ASTVผู้จัดการรายวัน-ศิษย์เผย "หลวงปู่พิมพ์" ขอดำรงธาตุขันธุ์จนอายุ 80 ปี ตามแบบพระพุทธเจ้า เจ้าตัวเผยเข้าฌานถอดจิตแล้ว แต่เกิดนิมิตอาจารย์ให้อยู่ช่วยบำรุงศาสนาต่อ พระน้องชายโบ้ยสื่อตีความผิดเพี้ยน อ้างเฉย "ละสังขาร" คือ "หยุดปรุงแต่งจิต" ขณะที่ พศ. รอหายอาพาธค่อยจับเข่าคุย "สงกรานต์" มาแล้ว ชี้อวดอุตริและเข้าข่ายฉ้อโกง ด้านศึกวัดสระเกศ มส.ตั้งกรรมการสอบ "อพช." หอบหลักฐานกล่าวหา "พระพรหมสุธี" ยื่นดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษ
เช้าวานนี้ (11 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลคอนสาร จ.ชัยภูมิ พระครูเวฬุวัน จันทรังษี หรือหลวงปู่พิมพ์ อายุ 65 ปี เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน หมู่ 4 บ้าน ท่าเริงรมย์ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ที่ล้มเลิกการละสังขารไปเมื่อบ่ายวานนี้ (10 ก.ย.) เข้าพักรักษาอาการอาพาธที่ห้องพิเศษ B 9 เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย เพราะไม่ได้ฉันอาหาร 3 วัน รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ โรคเกาต์ โรคกรดไหลย้อน และโรคลำไส้ โดยแพทย์เจ้าของไข้ คือ นายแพทย์สุภาพ สำราญวงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคอนสาร
นางทองดำ รื่นรมย์ อายุ 56 ปี ชาว อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมอาการอาพาธว่า รู้จักหลวงปู่พิมพ์จากข่าว หลังทราบว่าจะละสังขารคืนวันที่ 9 ก.ย. ก็เกิดศรัทธา จึงรีบเดินทางมาที่วัดพร้อมญาติ 4 คน แม้ตำรวจเข้าไปเกลี้ยกล่อมให้หลวงปู่เลิกละสังขาร ก็ไม่ทำให้ศรัทธาเสื่อมลง แต่จะเสียใจมากกว่า ถ้าละสังขารจริง เพราะต้องเสียพระดีๆ ไปอีกรูป
"หลวงปู่บอกว่าจะอยู่ดำรงธาตุขันธุ์สืบทอดพระศาสนาต่อไปถึงอายุ 80 ปี ตามแบบอย่างพระพุทธเจ้าหรือพ่อของท่าน ซึ่งหลวงปู่พิมพ์ได้นิมิตนี้ตอนที่นอนอยู่ในโลงศพ"
ด้านนายแพทย์สุภาพ กล่าวว่า อาการไม่น่าเป็นห่วงแล้ว สุขภาพแข็งแรงดี แต่ที่ให้น้ำเกลือเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อิดโรย หลังถอดสายน้ำเกลือจะให้อยู่พักฟื้นอีก 1-2 วัน ส่วนโรคประจำตัวสามารถรักษาได้
จากนั้น พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ ผบก.ภ.จว.ชัยภูมิพ.ต.อ.พงศ์ศักดิ์ สุขอิ่ม ผกก.สภ.คอนสาร ได้เดินทางมาเยี่ยมอาการหลวงปู่พิมพ์ ซึ่งหลวงปู่พิมพ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ย. เวลา 09.00 น. ได้เข้าฌานเพื่อถอดจิต เพราะตั้งใจจะให้จิตดับไป แต่เกิดนิมิตว่าครูบาอาจารย์ให้อยู่ช่วยกันทำนุอยู่บำรุงศาสนาต่อไป เมื่ออาตมาตื่นขึ้นมาก็คิดว่าคงอยู่ได้อีก 15 ปี ก็อายุ 80 ปีพอดี ซึ่งพระพุทธเจ้าก็อายุ 80 ปีเช่นกัน
พล.ต.ต.พินิต กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินคดี เพราะไม่พบว่าเข้าข่ายความผิด ทั้งเรื่องเงินบริจาค 2 แสนบาท การบริหารจัดการวัด ส่วนอาการอาพาธนั้นแพทย์จะดูแลเต็มที่
ที่วัดเวฬุวัน พุทธศาสนิกชนยังคงมาทำบุญเจริญภาวนา แต่ค่อนข้างบางตา โดยช่วงเช้าพระมหาบัว ปิยวัณโณ พระน้องชายหลวงปู่พิมพ์ ขึ้นธรรมาสน์เทศนาธรรม โดยบางช่วงโยงถึงพิธีละสังขารหลวงปู่พิมพ์ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศว่า การใช้คำพูดและสติในการฟังสำคัญมาก ไม่ใช่ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด เช่นคำว่าการละสังขาร คือ การตาย แต่ตามหลักของพุทธศาสนาหรือภาษาพระ การละสังขาร หมายถึง ละการปรุงแต่งทางจิต หรือละจากกิเลสทั้งปวง ไม่ใช่การละที่เป็นตัวตนทั้งหมด
ต่อมา ผู้สื่อข่าวถามพระมหาบัว ปิยวัณโณ ถึงคำว่า "ละสังขาร" ที่หลวงปู่พิมพ์เทศนาหมายถึงอะไร ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า หมายถึง สังขารธรรม หนึ่งขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ความหมายของหลวงปู่พิมพ์ที่กล่าวถึงคำว่าสังขาร คือ การปรุงแต่งของจิต ละสังขารนี้ คือ หยุดการปรุงแต่งจิต ไม่ใช่การละร่างกายหรือตาย แต่สื่อฟังแล้วไปกระจายในความหมายที่ผิดเพี้ยนจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต
ข่าวแจ้งว่า ระหว่างที่พระมหาบัว ปิยวัณโณ กำลังจะเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่พิมพ์ ได้ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า หยุดประโคมข่าวว่าอาตมาอยากดัง หรือสร้างภาพ อาตมาไม่มีเจตนา และไม่ได้เชิญผู้สื่อข่าวมาทำข่าวแต่อย่างใด ส่วนจุดประสงค์ที่หลวงปู่พิมพ์เข้าไปนอนในโลงศพ ก็เพื่อละการปรุงแต่งทางจิตเท่านั้น ถือเป็นการฝึกกรรมฐานอย่างหนึ่ง อีกทั้งมีศิษย์ถวายโลงศพมาจึงฉลองศรัทธา และการนอนในโลงไม่มีเจตนาให้เป็นข่าวใหญ่โตเพื่อเรียกเงินบริจาคอย่างใด
อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนที่ไปทำข่าวต่างตั้งข้อสังเกตว่า หากข่าวละสังขารผิดเพี้ยนไปจากที่หลวงปู่พิมพ์ได้เทศนา ทำไมทางวัดไม่ยับยั้งหรือชี้แจงการนำเสนอที่คลาดเคลื่อนของสื่อมวลชน ตั้งแต่เป็นข่าวใหญ่ไปเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ระบุว่ามีพระสงฆ์รู้วันตายของตนเอง และจะมีพิธีละสังขารนอนในโลงศพข้างกุฏิ ทั้งยังแจ้งศิษย์ให้เปิดโลงศพบ่ายวันที่ 11 ก.ย. เพื่อทำพิธีฌาปนกิจด้วย
ด้านสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบหลวงพ่อพิมพ์เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่เมื่อปฏิบัติถึงขั้นหนึ่งอาจทำให้สำคัญผิดว่าได้บรรลุธรรม เนื่องจากไปติดในวิปัสสนูปกิเลส หมายถึงอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษ ทำให้เข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ
"ไม่น่าจะเข้าข่ายอวดอุตริมนุสสธรรม เพราะหลวงพ่อพิมพ์เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และปฏิบัติดีมาตลอด การที่เข้าข่ายอวดอุตริ คือ ไม่มีวิชาอะไรเลย แล้วไปอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวตน เพื่อหวังลาภสักการะ บริวาร ดังนั้น พระพุทธองค์จึงต้องมีการบัญญัติ ห้ามพระภิกษุอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวตน ในการป้องกันพระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม"
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า หลังหลวงปู่พิมพ์อาการดีขึ้น เจ้าคณะปกครองต้องตรวจสอบกรณีประกาศละสังขาร ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินของวัดนั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล และตามระเบียบ มส. กำหนดให้เจ้าอาวาสดูแลการใช้จ่ายภายในวัด ทำบัญชีรายรับรายจ่าย หากจะให้เข้าไปตรวจสอบต้องขออำนาจศาลสั่งให้ พศ. ตรวจสอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะประสานเจ้าคณะปกครอง ดูแลบัญชีการเงินว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
"การที่หลวงปู่พิมพ์ประกาศละสังขาร บางคนเป็นการอวดอุตริ แต่เราก็มองว่าท่านอาจจะมีความเชื่อฝังอยู่เรื่องของการตาย แต่ทั้งหมดต้องรอให้อาการอาพาธดีขึ้นก่อน จึงไปสอบถามจากหลวงปู่พิมพ์ได้"
ขณะที่นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า ได้หารือกับนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ จึงทราบข้อมูลว่า หลวงปู่พิมพ์ทำพิธีละสังขารมาแล้ว 3 ครั้ง ห่างกันปีละครั้ง จึงเป็นการอวดอุตริ เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน เพราะการทำพิธีแต่ละครั้งมีพุทธศาสนิกชนบริจาคจำนวนมาก
ด้านความคืบหน้ากรณีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มอบหมายให้ดำเนินการสอบสวนข้อร้องเรียนพระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค 12 และกรรมการมส.นั้น
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) กล่าวว่า ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งต้องให้ผู้ถูกร้องและผู้ร้องมาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ โดยจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนปัญหาความขัดแย้งภายในวัดสระเกศ คงจะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยกันเพื่อหาข้อยุติต่อไป
ขณะที่องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อพช.) นำหนังสือที่ อพช.05/2557 ลงวันที่ 11 ก.ย.2557 ร้องทุกข์กล่าวโทษพระพรหมสุธี ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยมีพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู็อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษรับเรื่อง
นายชัยธนพล ศรีจิวังษา ผู้ประสานงาน อพช. กล่าวว่า มายื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษพระพรหมสุธี พร้อมเอกสารประกอบเพื่อให้ดีเอสไอพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ เพราะเชื่อว่าพระพรหมสุธีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เกี่ยวพันธุรกิจครอบครัวเอื้อให้ร่ำรวยผิดปกติ ทั้งนี้ ได้แนบเอกสารหลายรายการ อาทิ ประวัติพระพรหมสุธี ภาพถ่ายรถหรูบางส่วนที่เชื่อว่าน่าจะได้มาโดยใช้อำนาจมิชอบ ในการเป็นเลขานุการเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ของพระสังฆาธิการ ภาค 12 ในระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2550-2557 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชื่อนายเอกวัฒน์ ฝังมุข และน.ส.พิสมัย ครองสิน เป็นผู้ถือครองแทน
นอกจากนี้ ยังมีภาพฟาร์มกล้วยไม้ร่มรวีย์ และหลักฐานการใช้อำนาจเจ้าคณะภาค 12 เอื้อประโยชน์ให้เครือญาติผูกขาดธุรกิจกล้วยไม้ในเขตปกครอง โดยเฉพาะที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา และวัดพราหมณี จ.นครนายก เอกสารเกี่ยวกับบริษัท ถนอมกระแสพัฒนาที่ดินและบ้าน จำกัด ที่ให้นายเอกวัฒน์น้องชายเป็นผู้จดทะเบียนด้วยทุน 20 ล้านบาท ภาพถ่ายฟาร์มไก่ชนฟาร์มนกเขา และยังมีสำเนารายการประมาณค่าใช้จ่ายพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ รวมทั้งเงินบริจาคในงานสวดพระอภิธรรมที่ไม่เปิดเผยตัวเลข ซึ่งมีกว่าร้อยล้านบาท ซึ่งทางดีเอสไอแจ้งว่า ข้อมูลที่ถือว่ามีความสมบูรณ์ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการคดีพิเศษต่อไป
ด้านพระพรหมสุธี กล่าวว่า เมื่อมีการตั้งกรรมการก็ต้องเข้าให้ข้อมูล ซึ่งในขณะนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ส่วที่มีผู้ไปร้องต่อดีเอสไอให้รับเป็นคดีพิเศษ เพราะมีส่วนเกี่ยวพันกับธุรกิจครอบครัวนั้น ยังไม่ทราบเรื่อง แต่หากมีผู้ไปร้องก็คงไปห้ามกันไม่ได้
เช้าวานนี้ (11 ก.ย.) ที่โรงพยาบาลคอนสาร จ.ชัยภูมิ พระครูเวฬุวัน จันทรังษี หรือหลวงปู่พิมพ์ อายุ 65 ปี เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน หมู่ 4 บ้าน ท่าเริงรมย์ ต.ทุ่งพระ อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ที่ล้มเลิกการละสังขารไปเมื่อบ่ายวานนี้ (10 ก.ย.) เข้าพักรักษาอาการอาพาธที่ห้องพิเศษ B 9 เนื่องจากมีอาการอ่อนเพลีย เพราะไม่ได้ฉันอาหาร 3 วัน รวมทั้งมีโรคประจำตัว คือ โรคเกาต์ โรคกรดไหลย้อน และโรคลำไส้ โดยแพทย์เจ้าของไข้ คือ นายแพทย์สุภาพ สำราญวงษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคอนสาร
นางทองดำ รื่นรมย์ อายุ 56 ปี ชาว อ.คลองขลุง จ.กำแพงเพชร เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมอาการอาพาธว่า รู้จักหลวงปู่พิมพ์จากข่าว หลังทราบว่าจะละสังขารคืนวันที่ 9 ก.ย. ก็เกิดศรัทธา จึงรีบเดินทางมาที่วัดพร้อมญาติ 4 คน แม้ตำรวจเข้าไปเกลี้ยกล่อมให้หลวงปู่เลิกละสังขาร ก็ไม่ทำให้ศรัทธาเสื่อมลง แต่จะเสียใจมากกว่า ถ้าละสังขารจริง เพราะต้องเสียพระดีๆ ไปอีกรูป
"หลวงปู่บอกว่าจะอยู่ดำรงธาตุขันธุ์สืบทอดพระศาสนาต่อไปถึงอายุ 80 ปี ตามแบบอย่างพระพุทธเจ้าหรือพ่อของท่าน ซึ่งหลวงปู่พิมพ์ได้นิมิตนี้ตอนที่นอนอยู่ในโลงศพ"
ด้านนายแพทย์สุภาพ กล่าวว่า อาการไม่น่าเป็นห่วงแล้ว สุขภาพแข็งแรงดี แต่ที่ให้น้ำเกลือเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายที่อิดโรย หลังถอดสายน้ำเกลือจะให้อยู่พักฟื้นอีก 1-2 วัน ส่วนโรคประจำตัวสามารถรักษาได้
จากนั้น พล.ต.ต.พินิต มณีรัตน์ ผบก.ภ.จว.ชัยภูมิพ.ต.อ.พงศ์ศักดิ์ สุขอิ่ม ผกก.สภ.คอนสาร ได้เดินทางมาเยี่ยมอาการหลวงปู่พิมพ์ ซึ่งหลวงปู่พิมพ์ กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 ก.ย. เวลา 09.00 น. ได้เข้าฌานเพื่อถอดจิต เพราะตั้งใจจะให้จิตดับไป แต่เกิดนิมิตว่าครูบาอาจารย์ให้อยู่ช่วยกันทำนุอยู่บำรุงศาสนาต่อไป เมื่ออาตมาตื่นขึ้นมาก็คิดว่าคงอยู่ได้อีก 15 ปี ก็อายุ 80 ปีพอดี ซึ่งพระพุทธเจ้าก็อายุ 80 ปีเช่นกัน
พล.ต.ต.พินิต กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ไม่ได้ดำเนินคดี เพราะไม่พบว่าเข้าข่ายความผิด ทั้งเรื่องเงินบริจาค 2 แสนบาท การบริหารจัดการวัด ส่วนอาการอาพาธนั้นแพทย์จะดูแลเต็มที่
ที่วัดเวฬุวัน พุทธศาสนิกชนยังคงมาทำบุญเจริญภาวนา แต่ค่อนข้างบางตา โดยช่วงเช้าพระมหาบัว ปิยวัณโณ พระน้องชายหลวงปู่พิมพ์ ขึ้นธรรมาสน์เทศนาธรรม โดยบางช่วงโยงถึงพิธีละสังขารหลวงปู่พิมพ์ที่กลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วประเทศว่า การใช้คำพูดและสติในการฟังสำคัญมาก ไม่ใช่ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด เช่นคำว่าการละสังขาร คือ การตาย แต่ตามหลักของพุทธศาสนาหรือภาษาพระ การละสังขาร หมายถึง ละการปรุงแต่งทางจิต หรือละจากกิเลสทั้งปวง ไม่ใช่การละที่เป็นตัวตนทั้งหมด
ต่อมา ผู้สื่อข่าวถามพระมหาบัว ปิยวัณโณ ถึงคำว่า "ละสังขาร" ที่หลวงปู่พิมพ์เทศนาหมายถึงอะไร ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า หมายถึง สังขารธรรม หนึ่งขันธ์ทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ความหมายของหลวงปู่พิมพ์ที่กล่าวถึงคำว่าสังขาร คือ การปรุงแต่งของจิต ละสังขารนี้ คือ หยุดการปรุงแต่งจิต ไม่ใช่การละร่างกายหรือตาย แต่สื่อฟังแล้วไปกระจายในความหมายที่ผิดเพี้ยนจนเป็นเรื่องราวใหญ่โต
ข่าวแจ้งว่า ระหว่างที่พระมหาบัว ปิยวัณโณ กำลังจะเดินทางไปเยี่ยมหลวงปู่พิมพ์ ได้ชี้แจงต่อผู้สื่อข่าวเพิ่มเติมว่า หยุดประโคมข่าวว่าอาตมาอยากดัง หรือสร้างภาพ อาตมาไม่มีเจตนา และไม่ได้เชิญผู้สื่อข่าวมาทำข่าวแต่อย่างใด ส่วนจุดประสงค์ที่หลวงปู่พิมพ์เข้าไปนอนในโลงศพ ก็เพื่อละการปรุงแต่งทางจิตเท่านั้น ถือเป็นการฝึกกรรมฐานอย่างหนึ่ง อีกทั้งมีศิษย์ถวายโลงศพมาจึงฉลองศรัทธา และการนอนในโลงไม่มีเจตนาให้เป็นข่าวใหญ่โตเพื่อเรียกเงินบริจาคอย่างใด
อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนที่ไปทำข่าวต่างตั้งข้อสังเกตว่า หากข่าวละสังขารผิดเพี้ยนไปจากที่หลวงปู่พิมพ์ได้เทศนา ทำไมทางวัดไม่ยับยั้งหรือชี้แจงการนำเสนอที่คลาดเคลื่อนของสื่อมวลชน ตั้งแต่เป็นข่าวใหญ่ไปเมื่อวันที่ 8 ก.ย. ที่ระบุว่ามีพระสงฆ์รู้วันตายของตนเอง และจะมีพิธีละสังขารนอนในโลงศพข้างกุฏิ ทั้งยังแจ้งศิษย์ให้เปิดโลงศพบ่ายวันที่ 11 ก.ย. เพื่อทำพิธีฌาปนกิจด้วย
ด้านสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) กล่าวว่า เท่าที่ทราบหลวงพ่อพิมพ์เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่เมื่อปฏิบัติถึงขั้นหนึ่งอาจทำให้สำคัญผิดว่าได้บรรลุธรรม เนื่องจากไปติดในวิปัสสนูปกิเลส หมายถึงอุปกิเลสแห่งวิปัสสนา เป็นธรรมารมณ์ที่เกิดแก่ผู้ได้วิปัสสนาอ่อนๆ สภาพน่าชื่นชม แต่ที่แท้เป็นโทษ ทำให้เข้าใจผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว เป็นเหตุขัดขวางไม่ให้ก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ
"ไม่น่าจะเข้าข่ายอวดอุตริมนุสสธรรม เพราะหลวงพ่อพิมพ์เป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และปฏิบัติดีมาตลอด การที่เข้าข่ายอวดอุตริ คือ ไม่มีวิชาอะไรเลย แล้วไปอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวตน เพื่อหวังลาภสักการะ บริวาร ดังนั้น พระพุทธองค์จึงต้องมีการบัญญัติ ห้ามพระภิกษุอวดอ้างคุณวิเศษที่ไม่มีในตัวตน ในการป้องกันพระสงฆ์ประพฤติไม่เหมาะสม"
นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า หลังหลวงปู่พิมพ์อาการดีขึ้น เจ้าคณะปกครองต้องตรวจสอบกรณีประกาศละสังขาร ส่วนการตรวจสอบทรัพย์สินของวัดนั้น คงไม่สามารถทำได้ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล และตามระเบียบ มส. กำหนดให้เจ้าอาวาสดูแลการใช้จ่ายภายในวัด ทำบัญชีรายรับรายจ่าย หากจะให้เข้าไปตรวจสอบต้องขออำนาจศาลสั่งให้ พศ. ตรวจสอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะประสานเจ้าคณะปกครอง ดูแลบัญชีการเงินว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่
"การที่หลวงปู่พิมพ์ประกาศละสังขาร บางคนเป็นการอวดอุตริ แต่เราก็มองว่าท่านอาจจะมีความเชื่อฝังอยู่เรื่องของการตาย แต่ทั้งหมดต้องรอให้อาการอาพาธดีขึ้นก่อน จึงไปสอบถามจากหลวงปู่พิมพ์ได้"
ขณะที่นายสงกรานต์ อัจฉริยะทรัพย์ ประธานเครือข่ายต่อต้านการบ่อนทำลายชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ กล่าวว่า ได้หารือกับนายพรศักดิ์ เจียรณัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ จึงทราบข้อมูลว่า หลวงปู่พิมพ์ทำพิธีละสังขารมาแล้ว 3 ครั้ง ห่างกันปีละครั้ง จึงเป็นการอวดอุตริ เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน เพราะการทำพิธีแต่ละครั้งมีพุทธศาสนิกชนบริจาคจำนวนมาก
ด้านความคืบหน้ากรณีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มอบหมายให้ดำเนินการสอบสวนข้อร้องเรียนพระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค 12 และกรรมการมส.นั้น
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) กล่าวว่า ได้ตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว ซึ่งต้องให้ผู้ถูกร้องและผู้ร้องมาให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการ โดยจะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ส่วนปัญหาความขัดแย้งภายในวัดสระเกศ คงจะต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายพูดคุยกันเพื่อหาข้อยุติต่อไป
ขณะที่องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนพิทักษ์ ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ (อพช.) นำหนังสือที่ อพช.05/2557 ลงวันที่ 11 ก.ย.2557 ร้องทุกข์กล่าวโทษพระพรหมสุธี ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) โดยมีพ.ต.ต.วรณัน ศรีล้ำ ผู็อำนวยการศูนย์บริหารคดีพิเศษรับเรื่อง
นายชัยธนพล ศรีจิวังษา ผู้ประสานงาน อพช. กล่าวว่า มายื่นหนังสือร้องทุกข์กล่าวโทษพระพรหมสุธี พร้อมเอกสารประกอบเพื่อให้ดีเอสไอพิจารณารับเป็นคดีพิเศษ เพราะเชื่อว่าพระพรหมสุธีเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ เกี่ยวพันธุรกิจครอบครัวเอื้อให้ร่ำรวยผิดปกติ ทั้งนี้ ได้แนบเอกสารหลายรายการ อาทิ ประวัติพระพรหมสุธี ภาพถ่ายรถหรูบางส่วนที่เชื่อว่าน่าจะได้มาโดยใช้อำนาจมิชอบ ในการเป็นเลขานุการเลื่อนและแต่งตั้งสมณศักดิ์ของพระสังฆาธิการ ภาค 12 ในระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ปี 2550-2557 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ชื่อนายเอกวัฒน์ ฝังมุข และน.ส.พิสมัย ครองสิน เป็นผู้ถือครองแทน
นอกจากนี้ ยังมีภาพฟาร์มกล้วยไม้ร่มรวีย์ และหลักฐานการใช้อำนาจเจ้าคณะภาค 12 เอื้อประโยชน์ให้เครือญาติผูกขาดธุรกิจกล้วยไม้ในเขตปกครอง โดยเฉพาะที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา และวัดพราหมณี จ.นครนายก เอกสารเกี่ยวกับบริษัท ถนอมกระแสพัฒนาที่ดินและบ้าน จำกัด ที่ให้นายเอกวัฒน์น้องชายเป็นผู้จดทะเบียนด้วยทุน 20 ล้านบาท ภาพถ่ายฟาร์มไก่ชนฟาร์มนกเขา และยังมีสำเนารายการประมาณค่าใช้จ่ายพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุฒาจารย์ รวมทั้งเงินบริจาคในงานสวดพระอภิธรรมที่ไม่เปิดเผยตัวเลข ซึ่งมีกว่าร้อยล้านบาท ซึ่งทางดีเอสไอแจ้งว่า ข้อมูลที่ถือว่ามีความสมบูรณ์ และจะนำเข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการคดีพิเศษต่อไป
ด้านพระพรหมสุธี กล่าวว่า เมื่อมีการตั้งกรรมการก็ต้องเข้าให้ข้อมูล ซึ่งในขณะนี้ยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ ส่วที่มีผู้ไปร้องต่อดีเอสไอให้รับเป็นคดีพิเศษ เพราะมีส่วนเกี่ยวพันกับธุรกิจครอบครัวนั้น ยังไม่ทราบเรื่อง แต่หากมีผู้ไปร้องก็คงไปห้ามกันไม่ได้