นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า วันที่ 11 ก.ย.นี้ ที่ประชุม สนช. จะพิจารณาร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ฉบับใหม่ ที่เพิ่มหมวดว่าด้วยการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พร้อมระบุว่า ควรรอให้ที่ประชุมอภิปราย และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ก่อนที่จะวิพากษ์วิจารณ์ หรือแสดงความวิตกกังวลเรื่องข้อบังคับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นร้องต่อศาลว่า ข้อบังคับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะวินิจฉัย พร้อมปฏิเสธว่า การยกร่างข้อบังคับนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะสกัดกั้นกลุ่มนักการเมือง โดยเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจ เพราะร่างข้อบังคับ เป็นกติกาที่กำหนดไว้เท่านั้น อาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาถอดถอนก็ได้
"อยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจเรื่องข้อบังคับว่าด้วยหมวดถอดถอน กับการใช้ข้อบังคับเพื่อถอดถอน เป็นคนละเรื่องกัน เพราะข้อบังคับเป็นกำหนดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ซึ่งสุดท้ายขึ้นอยู่กับที่ประชุมสนช. และต้องดูอีกครั้ง ถ้าหากมีการชี้มูลความผิด แล้วการถอดถอนจะอยู่ในอำนาจของ สนช. หรือไม่ ส่วนข้อวิจารณ์ว่าการถอดถอน จะเป็นการล้างบางนักการเมืองหรือไม่ ต้องให้รอการอภิปราย และการชี้แจงของสภาก่อน แต่เชื่อว่าไม่มีเจตนาจะล้างบาง ซึ่งก็เป็นเพียงข้อวิจารณ์ ประชาชนมีความเห็นอย่างไร ก็รู้กันอยู่ " นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม และ วิปสนช.ได้พิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบแล้ว จากนี้จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสมาชิก สนช. ว่าจะลงมติร่างข้อบังคับนี้อย่างไร
ทั้งนี้ การประชุมสนช. ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ จะเป็นเรื่องการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ขณะที่กฎหมายเร่งด่วน 5 ฉบับ จะเลื่อนไปพิจารณาสัปดาห์หน้าแทน เนื่องจากต้องรอให้รัฐมนตรี เป็นผู้มาชี้แจงต่อสภาฯ แทนปลัดกระทรวง
นายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. และโฆษกวิปสนช. กล่าวถึง ร่างข้อบังคับการประชุมสนช. ที่มีหมวดเรื่องการถอดถอนนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ว่า ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ ที่มีการยกร่างให้ครอบคลุมบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวกับนักการเมืองและองค์กรต่างๆ ทุกตำแหน่ง รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคตในการถอดถอนบุคคลเหล่านั้น หากมีการส่งเรื่องเข้ามาตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ สนช. ก็สามารถทำงานได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. มาตรา 58 ที่ให้อำนาจสนช. ถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร รองอัยการสูงสุด และ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
ส่วนสนช.จะกล้าถอดถอนบุคคลเหล่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะตำแหน่งนายกฯ นายเจตน์ กล่าวว่า ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน และในทางกลับกัน หากสนช. ยกร่างดังกล่าว แต่ไม่มีบทถอดถอนนายกฯ ก็อาจจะถูกสังคมตั้งคำถามว่า ทำไมถึงละเว้นในประเด็นดังกล่าวนี้ไป
นายเจตน์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การถอดถอนบุคคลใน 4 สำนวนที่มีการชี้มูลจากป.ป.ช.มาแล้ว โดยมีสำนวนเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้วุฒิสภารวมอยู่ด้วยว่า ภายหลังที่มีการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. และมีการสั่งยุบวุฒิสภาปี 2557 จึงไม่ทราบว่าสำนวนดังกล่าว จะอยู่ในชั้นไหน หน่วยงานใด รวมทั้งตกไปแล้วหรือไม่ แต่ขณะนี้ สนช. กำลังยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช. และมีเรื่องถอดถอนรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อ สนช.ยกร่างเสร็จ และมีผลบังคับใช้ในเร็วๆนี้ คณะกรรมการป.ป.ช. อาจตรวจสอบกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และข้อกฎหมายอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกยกเลิกว่า 4 สำนวนดังกล่าว จะเข้าหลักเกณฑ์การถอดถอนหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไข ก็สามารถส่งเรื่องมาให้ สนช. ดำเนินการถอดถอนได้ทันที
ส่วนประเด็นเรื่องข้อกฎหมายที่มีการแย้งว่า ขณะนี้ไม่มีฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา 270-274 หมวดเรื่องการถอดถอนแล้ว สนช.สามารถนำเอา มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาบังคับโดยใช้อาศัยจารีตประเพณีการปกครองมาอุดช่องว่าง แต่หากอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย อ้างว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเพณีการปกครองที่เคยทำมา สุดท้ายอาจต้องส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สนช.จะมีอำนาจถอดถอน 4 สำนวนดังกล่าว หรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ 4 สำนวนที่ ป.ป.ช. เคยชี้มูลความผิด และส่งมาที่วุฒิสภา ปี 2557ประกอบด้วย สำนวนแรกของนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ที่ป.ป.ช.ชี้มูลว่า ขณะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภา
สำนวนที่สอง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ป.ป.ช.ชี้มูลว่าได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ และประธานในที่ประชุมรัฐสภา โดยทั้งสองสำนวน เป็นผลพวงมาจากกรณีอดีตส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล โดยการนำของพรรคเพื่อไทย ได้ร่วมกันลงชื่อแก้ไขรธน.รายมาตรา ในเรื่องที่มาของส.ว.- มาตรา 190 และแก้ไขมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 2550
สำนวนที่สาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในการไม่ระงับหรือยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว และคดีสุดท้าย อดีตสมาชิกวุฒิสภา 36 คน จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
ทั้งนี้ หากมีผู้ยื่นร้องต่อศาลว่า ข้อบังคับนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิทธิ์ที่สามารถทำได้ แต่ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะวินิจฉัย พร้อมปฏิเสธว่า การยกร่างข้อบังคับนี้ไม่ได้มุ่งหวังที่จะสกัดกั้นกลุ่มนักการเมือง โดยเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจ เพราะร่างข้อบังคับ เป็นกติกาที่กำหนดไว้เท่านั้น อาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาถอดถอนก็ได้
"อยากให้ทุกฝ่ายเข้าใจเรื่องข้อบังคับว่าด้วยหมวดถอดถอน กับการใช้ข้อบังคับเพื่อถอดถอน เป็นคนละเรื่องกัน เพราะข้อบังคับเป็นกำหนดไว้ล่วงหน้าเท่านั้น ซึ่งสุดท้ายขึ้นอยู่กับที่ประชุมสนช. และต้องดูอีกครั้ง ถ้าหากมีการชี้มูลความผิด แล้วการถอดถอนจะอยู่ในอำนาจของ สนช. หรือไม่ ส่วนข้อวิจารณ์ว่าการถอดถอน จะเป็นการล้างบางนักการเมืองหรือไม่ ต้องให้รอการอภิปราย และการชี้แจงของสภาก่อน แต่เชื่อว่าไม่มีเจตนาจะล้างบาง ซึ่งก็เป็นเพียงข้อวิจารณ์ ประชาชนมีความเห็นอย่างไร ก็รู้กันอยู่ " นายสุรชัย กล่าว
นายสุรชัย กล่าวต่อว่า คณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม และ วิปสนช.ได้พิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบแล้ว จากนี้จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสมาชิก สนช. ว่าจะลงมติร่างข้อบังคับนี้อย่างไร
ทั้งนี้ การประชุมสนช. ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ จะเป็นเรื่องการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อ สนช. ขณะที่กฎหมายเร่งด่วน 5 ฉบับ จะเลื่อนไปพิจารณาสัปดาห์หน้าแทน เนื่องจากต้องรอให้รัฐมนตรี เป็นผู้มาชี้แจงต่อสภาฯ แทนปลัดกระทรวง
นายเจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิก สนช. และโฆษกวิปสนช. กล่าวถึง ร่างข้อบังคับการประชุมสนช. ที่มีหมวดเรื่องการถอดถอนนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ว่า ข้อบังคับดังกล่าวเป็นเรื่องปกติ ที่มีการยกร่างให้ครอบคลุมบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวกับนักการเมืองและองค์กรต่างๆ ทุกตำแหน่ง รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมในอนาคตในการถอดถอนบุคคลเหล่านั้น หากมีการส่งเรื่องเข้ามาตามบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ สนช. ก็สามารถทำงานได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. มาตรา 58 ที่ให้อำนาจสนช. ถอดถอน นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน รองประธานศาลฎีกา รองประธานศาลปกครองสูงสุด หัวหน้าสำนักตุลาการทหาร รองอัยการสูงสุด และ ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
ส่วนสนช.จะกล้าถอดถอนบุคคลเหล่านี้หรือไม่ โดยเฉพาะตำแหน่งนายกฯ นายเจตน์ กล่าวว่า ยังไม่สามารถตอบได้ เพราะเป็นเรื่องในอนาคตที่ไม่มีความแน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะสถานการณ์การเมืองเปลี่ยนแปลงได้ทุกวัน และในทางกลับกัน หากสนช. ยกร่างดังกล่าว แต่ไม่มีบทถอดถอนนายกฯ ก็อาจจะถูกสังคมตั้งคำถามว่า ทำไมถึงละเว้นในประเด็นดังกล่าวนี้ไป
นายเจตน์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้า การถอดถอนบุคคลใน 4 สำนวนที่มีการชี้มูลจากป.ป.ช.มาแล้ว โดยมีสำนวนเรื่องโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ป.ป.ช. ส่งเรื่องมาให้วุฒิสภารวมอยู่ด้วยว่า ภายหลังที่มีการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พ.ค. และมีการสั่งยุบวุฒิสภาปี 2557 จึงไม่ทราบว่าสำนวนดังกล่าว จะอยู่ในชั้นไหน หน่วยงานใด รวมทั้งตกไปแล้วหรือไม่ แต่ขณะนี้ สนช. กำลังยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช. และมีเรื่องถอดถอนรวมอยู่ด้วย ดังนั้นเมื่อ สนช.ยกร่างเสร็จ และมีผลบังคับใช้ในเร็วๆนี้ คณะกรรมการป.ป.ช. อาจตรวจสอบกฎหมาย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และข้อกฎหมายอื่นๆ ที่ยังไม่ถูกยกเลิกว่า 4 สำนวนดังกล่าว จะเข้าหลักเกณฑ์การถอดถอนหรือไม่ หากเข้าเงื่อนไข ก็สามารถส่งเรื่องมาให้ สนช. ดำเนินการถอดถอนได้ทันที
ส่วนประเด็นเรื่องข้อกฎหมายที่มีการแย้งว่า ขณะนี้ไม่มีฐานความผิดตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา 270-274 หมวดเรื่องการถอดถอนแล้ว สนช.สามารถนำเอา มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาบังคับโดยใช้อาศัยจารีตประเพณีการปกครองมาอุดช่องว่าง แต่หากอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย อ้างว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่ประเพณีการปกครองที่เคยทำมา สุดท้ายอาจต้องส่งเรื่องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า สนช.จะมีอำนาจถอดถอน 4 สำนวนดังกล่าว หรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ 4 สำนวนที่ ป.ป.ช. เคยชี้มูลความผิด และส่งมาที่วุฒิสภา ปี 2557ประกอบด้วย สำนวนแรกของนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ที่ป.ป.ช.ชี้มูลว่า ขณะดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องที่มาของวุฒิสภา
สำนวนที่สอง นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่ป.ป.ช.ชี้มูลว่าได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ และประธานในที่ประชุมรัฐสภา โดยทั้งสองสำนวน เป็นผลพวงมาจากกรณีอดีตส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล โดยการนำของพรรคเพื่อไทย ได้ร่วมกันลงชื่อแก้ไขรธน.รายมาตรา ในเรื่องที่มาของส.ว.- มาตรา 190 และแก้ไขมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญปี 2550
สำนวนที่สาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กระทำการขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และบทกฎหมายในเรื่องการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ในการไม่ระงับหรือยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว และคดีสุดท้าย อดีตสมาชิกวุฒิสภา 36 คน จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง กรณีร่วมลงชื่อเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของสมาชิกวุฒิสภา