ผุดแบบประเมิน “สแกนกรรม” ประเมินกลุ่มโรค NCDs สสส. ระบุเป็นโรคเกิดจากพฤติกรรม เป็นภัยเงียบของคนไทย เผยการตรวจประเมินบื้องต้น เพื่อดูความเสี่ยงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสามารถช่วยป้องกันการก่อโรคได้
วันนี้ (15 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวระหว่างแถลงข่าว “กลุ่มโรค NCDs วิกฤตโรค วิกฤตโลก” และเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง” ว่า กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง เกิดจาก 6 ปัจจัยเสี่ยง คือ เหล้า บุหรี่ อาหาร (หวาน-มัน-เค็มจัด) การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ความเครียด และกรรมพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม เนื่องจากสภาพสังคมมีความเร่งรีบ ทำให้เกิดความเคยชินในการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน รวมถึงเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ชีวิตมีความสะดวกสบาย ทำให้คนไทยออกกำลังน้อยลง กลุ่มโรคนี้จึงนับเป็นภัยเงียบที่คนไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากสถิติผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
“จากข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ปี 2552 ไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มนี้ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 3 แสนคน หรือคิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด และมากกว่าครึ่งเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 2 แสนล้านบาท/ปี ส่วนข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs 63% และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึง 80% ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึง 10% และสูงกว่าทุกประเทศในโลก และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้” ผู้จัดการ สสส. กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า สสส. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) มหาวิทยาลัยมหิดล ขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบ NCDs Network เชื่อมโยงข้อมูลการทำงาน และแนวทางในการรณรงค์ ป้องกัน ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ โดยเน้นที่การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคได้ถึง 80%
ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสึม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ลักษณะของโรค NCDs เป็นแล้วไม่หาย เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อเป็นแล้วจะไม่มีอาการ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือน้ำตาลในเลือดสูง หากไม่ตรวจก็ไม่ทราบเลย เนื่องจากร่างกายไม่แสดงอาการ และเมื่อเป็นโรคแล้วหากปรับพฤติกรรมก็สามารถควบคุมได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดโรค โดยอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถปรับโดยการลดหวาน มัน เค็ม บริโภคให้ครบ 5 หมู่ และ ควรลดหรือเลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหลายโรคเช่นกัน เพิ่มการออกกำลังกาย และหากิจกรรมคลายเครียด ก็จะเป็นวิธีป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้อย่างดี
นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย นักวิจัย IHPP กล่าวว่า การแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ต้องดำเนิน 2 มาตรการ คือ 1. มาตรการทางกฎหมาย เช่น การขึ้นภาษียาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และ 2. การรณรงค์ให้ความรู้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่ง สสส. ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs (NCDs Quiz) หรือเรียกว่าการสแกนกรรม เพราะกลุ่มโรคนี้เกิดจากพฤติกรรม หรือเกิดจากกรรม ซึ่งก็คือการกระทำของเรานั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อช่วยตรวจหาความเสี่ยงด้วยตนเองเบื้องต้น ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคใด และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านใด จะได้ทราบว่าจัวเองควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดบ้าง โดยสามารถทำได้ปีละครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง หากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงมาก หากผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และลดการใช้ยาลงได้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปสแกนกรรมได้ที่ www.ncdsthailand.com
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า สสส. ได้นำประเด็นกลุ่มโรค NCDs มาเป็นประเด็นในการสื่อสารหลักประจำปี 2557 โดยเน้นเตือนภัย “6-6-5” คือ 6 โรคที่มีผู้เสียชีวิตสูง 6 ปัจจัยเสี่ยงหลัก และ 5 แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงอาหารหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มผักผลไม้ การออกกำลังกาย อย่างน้อย 30นาที/วัน (5 ครั้ง/สัปดาห์) และอารมณ์ดี คิดบวก พักผ่อนให้เพียงพอ
วันนี้ (15 พ.ค.) เมื่อเวลา 10.30 น. ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการ สสส. กล่าวระหว่างแถลงข่าว “กลุ่มโรค NCDs วิกฤตโรค วิกฤตโลก” และเปิดตัวแคมเปญรณรงค์ “กลุ่มโรค NCDs โรคที่คุณสร้างเอง” ว่า กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง เกิดจาก 6 ปัจจัยเสี่ยง คือ เหล้า บุหรี่ อาหาร (หวาน-มัน-เค็มจัด) การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ความเครียด และกรรมพันธุ์ เรียกได้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรม เนื่องจากสภาพสังคมมีความเร่งรีบ ทำให้เกิดความเคยชินในการบริโภคอาหาร โดยเฉพาะอาหารจานด่วน รวมถึงเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้ามากขึ้น ชีวิตมีความสะดวกสบาย ทำให้คนไทยออกกำลังน้อยลง กลุ่มโรคนี้จึงนับเป็นภัยเงียบที่คนไทยต้องเผชิญ โดยเฉพาะช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา สังเกตได้จากสถิติผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงเป็นอันดับหนึ่ง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ
“จากข้อมูลสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) ปี 2552 ไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคในกลุ่มนี้ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 3 แสนคน หรือคิดเป็น 73% ของการเสียชีวิตของประชากรไทยทั้งหมด และมากกว่าครึ่งเสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 2 แสนล้านบาท/ปี ส่วนข้อมูลองค์การอนามัยโลก ระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs 63% และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึง 80% ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึง 10% และสูงกว่าทุกประเทศในโลก และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งที่กลุ่มโรค NCDs เป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยที่หลีกเลี่ยงและป้องกันได้” ผู้จัดการ สสส. กล่าว
ทพ.กฤษดา กล่าวอีกว่า สสส. ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) มหาวิทยาลัยมหิดล ขับเคลื่อนการทำงานในรูปแบบ NCDs Network เชื่อมโยงข้อมูลการทำงาน และแนวทางในการรณรงค์ ป้องกัน ตลอดจนหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเหล่านี้ โดยเน้นที่การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง ซึ่งช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคได้ถึง 80%
ศ.พญ.วรรณี นิธิยานันท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสึม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล กล่าวว่า ลักษณะของโรค NCDs เป็นแล้วไม่หาย เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อเป็นแล้วจะไม่มีอาการ เช่น ความดันโลหิตสูง หรือน้ำตาลในเลือดสูง หากไม่ตรวจก็ไม่ทราบเลย เนื่องจากร่างกายไม่แสดงอาการ และเมื่อเป็นโรคแล้วหากปรับพฤติกรรมก็สามารถควบคุมได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก่อนที่จะเกิดโรค โดยอาหารถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด สามารถปรับโดยการลดหวาน มัน เค็ม บริโภคให้ครบ 5 หมู่ และ ควรลดหรือเลิกดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดหลายโรคเช่นกัน เพิ่มการออกกำลังกาย และหากิจกรรมคลายเครียด ก็จะเป็นวิธีป้องกันกลุ่มโรค NCDs ได้อย่างดี
นพ.ขวัญประชา เชียงไชยสกุลไทย นักวิจัย IHPP กล่าวว่า การแก้ปัญหากลุ่มโรค NCDs ต้องดำเนิน 2 มาตรการ คือ 1. มาตรการทางกฎหมาย เช่น การขึ้นภาษียาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง และ 2. การรณรงค์ให้ความรู้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่ง สสส. ร่วมกับเครือข่ายวิชาการ จัดทำแบบประเมินความเสี่ยงกลุ่มโรค NCDs (NCDs Quiz) หรือเรียกว่าการสแกนกรรม เพราะกลุ่มโรคนี้เกิดจากพฤติกรรม หรือเกิดจากกรรม ซึ่งก็คือการกระทำของเรานั่นเอง ทั้งนี้ เพื่อช่วยตรวจหาความเสี่ยงด้วยตนเองเบื้องต้น ว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคใด และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านใด จะได้ทราบว่าจัวเองควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใดบ้าง โดยสามารถทำได้ปีละครั้ง หรือ 6 เดือนครั้ง หากคิดว่าตนเองมีความเสี่ยงมาก หากผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองได้ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา และลดการใช้ยาลงได้ ผู้สนใจสามารถเข้าไปสแกนกรรมได้ที่ www.ncdsthailand.com
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม สสส. กล่าวว่า สสส. ได้นำประเด็นกลุ่มโรค NCDs มาเป็นประเด็นในการสื่อสารหลักประจำปี 2557 โดยเน้นเตือนภัย “6-6-5” คือ 6 โรคที่มีผู้เสียชีวิตสูง 6 ปัจจัยเสี่ยงหลัก และ 5 แนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ ไม่ดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ เลี่ยงอาหารหวาน-มัน-เค็ม เพิ่มผักผลไม้ การออกกำลังกาย อย่างน้อย 30นาที/วัน (5 ครั้ง/สัปดาห์) และอารมณ์ดี คิดบวก พักผ่อนให้เพียงพอ