พม. ร่วม ป.ป.ช. เดินหน้างานป้องกันและปราบปรามการทุจริต แก่ จนท.- ขรก. หลังไทยสอบตกเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ชี้เป็นปัญหาต้องเร่งแก้ไขของประเทศ
วันนี้ (9 ก.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า จากการจัดอันดับขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International - TI) พบว่า ปี 2556 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 102 ตกลงมาจากปี 2555 ที่อยู่อันดับ 88 โดยได้ค่าดัชนี CPI (Corruption Perceptions Index) ในปี 2556 ลดลงมาเหลือ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งในปี 2555 ได้คะแนน 37 คะแนน ทำให้ประเทศไทยสอบตกเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน โดยสาเหตุมาจากกรณีเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต การใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเครือญาติ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ประกอบธุรกิจบางรายเพื่อทุจริตในเรื่องของการใช้งบประมาณ รวมทั้งเรื่องประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่จะเอาผิดกับผู้กระทำผิด แสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น และปัจจุบันการรับรู้ของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเกี่ยวกับปัญหาทุจริตมีมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนของประเทศ
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า พม. โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตมีหน้าที่ดําเนินการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับกระทรวง และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงาน ป.ป.ช. ในปีงบประมาณ 2556 เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับกระทรวง โดยมีแนวทางดำเนินการ คือ 1. จัดทำระบบการกำกับติดตาม ตรวจสอบการทำงานภายในองค์กรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ดำเนินการพัฒนาศักยภาพข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้มีสมรรถนะและมีภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยได้ส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายในรูปแบบชมรมต่อต้านการทุจริต
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า 3. ส่งเสริมเครือข่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อาทิ สภาเด็กและเยาวชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ 4. จัดทำแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พ.ศ. 2556 - 2559 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในสังกัดระดับกรม ซึ่งประกอบด้วย 5ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ปลูกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริตของบุคลากรกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในการรักษาประโยชน์สาธารณะ 2. บูรณาการการทำงานของหน่วยงานในการต่อต้านการทุจริตและพัฒนาเครือข่ายในประเทศ 3. พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายระหว่างประเทศ 4. พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ 5. เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริตให้กับทุกภาคส่วน
“พม. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ เพื่อให้ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และเป็นการผลักดันให้ค่าคะแนนดัชนีความโปร่งใสของประเทศดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานอย่างจริงจังต่อไป” นายวิเชียร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (9 ก.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า จากการจัดอันดับขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International - TI) พบว่า ปี 2556 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 102 ตกลงมาจากปี 2555 ที่อยู่อันดับ 88 โดยได้ค่าดัชนี CPI (Corruption Perceptions Index) ในปี 2556 ลดลงมาเหลือ 35 คะแนน จาก 100 คะแนน ซึ่งในปี 2555 ได้คะแนน 37 คะแนน ทำให้ประเทศไทยสอบตกเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน โดยสาเหตุมาจากกรณีเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริต การใช้ระบบอุปถัมภ์ ระบบเครือญาติ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ประกอบธุรกิจบางรายเพื่อทุจริตในเรื่องของการใช้งบประมาณ รวมทั้งเรื่องประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายที่จะเอาผิดกับผู้กระทำผิด แสดงให้เห็นว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของไทยทวีความรุนแรงมากขึ้น และปัจจุบันการรับรู้ของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมเกี่ยวกับปัญหาทุจริตมีมากขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญที่ควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วนของประเทศ
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า พม. โดยศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตมีหน้าที่ดําเนินการด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับกระทรวง และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสำนักงาน ป.ป.ช. ในปีงบประมาณ 2556 เพื่อขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในระดับกระทรวง โดยมีแนวทางดำเนินการ คือ 1. จัดทำระบบการกำกับติดตาม ตรวจสอบการทำงานภายในองค์กรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ดำเนินการพัฒนาศักยภาพข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ให้มีสมรรถนะและมีภูมิคุ้มกันด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยได้ส่งเสริมให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายในรูปแบบชมรมต่อต้านการทุจริต
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า 3. ส่งเสริมเครือข่ายของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ อาทิ สภาเด็กและเยาวชน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ 4. จัดทำแผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามการทุจริต ของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ พ.ศ. 2556 - 2559 เพื่อเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในสังกัดระดับกรม ซึ่งประกอบด้วย 5ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1. ปลูกจิตสำนึกการต่อต้านการทุจริตของบุคลากรกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในการรักษาประโยชน์สาธารณะ 2. บูรณาการการทำงานของหน่วยงานในการต่อต้านการทุจริตและพัฒนาเครือข่ายในประเทศ 3. พัฒนาความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายระหว่างประเทศ 4. พัฒนาระบบบริหารและเครื่องมือในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และ 5. เสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการต่อต้านการทุจริตให้กับทุกภาคส่วน
“พม. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ เพื่อให้ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และเป็นการผลักดันให้ค่าคะแนนดัชนีความโปร่งใสของประเทศดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยความร่วมมือจากข้าราชการและเจ้าหน้าที่ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการดำเนินงานอย่างจริงจังต่อไป” นายวิเชียร กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่