วานนี้ (28 ส.ค.) นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต่านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึง กรณีที่ศาลอาญา มีคำพิพากษา ยกฟ้องในคดีที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 1 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พระสุเทพ ปภากโร อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในคดีออกคำสั่งสลายการชุมนุม เมื่อปี 2553 ว่า เบื้องต้น จะนำเอาคำวินิจฉัยมาศึกษา และ ต้องมีการอุทธรณ์ต่อไป เพราะเป็นสิทธิของฝ่ายโจทก์ที่จะทำได้ แม้ว่าศาลอาญาจะวินิจฉัยว่าเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองก็ตาม
ทั้งนี้เชื่อว่าอัยการ และญาติในฐานะโจทก์ร่วม จะยื่นอุทธรณ์แน่นอน โดยจะได้ทำความเห็นแย้งยื่นต่อศาล ทั้งกรณีที่เห็นว่า ดีเอสไอ มีอำนาจสอบสวน และศาลอาญามีอำนาจพิจารณา อีกทั้งจะได้นำความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ยื่นต่อศาลด้วย
นายวิญญัติ กล่าวว่า เราได้จับตาเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะมีความพยายามที่จะไม่ให้คดีนี้ขึ้นสู่ศาลอาญา ซึ่งเป็นประเด็นที่ทีมทนายฝั่งนั้นได้สู้มาตลอด ว่าไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลอาญา เนื่องจากอำนาจสอบสวนไม่ชอบ และก่อนหน้านี้ มีคดีที่นายสุเทพ และ นายอภิสิทธิ์ ได้ฟ้อง ดีเอสไอ ไปนั้น ศาลก็ยกฟ้อง เพราะศาลเห็นว่าอำนาจสอบสวนนั้นชอบ และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จับตามมองคือว่า คำวินิจฉัย 2 ประเด็นนี้ ทำไมจึงขัดแย้งกัน ทั้งที่เป็นประเด็นเดียวกัน และเกี่ยวข้องกัน และการที่จะโอนคดีไปให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถ้าป.ป.ช. ชี้ว่าคดีนี้ไม่มีมูลขึ้นมาคดีนี้ก็ต้องพับลงไป ซึ่งเราได้เคลือบแคลงสงสัยใน ป.ป.ช. และไม่มีความมั่นใจในการทำหน้าที่นี้ของป.ป.ช. ว่าจะตรงไปตรงมาหรือไม่
นายวิญญัติ กล่าวอีกว่า ได้หารือร่วมกับ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. แล้ว ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งข้าราชการ ที่จะไปฆ่าผู้ อื่น เมื่อไม่ใช่หน้าที่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เราจึงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำเฉพาะตัว เป็นเหตุทำให้คนอื่นฆ่ากัน หรือให้ผู้อื่นถูกฆ่า จึงต้องขึ้นต่อศาลปกติ โดยไม่ได้ฟ้องตาม มาตรา 157 แต่ฟ้องตาม มาตรา 288 ถึง 289 ที่เป็นการกระทำโดยตรง จากการกระทำของบุคคลทั้งสอง ดังนั้นนายจตุพร จึงเห็นว่าถ้าไม่ขึ้นศาลอาญา หรือขึ้นศาลยุติธรรมแล้ว จะไปขึ้นป.ป.ช.ถามว่าจะสามารถไต่สวนได้แค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ทีมทนายได้ตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายป.ป.ช.หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะมาตรา9 ไม่ได้ให้อำนาจศาลรับเรื่องแบบนี้ไว้เลย อำนาจศาลที่จะรับเรื่องคือเรื่องการปฏิบิตหน้าที่โดยมิชอบ หรือทุจริตต่อหน้าที่
**"ธิดา"ปลุกญาติผู้ตายสู้ต่อ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ส่วนตัวมองว่า คดีนี้มีการไต่สวนมานาน และก็เคยมีคำสั่งศาล ระบุว่า การเสียชีวิตจากเหตุการณ์ปี 53 เกิดจากกระสุนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร และผู้ตายไม่มีอาวุธ จึงมีคำถามว่า การไต่สวนต่างๆ ที่ผ่านมากลายเป็นหมันไปเลยหรืออย่างไร พร้อมทั้งมองกรณีที่ศาลระบุว่า อำนาจการไต่ส่วนคดีนี้เป็นของ ป.ป.ช. หากเห็นว่ามีมูล ให้ยื่นต่อไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คงเป็นเรื่องยาก เพราะจากการศึกษาคดีที่ผ่านมาๆของ นายอภิสิทธิ์ ที่อยู่ใน ป.ป.ช. มีความล่าช้า หรือ ยกฟ้องไปเลย จึงคาดว่า ประชาชนจำนวนมากคงไม่สบายใจ และคนที่ไม่สบายใจเป็นอย่างมากคงเป็นญาติของผู้เสียชีวิต และคิดว่าเขาคงต่อสู้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลต่อไป
ทั้งนี้เชื่อว่าอัยการ และญาติในฐานะโจทก์ร่วม จะยื่นอุทธรณ์แน่นอน โดยจะได้ทำความเห็นแย้งยื่นต่อศาล ทั้งกรณีที่เห็นว่า ดีเอสไอ มีอำนาจสอบสวน และศาลอาญามีอำนาจพิจารณา อีกทั้งจะได้นำความเห็นแย้งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ยื่นต่อศาลด้วย
นายวิญญัติ กล่าวว่า เราได้จับตาเรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะมีความพยายามที่จะไม่ให้คดีนี้ขึ้นสู่ศาลอาญา ซึ่งเป็นประเด็นที่ทีมทนายฝั่งนั้นได้สู้มาตลอด ว่าไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลอาญา เนื่องจากอำนาจสอบสวนไม่ชอบ และก่อนหน้านี้ มีคดีที่นายสุเทพ และ นายอภิสิทธิ์ ได้ฟ้อง ดีเอสไอ ไปนั้น ศาลก็ยกฟ้อง เพราะศาลเห็นว่าอำนาจสอบสวนนั้นชอบ และเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวนดีเอสไอ เพราะฉะนั้น สิ่งที่จับตามมองคือว่า คำวินิจฉัย 2 ประเด็นนี้ ทำไมจึงขัดแย้งกัน ทั้งที่เป็นประเด็นเดียวกัน และเกี่ยวข้องกัน และการที่จะโอนคดีไปให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ถ้าป.ป.ช. ชี้ว่าคดีนี้ไม่มีมูลขึ้นมาคดีนี้ก็ต้องพับลงไป ซึ่งเราได้เคลือบแคลงสงสัยใน ป.ป.ช. และไม่มีความมั่นใจในการทำหน้าที่นี้ของป.ป.ช. ว่าจะตรงไปตรงมาหรือไม่
นายวิญญัติ กล่าวอีกว่า ได้หารือร่วมกับ นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. แล้ว ซึ่งเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการ เพราะไม่ใช่หน้าที่ของผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งข้าราชการ ที่จะไปฆ่าผู้ อื่น เมื่อไม่ใช่หน้าที่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เราจึงมองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของการกระทำเฉพาะตัว เป็นเหตุทำให้คนอื่นฆ่ากัน หรือให้ผู้อื่นถูกฆ่า จึงต้องขึ้นต่อศาลปกติ โดยไม่ได้ฟ้องตาม มาตรา 157 แต่ฟ้องตาม มาตรา 288 ถึง 289 ที่เป็นการกระทำโดยตรง จากการกระทำของบุคคลทั้งสอง ดังนั้นนายจตุพร จึงเห็นว่าถ้าไม่ขึ้นศาลอาญา หรือขึ้นศาลยุติธรรมแล้ว จะไปขึ้นป.ป.ช.ถามว่าจะสามารถไต่สวนได้แค่ไหนอย่างไร ทั้งนี้ทีมทนายได้ตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายป.ป.ช.หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะมาตรา9 ไม่ได้ให้อำนาจศาลรับเรื่องแบบนี้ไว้เลย อำนาจศาลที่จะรับเรื่องคือเรื่องการปฏิบิตหน้าที่โดยมิชอบ หรือทุจริตต่อหน้าที่
**"ธิดา"ปลุกญาติผู้ตายสู้ต่อ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ส่วนตัวมองว่า คดีนี้มีการไต่สวนมานาน และก็เคยมีคำสั่งศาล ระบุว่า การเสียชีวิตจากเหตุการณ์ปี 53 เกิดจากกระสุนจากฝ่ายเจ้าหน้าที่ทหาร และผู้ตายไม่มีอาวุธ จึงมีคำถามว่า การไต่สวนต่างๆ ที่ผ่านมากลายเป็นหมันไปเลยหรืออย่างไร พร้อมทั้งมองกรณีที่ศาลระบุว่า อำนาจการไต่ส่วนคดีนี้เป็นของ ป.ป.ช. หากเห็นว่ามีมูล ให้ยื่นต่อไปยังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คงเป็นเรื่องยาก เพราะจากการศึกษาคดีที่ผ่านมาๆของ นายอภิสิทธิ์ ที่อยู่ใน ป.ป.ช. มีความล่าช้า หรือ ยกฟ้องไปเลย จึงคาดว่า ประชาชนจำนวนมากคงไม่สบายใจ และคนที่ไม่สบายใจเป็นอย่างมากคงเป็นญาติของผู้เสียชีวิต และคิดว่าเขาคงต่อสู้ โดยยื่นอุทธรณ์ต่อศาลต่อไป