ASTVผู้จัดการรายวัน – ปตท.สผ.เผยโครงการROVUMA ที่โมซัมบิก คาดลงทุนพัฒนาโครงการได้กลางปีหน้า หลังมีสัญญาซื้อขายLNGแล้ว 5.4 ล้านตัน/ปี และเจรจาขายให้อินเดียเพิ่มเติมอีก โดยปตท.จะรับซื้อก๊าซLNG 2.6 ล้านตัน/ปี ส่วนแหล่งM 3 ที่เมียนมาร์คาดสรุปปริมาณสำรองก๊าซฯที่แน่นอนปลายปีนี้ ก่อนตัดสินใจว่ากลุ่มปตท.จะลงทุนโรงแยกก๊าซฯและปิโตรเคมีหรือไม่
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนโครงการ ROVUMA ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติชนาดใหญ่ในรัฐโมซัมบิกของบริษัท Cove Energy ที่ปตท.สผ.ถือหุ้นอยู่ 8.5% ว่า ขณะนี้สามารถเจรจาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นสัญญาระยะยาวได้แล้วประมาณ 5.4 ล้านตันต่อปี
และอยู่ระหว่างการเจรจาขาย LNGให้กับอินเดียเพิ่มเติม และบางส่วนจะเป็นการขายในตลาดจร เพื่อให้ปริมาณการผลิตที่วางไว้ 10 ล้านตัน/ปี คาดว่ากลางปีหน้าจะตัดสินใจลงทุนพัฒนาโครงการ (FID) และผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2562
สำหรับลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อขาย LNG ระยะยาวจำนวน 5.4 ล้านตัน ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปริมาณ 2.625 ล้านตัน CNOOC ประมาณ 2 ล้านตัน และที่เหลือเป็นญี่ปุ่น เบื้องต้นต้องสัญญาซื้อขายLNG ระยะยาว 70%ของปริมาณการผลิต โดยราคาขายLNG จะอ้างอิงHenry Hub และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 12-14 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ทั้งนี้ ปตท.สผ.จะใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น 8.5%ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ส่วนแหล่งแคช/เมเปิล ที่ออสเตรเลียนั้น เบื้องต้นได้สรุปปริมาณสำรองLNGอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านลบ.ฟุต ซึ่งเพียงพอที่จะลงทุนโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (Floating Liquefaction Natural Gas Production หรือ FLNG) แต่การลงทุนโครงการ FLNG ค่อนข้างสูง หากราคาLNGในตลาดอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ตันก็ยังไม่ค่อยคุ้มการลงทุน ซึ่งแนวโน้มราคาLNG จะอ่อนตัวลงมาระดับหนึ่ง หรืออาจจะลิงค์ต่อท่อก๊าซฯกับแหล่งใกล้เคียงเพื่อป้อนขายก๊าซฯในออสเตรเลีย
นายอัษฎากร กล่าวต่อไปว่า ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงานจะเดินทางไปเมียนมาร์ในวาระครบรอบ 25 ปีที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมาร์ด้วย
โดยปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า (M9) โดยขณะนี้ได้ส่งก๊าซฯเข้ามาไทย 240 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และสามารถเพิ่มได้ถึง 270 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ขณะที่แหล่งบนบกมี 3แหล่ง ซึ่งได้มีการเจาะทดสอบศักยภาพในแหล่งพีเอสซีจี พบว่า มีความสามารถอาจผลิตก๊าซได้ ส่วนแหล่ง M3 เบื้องต้นพบว่ามีศักยภาพเจอก๊าซเปียกที่สามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะมีความชัดเจนปริมาณสำรองในปลายปีนี้ หากมีเพียงพอทางปตท.ก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงแยกก๊าซฯและต่อยอดไปสู่ปิโตรเคมีในอนาคต
นอกจากนี้ ในแหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก MD7 และMD8 และM11 จะลงทุนสำรวจหรือไม่นั้นจะต้องศึกษาถึงศักยภาพที่ชัดเจนก่อน เพราะต้องใช้เงินลงทุนในการเจาะหลุมสูงมากถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ/หลุม เมื่อเทียบกับการเจาะหลุมสำรวจน้ำตื้นในยอ่าวไทยจะอยู่ที่ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ/ตัน โดยก่อนหน้านี้ลงทุนสำรวจในแหล่งM 11 ไปแล้วแต่ไม่พบ ทำให้เสียเงินไป 70 ล้านเหรียญสหรัฐ
วานนี้ (9 ก.ย.) บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จัดกิจกรรม”PTTEP TEENERGY CAMP รู้รักษ์มรดกโลกเขาใหญ่” เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมปลายทุกภาคจำนวน 60 คนเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเรียนรู้ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมนี้
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยความคืบหน้าการลงทุนโครงการ ROVUMA ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติชนาดใหญ่ในรัฐโมซัมบิกของบริษัท Cove Energy ที่ปตท.สผ.ถือหุ้นอยู่ 8.5% ว่า ขณะนี้สามารถเจรจาซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นสัญญาระยะยาวได้แล้วประมาณ 5.4 ล้านตันต่อปี
และอยู่ระหว่างการเจรจาขาย LNGให้กับอินเดียเพิ่มเติม และบางส่วนจะเป็นการขายในตลาดจร เพื่อให้ปริมาณการผลิตที่วางไว้ 10 ล้านตัน/ปี คาดว่ากลางปีหน้าจะตัดสินใจลงทุนพัฒนาโครงการ (FID) และผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2562
สำหรับลูกค้าที่ตัดสินใจซื้อขาย LNG ระยะยาวจำนวน 5.4 ล้านตัน ประกอบด้วย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ปริมาณ 2.625 ล้านตัน CNOOC ประมาณ 2 ล้านตัน และที่เหลือเป็นญี่ปุ่น เบื้องต้นต้องสัญญาซื้อขายLNG ระยะยาว 70%ของปริมาณการผลิต โดยราคาขายLNG จะอ้างอิงHenry Hub และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 12-14 เหรียญสหรัฐ/ตัน
ทั้งนี้ ปตท.สผ.จะใช้เงินลงทุนในโครงการดังกล่าวตามสัดส่วนการถือหุ้น 8.5%ประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาท
ส่วนแหล่งแคช/เมเปิล ที่ออสเตรเลียนั้น เบื้องต้นได้สรุปปริมาณสำรองLNGอยู่ที่ 3.1 ล้านล้านลบ.ฟุต ซึ่งเพียงพอที่จะลงทุนโครงการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (Floating Liquefaction Natural Gas Production หรือ FLNG) แต่การลงทุนโครงการ FLNG ค่อนข้างสูง หากราคาLNGในตลาดอยู่ที่ 12 เหรียญสหรัฐ/ตันก็ยังไม่ค่อยคุ้มการลงทุน ซึ่งแนวโน้มราคาLNG จะอ่อนตัวลงมาระดับหนึ่ง หรืออาจจะลิงค์ต่อท่อก๊าซฯกับแหล่งใกล้เคียงเพื่อป้อนขายก๊าซฯในออสเตรเลีย
นายอัษฎากร กล่าวต่อไปว่า ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงานจะเดินทางไปเมียนมาร์ในวาระครบรอบ 25 ปีที่ ปตท.สผ.เข้าไปดำเนินธุรกิจในเมียนมาร์ นอกจากนี้ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับเมียนมาร์ด้วย
โดยปัจจุบัน ปตท.ลงทุนแหล่งปิโตรเลียมในเมียนมาร์จำนวน 12 แหล่ง โดยแหล่งที่สำรวจและผลิตแล้ว อาทิ แหล่งยาดานา เยตากุน และซอติก้า (M9) โดยขณะนี้ได้ส่งก๊าซฯเข้ามาไทย 240 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และสามารถเพิ่มได้ถึง 270 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน ขณะที่แหล่งบนบกมี 3แหล่ง ซึ่งได้มีการเจาะทดสอบศักยภาพในแหล่งพีเอสซีจี พบว่า มีความสามารถอาจผลิตก๊าซได้ ส่วนแหล่ง M3 เบื้องต้นพบว่ามีศักยภาพเจอก๊าซเปียกที่สามารถต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี คาดว่าจะมีความชัดเจนปริมาณสำรองในปลายปีนี้ หากมีเพียงพอทางปตท.ก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนตั้งโรงแยกก๊าซฯและต่อยอดไปสู่ปิโตรเคมีในอนาคต
นอกจากนี้ ในแหล่งปิโตรเลียมน้ำลึก MD7 และMD8 และM11 จะลงทุนสำรวจหรือไม่นั้นจะต้องศึกษาถึงศักยภาพที่ชัดเจนก่อน เพราะต้องใช้เงินลงทุนในการเจาะหลุมสูงมากถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐ/หลุม เมื่อเทียบกับการเจาะหลุมสำรวจน้ำตื้นในยอ่าวไทยจะอยู่ที่ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ/ตัน โดยก่อนหน้านี้ลงทุนสำรวจในแหล่งM 11 ไปแล้วแต่ไม่พบ ทำให้เสียเงินไป 70 ล้านเหรียญสหรัฐ
วานนี้ (9 ก.ย.) บมจ. ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จัดกิจกรรม”PTTEP TEENERGY CAMP รู้รักษ์มรดกโลกเขาใหญ่” เพื่อปลูกจิตสำนึกและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยจะคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมปลายทุกภาคจำนวน 60 คนเข้าร่วมกิจกรรมเข้าค่ายเรียนรู้ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนตุลาคมนี้