ผมได้รับเชิญจาก “โครงการสร้างสุขสู่เมืองลุงน่าอยู่” ของ “เครือข่ายความร่วมมือเพื่อร่วมสร้างเมืองลุงน่าอยู่” ให้ไปบรรยายในสมัชชาสร้างสุขคนเมืองลุง จังหวัดพัทลุงในหัวเรื่อง “เมืองลุงจะน่าอยู่…ท่ามกลางกระแสพัฒนา” ประกอบกับในช่วงนี้ผมมีภารกิจในลักษณะเช่นนี้หลายอย่างติดๆ กัน จึงขอถือโอกาสนำเรื่องนี้มาเขียนลงใน “โลกที่ซับซ้อน” ในเอเอสทีวีผู้จัดการเสียเลย เรียกว่า “ยิงนัดเดียวได้นกสองตัว” คงไม่ว่ากันนะครับ
ผมมีประเด็นนำเสนอ4 ประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
หนึ่ง มายาคติเรื่องการพัฒนา เปรียบเทียบ “รายได้” คนระยองกับคนเมืองลุง
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนา หมายถึงการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งดีขึ้น หรือเจริญขึ้น” แต่ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้เขียนด้วยลายมือของท่านเองว่า “คำว่า “พัฒนา” นั้นตามตัวหนังสือแล้วหมายถึง “โตขึ้น” เท่านั้นดีก็ได้ บ้าก็ได้ ที่โตขึ้น”
ผมได้นำเอาแนวคิดที่แตกต่างกันมาเสนอในที่นี้ก็เพื่อกระตุกต่อมความคิด ใครจะเห็นด้วยกับความหมายไหนก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละท่านนะครับ
ประเทศไทยเราก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ชี้วัดผลการพัฒนากันด้วยรายได้เป็นหลักสำคัญ และที่เรารู้จักกันดีก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือจีดีพีซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ
ในทำนองเดียวกัน หากเราจะวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดใด รายได้นี้เขาเรียกว่า จีพีพี (Gross Province Product) และเมื่อหารด้วยจำนวนประชากรในจังหวัดเขาก็เรียกว่า จีพีพีต่อหัว
ในปี 2555 จังหวัดที่มีจีพีพีต่อหัวสูงที่สุดก็คือจังหวัดระยอง 9.7 แสนบาท (นำแบบม้วนเดียวจบมาตลอดตั้งแต่อย่างน้อยปี 2547) กรุงเทพมหานครเป็นอันดับสาม (4.36 แสนบาท) สำหรับจีพีพีต่อหัวของคนเมืองลุงอยู่ที่อันดับ 58 (7.1 หมื่นบาท) ในขณะที่จังหวัดหนองบัวลำภูมาอันดับสุดท้าย (4.1 หมื่นบาท) สำหรับอีก 6 จังหวัดสามารถดูคร่าวๆ ได้จากกราฟที่ผมพลอตขึ้นเองครับ
จากกราฟดังกล่าวมีสิ่งที่น่าสนใจมากๆ 2 ข้อคือ
(1) ในช่วงปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหาปรากฏว่าจีพีพีต่อหัวของคนระยองซึ่งเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย ในขณะที่จังหวัดที่เป็นเกษตรกรรม เช่น นครศรีธรรมราชและพัทลุง ไม่มีปัญหา
(2) ในปี 2555 ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ เราจะเห็นว่าจีพีพีต่อหัวของจังหวัดพัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรังและสงขลาลดลงเล็กน้อย แต่จังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบ
อนึ่ง จากข้อมูลนี้พบว่าในปี 2555 จีพีพีต่อหัวของคนระยองมากเป็น 14 เท่าของคนเมืองลุง และเป็น 23 เท่าของจังหวัดหนองบัวลำภูที่จีพีพีต่อหัวต่ำที่สุด
สิ่งที่นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมักจะอ้างอยู่เสมอว่า อุตสาหกรรมจะทำให้คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้ประเทศพัฒนา (ซึ่งไม่ทราบว่าดีขึ้นอย่างเดียว หรืออาจจะดีก็ได้ บ้าก็ได้) แต่จากการสำรวจ “รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือน” (หนึ่งครัวเรือนมีประมาณ 4-5 คน) และ “จำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ทั้งรายได้และหนี้สินของคนใน 10 จังหวัดที่กล่าวมาแล้วไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก(ยกเว้น กทม.) ดังกราฟ
ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการพิจารณาในเรื่องของรายได้ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่ไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยอื่นๆ เลย
เราได้ยินข่าวอยู่เสมอว่าชาวระยองเป็นโรคมะเร็งและทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มีข่าวน้ำมันรั่ว ก๊าซรั่ว และการลักลอบทิ้งขยะพิษจากอุตสาหกรรมบ่อยมาก สิ่งเหล่านี้กระจายตัวในวงกว้างเพราะมลพิษสามารถไปตามลม ตามลำน้ำ และขยะพิษก็ไปทางรถบรรทุกได้
ในขณะที่ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวของจังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรมซึ่งสูงเกือบหนึ่งล้านบาทต่อปีกลับไม่ได้กระจายตัวไปลงสู่ครัวเรือนในจังหวัดเลย ดังหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว
ขณะนี้แผนพัฒนาภาคใต้ซึ่งได้ริเริ่มมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ได้ถูกประชาชนต่อต้าน เพราะสิ่งที่หน่วยงานรัฐนำเสนอคือนิคมอุตสาหกรรม (รวมถึงปิโตรเคมีด้วย) โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท่าเรือน้ำลึก ซึ่งในประวัติที่ผ่านมาเราพบแล้วว่าไม่ได้ตอบสนองผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่ประชาคมคนเมืองลุงได้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า “เมืองเกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
สอง กระแสการพัฒนา : สี่ขบวนรถบรรทุกแห่งการทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง ภายใต้โลกาภิวัตน์
ก่อนอื่นขอเรียนว่าข้อดีของโลกาภิวัตน์ก็มีมากมายแต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ ที่ยกด้านไม่ดีมาพูดกันก็เพราะจะได้ช่วยกันระวังไม่ให้ “ความบ้า” มันโตขึ้นมา และเพื่อให้กระชับผมขอนำเสนอด้วยภาพการ์ตูนซึ่งเขียนโดย Chris Madden
ขบวนรถบรรทุก 4 คันนี้คือ ขยะพิษอันตราย (Toxic Waste) ทรัพยากรธรรมชาติ(ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ปิโตรเลียม) อาวุธสงคราม (หมายถึงถังแดงซึ่งเป็นประวัติอันเจ็บปวดของชาวพัทลุงด้วย) และสุดท้าย ขบวนวัฒนธรรม (อาหารต่างชาติ) ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาด้วย
ที่น่าสังเกตนะครับ ขบวนทั้ง 4 นี้มาทางด่วนพิเศษซึ่งสร้างด้วยภาษีของประชาชน ไม่ติดไฟแดงและที่น่าเป็นห่วงมากในสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเราก็คือทาง คสช.จะใช้ “ทางด่วนพิเศษ” เพื่อขนส่งอะไร
ถ้าถามว่าในบรรดา 4 ขบวนนี้ ขบวนไหนน่ากลัวที่สุด ในทัศนะของผมแล้วเห็นว่าขบวนวัฒนธรรมและการศึกษามีความน่ากลัวที่สุดครับ เพราะมันจะสร้างคนของโลกให้มีลักษณะ 4 ประการ คือ (1) ไม่รู้เรื่องรู้ราว (2) ไม่สนใจซึ่งกันและกัน (3) โง่เขลา และ (4) ไม่สนใจค้นหาความจริง (หมายเหตุ มาจากบทสรุปของ Wendell Berry, นักเขียนชาวอเมริกันผู้ต่อต้านสงคราม คัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สนใจเรื่องชุมชน และติดแผงโซลาร์เซลล์ในไร่ของตนเอง)
นอกจากนี้ คุณอานันท์ ปันยารชุนได้วิจารณ์คนไทยซึ่งผมถือว่าเป็นดอกผลของโลกาภิวัตน์ด้วยว่า (5) เคารพความเห็นของกันและกันน้อยไปและ (6) นับถือปริญญาบัตรมากกว่าความรู้
ผมว่าถ้าเราต้องการจะ “ทำเมืองลุงให้น่าอยู่” ตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสมัชชาฯ แล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะของคนไทยอย่างน้อย 6 ประการนี้ให้มากๆ ด้วยนะครับ
สาม ความสุขมวลรวมแห่งชาติ ตัวชี้วัดที่ครอบคลุมความเป็นมนุษย์
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกได้โฟกัสไปที่เศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการขยายตัวทางวัตถุ ประเทศภูฏานกลับใช้ปฏิบัติการของสาธารณะ (Public Action) เพื่อเพิ่มสุขภาวะและความสุขที่แท้จริงของประชาชนโดยมีเป้าหมายที่ความสุขมวลรวมแห่งชาติ (Gross National Happiness-GNH)
แนวคิดที่สำคัญของ GNH คือ “การพัฒนาด้วยคุณค่า (Development with Values)” ซึ่งประกอบด้วยคุณค่า 5 ประการคือ
(1) ความเป็นองค์รวม ที่ตระหนักถึงทุกบริบทของความจำเป็นของประชาชนไม่ว่าจะเป็นด้านจิตวิญญาณหรือวัตถุ ด้านกายภาพหรือด้านสังคม
(2) ความมีดุลยภาพ ที่เน้นความก้าวหน้าที่มีดุลยภาพที่นำไปสู่คุณลักษณะของ GNH
(3) มีลักษณะสะสม (Collective) การมองความสุขในลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์สะสม
(4) มีความยั่งยืน แสวงหาสุขภาวะทั้งเพื่อคนในรุ่นปัจจุบันและคนในรุ่นอนาคตด้วย
(5) มีความเสมอภาค (Equitable) การบรรลุระดับสุขภาวะอย่างมีเหตุผลและกระจายอย่างเสมอภาค
ความสุขมวลรวมแห่งชาติวางอยู่บนเสา 4 หลัก คือ (1) ความยั่งยืนและความเสมอภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) การอนุรักษ์และการส่งเสริมวัฒนธรรม และ (4) ความมีธรรมาภิบาล
การปฏิรูปพลังงานของไทยที่กำลังเป็นกระแสสังคมก็ควรจะอยู่บนเสาสี่หลักนี้ด้วย การนำข้อมูลด้านพลังงานมาถาม-ตอบกันในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่ได้พูดถึงหลักการก่อนไม่อาจนำสู่การปฏิรูปที่ถูกต้องได้ เราจะตอบคำถามของคนรุ่นหลังที่จะเกิดมาได้อย่างไรว่า “ทำไมไม่เหลือปิโตรเลียมไว้ให้พวกหนูมั่ง”
ข้อมูลเป็นแค่ความรู้เท่านั้นซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่หลักการคือหัวใจที่กำกับความเป็นมนุษย์ (ที่ประเสริฐ) ด้วยเหตุนี้แหละอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงได้กล่าววาจาที่เป็นอมตะว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เราต้องจินตนาการไปถึงสภาพของสังคมที่น่าอยู่แม้จะยังมาไม่ถึงก็ไม่ไกลเกินกว่าจะวาดหวัง ซึ่งประเทศเล็กๆ อย่างภูฏานมีและกำลังทำให้โลกเห็น
ประเทศภูฏานได้พัฒนา ดัชนีความสุขมวลรวมแห่งชาติโดยพิจารณาถึง 9 องค์ประกอบภายใต้หลักการและเสา 4 หลักดังกล่าว พร้อมกับกำหนดน้ำหนัก (เป็นร้อยละ) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ ดังรูป
สิ่งที่ผมคิดว่าคนไทยเราจะต้องแปลกใจเป็นอย่างมากก็คือปัจจัยด้านการใช้เวลา (Time use) ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดคือ 13% ในขณะที่ปัจจัยด้านการศึกษาซึ่งคนไทยลงทุนขายไร่ขายนาให้ลูกเรียน แต่ภูฏานกลับให้ความสำคัญในระดับต่ำที่สุดคือ 7%เท่านั้น
ในด้านการศึกษามีตัวชี้วัด 4 ตัวคือ การอ่านออกเขียนได้ (30%) การเรียนการสอน (30%) ความรู้ (20%) และ คุณค่า (20%)
ในด้านความมีธรรมาภิบาล (มีส่วนร่วม 12%) มีตัวชี้วัด 4 ตัวคือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง (40%) การบริการ (40%) การปฏิบัติงานอย่างมีธรรมาภิบาล (10%) และสิทธิขั้นพื้นฐาน (10%) สำหรับรายได้ต่อหัวที่คนไทยเราเน้นกันมากนั้น มีความสำคัญแค่ 1 ใน 3 ของมาตรฐานการครองชีพเท่านั้น
ประเทศไทยเราก็มีการศึกษาเกี่ยวกับความสุขด้วยเหมือนกัน แต่ยังไม่มีการนำไปใช้ในระดับนโยบายของรัฐ ในขณะที่ประเทศภูฏานมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่า “รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแสวงหาความสุขมวลรวมแห่งชาติ”
จากผลการศึกษาใน “คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด” (มิถุนายน 2554) พบว่าจังหวัดระยองซึ่งมีจีพีพีต่อหัวสูงที่สุดประเทศไทยแต่มี “คะแนนความสุข” ในปี 2553 อยู่ในอันดับที่ 58 (ด้วยคะแนน 32.18) ในขณะที่จังหวัดพัทลุงอยู่ในอันดับที่ 28 (คะแนน 33.87หมายเหตุ ไม่ได้ระบุคะแนนเต็ม) เรียกว่าแทบจะกลับหัวกลับหางกันเลยทีเดียวระหว่างจีพีพีกับความสุขสำหรับจังหวัดที่หนึ่งคือพังงา (36.57คะแนน)
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมได้ศึกษาในคู่มือดังกล่าว ผมเห็นว่าแนวคิดในเรื่อง “ความสุข” ค่อนข้างจะแตกต่างจากหลักการสำคัญของประเทศภูฏานอยู่มาก ทั้งเรื่องการไม่จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ทั้งองค์ประกอบของความสุขที่เน้นภายในจิตใจของคนมากเกินไป ทั้งอำนาจการจำแนกที่ค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดต่างกันเพียง 4 คะแนนเท่านั้น ผมขออนุญาตไม่วิจารณ์มากกว่านี้ครับ
สี่ บทบาทของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายในปัจจุบัน ที่ปรึกษาในองค์การสหประชาชาติท่านหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว การพัฒนาจะล้มเหลว” การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย ไม่ใช่แค่พิธีกรรมที่สักแต่ว่าได้มีแล้วเท่านั้น
สิ่งที่ผมอยากจะกระตุกให้ภาคประชาสังคมช่วยกันคิดก็คือ ทำอย่างไรให้การลงแรงของภาคประชาชนจึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้มากๆ ชนิดที่ว่าลงแรงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะๆ (ดังภาพ) ซ้ายมือเป็นภาพไข่บนขอบโต๊ะ เราออกแรงนิดเดียวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะ ภาพขวามือเป็นภาพที่อธิบายเรื่องนี้ตามหลักวิชาคณิตศาสตร์ อ้อ! ถ้า คสช. จะเอาไปคิดด้วยก็จะดีมากนะครับ สถานการณ์ประเทศกำลังมาถึงจุดพลิกผันแล้ว คสช.กำลังยืนอยู่ที่จุดนั้น แต่ท่านต้องเลือกทิศทางให้ถูกต้องด้วยด้วย มิฉะนั้นไข่จะตกแตกแน่นอนเลย
ผมมีประเด็นนำเสนอ4 ประเด็นดังต่อไปนี้ครับ
หนึ่ง มายาคติเรื่องการพัฒนา เปรียบเทียบ “รายได้” คนระยองกับคนเมืองลุง
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายว่า “การพัฒนา หมายถึงการทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งดีขึ้น หรือเจริญขึ้น” แต่ ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้เขียนด้วยลายมือของท่านเองว่า “คำว่า “พัฒนา” นั้นตามตัวหนังสือแล้วหมายถึง “โตขึ้น” เท่านั้นดีก็ได้ บ้าก็ได้ ที่โตขึ้น”
ผมได้นำเอาแนวคิดที่แตกต่างกันมาเสนอในที่นี้ก็เพื่อกระตุกต่อมความคิด ใครจะเห็นด้วยกับความหมายไหนก็ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญาของแต่ละท่านนะครับ
ประเทศไทยเราก็เหมือนกับประเทศส่วนใหญ่ในโลกที่ชี้วัดผลการพัฒนากันด้วยรายได้เป็นหลักสำคัญ และที่เรารู้จักกันดีก็คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Product) หรือจีดีพีซึ่งหมายถึงมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในช่วงเวลาหนึ่งๆ
ในทำนองเดียวกัน หากเราจะวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดใด รายได้นี้เขาเรียกว่า จีพีพี (Gross Province Product) และเมื่อหารด้วยจำนวนประชากรในจังหวัดเขาก็เรียกว่า จีพีพีต่อหัว
ในปี 2555 จังหวัดที่มีจีพีพีต่อหัวสูงที่สุดก็คือจังหวัดระยอง 9.7 แสนบาท (นำแบบม้วนเดียวจบมาตลอดตั้งแต่อย่างน้อยปี 2547) กรุงเทพมหานครเป็นอันดับสาม (4.36 แสนบาท) สำหรับจีพีพีต่อหัวของคนเมืองลุงอยู่ที่อันดับ 58 (7.1 หมื่นบาท) ในขณะที่จังหวัดหนองบัวลำภูมาอันดับสุดท้าย (4.1 หมื่นบาท) สำหรับอีก 6 จังหวัดสามารถดูคร่าวๆ ได้จากกราฟที่ผมพลอตขึ้นเองครับ
จากกราฟดังกล่าวมีสิ่งที่น่าสนใจมากๆ 2 ข้อคือ
(1) ในช่วงปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐอเมริกามีปัญหาปรากฏว่าจีพีพีต่อหัวของคนระยองซึ่งเป็นจังหวัดอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างมาก รวมถึงจังหวัดภูเก็ตซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวด้วย ในขณะที่จังหวัดที่เป็นเกษตรกรรม เช่น นครศรีธรรมราชและพัทลุง ไม่มีปัญหา
(2) ในปี 2555 ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ เราจะเห็นว่าจีพีพีต่อหัวของจังหวัดพัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรังและสงขลาลดลงเล็กน้อย แต่จังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรมไม่ได้รับผลกระทบ
อนึ่ง จากข้อมูลนี้พบว่าในปี 2555 จีพีพีต่อหัวของคนระยองมากเป็น 14 เท่าของคนเมืองลุง และเป็น 23 เท่าของจังหวัดหนองบัวลำภูที่จีพีพีต่อหัวต่ำที่สุด
สิ่งที่นักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมักจะอ้างอยู่เสมอว่า อุตสาหกรรมจะทำให้คนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้ประเทศพัฒนา (ซึ่งไม่ทราบว่าดีขึ้นอย่างเดียว หรืออาจจะดีก็ได้ บ้าก็ได้) แต่จากการสำรวจ “รายได้เฉลี่ยต่อปีต่อครัวเรือน” (หนึ่งครัวเรือนมีประมาณ 4-5 คน) และ “จำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน” ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ทั้งรายได้และหนี้สินของคนใน 10 จังหวัดที่กล่าวมาแล้วไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก(ยกเว้น กทม.) ดังกราฟ
ที่กล่าวมาแล้ว เป็นการพิจารณาในเรื่องของรายได้ซึ่งเป็นตัวชี้วัดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก แต่ไม่ได้กล่าวถึงปัจจัยอื่นๆ เลย
เราได้ยินข่าวอยู่เสมอว่าชาวระยองเป็นโรคมะเร็งและทางเดินหายใจเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้มีข่าวน้ำมันรั่ว ก๊าซรั่ว และการลักลอบทิ้งขยะพิษจากอุตสาหกรรมบ่อยมาก สิ่งเหล่านี้กระจายตัวในวงกว้างเพราะมลพิษสามารถไปตามลม ตามลำน้ำ และขยะพิษก็ไปทางรถบรรทุกได้
ในขณะที่ตัวเลขรายได้เฉลี่ยต่อหัวของจังหวัดที่เป็นอุตสาหกรรมซึ่งสูงเกือบหนึ่งล้านบาทต่อปีกลับไม่ได้กระจายตัวไปลงสู่ครัวเรือนในจังหวัดเลย ดังหลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้ว
ขณะนี้แผนพัฒนาภาคใต้ซึ่งได้ริเริ่มมาหลายรัฐบาลแล้ว แต่ได้ถูกประชาชนต่อต้าน เพราะสิ่งที่หน่วยงานรัฐนำเสนอคือนิคมอุตสาหกรรม (รวมถึงปิโตรเคมีด้วย) โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ท่าเรือน้ำลึก ซึ่งในประวัติที่ผ่านมาเราพบแล้วว่าไม่ได้ตอบสนองผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ในขณะที่ประชาคมคนเมืองลุงได้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันว่า “เมืองเกษตรยั่งยืน ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี”
สอง กระแสการพัฒนา : สี่ขบวนรถบรรทุกแห่งการทำลายล้างอย่างสิ้นเชิง ภายใต้โลกาภิวัตน์
ก่อนอื่นขอเรียนว่าข้อดีของโลกาภิวัตน์ก็มีมากมายแต่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ ที่ยกด้านไม่ดีมาพูดกันก็เพราะจะได้ช่วยกันระวังไม่ให้ “ความบ้า” มันโตขึ้นมา และเพื่อให้กระชับผมขอนำเสนอด้วยภาพการ์ตูนซึ่งเขียนโดย Chris Madden
ขบวนรถบรรทุก 4 คันนี้คือ ขยะพิษอันตราย (Toxic Waste) ทรัพยากรธรรมชาติ(ทั้งป่าไม้ แร่ธาตุ ปิโตรเลียม) อาวุธสงคราม (หมายถึงถังแดงซึ่งเป็นประวัติอันเจ็บปวดของชาวพัทลุงด้วย) และสุดท้าย ขบวนวัฒนธรรม (อาหารต่างชาติ) ซึ่งหมายรวมถึงการศึกษาด้วย
ที่น่าสังเกตนะครับ ขบวนทั้ง 4 นี้มาทางด่วนพิเศษซึ่งสร้างด้วยภาษีของประชาชน ไม่ติดไฟแดงและที่น่าเป็นห่วงมากในสถานการณ์ปัจจุบันของบ้านเราก็คือทาง คสช.จะใช้ “ทางด่วนพิเศษ” เพื่อขนส่งอะไร
ถ้าถามว่าในบรรดา 4 ขบวนนี้ ขบวนไหนน่ากลัวที่สุด ในทัศนะของผมแล้วเห็นว่าขบวนวัฒนธรรมและการศึกษามีความน่ากลัวที่สุดครับ เพราะมันจะสร้างคนของโลกให้มีลักษณะ 4 ประการ คือ (1) ไม่รู้เรื่องรู้ราว (2) ไม่สนใจซึ่งกันและกัน (3) โง่เขลา และ (4) ไม่สนใจค้นหาความจริง (หมายเหตุ มาจากบทสรุปของ Wendell Berry, นักเขียนชาวอเมริกันผู้ต่อต้านสงคราม คัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ สนใจเรื่องชุมชน และติดแผงโซลาร์เซลล์ในไร่ของตนเอง)
นอกจากนี้ คุณอานันท์ ปันยารชุนได้วิจารณ์คนไทยซึ่งผมถือว่าเป็นดอกผลของโลกาภิวัตน์ด้วยว่า (5) เคารพความเห็นของกันและกันน้อยไปและ (6) นับถือปริญญาบัตรมากกว่าความรู้
ผมว่าถ้าเราต้องการจะ “ทำเมืองลุงให้น่าอยู่” ตามเจตนารมณ์ของผู้จัดสมัชชาฯ แล้ว เราจำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะของคนไทยอย่างน้อย 6 ประการนี้ให้มากๆ ด้วยนะครับ
สาม ความสุขมวลรวมแห่งชาติ ตัวชี้วัดที่ครอบคลุมความเป็นมนุษย์
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกได้โฟกัสไปที่เศรษฐกิจที่ขึ้นอยู่กับการขยายตัวทางวัตถุ ประเทศภูฏานกลับใช้ปฏิบัติการของสาธารณะ (Public Action) เพื่อเพิ่มสุขภาวะและความสุขที่แท้จริงของประชาชนโดยมีเป้าหมายที่ความสุขมวลรวมแห่งชาติ (Gross National Happiness-GNH)
แนวคิดที่สำคัญของ GNH คือ “การพัฒนาด้วยคุณค่า (Development with Values)” ซึ่งประกอบด้วยคุณค่า 5 ประการคือ
(1) ความเป็นองค์รวม ที่ตระหนักถึงทุกบริบทของความจำเป็นของประชาชนไม่ว่าจะเป็นด้านจิตวิญญาณหรือวัตถุ ด้านกายภาพหรือด้านสังคม
(2) ความมีดุลยภาพ ที่เน้นความก้าวหน้าที่มีดุลยภาพที่นำไปสู่คุณลักษณะของ GNH
(3) มีลักษณะสะสม (Collective) การมองความสุขในลักษณะที่เป็นปรากฏการณ์สะสม
(4) มีความยั่งยืน แสวงหาสุขภาวะทั้งเพื่อคนในรุ่นปัจจุบันและคนในรุ่นอนาคตด้วย
(5) มีความเสมอภาค (Equitable) การบรรลุระดับสุขภาวะอย่างมีเหตุผลและกระจายอย่างเสมอภาค
ความสุขมวลรวมแห่งชาติวางอยู่บนเสา 4 หลัก คือ (1) ความยั่งยืนและความเสมอภาคในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (2) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (3) การอนุรักษ์และการส่งเสริมวัฒนธรรม และ (4) ความมีธรรมาภิบาล
การปฏิรูปพลังงานของไทยที่กำลังเป็นกระแสสังคมก็ควรจะอยู่บนเสาสี่หลักนี้ด้วย การนำข้อมูลด้านพลังงานมาถาม-ตอบกันในช่วงเวลาสั้นๆ โดยไม่ได้พูดถึงหลักการก่อนไม่อาจนำสู่การปฏิรูปที่ถูกต้องได้ เราจะตอบคำถามของคนรุ่นหลังที่จะเกิดมาได้อย่างไรว่า “ทำไมไม่เหลือปิโตรเลียมไว้ให้พวกหนูมั่ง”
ข้อมูลเป็นแค่ความรู้เท่านั้นซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา แต่หลักการคือหัวใจที่กำกับความเป็นมนุษย์ (ที่ประเสริฐ) ด้วยเหตุนี้แหละอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ จึงได้กล่าววาจาที่เป็นอมตะว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เราต้องจินตนาการไปถึงสภาพของสังคมที่น่าอยู่แม้จะยังมาไม่ถึงก็ไม่ไกลเกินกว่าจะวาดหวัง ซึ่งประเทศเล็กๆ อย่างภูฏานมีและกำลังทำให้โลกเห็น
ประเทศภูฏานได้พัฒนา ดัชนีความสุขมวลรวมแห่งชาติโดยพิจารณาถึง 9 องค์ประกอบภายใต้หลักการและเสา 4 หลักดังกล่าว พร้อมกับกำหนดน้ำหนัก (เป็นร้อยละ) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบ ดังรูป
สิ่งที่ผมคิดว่าคนไทยเราจะต้องแปลกใจเป็นอย่างมากก็คือปัจจัยด้านการใช้เวลา (Time use) ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุดคือ 13% ในขณะที่ปัจจัยด้านการศึกษาซึ่งคนไทยลงทุนขายไร่ขายนาให้ลูกเรียน แต่ภูฏานกลับให้ความสำคัญในระดับต่ำที่สุดคือ 7%เท่านั้น
ในด้านการศึกษามีตัวชี้วัด 4 ตัวคือ การอ่านออกเขียนได้ (30%) การเรียนการสอน (30%) ความรู้ (20%) และ คุณค่า (20%)
ในด้านความมีธรรมาภิบาล (มีส่วนร่วม 12%) มีตัวชี้วัด 4 ตัวคือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง (40%) การบริการ (40%) การปฏิบัติงานอย่างมีธรรมาภิบาล (10%) และสิทธิขั้นพื้นฐาน (10%) สำหรับรายได้ต่อหัวที่คนไทยเราเน้นกันมากนั้น มีความสำคัญแค่ 1 ใน 3 ของมาตรฐานการครองชีพเท่านั้น
ประเทศไทยเราก็มีการศึกษาเกี่ยวกับความสุขด้วยเหมือนกัน แต่ยังไม่มีการนำไปใช้ในระดับนโยบายของรัฐ ในขณะที่ประเทศภูฏานมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจนว่า “รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนสามารถแสวงหาความสุขมวลรวมแห่งชาติ”
จากผลการศึกษาใน “คู่มือสร้างสุขระดับจังหวัด” (มิถุนายน 2554) พบว่าจังหวัดระยองซึ่งมีจีพีพีต่อหัวสูงที่สุดประเทศไทยแต่มี “คะแนนความสุข” ในปี 2553 อยู่ในอันดับที่ 58 (ด้วยคะแนน 32.18) ในขณะที่จังหวัดพัทลุงอยู่ในอันดับที่ 28 (คะแนน 33.87หมายเหตุ ไม่ได้ระบุคะแนนเต็ม) เรียกว่าแทบจะกลับหัวกลับหางกันเลยทีเดียวระหว่างจีพีพีกับความสุขสำหรับจังหวัดที่หนึ่งคือพังงา (36.57คะแนน)
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผมได้ศึกษาในคู่มือดังกล่าว ผมเห็นว่าแนวคิดในเรื่อง “ความสุข” ค่อนข้างจะแตกต่างจากหลักการสำคัญของประเทศภูฏานอยู่มาก ทั้งเรื่องการไม่จัดลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ทั้งองค์ประกอบของความสุขที่เน้นภายในจิตใจของคนมากเกินไป ทั้งอำนาจการจำแนกที่ค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดต่างกันเพียง 4 คะแนนเท่านั้น ผมขออนุญาตไม่วิจารณ์มากกว่านี้ครับ
สี่ บทบาทของภาคประชาชน
การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหัวใจสำคัญของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนและหลากหลายในปัจจุบัน ที่ปรึกษาในองค์การสหประชาชาติท่านหนึ่งถึงกับกล่าวว่า “หากปราศจากการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้ว การพัฒนาจะล้มเหลว” การมีส่วนร่วมของประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีและปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้วย ไม่ใช่แค่พิธีกรรมที่สักแต่ว่าได้มีแล้วเท่านั้น
สิ่งที่ผมอยากจะกระตุกให้ภาคประชาสังคมช่วยกันคิดก็คือ ทำอย่างไรให้การลงแรงของภาคประชาชนจึงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมได้มากๆ ชนิดที่ว่าลงแรงเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะๆ (ดังภาพ) ซ้ายมือเป็นภาพไข่บนขอบโต๊ะ เราออกแรงนิดเดียวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงเยอะ ภาพขวามือเป็นภาพที่อธิบายเรื่องนี้ตามหลักวิชาคณิตศาสตร์ อ้อ! ถ้า คสช. จะเอาไปคิดด้วยก็จะดีมากนะครับ สถานการณ์ประเทศกำลังมาถึงจุดพลิกผันแล้ว คสช.กำลังยืนอยู่ที่จุดนั้น แต่ท่านต้องเลือกทิศทางให้ถูกต้องด้วยด้วย มิฉะนั้นไข่จะตกแตกแน่นอนเลย