะนำสู่การปฏิรูป
**ถ้าไม่เงี่ยหูฟังคนเหล่านี้เลย ก็อาจจะทำให้เสียหายในอีกหลายขั้นตอน จะกลายเป็นว่าบันไดขั้นแรกของการปฏิรูป ก็ไม่โปร่งใสเสียแล้ว
จะเห็นได้ว่า จากเวทีปฐมนิเทศน์คณะกรรมการสรรหา ทั้ง 11 ด้าน และระดับจังหวัด พล.อ.ประยุทธ์ พยายามเน้นย้ำเรื่องโปร่งใส หลากหลายสาขาอาชีพ แต่สุดท้ายโฉมหน้าที่ออกมาก็กลับกลายเป็นกระจุกตัวในมวลหมู่ผู้มีชื่อเสียง นักวิชาการ นายทุนเสียส่วนหนึ่ง ไม่ได้หลากหลายอย่างที่ป่าวประกาศ เพราะคนฐานรากจริงๆ แทบจะไม่ปรากฏ
ดังนั้นเพื่อแก้จุดอ่อน คสช. และรัฐบาลต้องหามาตรการออกมาเยียวยาทางความรู้สึกของคนที่อยากมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศจริงๆ เพื่อไม่ให้กระแสของความพลาดหวัง เหวี่ยงกลับมาเล่นงาน คสช. ไม่อย่างนั้นถนนสู่การปฏิรูปจะกระท่อนกระแท่นเหมือนถนนลูกรัง ทำให้เส้นทางเดินสู่ปลายทางการปฏิรูป เป็นได้ยากลำบาก
ทันทีทันใดเมื่อการหารือระหว่างรัฐบาลกับคสช.นัดแรก ที่สโมสรทหารบก วิภาวดี ในวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมาเสร็จสิ้นลง เราจึงได้เห็น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐนตรี ด้านกฎหมาย ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้จัดทำรูปแบบเวทีสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. เพื่อให้เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยเวทีจะอยู่ภายใต้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเวทีให้เฉพาะคนที่เข้ารอบสุดท้าย และผู้สมัครจาก 7,370 คน แต่จะไม่รับบุคคลที่ไม่ได้สมัคร สปช. แต่แรก
**กวักมือเรียกเฉพาะคนที่ตั้งใจจะมาขึ้นรถไฟขบวนปฏิรูปประเทศเท่านั้น ส่วนพวกวงนอกที่ไม่สมัครใจมา ก็อยู่นอกวงต่อไป
ขณะนี้เดียวกัน อีกฝากฝั่งหนึ่งที่กำลังว่างงานหลังจากกระบวนการสรรหาสปช. สิ้นสุดลง นั่นก็คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) โดยนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ออกมาเปิดเผยด้วยเช่นกันว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. รัฐบาลมีนโยบายจะนำเอาคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือก แต่มีความประสงค์ที่ช่วยเหลือในการปฏิรูปประเทศให้เข้ามาทำงาน โดย คสช.ได้ประสานมายังสำนักงานกกต.ว่า ให้จัดทำประวัติ และรายละเอียดของผู้ที่เสนอชื่อมาเป็น สปช.ทั้งหมด ส่งให้คสช.พิจารณาโดยด่วน เพื่อให้คสช.ไปพิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง
**เสียงของทั้ง 2คนนี้ การันตี ได้ว่า เวทีปฏิรูปนอกเหนือจาก สปช. เกิดขึ้นแน่นอน
สูตรการปิดช่องว่างของคนอกหัก นอกจากจะสกัดกระแสความไม่พอใจได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังทำคสช.ได้แต้มภาพลักษณ์ที่ดีในการเดินหน้าการปฏิรูปประเทศ หลังจากเสียแต้มจากข่าวคราวการล็อกสเปก จนทำให้สังคมไม่ค่อยเชื่อถือและมั่นใจต่อการปฏิวัติสังคมในภาพรวม
อย่างไรก็ตาม เรื่องกระบวนการคงเป็นแค่เพียงฉากหนึ่ง แต่บทพิสูจน์แท้จริงคือ เนื้อหาการปฏิรูปต่างหาก ที่จะเป็นตัววัดความจริงใจของรัฐบาลคสช.ซึ่งเป็นที่คาดหวังจากสังคมอย่างมาก ไม่ใช่เพียงว่าการรวบรวมคนส่วนหนึ่งมาเพื่อเป็น “ตรายาง” ปั้มบัตรผ่านสร้างความชอบธรรมให้ท่านอยู่ในอำนาจเท่านั้น
**อย่าลืมภารกิจหลักในการล้างขั้วการเมืองเลว การคอร์รัปชัน ทั้งมีใบเสร็จไม่มีใบเสร็จ การทุจริตเชิงนโยบาย สภาร่างทรง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นโจทย์การปฏิรูป และต้องทำให้สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จก็เสียเวลา เสียของ เสียแรงประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เปล่าๆ
ที่ต้องย้ำเตือนกับสิ่งเหล่านี้เพราะเห็นสภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่กลายเป็น ง่อยเปลี้ยเสียขา ไม่กล้าตัดสินใจถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เรื่องที่มา ส.ว.โดยมิชอบ แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ลงมติและส่งสำนวนคดีกลับมาสนช.ดำเนินการถอดถอนแล้วก็ตาม
โดยเฉพาะท่าทีของ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังยึกยัก อึกอัก วกวนอยู่กับคำถามเดิมๆ “มีอำนาจหรือไม่ ทำได้หรือไม่”ทำให้ สนช. เสียงแตกไปคนละทาง
**กลายเป็นข้อปัญหาที่ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันกับอำนาจเก่า ทำให้ สนช.บางส่วนเกรงว่า ถ้าตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้ว อาจจะกระเทือนถึงบรรยากาศการปรองดอง เพราะถ้าทำได้สำเร็จ จะส่งผลลุกลามไปจนถึงเรื่องของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจถูกถอดถอนรายต่อไป และถึงขั้นหมดอนาคตทางการเมือง
กระนั้นก็ตาม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งเร่งเครื่องหาเวทีให้คนพลาดหวังได้เข้าร่วมขบวนรถไฟสายปฏิรูป เพราะต้องรีบปิดช่องโหว่ ช่องว่าง ก่อนที่จะเป็นชนวนถูกหยิบมาเล่นแง่เป็นกระแสปั่นให้หัวหมุนได้
ที่ผ่านมากระแสล็อกสเปกมาแรง ถึงขั้นทำให้คสช.ตั้งรับไม่ถูกกระบวนท่า โดนซัดหลายระลอก แต่ดีที่โครงสร้างข้อกฎหมายรัดกุมให้อำนาจหัวหน้า คสช.จัดการได้เบ็ดเสร็จ ไม่ต้องมาเสียเวลา ซึ่งก็เป็นวิธีที่ห้วนจนไม่มีคำอธิบาย แม้จะยันแบบเสียงแข็ง“ไม่มีล็อกแน่”แต่ก็ทำให้คนขาดความไว้เนื้อเชื่อใจ ที่จะนำสู่การปฏิรูป
**ถ้าไม่เงี่ยหูฟังคนเหล่านี้เลย ก็อาจจะทำให้เสียหายในอีกหลายขั้นตอน จะกลายเป็นว่าบันไดขั้นแรกของการปฏิรูป ก็ไม่โปร่งใสเสียแล้ว
จะเห็นได้ว่า จากเวทีปฐมนิเทศน์คณะกรรมการสรรหา ทั้ง 11 ด้าน และระดับจังหวัด พล.อ.ประยุทธ์ พยายามเน้นย้ำเรื่องโปร่งใส หลากหลายสาขาอาชีพ แต่สุดท้ายโฉมหน้าที่ออกมาก็กลับกลายเป็นกระจุกตัวในมวลหมู่ผู้มีชื่อเสียง นักวิชาการ นายทุนเสียส่วนหนึ่ง ไม่ได้หลากหลายอย่างที่ป่าวประกาศ เพราะคนฐานรากจริงๆ แทบจะไม่ปรากฏ
ดังนั้นเพื่อแก้จุดอ่อน คสช. และรัฐบาลต้องหามาตรการออกมาเยียวยาทางความรู้สึกของคนที่อยากมีส่วนร่วมในการปฏิรูปประเทศจริงๆ เพื่อไม่ให้กระแสของความพลาดหวัง เหวี่ยงกลับมาเล่นงาน คสช. ไม่อย่างนั้นถนนสู่การปฏิรูปจะกระท่อนกระแท่นเหมือนถนนลูกรัง ทำให้เส้นทางเดินสู่ปลายทางการปฏิรูป เป็นได้ยากลำบาก
ทันทีทันใดเมื่อการหารือระหว่างรัฐบาลกับคสช.นัดแรก ที่สโมสรทหารบก วิภาวดี ในวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมาเสร็จสิ้นลง เราจึงได้เห็น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐนตรี ด้านกฎหมาย ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า นายกรัฐมนตรีสั่งการให้จัดทำรูปแบบเวทีสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. เพื่อให้เข้ามาทำงานร่วมกัน โดยเวทีจะอยู่ภายใต้ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็นเวทีให้เฉพาะคนที่เข้ารอบสุดท้าย และผู้สมัครจาก 7,370 คน แต่จะไม่รับบุคคลที่ไม่ได้สมัคร สปช. แต่แรก
**กวักมือเรียกเฉพาะคนที่ตั้งใจจะมาขึ้นรถไฟขบวนปฏิรูปประเทศเท่านั้น ส่วนพวกวงนอกที่ไม่สมัครใจมา ก็อยู่นอกวงต่อไป
ขณะนี้เดียวกัน อีกฝากฝั่งหนึ่งที่กำลังว่างงานหลังจากกระบวนการสรรหาสปช. สิ้นสุดลง นั่นก็คือ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) โดยนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง ออกมาเปิดเผยด้วยเช่นกันว่า บุคคลที่ไม่ได้รับการคัดเลือกเป็นสปช. รัฐบาลมีนโยบายจะนำเอาคนที่ไม่ได้รับการคัดเลือก แต่มีความประสงค์ที่ช่วยเหลือในการปฏิรูปประเทศให้เข้ามาทำงาน โดย คสช.ได้ประสานมายังสำนักงานกกต.ว่า ให้จัดทำประวัติ และรายละเอียดของผู้ที่เสนอชื่อมาเป็น สปช.ทั้งหมด ส่งให้คสช.พิจารณาโดยด่วน เพื่อให้คสช.ไปพิจารณาคัดเลือกอีกครั้ง
**เสียงของทั้ง 2คนนี้ การันตี ได้ว่า เวทีปฏิรูปนอกเหนือจาก สปช. เกิดขึ้นแน่นอน
สูตรการปิดช่องว่างของคนอกหัก นอกจากจะสกัดกระแสความไม่พอใจได้ส่วนหนึ่งแล้ว ยังทำคสช.ได้แต้มภาพลักษณ์ที่ดีในการเดินหน้าการปฏิรูปประเทศ หลังจากเสียแต้มจากข่าวคราวการล็อกสเปก จนทำให้สังคมไม่ค่อยเชื่อถือและมั่นใจต่อการปฏิวัติสังคมในภาพรวม
อย่างไรก็ตาม เรื่องกระบวนการคงเป็นแค่เพียงฉากหนึ่ง แต่บทพิสูจน์แท้จริงคือ เนื้อหาการปฏิรูปต่างหาก ที่จะเป็นตัววัดความจริงใจของรัฐบาลคสช.ซึ่งเป็นที่คาดหวังจากสังคมอย่างมาก ไม่ใช่เพียงว่าการรวบรวมคนส่วนหนึ่งมาเพื่อเป็น “ตรายาง” ปั้มบัตรผ่านสร้างความชอบธรรมให้ท่านอยู่ในอำนาจเท่านั้น
**อย่าลืมภารกิจหลักในการล้างขั้วการเมืองเลว การคอร์รัปชัน ทั้งมีใบเสร็จไม่มีใบเสร็จ การทุจริตเชิงนโยบาย สภาร่างทรง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เป็นโจทย์การปฏิรูป และต้องทำให้สำเร็จ ถ้าไม่สำเร็จก็เสียเวลา เสียของ เสียแรงประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เปล่าๆ
ที่ต้องย้ำเตือนกับสิ่งเหล่านี้เพราะเห็นสภาพของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ที่กลายเป็น ง่อยเปลี้ยเสียขา ไม่กล้าตัดสินใจถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550 เรื่องที่มา ส.ว.โดยมิชอบ แม้ว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ลงมติและส่งสำนวนคดีกลับมาสนช.ดำเนินการถอดถอนแล้วก็ตาม
โดยเฉพาะท่าทีของ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังยึกยัก อึกอัก วกวนอยู่กับคำถามเดิมๆ “มีอำนาจหรือไม่ ทำได้หรือไม่”ทำให้ สนช. เสียงแตกไปคนละทาง
**กลายเป็นข้อปัญหาที่ไม่กล้าตัดสินใจ เพราะเรื่องนี้เกี่ยวพันกับอำนาจเก่า ทำให้ สนช.บางส่วนเกรงว่า ถ้าตัดสินใจทำอะไรลงไปแล้ว อาจจะกระเทือนถึงบรรยากาศการปรองดอง เพราะถ้าทำได้สำเร็จ จะส่งผลลุกลามไปจนถึงเรื่องของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อาจถูกถอดถอนรายต่อไป และถึงขั้นหมดอนาคตทางการเมือง