ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน (META – ANALYSIS) ในปี พ.ศ. 2542 บูรณาการงานวิจัยผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติที่หลายชิ้นระหว่าง พ.ศ. 2503 -2521 พบว่า คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) น้อยกว่าคนทั่วไป 24% แต่กลับพบว่าอัตราการเสียชีวิตโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคอื่นๆนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
อย่างน้อยก็ได้สัญญาณดีหลายอย่างที่ระบุว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติโดยภาพรวมมีปัญหาหลอดเลือดน้อยกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
แม้ในงานวิจัยของเซเว่น เดย์ แอดเวนติสต์ ในรอบที่ 2 จะระบุว่าอัตราความเสี่ยงจากหลายโรคมากกว่าโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด แต่ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นเหมือนกันที่สำรวจทางสถิติว่ามีอัตราการเสียชีวิตไม่ต่างจากคนที่ยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่
อย่างไรก็ตามการที่งานวิจัยมีความแตกต่างกันนั้นก็เพราะว่าคำว่ามังสวิรัตินั้นมีคำนิยามของแต่ละงานวิจัยที่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดมากไปกว่านั้นด้วยว่ากินสัดส่วนอาหารและแร่ธาตุจากสารอาหารแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอีก เช่น บางกลุ่มรับประทานโปรตีนจากถั่วมากน้อย บางกลุ่มรับประทานอาหารเสริมมากน้อย บางกลุ่มรับประทานแป้งมากน้อย บางกลุ่มรับประทานหวานมาก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรถึงความแตกต่างในการบริโภคจึงเป็นผลทำให้การสำรวจไม่เหมือนกัน
แม้จะงานวิจัยบางแห่งได้ทำการปรับการคำนวณตัวแปรผลสำรวจทางสถิติแล้ว เช่น การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย อายุ เพศ พื้นที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะครอบคลุมตัวแปรได้ครบถ้วนทุกประเด็นเสมอไป แต่อย่างน้อยเราก็จะพอเห็นสถิติที่จะบอกภาพคร่าวๆให้เราได้เห็นทิศทางได้บ้าง
อย่างเช่นประเทศในทวีปอเมริกากลางและเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป ที่มักจะบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัวมาก เช่น นมวัว ชีส มักจะพบการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับเพศมาก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากมาก (ตามภาพแผนที่ 1) มะเร็งเต้านมมาก (ภาพแผนที่ 2) ซึ่งในกลุ่มอาหารมังสวิรัติบางกลุ่มก็ยังมีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสูงอยู่ก็ได้รับผลได้เช่นเดียวกัน
หรือในบางกรณีก็ไม่เกี่ยวกับการรับประทานมังสวิรัติหรือไม่รับประทานมังสวิรัติ แต่เรากลับพบประเทศต่างๆที่รับประทานแป้งและน้ำตาลมาก็มักพบมะเร็งตับมาก (ตามภาพแผนที่ 3)
หรือการศึกษาประชากรญี่ปุ่นกลุ่มอายุ 60-69 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2501-2538 พบว่าถ้าลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต (แป้ง,ข้าว)ให้ลดลงแล้วรับประทานไขมันเพิ่มขึ้นจนคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นประมาณ 20% กลับพบว่าโรคหลอดเลือดตีบจะลดลงไปเกือบ 80% (ตามภาพแผนภูมิกราฟที่ 4)
รวมถึงแม้กระทั่งไขมันทรานส์ หรือ เนยเทียม ซึ่งยุคนี้มีการใช้กันมากในอาหารเบเกอรี่ เค้ก โดนัท คุ๊กกี้ ขนมกรุบกรอบ รวมถึงการใช้เนยเทียม มาร์การีน เนยขาว ก็ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงได้ทั้งการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะบริโภคอาหารมังสวิรัติหรือไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติก็ตาม และรวมถึงว่ามีการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวทอดในการประกอบอาหารมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งมลพิษที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมอุตสาหกรรมการเกษตร สังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรม การแพร่กระจายโลหะหนัก ยาฆ่าแมลงทั้งในอาหาร อากาศ น้ำดื่ม ทำให้เกิดเป็นโรคได้หลายชนิดรวมถึงโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด ซึ่งไม่ว่าจะรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ก็ตามก็มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตด้วยโรคอันเกิดจากสาเหตุของโลหะหนักอยู่ดี
แม้แต่การกินมังสวิรัติเองก็ขึ้นอยู่กับว่าจะรับประทานถั่วไขมันต่ำได้มากเพียงใด เมื่อพบว่าการบริโภคถั่วไขมันต่ำจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด
ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แม้ว่าผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติซึ่งจะเสียชีวิตด้วยหลายโรคน้อยกว่าคนที่ไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติ แต่ก็ยังมีงานวิจัยที่พบว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจำนวนไม่น้อยก็ยังมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคยอดฮิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคมะเร็งปอดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ นั่นก็อาจะเป็นเพราะตัวแปรต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นไปได้
ปัญหาการสำรวจในมนุษย์นั้นมีตัวแปรมากที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่อย่างน้อยการทดลองเกี่ยวกับโรคต่างๆในหนูทดลองที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรได้มากกว่าพบว่า การบริโภคพืช ผัก และถั่ว นั้นมีแนวโน้มปลอดภัยมากกว่าเนื้อสัตว์ อย่างน้อยถ้าไม่ต้องคิดอะไรมาก เพียงแค่จิตใจรู้สึกเบิกบานสบายใจในการเบียดเบียนสัตว์น้อยลงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีด้วยแล้ว จริงหรือไม่?
เพราะความจริงมีอยู่ว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็ต้องตายด้วยโรคใดโรคหนึ่งอยู่ดี คงเหลือแต่เพียงว่าจะเลือกแนวทางไหนให้มีความสุขกายและสุขใจในการบริโภคสิ่งนั้นให้คุ้มค่ากับช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่จนถึงวันที่ต้องจากไปจากโลกนี้
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
จากการสังเคราะห์งานวิจัยด้วยวิธีวิเคราะห์อภิมาน (META – ANALYSIS) ในปี พ.ศ. 2542 บูรณาการงานวิจัยผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติที่หลายชิ้นระหว่าง พ.ศ. 2503 -2521 พบว่า คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติมีอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease) น้อยกว่าคนทั่วไป 24% แต่กลับพบว่าอัตราการเสียชีวิตโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และโรคอื่นๆนั้นมีความแตกต่างกันไม่มากนัก
อย่างน้อยก็ได้สัญญาณดีหลายอย่างที่ระบุว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติโดยภาพรวมมีปัญหาหลอดเลือดน้อยกว่าคนกลุ่มอื่นๆ
แม้ในงานวิจัยของเซเว่น เดย์ แอดเวนติสต์ ในรอบที่ 2 จะระบุว่าอัตราความเสี่ยงจากหลายโรคมากกว่าโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด แต่ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นเหมือนกันที่สำรวจทางสถิติว่ามีอัตราการเสียชีวิตไม่ต่างจากคนที่ยังรับประทานเนื้อสัตว์อยู่
อย่างไรก็ตามการที่งานวิจัยมีความแตกต่างกันนั้นก็เพราะว่าคำว่ามังสวิรัตินั้นมีคำนิยามของแต่ละงานวิจัยที่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดมากไปกว่านั้นด้วยว่ากินสัดส่วนอาหารและแร่ธาตุจากสารอาหารแต่ละกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอีก เช่น บางกลุ่มรับประทานโปรตีนจากถั่วมากน้อย บางกลุ่มรับประทานอาหารเสริมมากน้อย บางกลุ่มรับประทานแป้งมากน้อย บางกลุ่มรับประทานหวานมาก ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวแปรถึงความแตกต่างในการบริโภคจึงเป็นผลทำให้การสำรวจไม่เหมือนกัน
แม้จะงานวิจัยบางแห่งได้ทำการปรับการคำนวณตัวแปรผลสำรวจทางสถิติแล้ว เช่น การสูบบุหรี่ การออกกำลังกาย อายุ เพศ พื้นที่อยู่อาศัย ฯลฯ แต่ก็ยังไม่แน่ว่าจะครอบคลุมตัวแปรได้ครบถ้วนทุกประเด็นเสมอไป แต่อย่างน้อยเราก็จะพอเห็นสถิติที่จะบอกภาพคร่าวๆให้เราได้เห็นทิศทางได้บ้าง
อย่างเช่นประเทศในทวีปอเมริกากลางและเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ยุโรป ที่มักจะบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัวมาก เช่น นมวัว ชีส มักจะพบการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งที่เกี่ยวกับเพศมาก เช่น มะเร็งต่อมลูกหมากมาก (ตามภาพแผนที่ 1) มะเร็งเต้านมมาก (ภาพแผนที่ 2) ซึ่งในกลุ่มอาหารมังสวิรัติบางกลุ่มก็ยังมีการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมสูงอยู่ก็ได้รับผลได้เช่นเดียวกัน
หรือในบางกรณีก็ไม่เกี่ยวกับการรับประทานมังสวิรัติหรือไม่รับประทานมังสวิรัติ แต่เรากลับพบประเทศต่างๆที่รับประทานแป้งและน้ำตาลมาก็มักพบมะเร็งตับมาก (ตามภาพแผนที่ 3)
หรือการศึกษาประชากรญี่ปุ่นกลุ่มอายุ 60-69 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2501-2538 พบว่าถ้าลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรต (แป้ง,ข้าว)ให้ลดลงแล้วรับประทานไขมันเพิ่มขึ้นจนคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นประมาณ 20% กลับพบว่าโรคหลอดเลือดตีบจะลดลงไปเกือบ 80% (ตามภาพแผนภูมิกราฟที่ 4)
รวมถึงแม้กระทั่งไขมันทรานส์ หรือ เนยเทียม ซึ่งยุคนี้มีการใช้กันมากในอาหารเบเกอรี่ เค้ก โดนัท คุ๊กกี้ ขนมกรุบกรอบ รวมถึงการใช้เนยเทียม มาร์การีน เนยขาว ก็ปรากฏว่าเพิ่มความเสี่ยงได้ทั้งการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ไม่ว่าจะบริโภคอาหารมังสวิรัติหรือไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติก็ตาม และรวมถึงว่ามีการใช้ไขมันไม่อิ่มตัวทอดในการประกอบอาหารมากน้อยเพียงใด
อีกทั้งมลพิษที่เกิดขึ้นจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมอุตสาหกรรมการเกษตร สังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรม การแพร่กระจายโลหะหนัก ยาฆ่าแมลงทั้งในอาหาร อากาศ น้ำดื่ม ทำให้เกิดเป็นโรคได้หลายชนิดรวมถึงโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด ซึ่งไม่ว่าจะรับประทานอาหารมังสวิรัติหรือไม่ก็ตามก็มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตด้วยโรคอันเกิดจากสาเหตุของโลหะหนักอยู่ดี
แม้แต่การกินมังสวิรัติเองก็ขึ้นอยู่กับว่าจะรับประทานถั่วไขมันต่ำได้มากเพียงใด เมื่อพบว่าการบริโภคถั่วไขมันต่ำจะช่วยป้องกันโรคมะเร็งได้หลายชนิด
ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ แม้ว่าผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติซึ่งจะเสียชีวิตด้วยหลายโรคน้อยกว่าคนที่ไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติ แต่ก็ยังมีงานวิจัยที่พบว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติจำนวนไม่น้อยก็ยังมีความเสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคยอดฮิตได้เช่นกัน ซึ่งรวมถึงการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) โรคมะเร็งปอดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ นั่นก็อาจะเป็นเพราะตัวแปรต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นไปได้
ปัญหาการสำรวจในมนุษย์นั้นมีตัวแปรมากที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่อย่างน้อยการทดลองเกี่ยวกับโรคต่างๆในหนูทดลองที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมและตัวแปรได้มากกว่าพบว่า การบริโภคพืช ผัก และถั่ว นั้นมีแนวโน้มปลอดภัยมากกว่าเนื้อสัตว์ อย่างน้อยถ้าไม่ต้องคิดอะไรมาก เพียงแค่จิตใจรู้สึกเบิกบานสบายใจในการเบียดเบียนสัตว์น้อยลงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีด้วยแล้ว จริงหรือไม่?
เพราะความจริงมีอยู่ว่าคนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรือไม่รับประทานอาหารมังสวิรัติ ก็ต้องตายด้วยโรคใดโรคหนึ่งอยู่ดี คงเหลือแต่เพียงว่าจะเลือกแนวทางไหนให้มีความสุขกายและสุขใจในการบริโภคสิ่งนั้นให้คุ้มค่ากับช่วงที่เรายังมีชีวิตอยู่จนถึงวันที่ต้องจากไปจากโลกนี้