นายนิพิฐฏ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยอดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางพารา ร่วมกันแถลงถึงมาตรการพยุงราคายางพาราของรัฐบาล ว่า ยังไม่ทำให้ราคากระเตื้องขึ้นแต่มีแนวโน้มที่ราคาจะลดต่ำลง ทั้งที่เป็นช่วงที่ผลผลิตน้อยราคาต้องสูง จึงกังวลว่าหากเลยหน้าฝนไปในช่วงต้นปีที่ผลผลิตจะออกมามากขึ้น ราคายางพาราจะต่ำลงอีก แม้ว่ามาตรการที่รัฐออกมาจะถูกทางแต่จะส่งผลในระยะยาวไม่สามารถแก้ปัญหาในระยะสั้นได้ ดังนั้นหากดำเนินการตามนโยบายทำก่อน ทำจริง ทำทันที ก็ขอให้ดำเนินการตามข้อเสนอ 5 มาตรการ ซึ่งจะเสนอต่อนายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ ผ่านไปยังนายกรัฐมนตรีดำเนินการ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เห็นด้วยให้รีบเสนอต่อรัฐบาล
“ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความจริงใจของรัฐบาลด้วยว่า จะปกป้องธุรกิจยางมะตอย หรือปกป้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา แม้ว่าการนำยางพารามาเป็นส่วนประกอบ แม้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ประโยชน์ที่จะได้มากกว่าราคาที่สูงขึ้น เพราะถ้ารัฐบาลทำตามข้อเสนอภายในปี 2558 ราคายางพารา จะสูงขึ้นทันที จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศว่า ทำก่อน ทำจริง ทำทันที ทำตามที่พูด หากต้องการขอความเห็น พวกผมยินดีช่วยแก้ปัญหากับรัฐบาล ส่วนการขายยางพาราในสต๊อก อยากให้ทบทวน เพราะถ้าขายก็จะทำให้ราคายางไม่ กระเตื้องขึ้น" นายนิพิฐฏ์ กล่าว
นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง กล่าวถึง 5 มาตรการ ที่จะเสนอต่อรัฐบาล ว่า
1 ทำให้ยางพาราในปริมาณที่มากพอหายไปจากตลาดประกาศไม่ขายยางพาราในสต๊อก แต่จะนำมาใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้ยางจำนวนนี้หายไปจากตลาด 2.1 แสนตัน
2 ต้องประกาศอย่างชัดเจนในการนำยางพารามาเป็นส่วนประกอบไม่น้อยกว่า 5 % ในการทำถนนสร้างใหม่ และการซ่อมแซม โดยต้องใช้ยางพาราใหม่ ที่ไม่ใช่ยางพาราในสต๊อกของรัฐบาล
3. กำหนดนโยบายนำยางพารามาทำพื้นสนามกีฬาของส่วนราชการและอุปกรณ์สนามเด็กเล่น
4 นำยางพาราเป็นวัสดุกันสะเทือนในโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และ
5ให้เร่งแก้ปัญหาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราให้คล่องตัวในการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากยังมีอุปสรรคหลายประการ เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้จะทำให้ราคายางพาราดีดตัวสูงขึ้น
นายนริศ ขำนุรักษ์ อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการประกอบอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราว่า มีตั้งแต่ บีโอไอ ขอให้เร่งพิจารณาผ่านการตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา ขอให้พิจารณาผ่านเรื่องสิ่งแวดล้อมและ อย. ทั้งนี้ต้องมีการผลิตยางทดแทนการนำเข้า โดยในปัจจุบันนำเข้าปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากประเทศที่ไม่ได้ปลูกยางพาราคือ เยอรมัน สหรัฐ และฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้การนำเข้าเป็นศูนย์
“ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความจริงใจของรัฐบาลด้วยว่า จะปกป้องธุรกิจยางมะตอย หรือปกป้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา แม้ว่าการนำยางพารามาเป็นส่วนประกอบ แม้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเพิ่มขึ้น แต่ประโยชน์ที่จะได้มากกว่าราคาที่สูงขึ้น เพราะถ้ารัฐบาลทำตามข้อเสนอภายในปี 2558 ราคายางพารา จะสูงขึ้นทันที จึงขอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ประกาศว่า ทำก่อน ทำจริง ทำทันที ทำตามที่พูด หากต้องการขอความเห็น พวกผมยินดีช่วยแก้ปัญหากับรัฐบาล ส่วนการขายยางพาราในสต๊อก อยากให้ทบทวน เพราะถ้าขายก็จะทำให้ราคายางไม่ กระเตื้องขึ้น" นายนิพิฐฏ์ กล่าว
นพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ตรัง กล่าวถึง 5 มาตรการ ที่จะเสนอต่อรัฐบาล ว่า
1 ทำให้ยางพาราในปริมาณที่มากพอหายไปจากตลาดประกาศไม่ขายยางพาราในสต๊อก แต่จะนำมาใช้ภายในประเทศ เพื่อทำให้ยางจำนวนนี้หายไปจากตลาด 2.1 แสนตัน
2 ต้องประกาศอย่างชัดเจนในการนำยางพารามาเป็นส่วนประกอบไม่น้อยกว่า 5 % ในการทำถนนสร้างใหม่ และการซ่อมแซม โดยต้องใช้ยางพาราใหม่ ที่ไม่ใช่ยางพาราในสต๊อกของรัฐบาล
3. กำหนดนโยบายนำยางพารามาทำพื้นสนามกีฬาของส่วนราชการและอุปกรณ์สนามเด็กเล่น
4 นำยางพาราเป็นวัสดุกันสะเทือนในโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และ
5ให้เร่งแก้ปัญหาอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราให้คล่องตัวในการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากยังมีอุปสรรคหลายประการ เพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามาในประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากทำได้จะทำให้ราคายางพาราดีดตัวสูงขึ้น
นายนริศ ขำนุรักษ์ อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงอุปสรรคในการประกอบอุตสาหกรรมการแปรรูปยางพาราว่า มีตั้งแต่ บีโอไอ ขอให้เร่งพิจารณาผ่านการตั้งโรงงานแปรรูปยางพารา ขอให้พิจารณาผ่านเรื่องสิ่งแวดล้อมและ อย. ทั้งนี้ต้องมีการผลิตยางทดแทนการนำเข้า โดยในปัจจุบันนำเข้าปีละกว่า 3 หมื่นล้านบาท จากประเทศที่ไม่ได้ปลูกยางพาราคือ เยอรมัน สหรัฐ และฝรั่งเศส ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้การนำเข้าเป็นศูนย์