**เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะทำงานอัยการพิจารณาสำนวนคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีความเห็นสั่งฟ้องคดีอาญากับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในกรณีโครงการรับจำนำข้าว ที่ทางคณะทำงานประชุมกันนัดสุดท้าย และมีความเห็นเสนอไปยัง “ตระกูล วินิจนัยภาค”อัยการสูงสุด (อสส.) แล้ว
แต่ไม่มีข่าวรั่วออกมาใดๆ ว่า คณะทำงานมีความเห็นในคดีอย่างไร คาดว่าคงมีการกำชับมาเป็นพิเศษในคณะทำงานว่า ห้ามเปิดเผยผลสรุป และข้อเสนอของคณะทำงานต่อสื่อมวลชนใดๆทั้งสิ้น ทั้งหมดรอให้ อสส. แถลงแต่เพียงผู้เดียว
ในส่วนของเอกสารความเห็นของคณะทำงานอย่างเป็นทางการ ยังไม่ชัดว่ามีการส่งไปยังอัยการสูงสุดหรือยัง แต่คาดหมายกันว่า น่าจะสรุปไปแล้ว แต่แม้หนังสือความเห็นยังไม่ส่งแต่ป่านนี้ อสส. ก็ต้องรับรู้ผลอย่างไม่เป็นทางการของคณะทำงานแล้วว่า คณะทำงานเห็นควรอย่างไร ซึ่งก็มีแค่สองทางเท่านั้นคือ
1. เห็นด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการป.ป.ช. ที่เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจโดยมิชอบจากกรณีทุกจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
เห็นควรให้ อสส. ยื่นฟ้องคดีอาญากับยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเลย เพราะเห็นว่าสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งมา แน่นหนาพอแล้วกับการสั่งฟ้อง
2. เห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ พบข้อไม่สมบูรณ์ในมติป.ป.ช. และสำนวนที่ส่งมา จึงเห็นว่า ควรต้องมีการสอบเพิ่มเติม เช่น การเรียกพยานบุคคลมาสอบถามเพิ่มเติมตามที่ทนายความยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด
หากออกมาตามข้อ 2 ก็อาจต้องให้อัยการสูงสุดทำหนังสือถึง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. เพื่อขอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย คือ อัยการกับป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสำนวนคดีอีกครั้งเพื่อนำไปสู่ความเห็นในขั้นสุดท้าย ว่า จะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง หากคณะทำงานสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าสำนวนแน่นหนาพอแล้ว มีความเห็นให้สั่งฟ้อง อัยการสูงสุดก็จะยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ ต่อไป
แต่หากคณะทำงานคุยกันหลายรอบแล้ว ความเห็นไม่ลงรอยกัน มีความห็นในทางคดีแตกต่างกันมาก สุดท้าย ก็คงอาจออกมาในสูตรป.ป.ช. ก็จะดึงเรื่องกลับคืนมา แล้วยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ เอง เหมือนกับหลายคดีก่อนหน้านี้ เช่น คดีทุจริตรถดับเพลิง เป็นต้น
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสำนักงานป.ป.ช.ได้มายื่นเอกสารให้กับอัยการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยอสส. จะต้องมีความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งภายในไม่เกิน 30วัน หลังป.ป.ช. ส่งสำนวนมา
ดังนั้น ภายในไม่เกินสัปดาห์นี้ อสส.ต้องทำความห็นออกมาแล้วว่า จะเอาอย่างไร จะมีความเห็นสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาฯเลยหรือจะเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ควรต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย หากนับตามปฏิทินก็คือ อสส. น่าจะมีความชัดเจนภายในไม่เกินพฤหัสบดีที่ 4 ก.ย. นี้แล้ว
**ก็ต้องดูกันว่า“ตระกูล-อสส.”ที่ได้รับตำแหน่งนี้เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. มีคำสั่งเด้ง อรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากอัยการสูงสุด แล้วก็มีการตั้ง ตระกูล ขึ้นมาเป็น อสส. แทน แล้วอสส.คนนี้ จะมีความเห็นในคดีนี้อย่างไร
และต้องถือว่าเป็นคดีสำคัญคดีแรกเลยสำหรับ อสส.ผู้นี้ ที่คนจับตามองกันมาก เพราะนับแต่รับตำแหน่งมาร่วมสามเดือน จะพบว่าแทบไม่มีการสั่งคดีใหญ่ๆ คดีไหนออกมา เพราะอาจเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีคดีอะไรมาก แต่เชื่อว่า คดียิ่งลักษณ์คดีนี้ จะทำให้หลายคนได้ยินชื่อของ ตระกูล-อสส. คนนี้มากขึ้นนับจากนี้
จึงจับตามองว่า อสส.จะตัดสินใจอย่างไรบนพื้นฐานที่ได้รับความเห็นในสำนวนคดีมาจากคณะทำงานที่ตัวเองแต่งตั้งขึ้น หลังได้รับสำนวนมาประมาณ 4 วัน อันประกอบด้วย วุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รอง อสส. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีคณะทำงานคนอื่นๆ เช่น ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร รอง อสส.- ถาวร พานิชพันธ์ อัยการอาวุโส เป็นต้น
สายสืบเล่าให้ฟังจากตึกสำนักงานอัยการสูงสุดแถวศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานประชุมกันไป ประมาณ 4-5 ครั้ง ข่าวว่าประชุมกันเครียดพอสมควร แต่คณะทำงานบางคนก็มีข่าวว่า ติดภารกิจสำคัญในงานราชการบางอย่างก็ไม่ได้เคยเข้าประชุมเลยแม้แต่นัดเดียว และในที่ประชุมคณะทำงานก็มีการอภิปรายเสนอความเห็นกันหลากหลาย บางประเด็นก็มีความเห็นแตกต่างกันค่อนข้างมาก เช่น เรื่องควรมีการเรียกพยานบุคคลที่ทนายความ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นเรื่องมาหรือไม่ แต่ก็ไม่มีข่าวว่า คณะทำงานมีการอภิปรายประเด็นนี้อย่างไร
และได้มีการประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวันพุธที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา แล้วก็มีความเห็นเบื้องต้นออกมา แต่ข่าวปิดเงียบสนิทว่า คณะทำงานอัยการมีความเห็นออกมาแบบไหน ทั้งหมดรอให้ อสส. แถลงแต่ผู้เดียว
**จากสองแนวทางที่บอกข้างต้น ว่าคณะทำงานอัยการมีสิทธิ์เสนอมาได้สองทางคือ 1. เห็นว่าสำนวนแน่นหนาพอแล้วสมควรยื่นฟ้องต่อยิ่งลักษณ์ ตามมติป.ป.ช. กับ 2 . ควรให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย เพื่อกลั่นกรอง-ทำสำนวนให้รัดกุมมากขึ้น ยิ่งคดีนี้เป็นคดีใหญ่ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นระดับอดีตนายกรัฐมนตรี จึงควรต้องใช้เวลาอีกสักระยะ เพื่อทำความเห็นในสำนวนคดีให้สมบูรณ์มากขึ้น
จึงมีการวิเคราะห์กันว่า มีโอกาสไหมที่คณะทำงานอัยการเสนออย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว อัยการสูงสุด จะมีความเห็นแตกต่างออกไป เช่น หากคณะทำงานอัยการเสนอว่า ควรสั่งฟ้อง แต่อสส.อาจเห็นว่า ควรให้ตั้งคณะทำงานร่วม หรือหากคณะทำงานเห็นว่าควรให้ตั้งคณะทำงานร่วม แต่ อสส. เห็นว่า ควรสั่งฟ้องได้เลย
คำตอบนี้ในเชิงวิเคราะห์โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่างก็เห็นว่า มันขึ้นอยู่กับ อสส. แต่ละคน ย่อมมีอิสระและดุลยพินิจที่เป็นตัวของตัวเองโดยอาจไม่จำเป็นต้องฟัง หรือเชื่อความเห็นของคณะทำงานทั้งหมดก็ได้ เพราะหลัง อสส.ได้รับทราบความเห็นของคณะทำงานแล้วก็อาจนำสำนวนต่างๆ มาตรวจทานโดยรอบคอบอีกครั้ง แล้วก็อาจเห็นแตกต่างจากคณะทำงานก็ย่อมได้ แต่ส่วนใหญ่ตามที่เป็นข่าวคือ เมื่อตัวเองเป็นคนตั้งคณะทำงานมากับมือ และส่วนใหญ่ก็เป็นอัยการชั้นผู้ใหญ่ในสำนักงาน เมื่อคณะทำงานสรุปและมีความเห็นออกมาแล้ว ตามหลักเบื้องต้นก็อาจต้องให้เกียรติกัน
เว้นแต่อาจมีข้อสงสัยบางอย่างก็อาจเรียกคณะทำงานมาสอบถามด้วยวาจา เพื่อซักถามข้อสงสัยประกอบการตัดสินใจอีกครั้งเพื่อหาเหตุผลทั้งข้อกฎหมาย-ข้อเท็จจริง ว่าคณะทำงานมีความเห็นในแต่ละเรื่องอย่างไร จนสุดท้ายก็สรุปมาเป็นความเห็นของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องยอมรับกันว่า อสส.ที่ผ่านมา ก็มักยึดความเห็นคณะทำงานที่ตัวเองตั้งมากันเกือบทั้งสิ้น
**เอาเป็นว่า หากไม่มีการผิดคิว หรือเล่นปิดเงียบ ปล่อยให้อึมครึม ยังไงก็ตามสัปดาห์นี้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง น่าจะรู้ผลการสั่งคดีของ อสส. ว่าจะสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์เลย หรือคดีจะยื้อต่อไป ?
แต่ไม่มีข่าวรั่วออกมาใดๆ ว่า คณะทำงานมีความเห็นในคดีอย่างไร คาดว่าคงมีการกำชับมาเป็นพิเศษในคณะทำงานว่า ห้ามเปิดเผยผลสรุป และข้อเสนอของคณะทำงานต่อสื่อมวลชนใดๆทั้งสิ้น ทั้งหมดรอให้ อสส. แถลงแต่เพียงผู้เดียว
ในส่วนของเอกสารความเห็นของคณะทำงานอย่างเป็นทางการ ยังไม่ชัดว่ามีการส่งไปยังอัยการสูงสุดหรือยัง แต่คาดหมายกันว่า น่าจะสรุปไปแล้ว แต่แม้หนังสือความเห็นยังไม่ส่งแต่ป่านนี้ อสส. ก็ต้องรับรู้ผลอย่างไม่เป็นทางการของคณะทำงานแล้วว่า คณะทำงานเห็นควรอย่างไร ซึ่งก็มีแค่สองทางเท่านั้นคือ
1. เห็นด้วยกับมติที่ประชุมใหญ่ของคณะกรรมการป.ป.ช. ที่เห็นว่า ยิ่งลักษณ์ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ. ป.ป.ช. ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือใช้อำนาจโดยมิชอบจากกรณีทุกจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งทำให้รัฐเสียหายกว่า 5 แสนล้านบาท
เห็นควรให้ อสส. ยื่นฟ้องคดีอาญากับยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเลย เพราะเห็นว่าสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งมา แน่นหนาพอแล้วกับการสั่งฟ้อง
2. เห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ พบข้อไม่สมบูรณ์ในมติป.ป.ช. และสำนวนที่ส่งมา จึงเห็นว่า ควรต้องมีการสอบเพิ่มเติม เช่น การเรียกพยานบุคคลมาสอบถามเพิ่มเติมตามที่ทนายความยิ่งลักษณ์ ได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออัยการสูงสุด
หากออกมาตามข้อ 2 ก็อาจต้องให้อัยการสูงสุดทำหนังสือถึง นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานป.ป.ช. เพื่อขอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย คือ อัยการกับป.ป.ช. เพื่อพิจารณาสำนวนคดีอีกครั้งเพื่อนำไปสู่ความเห็นในขั้นสุดท้าย ว่า จะสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง หากคณะทำงานสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าสำนวนแน่นหนาพอแล้ว มีความเห็นให้สั่งฟ้อง อัยการสูงสุดก็จะยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ ต่อไป
แต่หากคณะทำงานคุยกันหลายรอบแล้ว ความเห็นไม่ลงรอยกัน มีความห็นในทางคดีแตกต่างกันมาก สุดท้าย ก็คงอาจออกมาในสูตรป.ป.ช. ก็จะดึงเรื่องกลับคืนมา แล้วยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาฯ เอง เหมือนกับหลายคดีก่อนหน้านี้ เช่น คดีทุจริตรถดับเพลิง เป็นต้น
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสำนักงานป.ป.ช.ได้มายื่นเอกสารให้กับอัยการ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยอสส. จะต้องมีความเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งภายในไม่เกิน 30วัน หลังป.ป.ช. ส่งสำนวนมา
ดังนั้น ภายในไม่เกินสัปดาห์นี้ อสส.ต้องทำความห็นออกมาแล้วว่า จะเอาอย่างไร จะมีความเห็นสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์ ต่อศาลฎีกาฯเลยหรือจะเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ควรต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย หากนับตามปฏิทินก็คือ อสส. น่าจะมีความชัดเจนภายในไม่เกินพฤหัสบดีที่ 4 ก.ย. นี้แล้ว
**ก็ต้องดูกันว่า“ตระกูล-อสส.”ที่ได้รับตำแหน่งนี้เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. มีคำสั่งเด้ง อรรถพล ใหญ่สว่าง พ้นจากอัยการสูงสุด แล้วก็มีการตั้ง ตระกูล ขึ้นมาเป็น อสส. แทน แล้วอสส.คนนี้ จะมีความเห็นในคดีนี้อย่างไร
และต้องถือว่าเป็นคดีสำคัญคดีแรกเลยสำหรับ อสส.ผู้นี้ ที่คนจับตามองกันมาก เพราะนับแต่รับตำแหน่งมาร่วมสามเดือน จะพบว่าแทบไม่มีการสั่งคดีใหญ่ๆ คดีไหนออกมา เพราะอาจเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีคดีอะไรมาก แต่เชื่อว่า คดียิ่งลักษณ์คดีนี้ จะทำให้หลายคนได้ยินชื่อของ ตระกูล-อสส. คนนี้มากขึ้นนับจากนี้
จึงจับตามองว่า อสส.จะตัดสินใจอย่างไรบนพื้นฐานที่ได้รับความเห็นในสำนวนคดีมาจากคณะทำงานที่ตัวเองแต่งตั้งขึ้น หลังได้รับสำนวนมาประมาณ 4 วัน อันประกอบด้วย วุฒิพงศ์ วิบูลย์วงศ์ รอง อสส. เป็นหัวหน้าคณะทำงาน มีคณะทำงานคนอื่นๆ เช่น ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร รอง อสส.- ถาวร พานิชพันธ์ อัยการอาวุโส เป็นต้น
สายสืบเล่าให้ฟังจากตึกสำนักงานอัยการสูงสุดแถวศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ ว่า ที่ผ่านมา คณะทำงานประชุมกันไป ประมาณ 4-5 ครั้ง ข่าวว่าประชุมกันเครียดพอสมควร แต่คณะทำงานบางคนก็มีข่าวว่า ติดภารกิจสำคัญในงานราชการบางอย่างก็ไม่ได้เคยเข้าประชุมเลยแม้แต่นัดเดียว และในที่ประชุมคณะทำงานก็มีการอภิปรายเสนอความเห็นกันหลากหลาย บางประเด็นก็มีความเห็นแตกต่างกันค่อนข้างมาก เช่น เรื่องควรมีการเรียกพยานบุคคลที่ทนายความ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ยื่นเรื่องมาหรือไม่ แต่ก็ไม่มีข่าวว่า คณะทำงานมีการอภิปรายประเด็นนี้อย่างไร
และได้มีการประชุมนัดสุดท้ายเมื่อวันพุธที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา แล้วก็มีความเห็นเบื้องต้นออกมา แต่ข่าวปิดเงียบสนิทว่า คณะทำงานอัยการมีความเห็นออกมาแบบไหน ทั้งหมดรอให้ อสส. แถลงแต่ผู้เดียว
**จากสองแนวทางที่บอกข้างต้น ว่าคณะทำงานอัยการมีสิทธิ์เสนอมาได้สองทางคือ 1. เห็นว่าสำนวนแน่นหนาพอแล้วสมควรยื่นฟ้องต่อยิ่งลักษณ์ ตามมติป.ป.ช. กับ 2 . ควรให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมสองฝ่าย เพื่อกลั่นกรอง-ทำสำนวนให้รัดกุมมากขึ้น ยิ่งคดีนี้เป็นคดีใหญ่ ผู้ถูกกล่าวหาเป็นระดับอดีตนายกรัฐมนตรี จึงควรต้องใช้เวลาอีกสักระยะ เพื่อทำความเห็นในสำนวนคดีให้สมบูรณ์มากขึ้น
จึงมีการวิเคราะห์กันว่า มีโอกาสไหมที่คณะทำงานอัยการเสนออย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว อัยการสูงสุด จะมีความเห็นแตกต่างออกไป เช่น หากคณะทำงานอัยการเสนอว่า ควรสั่งฟ้อง แต่อสส.อาจเห็นว่า ควรให้ตั้งคณะทำงานร่วม หรือหากคณะทำงานเห็นว่าควรให้ตั้งคณะทำงานร่วม แต่ อสส. เห็นว่า ควรสั่งฟ้องได้เลย
คำตอบนี้ในเชิงวิเคราะห์โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลายอย่างก็เห็นว่า มันขึ้นอยู่กับ อสส. แต่ละคน ย่อมมีอิสระและดุลยพินิจที่เป็นตัวของตัวเองโดยอาจไม่จำเป็นต้องฟัง หรือเชื่อความเห็นของคณะทำงานทั้งหมดก็ได้ เพราะหลัง อสส.ได้รับทราบความเห็นของคณะทำงานแล้วก็อาจนำสำนวนต่างๆ มาตรวจทานโดยรอบคอบอีกครั้ง แล้วก็อาจเห็นแตกต่างจากคณะทำงานก็ย่อมได้ แต่ส่วนใหญ่ตามที่เป็นข่าวคือ เมื่อตัวเองเป็นคนตั้งคณะทำงานมากับมือ และส่วนใหญ่ก็เป็นอัยการชั้นผู้ใหญ่ในสำนักงาน เมื่อคณะทำงานสรุปและมีความเห็นออกมาแล้ว ตามหลักเบื้องต้นก็อาจต้องให้เกียรติกัน
เว้นแต่อาจมีข้อสงสัยบางอย่างก็อาจเรียกคณะทำงานมาสอบถามด้วยวาจา เพื่อซักถามข้อสงสัยประกอบการตัดสินใจอีกครั้งเพื่อหาเหตุผลทั้งข้อกฎหมาย-ข้อเท็จจริง ว่าคณะทำงานมีความเห็นในแต่ละเรื่องอย่างไร จนสุดท้ายก็สรุปมาเป็นความเห็นของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ก็ต้องยอมรับกันว่า อสส.ที่ผ่านมา ก็มักยึดความเห็นคณะทำงานที่ตัวเองตั้งมากันเกือบทั้งสิ้น
**เอาเป็นว่า หากไม่มีการผิดคิว หรือเล่นปิดเงียบ ปล่อยให้อึมครึม ยังไงก็ตามสัปดาห์นี้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง น่าจะรู้ผลการสั่งคดีของ อสส. ว่าจะสั่งฟ้องยิ่งลักษณ์เลย หรือคดีจะยื้อต่อไป ?