ศ.นพ.ประกิจ วาทีสาถกกิจ ที่ปรึกษาเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นานาชาติ กล่าวถึงกรณี น.ส.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ทำข้อเสนอถึงคสช. ให้ดึงงบประมาณของสสส. กลับเข้าสู่ระบบ แล้วจัดสรรออกมาตามปกติ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อความโปร่งใสในการใช้งบประมาณนั้น คงจะมาจากการที่น.ส.ดาวน้อยไม่ทราบความจริงที่ว่า หลังจากการดำเนินการมา13 ปี ขณะนี้ สสส. ได้เป็นองค์กรต้นแบบ ที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกนำไปปฏิบัติ เนื่องจากประเทศต่างๆ ประสบปัญหาเช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเคยเจอก่อนการตั้ง สสส. ที่ไม่สามารถได้รับการจัดสรรงบประมาณ สำหรับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในขั้นตอนการของบประมาณแบบปกติ เนื่องจากฝ่ายการเมือง มักจะให้ความสำคัญแก่การจัดสรรงบประมาณสำหรับการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพในระดับต่ำมาก ผลจากการชี้แนะขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยได้กลายเป็นต้นแบบของประเทศมองโกเลีย เวียดนาม ลาว ตองกา และมาเลเซีย ในการจัดตั้งองค์กรและแหล่งงบประมาณที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ขณะที่หลายประเทศ อาทิ ซามัว โซโลมอนไอส์แลนด์ อยู่ในระหว่างการผลัก ดันกฎหมาย เพื่อระบุแหล่งงบประมาณที่ยั่งยืน
นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดให้มีการประชุมปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนแบบ สสส. ให้แก่ผู้แทนประเทศเนปาล บังกลาเทศ มัลดีฟ ภูฏาน และพม่า ที่กรุงเทพฯ และในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสนับสนุนทุนโดย มูลนิธิบิล และเมลินดา เกต ก็จะมาจัดการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบงบประมาณที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการควบคุมยาสูบ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เช่นกัน โดยประเทศที่ มาร่วมประชุม ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า บรูไน และสิงคโปร์ ซึ่งการที่ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจและพยายามที่จะตั้งองค์กรและระบบงบประมาณแบบ สสส. ขึ้นในประเทศของตนเอง ย่อมเป็นประจักษ์พยานว่า การดำเนินงานของ สสส. มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ อีกส่วนหนึ่งมาจากทุกประเทศต่างประสบปัญหาภาระโรค การเสียชีวิตก่อนเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)จึงต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการจัดระบบงบประมาณสนับสนุนที่ยั่งยืน ตามข้อแนะนำของที่ประชุมซัมมิท
สหประชาชาติ ที่ให้มีการกำหนดแหล่งงบประมาณนวัตกรรม ที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อลดภาระความสูญเสียจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
"โดยทั่วไปเป็นงบประมาณเพียงร้อยละ1-2 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศ ทุกฝ่ายจึงควรที่จะเข้าใจตรงกันและให้กลไก สสส. ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศ และประชาคมโลก ส่วนเรื่องความโปร่งใสและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณนั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายต่าง ๆ สามารถที่จะตรวจสอบได้อยู่แล้ว สสส.เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐไม่กี่แห่งที่มีประเทศต่าง ๆ มาดูงานแบบหัวบันไดไม่เคยแห้ง น่าจะมีเหตุผลว่าทำไม" ศ.นพ.ประกิจ กล่าว
ด้าน นพ.มรกต กรเกษม อดีตรมช.สาธารณสุข และ อดีตประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายใน สสส. กล่าวว่า ตนในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายในมาตลอดกว่า 10 ปี ของการก่อตั้ง สสส. และเพิ่งหมดวาระไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสสส. ไม่เคยพบการใช้จ่ายงบประมาณที่ผิดระเบียบ หรือผิดกฎข้อบังคับที่กำหนด จะมีบ้างก็เป็นในส่วนของขั้นตอน หรืออาจจะเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เมื่อมีการติดตามและให้คำแนะนำตักเตือนไป ก็ปรับแก้ไขได้ถูกต้อง
นอกจากนั้นแล้ว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ก็เข้ามาตรวจสอบตลอด และคณะอนุกรรมการฯได้นำรายงานสรุปของ สตง.ทุกฉบับมาพิจารณา ซึ่งก็ไม่เคยพบว่า สตง.รายงานว่าตรวจสอบพบการกระทำผิดข้อบังคับที่เกินเลยไป แม้แต่ในอดีตมีนักการเมืองตั้งข้อสงสัยในเรื่องการใช้จ่ายงบฯ แต่เมื่อตรวจสอบ ก็ไม่พบว่ามีการดำเนินงานผิดวัตถุประสงค์ ตามที่กล่าวหา
"การดูแลการใช้จ่ายงบฯ ของ สสส. มี 2 ระดับคือ ระดับสำนักงาน และคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายในฯ ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ฝ่ายกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้ที่สังคมให้ความนับถือในเรื่องของการตรวจสอบ และความซื่อสัตย์อยู่แล้ว" นพ.มรกต กล่าว
สำหรับในส่วนที่มักจะมีการตั้งข้อสงสัยว่า สสส. ให้เงินสนับสนุนแต่พวกพ้องตนเอง ตนก็เคยตรวจสอบในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งการดำเนินงานด้านสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นงานที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการสาธารณสุขดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อ สสส.เกิดขึ้น และทำงานเสริมกันกับ สธ. ก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ความสามารถในด้านสาธารณสุขมาดำเนินการ ซึ่งก็เป็นคนในวงการที่รู้จักกัน ดังนั้นจะเรียกว่าพวกพ้องก็คงไม่ได้ แต่เรื่องรู้จักกันอยู่ในวงการก็มี เพราะเราก็ต้องร่วมงานกับคนที่ไว้ใจได้ว่ามีความรู้ และสามารถผลักดันให้การทำงานเกิดผลประโยชน์ที่คุ้มค่างบประมาณ ซึ่งการบริหารงบประมาณของ สสส. มีนโยบาย รูปแบบ และแนวปฏิบัติที่ดีอยู่แล้ว โดยแยกออกมาจากส่วนราชการ ทำให้การดำเนินงานคล่องตัว และสำเร็จที่ดี
นอกจากนี้ เมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดให้มีการประชุมปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวมถึงการจัดตั้งกองทุนแบบ สสส. ให้แก่ผู้แทนประเทศเนปาล บังกลาเทศ มัลดีฟ ภูฏาน และพม่า ที่กรุงเทพฯ และในวันที่ 25-26 ก.ย.นี้ เครือข่ายรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสนับสนุนทุนโดย มูลนิธิบิล และเมลินดา เกต ก็จะมาจัดการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบงบประมาณที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการควบคุมยาสูบ ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เช่นกัน โดยประเทศที่ มาร่วมประชุม ประกอบด้วย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว พม่า บรูไน และสิงคโปร์ ซึ่งการที่ประเทศต่างๆ ให้ความสนใจและพยายามที่จะตั้งองค์กรและระบบงบประมาณแบบ สสส. ขึ้นในประเทศของตนเอง ย่อมเป็นประจักษ์พยานว่า การดำเนินงานของ สสส. มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพ อีกส่วนหนึ่งมาจากทุกประเทศต่างประสบปัญหาภาระโรค การเสียชีวิตก่อนเวลา และค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)จึงต่างหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการจัดระบบงบประมาณสนับสนุนที่ยั่งยืน ตามข้อแนะนำของที่ประชุมซัมมิท
สหประชาชาติ ที่ให้มีการกำหนดแหล่งงบประมาณนวัตกรรม ที่ยั่งยืนเพื่อสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อลดภาระความสูญเสียจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
"โดยทั่วไปเป็นงบประมาณเพียงร้อยละ1-2 ของงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศ ทุกฝ่ายจึงควรที่จะเข้าใจตรงกันและให้กลไก สสส. ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศ และประชาคมโลก ส่วนเรื่องความโปร่งใสและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณนั้น เป็นเรื่องที่ฝ่ายต่าง ๆ สามารถที่จะตรวจสอบได้อยู่แล้ว สสส.เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐไม่กี่แห่งที่มีประเทศต่าง ๆ มาดูงานแบบหัวบันไดไม่เคยแห้ง น่าจะมีเหตุผลว่าทำไม" ศ.นพ.ประกิจ กล่าว
ด้าน นพ.มรกต กรเกษม อดีตรมช.สาธารณสุข และ อดีตประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายใน สสส. กล่าวว่า ตนในฐานะประธานคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายในมาตลอดกว่า 10 ปี ของการก่อตั้ง สสส. และเพิ่งหมดวาระไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ตลอดระยะเวลาที่ทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณของสสส. ไม่เคยพบการใช้จ่ายงบประมาณที่ผิดระเบียบ หรือผิดกฎข้อบังคับที่กำหนด จะมีบ้างก็เป็นในส่วนของขั้นตอน หรืออาจจะเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เมื่อมีการติดตามและให้คำแนะนำตักเตือนไป ก็ปรับแก้ไขได้ถูกต้อง
นอกจากนั้นแล้ว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ก็เข้ามาตรวจสอบตลอด และคณะอนุกรรมการฯได้นำรายงานสรุปของ สตง.ทุกฉบับมาพิจารณา ซึ่งก็ไม่เคยพบว่า สตง.รายงานว่าตรวจสอบพบการกระทำผิดข้อบังคับที่เกินเลยไป แม้แต่ในอดีตมีนักการเมืองตั้งข้อสงสัยในเรื่องการใช้จ่ายงบฯ แต่เมื่อตรวจสอบ ก็ไม่พบว่ามีการดำเนินงานผิดวัตถุประสงค์ ตามที่กล่าวหา
"การดูแลการใช้จ่ายงบฯ ของ สสส. มี 2 ระดับคือ ระดับสำนักงาน และคณะอนุกรรมการตรวจสอบภายในฯ ซึ่งมีผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ฝ่ายกฎหมาย ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้ที่สังคมให้ความนับถือในเรื่องของการตรวจสอบ และความซื่อสัตย์อยู่แล้ว" นพ.มรกต กล่าว
สำหรับในส่วนที่มักจะมีการตั้งข้อสงสัยว่า สสส. ให้เงินสนับสนุนแต่พวกพ้องตนเอง ตนก็เคยตรวจสอบในประเด็นเหล่านี้ ซึ่งการดำเนินงานด้านสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นงานที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หรือผู้ที่อยู่ในแวดวงวิชาการสาธารณสุขดำเนินการอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อ สสส.เกิดขึ้น และทำงานเสริมกันกับ สธ. ก็ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ความรู้ความสามารถในด้านสาธารณสุขมาดำเนินการ ซึ่งก็เป็นคนในวงการที่รู้จักกัน ดังนั้นจะเรียกว่าพวกพ้องก็คงไม่ได้ แต่เรื่องรู้จักกันอยู่ในวงการก็มี เพราะเราก็ต้องร่วมงานกับคนที่ไว้ใจได้ว่ามีความรู้ และสามารถผลักดันให้การทำงานเกิดผลประโยชน์ที่คุ้มค่างบประมาณ ซึ่งการบริหารงบประมาณของ สสส. มีนโยบาย รูปแบบ และแนวปฏิบัติที่ดีอยู่แล้ว โดยแยกออกมาจากส่วนราชการ ทำให้การดำเนินงานคล่องตัว และสำเร็จที่ดี