เมื่อเวลา 10.30 น. วานนี้ (9ก.ค.) ที่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง ความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหน่วยงานของรัฐ ระหว่างสำนักงาน ป.ป.ช. กับกระทรวงพัฒนาสังคมฯว่า ความร่วมมือดังกล่าว เป็นการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม ในบุคลากรของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ ส่งเสริมให้บุคลากรมีขีดความสามารถในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยหลังจากนี้จะมีความร่วมมือกันระหว่าง ป.ป.ช. และกระทรวง อาทิ ความร่วมมือในการอบรมให้บุคลากร นอกจากนี้ สืบ เนื่องจากกระทรวงพม.จะต้องดูแลเด็กและเยาวชน จึงถือโอกาสนี้ให้กระทรวงไปส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชนต่างๆ ซึ่งจะบูรณาการร่วมมือกันตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม และยังมีแนวทางที่จะต่อยอดใสนหลายเรื่องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป ทั้งการบังคับใช้กฎหมายให้ถูกต้อง รวมถึงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้าง
ส่วนแนวทางการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตระหว่าง คสช. กับป.ป.ช.นั้น มีความร่วมมือกันหลายเรื่อง โดยป.ป.ช.จะเสนอและผลักดันกฎหมายต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานป.ป.ช. โดยขณะนี้กำลังประสานงานกันอยู่ อาทิ เรื่องอนุวัติกฎหมายให้เป็นไปตามสนธิสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับอายุความของคดีทุจริต กฎหมายเกี่ยวกับการติดตามทรัพย์สินคืน โดยกฎหมายเหล่านี้ เรายังไม่ได้แก้ไข จึงจะต้องอาศัยช่วงเวลานี้เสนอไปที่ คสช. เพื่อจะแก้ไขกฎหมายในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
สำหรับเรื่องอายุความ คดีทุจริต ส่วนตัวเห็นว่าจะยังต้องมีอยู่ แต่อาจจะยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เหมาะสม และป้องกันไม่ให้ผู้ที่กระทำความผิด ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการหลุดพ้นไปได้ ฉะนั้นอาจยืดอายุความไป หรือให้อายุความสะดุดหยุดลง ซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องหารือกัน
ทั้งนี้ สำหรับเรื่องอายุความในปัจจุบัน ในส่วนของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะมีอายุความ 15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่มากนัก ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จะมีอายุความ 20 ปี โดยจะขอเสนอให้ขยายอายุความไปถึง 30 ปี
**จำกัดวาระส.ส.ป้องกันสืบทอดอำนาจ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวกรณีพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการเลือกตั้งของกกต. เฉพาะอย่างยิ่งการให้ ส.ส.ดำรงตำแหน่งได้เพียงแค่ 2 วาระ หรือ 8 ปี ว่า กกต.เคารพและน้อมรับทุกข้อคิดเห็นที่มี แต่ที่กกต.ได้มีข้อเสนอดังกล่าว เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์การจัดการเลือกตั้งมากกว่า 16 ปี ไม่ใช่เสนอไปตามสิ่งที่คสช.ต้องการจะเห็น และเห็นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการสืบทอดอำนาจทางการเมืองได้ อีกทั้งที่ผ่านมาสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็เคยมีการเสนอแก้ไขกฎหมายไม่ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันเกินกว่า 2 วาระ เรื่องดังกล่าว กกต.จึงไม่ขอโต้แย้ง และอยากให้ทุกคนที่มองโลกในแง่ดี และเป็นนักการเมืองมาหลายสมัย ได้เสียสละเวลารวบรวมความคิดและเขียนส่งความคิดเห็นดังกล่าวไปให้กับสภาปฏิรูป ที่พร้อมจะรับความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
"ข้อเสนอนี้ เป็นเพียง 1 ใน 4 ที่กกต.ได้รวบรวมตอบโจทย์ 6 ข้อ ที่คณะทำงานด้านการปฏิรูปของ คสช.ให้มาโดยมีเนื้อหา 20 หน้า การหลุดไปเพียงเท่านี้ กกต.ก็โดนกระหน่ำ แต่ของจริงคือ รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่กกต.ดูแลอยู่รวม 5 ฉบับ ซึ่งกกต.จะพิจารณาจากเฉพาะที่ กกต.มีอำนาจ และมีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในระดับสำนักงาน จะเริ่มพิจารณาในสัปดาห์หน้า จะพิจารณาทุกวันจนกว่าจะเรียบร้อย"
ทั้งนี้ การให้ข้อมูลกับคณะปฏิรูปครั้งนี้ เป็นเพียงการรวบรวมปัญหา และข้อเสนอแนะ ไม่ได้มีการฟันธงใดๆ และกระแสที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ไม่ได้มีในแง่ลบด้านเดียว แต่ก็มีในด้านบวก ซึ่งกกต.ก็เข้าใจว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาปฏิรูป ในส่วนของกกต. ก็ได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวไปยังคสช.แล้ว
ส่วนแนวทางการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตระหว่าง คสช. กับป.ป.ช.นั้น มีความร่วมมือกันหลายเรื่อง โดยป.ป.ช.จะเสนอและผลักดันกฎหมายต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของสำนักงานป.ป.ช. โดยขณะนี้กำลังประสานงานกันอยู่ อาทิ เรื่องอนุวัติกฎหมายให้เป็นไปตามสนธิสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับอายุความของคดีทุจริต กฎหมายเกี่ยวกับการติดตามทรัพย์สินคืน โดยกฎหมายเหล่านี้ เรายังไม่ได้แก้ไข จึงจะต้องอาศัยช่วงเวลานี้เสนอไปที่ คสช. เพื่อจะแก้ไขกฎหมายในชั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
สำหรับเรื่องอายุความ คดีทุจริต ส่วนตัวเห็นว่าจะยังต้องมีอยู่ แต่อาจจะยืดระยะเวลาออกไป เพื่อให้เหมาะสม และป้องกันไม่ให้ผู้ที่กระทำความผิด ใช้ช่องว่างของกฎหมายในการหลุดพ้นไปได้ ฉะนั้นอาจยืดอายุความไป หรือให้อายุความสะดุดหยุดลง ซึ่งเป็นแนวทางที่ต้องหารือกัน
ทั้งนี้ สำหรับเรื่องอายุความในปัจจุบัน ในส่วนของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 จะมีอายุความ 15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ไม่มากนัก ส่วนประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 จะมีอายุความ 20 ปี โดยจะขอเสนอให้ขยายอายุความไปถึง 30 ปี
**จำกัดวาระส.ส.ป้องกันสืบทอดอำนาจ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวกรณีพรรคประชาธิปัตย์ รวมทั้งนักวิชาการออกมาวิพากษ์วิจารณ์ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาการปฏิรูปการเลือกตั้งของกกต. เฉพาะอย่างยิ่งการให้ ส.ส.ดำรงตำแหน่งได้เพียงแค่ 2 วาระ หรือ 8 ปี ว่า กกต.เคารพและน้อมรับทุกข้อคิดเห็นที่มี แต่ที่กกต.ได้มีข้อเสนอดังกล่าว เป็นการรวบรวมจากประสบการณ์การจัดการเลือกตั้งมากกว่า 16 ปี ไม่ใช่เสนอไปตามสิ่งที่คสช.ต้องการจะเห็น และเห็นว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการสืบทอดอำนาจทางการเมืองได้ อีกทั้งที่ผ่านมาสมัยที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ก็เคยมีการเสนอแก้ไขกฎหมายไม่ให้นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำรงตำแหน่งต่อเนื่องกันเกินกว่า 2 วาระ เรื่องดังกล่าว กกต.จึงไม่ขอโต้แย้ง และอยากให้ทุกคนที่มองโลกในแง่ดี และเป็นนักการเมืองมาหลายสมัย ได้เสียสละเวลารวบรวมความคิดและเขียนส่งความคิดเห็นดังกล่าวไปให้กับสภาปฏิรูป ที่พร้อมจะรับความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
"ข้อเสนอนี้ เป็นเพียง 1 ใน 4 ที่กกต.ได้รวบรวมตอบโจทย์ 6 ข้อ ที่คณะทำงานด้านการปฏิรูปของ คสช.ให้มาโดยมีเนื้อหา 20 หน้า การหลุดไปเพียงเท่านี้ กกต.ก็โดนกระหน่ำ แต่ของจริงคือ รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่กกต.ดูแลอยู่รวม 5 ฉบับ ซึ่งกกต.จะพิจารณาจากเฉพาะที่ กกต.มีอำนาจ และมีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในระดับสำนักงาน จะเริ่มพิจารณาในสัปดาห์หน้า จะพิจารณาทุกวันจนกว่าจะเรียบร้อย"
ทั้งนี้ การให้ข้อมูลกับคณะปฏิรูปครั้งนี้ เป็นเพียงการรวบรวมปัญหา และข้อเสนอแนะ ไม่ได้มีการฟันธงใดๆ และกระแสที่เกิดขึ้นในขณะนี้ก็ไม่ได้มีในแง่ลบด้านเดียว แต่ก็มีในด้านบวก ซึ่งกกต.ก็เข้าใจว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับสภาปฏิรูป ในส่วนของกกต. ก็ได้ส่งข้อเสนอดังกล่าวไปยังคสช.แล้ว