จากกรณี นายอำนวย คลังผา อดีตส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย และอดีตประธาน วิปรัฐบาล ระบุว่า ในสัปดาห์นี้ จะเดินทางไปยื่นคำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้วินิจฉัยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีอำนาจดำเนินการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี 50 ถูกยกเลิกไปแล้ว และขณะนี้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติเรื่องการถอดถอนบัญญัติไว้ รัฐธรรมนูญปี 57 ทำได้เพียง ถอดถอน สนช. ด้วยกันเท่านั้น
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย จะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความกรณี สนช.มีอำนาจการถอดถอนนักการเมืองหรือไม่ว่า เป็นสิทธิที่สามารถไปยื่นศาลฯได้ แต่สงสัยว่า เขาจะใช้สิทธิอะไรไปยื่น ในเมื่อ สนช. ยังไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งทางสนช. เองทำตามข้อกฎหมาย ในการดำเนินการเรื่องการถอดถอน และต้องรอการหารือกับสมาชิกก่อนว่า จะดำเนินการเรื่องการถอดถอนอย่างไร ถ้า ป.ป.ช. ส่งเรื่องการถอดถอนมายังสนช. ก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการ แต่หากมีคนไปยื่นศาลและศาลสั่งให้ชะลอการพิจารณา เราก็ต้องทำตาม แต่หากศาลไม่มีคำสั่ง เราก็สามารถพิจารณาตามกรอบเวลาได้ทันที
"ผมอยากฝากถึงอดีตส.ส. และ ส.ว. หากมีข้อกฎหมายใดที่จะเสนอแนะ และเป็นประโยชน์ก็สามารถเสนอมาได้เลย สนช.ยินดีที่จะรับฟังทุกข้อเสนอแนะ เราไม่มีธงในการถอดถอน ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ทำตามข้อกฎหมายทุกอย่าง" นายพีระศักดิ์กล่าว
นายพีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการพูดคุยกับประธานสนช. และรองประธานคนที่ 1 แล้ว โดยอยากได้คนที่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย มีเวลาในการทำงาน และมีความสมัครใจในการมานั่งเป็นกมธ. เพราะการมาเป็นกมธ. ถือเป็นงานที่หนัก และอาจโดนตัดสิทธิทางการเมืองบ้าง แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดว่า จะให้ใครเข้ามา อาจจะต้องรอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรอการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ 16 คณะ อย่างเป็นทางการ ก่อนจะได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (วิปสนช.) ขึ้นมาเพื่อกำหนดแนวทาง ซึ่งจะมีการตั้งกมธ. ในการประชุม สนช.สัปดาห์นี้ รวมทั้งการหารือเรื่องการถอดถอนในการประชุมด้วย
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) กล่าวถึง กรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยอำนาจของ สนช. ว่าสามารถดำเนินการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่ ว่า เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทยที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการหาทางออกกับข้อกฏหมายดังกล่าวนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องดูว่า สนช. จะขอรอดูรายละเอียดของสำนวนถอดถอน ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะส่งมาในวันนี้ (6 ต.ค.) ก่อน เพื่อพิจารณาดูว่า จำเป็นจะต้องชะลอการพิจารถอดถอน เพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่
"ขอให้สมาชิก สนช.ทุกคน ยึดหลักธรรมะ และหลักนิติธรรม ในการทำหน้าที่ เพราะ สนช. ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการเมืองและการปกครอง รวมทั้งการออกกฏหมายที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นหากมีควาชอบธรรม ก็จะช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายได้" นายสุรชัย กล่าว
**ชี้รธน.ชั่วคราวให้อำนาจถอดถอน
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ปช.) ส่งเรื่องยื่นยันการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กลับมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณา ซึ่งคาดว่า จะนำไปพิจารณาในที่ประชุม สนช.ในวันที่ 9- 10 ต.ค.นี้ว่า ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถทำได้ แต่การยกร่างข้อบังคับ ต้องดูอย่างครอบคลุมด้วย เรื่องนี้ สนช.ที่เคยเป็นสมาชิกกลุ่ม 40 ส.ว. ต่างมั่นใจว่า สนช. มีอำนาจในการดำเนินการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจ ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาบอกแล้วว่าสามารถทำได้
ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย จะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า สนช. มีอำนาจถอดถอนหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะพรรคเพื่อไทย ก็ออกมาขู่ว่าจะร้องศาลทุกครั้ง การกระทำดังกล่าว เป็นการทำตามความประสงค์ของผู้มีอำนาจ ก็ต้องดูจะใช้ช่องทางไหน และใช้มาตราใดในการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
**เย้ยพท.รีบตื่นจากการแกล้งตาย
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคเพื่อไทย ที่ออกมาคัดค้านการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า สมุนและระบอบทักษิณ ได้สร้างปัญหาต่างๆ ในบ้านเมืองมากมาย แต่พอเกิดรัฐประหาร ก็ทำแกล้งตาย แต่เมื่อมีเรื่องที่จะมากระทบ ก็รีบตื่นขึ้นมา ตอนนี้ สนช. กำลังจะพิจารณาถอดถอนคนที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่า มีความผิด และสมควรถูกถอดถอน คนเหล่านี้ก็รีบลุกขึ้นมาคัดค้าน เหมือนที่ช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยการผลักดัน ออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยอ้างว่าเป็นความผิดจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แปลว่า ไม่ผิดแล้ว ควรต้องรอให้กระบวนการตอนนี้ดำเนินการไปก่อน ไม่ใช่พอขยับก็รีบมาคัดค้าน
"โดยเฉพาะนายวรชัย (เหมมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ ) ที่ช่วงนี้ออกมาบ่อยๆ และยังเป็นคนที่ยื่นกฎหมายนิรโทษกรรมช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ฉบับสุดซอย จนทำให้บ้านเมืองเสียหาย จึงอยากให้ทบทวนตัวเอง อย่านึกถึงแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเดียว ต้องเลิกเป็นเครือข่ายผู้จงรักภักดีทักษิณ แต่ต้องจงรักภักดีต่อประชาชน อย่าออกมาทำร้ายบ้านเมืองอีกเลย" นางรัชฎาภรณ์ กล่าว
**อ้างปรองดอง ล้มถอดถอน
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี หนึ่งใน 39 ส.ว. ที่ ป.ป.ช. เตรียมส่งเรื่องให้ สนช.ถอดถอน ฐานใช้อำนาจไม่ชอบในการร่วมลงชื่อ แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ว่า ตนมองว่า สนช.ใช้อำนาจถอดถอนได้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองให้ลงสมัคร ส.ส. และ ส.ว.ได้นั้น อยากให้มองว่า การเลือกตั้งเป็นอำนาจของประชาชน เป็นปฐมภูมิแห่งคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถามว่าแก้ไขแล้ว พวกตนจะลงเลือกตั้งครั้งต่อไป หรือจะได้รับเลือกหรือไม่ก็ยังไม่รู้
วันนี้ คสช.ยึดอำนาจ เพราะมีเป้าหมายว่า คนไทยแตกแยกไม่มีความสามัคคี จึงอยากให้นำไปสู่ความปรองดอง ซึ่งตนเชื่อว่า ผู้นำคสช. โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงไม่คิดก้าวล่วง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิก ไม่ได้เป็นการทุจริต คอร์รัปชัน เป็นเรื่องความเข้าใจ เป็นมุมมองการเมืองที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องทางการเมือง ดังนั้นถ้าถอดถอนเพื่อจะล้างนักการเมืองเหล่านี้ ต่อไปก็จะเป็นคิว อดีต ส.ส. อีก 250 คน แล้วถ้า สนช. ตัดสินว่าผิด ซึ่งก็ไม่ต่างกับการใช้อำนาจของคสช. เพราะก็รู้อยู่แล้วว่า สนช. ไม่ได้เป็นอิสระ แล้วการลงโทษเช่นนี้ จะทำให้ความปรองดองเกิดขึ้นหรือ
นายสิงห์ชัย กล่าวต่อว่า ส่วนตัวตนยังเชื่อมั่นใน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกฯ ทั้งจากการให้สัมภาษณ์ และท่าที จะไม่ถึงขั้นถอดถอน โดยเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา สนช. ก็คงจะลงโหวตให้ตกไป ซึ่งจะบอกว่าตนเป็นพวกมองโลกสวยก็ได้ แต่ถามว่าถ้าตัดสินว่าผิด แล้วถามว่าประเทศนี้จะจบไหม ปัญหาจะเกิดขึ้นมาก และรุนแรงขึ้นอีก ความเข้าใจของต่างประเทศจะเป็นอย่างไร นักธุรกิจนักลงทุน จะมองอย่างไร จะล้างส.ว. และส.ส.กว่า 300 คนให้หมดไปในโลกแห่งความเป็นจริง จะเป็นได้หรือ เพราะคนพวกนี้ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ เขาก็มีลูกมีหลาน เว้นแต่จะคิดล้าง เพื่อยึดอำนาจต่อไป
**ป.ป.ช.ส่งสำนวน"สมศักดิ์-นิคม"วันนี้
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง การส่งสำนวนคดีถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว. โดยมิชอบ กลับไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) ดำเนินการถอดถอนว่า ได้ส่งสำนวนดังกล่าวให้นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ลงนาม รับรองมติป.ป.ช. ที่ให้ส่งกลับสำนวนคดีนี้กลับไปให้สนช. พิจารณาเหมือนเดิม โดยคาดว่าจะส่งไปยังสนช. ได้ในวันที่ 6 ต.ค. โดยสำนวนดังกล่าว ป.ป.ช. ยังยืนยันตามฐานความผิดรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่นประกอบ ป.ป.ช.ไม่สามารถนำความผิดตามกฎหมายอื่นมาเพิ่มเติมเข้าไปในสำนวนได้ เพราะคำร้องขอถอดถอน นายสมศักดิ์ และนายนิคม ที่ส่งมาให้ ป.ป.ช. นั้น เป็นการร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของส.ว.โดยมิชอบ หลังจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสนช.จะดำเนินการถอดถอนต่อไป หรือไม่ เพราะหมดหน้าที่ของป.ป.ช.แล้ว
ส่วนสำนวนการถอดถอน อดีต ส.ว. 39 คน กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว. โดยมิชอบ ที่ ป.ป.ช.กำลังพิจารณาทบทวนสำนวนอยู่นั้น ก็คงเป็นลักษณะเดียวกับกรณีการถอดถอน นายสมศักดิ์ และนายนิคม คือ เป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพียงอย่างเดียว ไม่มีฐานความผิดอื่น ยกเว้นกรณีผู้ที่มีพฤติกรรมเสียบบัตรแทนกัน จะเข้าข่ายความผิดทางอาญา ที่สามารถเอาผิดเพิ่มเติมได้ คาดว่าในสัปดาห์หน้า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. จะสรุปเรื่องทั้งหมด รายงานให้ที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่ทราบ เพื่อพิจารณาว่า จะส่งเรื่องให้ สนช. ดำเนินการต่อไปหรือไม่
นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 2 กล่าวถึงกรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย จะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ตีความกรณี สนช.มีอำนาจการถอดถอนนักการเมืองหรือไม่ว่า เป็นสิทธิที่สามารถไปยื่นศาลฯได้ แต่สงสัยว่า เขาจะใช้สิทธิอะไรไปยื่น ในเมื่อ สนช. ยังไม่ได้มีการดำเนินการในเรื่องนี้ ซึ่งทางสนช. เองทำตามข้อกฎหมาย ในการดำเนินการเรื่องการถอดถอน และต้องรอการหารือกับสมาชิกก่อนว่า จะดำเนินการเรื่องการถอดถอนอย่างไร ถ้า ป.ป.ช. ส่งเรื่องการถอดถอนมายังสนช. ก็ต้องดำเนินการตามกระบวนการ แต่หากมีคนไปยื่นศาลและศาลสั่งให้ชะลอการพิจารณา เราก็ต้องทำตาม แต่หากศาลไม่มีคำสั่ง เราก็สามารถพิจารณาตามกรอบเวลาได้ทันที
"ผมอยากฝากถึงอดีตส.ส. และ ส.ว. หากมีข้อกฎหมายใดที่จะเสนอแนะ และเป็นประโยชน์ก็สามารถเสนอมาได้เลย สนช.ยินดีที่จะรับฟังทุกข้อเสนอแนะ เราไม่มีธงในการถอดถอน ไม่ได้กลั่นแกล้งใคร ทำตามข้อกฎหมายทุกอย่าง" นายพีระศักดิ์กล่าว
นายพีระศักดิ์ กล่าวต่อว่า เรื่องการตั้งคณะกรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการพูดคุยกับประธานสนช. และรองประธานคนที่ 1 แล้ว โดยอยากได้คนที่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย มีเวลาในการทำงาน และมีความสมัครใจในการมานั่งเป็นกมธ. เพราะการมาเป็นกมธ. ถือเป็นงานที่หนัก และอาจโดนตัดสิทธิทางการเมืองบ้าง แต่ยังไม่ได้มีการกำหนดว่า จะให้ใครเข้ามา อาจจะต้องรอการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และรอการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ 16 คณะ อย่างเป็นทางการ ก่อนจะได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญกิจการสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ (วิปสนช.) ขึ้นมาเพื่อกำหนดแนวทาง ซึ่งจะมีการตั้งกมธ. ในการประชุม สนช.สัปดาห์นี้ รวมทั้งการหารือเรื่องการถอดถอนในการประชุมด้วย
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) กล่าวถึง กรณีที่สมาชิกพรรคเพื่อไทย เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้วินิจฉัยอำนาจของ สนช. ว่าสามารถดำเนินการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้หรือไม่ ว่า เป็นสิทธิของพรรคเพื่อไทยที่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางหนึ่งในการหาทางออกกับข้อกฏหมายดังกล่าวนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คงต้องดูว่า สนช. จะขอรอดูรายละเอียดของสำนวนถอดถอน ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จะส่งมาในวันนี้ (6 ต.ค.) ก่อน เพื่อพิจารณาดูว่า จำเป็นจะต้องชะลอการพิจารถอดถอน เพื่อรอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หรือไม่
"ขอให้สมาชิก สนช.ทุกคน ยึดหลักธรรมะ และหลักนิติธรรม ในการทำหน้าที่ เพราะ สนช. ต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานด้านการเมืองและการปกครอง รวมทั้งการออกกฏหมายที่สำคัญ ซึ่งมีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นหากมีควาชอบธรรม ก็จะช่วยสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายได้" นายสุรชัย กล่าว
**ชี้รธน.ชั่วคราวให้อำนาจถอดถอน
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ปช.) ส่งเรื่องยื่นยันการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กลับมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อพิจารณา ซึ่งคาดว่า จะนำไปพิจารณาในที่ประชุม สนช.ในวันที่ 9- 10 ต.ค.นี้ว่า ส่วนตัวเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถทำได้ แต่การยกร่างข้อบังคับ ต้องดูอย่างครอบคลุมด้วย เรื่องนี้ สนช.ที่เคยเป็นสมาชิกกลุ่ม 40 ส.ว. ต่างมั่นใจว่า สนช. มีอำนาจในการดำเนินการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ตามที่รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจ ซึ่งนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาบอกแล้วว่าสามารถทำได้
ส่วนการที่พรรคเพื่อไทย จะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า สนช. มีอำนาจถอดถอนหรือไม่นั้น ตนเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลกเพราะพรรคเพื่อไทย ก็ออกมาขู่ว่าจะร้องศาลทุกครั้ง การกระทำดังกล่าว เป็นการทำตามความประสงค์ของผู้มีอำนาจ ก็ต้องดูจะใช้ช่องทางไหน และใช้มาตราใดในการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
**เย้ยพท.รีบตื่นจากการแกล้งตาย
นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของแกนนำพรรคเพื่อไทย ที่ออกมาคัดค้านการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่า สมุนและระบอบทักษิณ ได้สร้างปัญหาต่างๆ ในบ้านเมืองมากมาย แต่พอเกิดรัฐประหาร ก็ทำแกล้งตาย แต่เมื่อมีเรื่องที่จะมากระทบ ก็รีบตื่นขึ้นมา ตอนนี้ สนช. กำลังจะพิจารณาถอดถอนคนที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่า มีความผิด และสมควรถูกถอดถอน คนเหล่านี้ก็รีบลุกขึ้นมาคัดค้าน เหมือนที่ช่วยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยการผลักดัน ออกกฎหมายนิรโทษกรรม โดยอ้างว่าเป็นความผิดจากรัฐธรรมนูญฉบับก่อน เมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แปลว่า ไม่ผิดแล้ว ควรต้องรอให้กระบวนการตอนนี้ดำเนินการไปก่อน ไม่ใช่พอขยับก็รีบมาคัดค้าน
"โดยเฉพาะนายวรชัย (เหมมะ อดีต ส.ส.สมุทรปราการ ) ที่ช่วงนี้ออกมาบ่อยๆ และยังเป็นคนที่ยื่นกฎหมายนิรโทษกรรมช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ฉบับสุดซอย จนทำให้บ้านเมืองเสียหาย จึงอยากให้ทบทวนตัวเอง อย่านึกถึงแต่ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างเดียว ต้องเลิกเป็นเครือข่ายผู้จงรักภักดีทักษิณ แต่ต้องจงรักภักดีต่อประชาชน อย่าออกมาทำร้ายบ้านเมืองอีกเลย" นางรัชฎาภรณ์ กล่าว
**อ้างปรองดอง ล้มถอดถอน
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี หนึ่งใน 39 ส.ว. ที่ ป.ป.ช. เตรียมส่งเรื่องให้ สนช.ถอดถอน ฐานใช้อำนาจไม่ชอบในการร่วมลงชื่อ แก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มาส.ว. ว่า ตนมองว่า สนช.ใช้อำนาจถอดถอนได้ แต่การที่ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองให้ลงสมัคร ส.ส. และ ส.ว.ได้นั้น อยากให้มองว่า การเลือกตั้งเป็นอำนาจของประชาชน เป็นปฐมภูมิแห่งคะแนนเสียงตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งถามว่าแก้ไขแล้ว พวกตนจะลงเลือกตั้งครั้งต่อไป หรือจะได้รับเลือกหรือไม่ก็ยังไม่รู้
วันนี้ คสช.ยึดอำนาจ เพราะมีเป้าหมายว่า คนไทยแตกแยกไม่มีความสามัคคี จึงอยากให้นำไปสู่ความปรองดอง ซึ่งตนเชื่อว่า ผู้นำคสช. โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี คงไม่คิดก้าวล่วง แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเอกสิทธิ์ของสมาชิก ไม่ได้เป็นการทุจริต คอร์รัปชัน เป็นเรื่องความเข้าใจ เป็นมุมมองการเมืองที่แตกต่างกัน เป็นเรื่องทางการเมือง ดังนั้นถ้าถอดถอนเพื่อจะล้างนักการเมืองเหล่านี้ ต่อไปก็จะเป็นคิว อดีต ส.ส. อีก 250 คน แล้วถ้า สนช. ตัดสินว่าผิด ซึ่งก็ไม่ต่างกับการใช้อำนาจของคสช. เพราะก็รู้อยู่แล้วว่า สนช. ไม่ได้เป็นอิสระ แล้วการลงโทษเช่นนี้ จะทำให้ความปรองดองเกิดขึ้นหรือ
นายสิงห์ชัย กล่าวต่อว่า ส่วนตัวตนยังเชื่อมั่นใน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกฯ ทั้งจากการให้สัมภาษณ์ และท่าที จะไม่ถึงขั้นถอดถอน โดยเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภา สนช. ก็คงจะลงโหวตให้ตกไป ซึ่งจะบอกว่าตนเป็นพวกมองโลกสวยก็ได้ แต่ถามว่าถ้าตัดสินว่าผิด แล้วถามว่าประเทศนี้จะจบไหม ปัญหาจะเกิดขึ้นมาก และรุนแรงขึ้นอีก ความเข้าใจของต่างประเทศจะเป็นอย่างไร นักธุรกิจนักลงทุน จะมองอย่างไร จะล้างส.ว. และส.ส.กว่า 300 คนให้หมดไปในโลกแห่งความเป็นจริง จะเป็นได้หรือ เพราะคนพวกนี้ไม่ได้เกิดจากกระบอกไม้ไผ่ เขาก็มีลูกมีหลาน เว้นแต่จะคิดล้าง เพื่อยึดอำนาจต่อไป
**ป.ป.ช.ส่งสำนวน"สมศักดิ์-นิคม"วันนี้
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง การส่งสำนวนคดีถอดถอนนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา และนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มา ส.ว. โดยมิชอบ กลับไปให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ( สนช. ) ดำเนินการถอดถอนว่า ได้ส่งสำนวนดังกล่าวให้นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธาน ป.ป.ช. ลงนาม รับรองมติป.ป.ช. ที่ให้ส่งกลับสำนวนคดีนี้กลับไปให้สนช. พิจารณาเหมือนเดิม โดยคาดว่าจะส่งไปยังสนช. ได้ในวันที่ 6 ต.ค. โดยสำนวนดังกล่าว ป.ป.ช. ยังยืนยันตามฐานความผิดรัฐธรรมนูญปี 2550 ไม่มีความผิดตามกฎหมายอื่นประกอบ ป.ป.ช.ไม่สามารถนำความผิดตามกฎหมายอื่นมาเพิ่มเติมเข้าไปในสำนวนได้ เพราะคำร้องขอถอดถอน นายสมศักดิ์ และนายนิคม ที่ส่งมาให้ ป.ป.ช. นั้น เป็นการร้องให้ถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 271 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของส.ว.โดยมิชอบ หลังจากนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสนช.จะดำเนินการถอดถอนต่อไป หรือไม่ เพราะหมดหน้าที่ของป.ป.ช.แล้ว
ส่วนสำนวนการถอดถอน อดีต ส.ว. 39 คน กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว. โดยมิชอบ ที่ ป.ป.ช.กำลังพิจารณาทบทวนสำนวนอยู่นั้น ก็คงเป็นลักษณะเดียวกับกรณีการถอดถอน นายสมศักดิ์ และนายนิคม คือ เป็นการกระทำความผิดตามรัฐธรรมนูญปี 2550 เพียงอย่างเดียว ไม่มีฐานความผิดอื่น ยกเว้นกรณีผู้ที่มีพฤติกรรมเสียบบัตรแทนกัน จะเข้าข่ายความผิดทางอาญา ที่สามารถเอาผิดเพิ่มเติมได้ คาดว่าในสัปดาห์หน้า เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. จะสรุปเรื่องทั้งหมด รายงานให้ที่ประชุม ป.ป.ช. ชุดใหญ่ทราบ เพื่อพิจารณาว่า จะส่งเรื่องให้ สนช. ดำเนินการต่อไปหรือไม่