ASTVผู้จัดการรายวัน-ผู้บริหารการบินไทยยันไม่มีนักบินลาออก 200 คนตามข่าว แต่ยอมรับตั้งแต้ปี 53 มีนักบินลาออกเฉลี่ยปีละ 30-40 คนส่วนใหญ่ไปอยู่สายการบินตะวันออกกลาง เพราะรายได้สูงกว่า เผยเงินสดหมุนเวียนมีถึงแค่ก.ย. ลุ้นออมสินปล่อยกู้เสริมสภาพคล่องเร่งด่วน ชงบอร์ด 29 ส.ค.นี้ตั้งอนุฯกก.3 ฝ่ายแก้จุดอ่อนแผนฟื้นฟู เผย Q3/57 cabin factor วูบเหลือ 65-70% ด้านซุปเปอร์บอร์ดเร่ง THAI ฟื้นฟูกิจการ พร้อมปรับโครงสร้าง-กลยุทธ์ธุรกิจ
พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวนักบินการบินไทยลาออกเป็นจำนวน 200 คนว่า ไม่เป็นความจริง การบินไทยมีนักบินประมาณ 1,350 คน โดยตั้งแต่ปี 53 มีนักบิน นักบินผู้ช่วยลาออกเฉลี่ยประมาณ 30-40 คนต่อปีเท่านั้น โดยลาออกไปสายการบินตะวันออกกลางที่มีเงินเดือนสูงกว่า ซึ่งนับตั้งแต่ 53-56 รวมประมาณ 200 คนข่าวที่ออกมาเป็นการนำตัวเลข 5 ปีรวมกัน
"การลาออกไปสายการบินอื่นคงต้องเปรียบเทียบเรื่องรายได้ ผลประโยชน์ ซึ่งบริษัท ไม่มีปัญหาขาดแคลนนักบิน"พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์กล่าว
ร้อยโทอธิศักดิ์ พัดชื่นใจ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ การบินไทยกล่าวว่า ในปี 57 มีลาออกประมาณ 30-40 คน ซึ่งเป็นตัวเลขปกติ ในขณะที่จะมีการรับนักบินเข้ามาทำงานในแต่ละปีเพื่อทดแทนโดยคัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐาน ผ่านการฝึกตรมขั้นตอนทำงาน 7-8 ปี จึงจะได้ขึ้นเป็นนักบิน ในขณะที่หากย้ายไปสายการบินอื่น โดยเฉพาะตะวันออกกลาง จะใช้เวลา 1-2 ปี จะได้รับการโปรโมทขึ้นเป็นนักบินแล้ว
โดยบริษัท รับสมัครนักบินทุกปี โดยปี 57 อยู่ระหว่างการคัดเลือก จะเริ่มสอบเดือนกันยายนนี้ ซึ่งมีนักนักศึกษายื่นสมัคร 2,000 คน คาดว่าจะผ่านเกณฑ์ 80-90 คน และมีในส่วนที่เป็นนักบินผู้ช่วยจากสายการบินอื่น มาสมัครอีกประมาณ 85 คน ซี่งนอกจากต้องสอบผ่านเกณฑ์แล้ว จำนวนที่จะรับได้ในแต่ละปีนั้นจะต้องดูจากจำนวนเครื่องบิน เส้นทางบินประกอบด้วยโดยขณะนี้บริษัท มีมาตรการในการเพิ่มรายได้บางอย่างให้นักบิน เช่น ค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งต้องดูค่าใช้จ่ายของบริษัทประกอบด้วย
"การบินไทยสร้างคนจากศูนย์เป็นนักบิน ใช้เวลา 7-8 ปี ลงทุนฝึกนักบิน 1 คน ในเวลา 2ปี ถึง 2ปีครึ่งใช้เงินประมาณ 4 ล้านบาท ปัจจุบัน ธุรกิจการบินมีการแข่งขันสูง ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง มีผลต่อองค์กร ทำให้มีการซื้อตัวขึ้นในขณะที่การโปรโมทขึ้นเป็นกัปตันต้องอยู่ที่ความต้องการของบริษัท และเรียงความอาวุโส ซึ่งอาจจะกระทบต่อบางคนที่อายุมากแล้วที่มองว่าหากไปสายการบินอื่นจะขึ้นเป็นกัปตันเลย และมีหลายสายการบินที่ผลิตนักบินเองไม่ทัน"ร้อยโทอธิศักดิ์ กล่าว
ด้านเรืออากาศเอกมนตรี จำเรียง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน การบินไทยกล่าวว่า อัตราเงินเดือนนักบินเจแปนแอร์ไลน์สูงที่สุดประมาณ 1 ล้านบาทต่อเดือนแต่จะกำหนดชั่วโมงบินชัดเจน ส่วนสายการบินตะวันออกกลางเฉลี่ยที่ 7 แสนบาท ขณะที่การบินไทยเงินเดือน 2.4 แสนบาท ยังไม่รวมค่าชั่วโมงบินและยอมรับว่าการปรับขึ้นเงินเดือนแต่ละปีค่อนข้างน้อย ก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งให้นักบินออกไปอยู่สายการบินอื่นที่มีรายได้ดีกว่า
***ลุ้นออมสินปล่อยกู้ปลายก.ย.
พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินกู้จำนวน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อมาเสริมสภาพคล่อง ซึ่งเงินสดหมุนเวียนจะมีพอในเดือนกันยายนนี้ โดยบริษัทจะต้องมีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน แต่หากคลังพิจารณาล่าช้าบริษัทได้ขอกู้จากธนาคารออมสินมาช่วยก่อน
ทั้งนี้ คาดว่าอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร(cabin factor)ในช่วงไตรมาส 3/57 จะลดลงมาอยู่ที่ 65-70% ต่ำกว่าไตรมาส 2/57 เล็กน้อยเนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่จะฟื้นตัวมาอยู่ที่80% ในช่วงไตรมาส 4/57 ซึ่งได้กำชับผู้จัดการฝ่ายขายในแต่ละประเทศดูแลการขายตั๋วโดยสาร และคาดว่าผลประกอบการของบริษัทในไตรมาส 4/57 นี้น่าจะมีกำไร และเชื่อว่าในปีนี้บริษัทจะขาดทุนไม่เกิน 1.2 หมื่นล้านบาทจากเดิมคาดว่าจะขาดทุนสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ และแก้ไขจุดอ่อน เช่นทจำนวนพนักงานมากเกินไป เครื่องบินมากเกินไป เส้นทางบิน เป็นต้น
โดยแผนฟื้นฟูการบินไทยนั้น ได้เสนอซุปเปอร์บอร์ดแล้วแต่ยังเห็นว่าแผนยังไม่ชัดเจน ซึ่งจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูซึ่งมีผู้แทนจาก 3 ส่วนคือ ซุปเปอร์บอร์ด บอร์ดการบินไทยและฝ่ายบริหารการบินไทย เพื่อช่วยแนะนำแก้ไขจุดอ่อน กำหนดรายละเอียดและแนวทางฟื้นฟู โดยเป้าหมายเพื่อให้การบินไทยกลับมาเป็นที่ 1 ในภูมิภาค ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดการบินไทยวันที่ 29 สิงหาคมนี้ เพื่อตั้งคณะอนุกรรมการเร่งดำเนินการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากคลังจะพิจารณาเงินกู้ให้แผนฟื้นฟูต้องชัดเจนก่อน
เรืออากาศเอกมนตรี กล่าวว่า บริษัทต้องการเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาทมาสนับสนุน ทั้งสภาพคล่องและการจ่ายค่ามัดจำและค่าเช่าเครื่องบิน เนื่องจากประเมินแล้วพบว่าช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 57เงินสดหมุนเวียนจะต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท หรือ 15% ของรายได้ บริษัทมีความจำเป็นต้องรักษาระดับกระแสเงินสดไว้โดยแผนสำรองในระหว่างรอเงินกู้จากคลังคือกู้จากธนาคารออมสิน 5,000-7,000 ล้านบาทอายุ 6-12 เดือน ภายในเดือนกันยายนนี้ มาช่วยเร่งด่วนก่อน หากขั้นตอนกู้ออมสินไม่แล้วเสร็จ จำเป็นต้องใช้เครดิตไลน์ ของบริษัททที่มีประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาทมาใช้ก่อน
โดยในปี57 บริษัทจะรับมอบเครื่องบินรวม 7 ลำ คือ เครื่องบินดรีมไลเนอร์ 787 จำนวน 3 ลำ,โบอิ้ง 777-300 ER /2 ลำ และแอร์บัส 320-300 / 2 ลำ ส่วนปี 58-60 จะรับมอบเฉลี่ยปีละ 5 ลำ และยัง สั่งซื้อเครื่องบินดรีมไลเนอร์ 787 ทั้งหมดจำนวน 9 ลำ กำหนดรับมอบในข่วงปี 57-60 โดยใช้วิธีเช่าซื้อ ซึ่งมีค่าเช่าประมาณ 1 แสนเหรียญ/ลำ/ปี อีกด้วย
ส่วนการปรับลดพนักงานจะต้องประเมินจากจำนวนเครื่องบินที่มี ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบิน 100 ลำ ควรมีพนักงาน 1.8 หมื่นคน แต่การบินไทยมีพนักงาร 2.4 หมื่นคน จึงตั้งเป้าหมายปรับลดไว้ที่ 6,000 คนใน 5 ปีหรือเฉลี่ย 1,200 คนต่อปี โดยปีนี้มีพนักงานครบเกษียณอายุ 500 คน และมีสมัครใจเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดอีก 900 คนคาดว่าจะใช้เงิน 2,000 ล้านบาทซึ่งอยู่ระหว่างประเมินโดยมีความเหมาะสมเพราะเงินลงทุน 2,000 ล้านบาทจะคืนทุนใน 3 ปี
*เร่ง THAI ฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้าง-กลยุทธ์
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธาน คนร. ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจของบมจ.การบินไทย(THAI) เป็นอย่างมาก โดยเมื่อปลายสัปดาห์ได้มีการเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ รองประธาน คนร. คนร. บางท่าน ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการ THAI เพื่อหารือถึงการดำเนินการและแผนธุรกิจของTHAI
ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ เห็นว่า ถึงแม้ว่า ปีนี้ THAI จะประสบปัญหาขาดทุน แต่ THAI ยังมีพื้นฐานเดิมที่ดีซึ่งหากได้รับการปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเหมาะสมจะมีศักยภาพสูงในการดำเนินงานภายในระยะอันใกล้และต่อไปในอนาคต และที่ประชุมยังมีความมั่นใจว่า ฐานะทางการเงินของ THAI จะไม่เลวร้ายเหมือนที่ปรากฏเป็นข่าว เพราะ THAI ยังมีระดับเงินสดอยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเกินกว่า 46,000 ล้านบาท อีกทั้งจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ THAI ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต่างๆ ได้แสดงความสนใจที่จะให้การสนับสนุนในด้านสภาพคล่องให้แก่ THAI และในกรณีที่จำเป็นกระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะดูแล THAI หากเกิดปัญหาสภาพคล่อง
ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า THAI มีความจำเป็นต้องวางแผนยุทธศาสตร์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในระยะยาว จึงมอบหมายให้คณะกรรมการ THAI เร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทบทวน กำหนดยุทธศาสตร์และปรับโครงสร้างธุรกิจของ THAI ให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
โดยจะประกอบด้วย กรรมการ THAI ร่วมกับกรรมการ คนร. และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและด้านการเงิน เพื่อทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของ THAI โดย สคร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คนร. จะประสานการทำงานอย่างใกล้ชิด
พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงกรณีมีข่าวนักบินการบินไทยลาออกเป็นจำนวน 200 คนว่า ไม่เป็นความจริง การบินไทยมีนักบินประมาณ 1,350 คน โดยตั้งแต่ปี 53 มีนักบิน นักบินผู้ช่วยลาออกเฉลี่ยประมาณ 30-40 คนต่อปีเท่านั้น โดยลาออกไปสายการบินตะวันออกกลางที่มีเงินเดือนสูงกว่า ซึ่งนับตั้งแต่ 53-56 รวมประมาณ 200 คนข่าวที่ออกมาเป็นการนำตัวเลข 5 ปีรวมกัน
"การลาออกไปสายการบินอื่นคงต้องเปรียบเทียบเรื่องรายได้ ผลประโยชน์ ซึ่งบริษัท ไม่มีปัญหาขาดแคลนนักบิน"พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์กล่าว
ร้อยโทอธิศักดิ์ พัดชื่นใจ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ การบินไทยกล่าวว่า ในปี 57 มีลาออกประมาณ 30-40 คน ซึ่งเป็นตัวเลขปกติ ในขณะที่จะมีการรับนักบินเข้ามาทำงานในแต่ละปีเพื่อทดแทนโดยคัดเลือกตามเกณฑ์มาตรฐาน ผ่านการฝึกตรมขั้นตอนทำงาน 7-8 ปี จึงจะได้ขึ้นเป็นนักบิน ในขณะที่หากย้ายไปสายการบินอื่น โดยเฉพาะตะวันออกกลาง จะใช้เวลา 1-2 ปี จะได้รับการโปรโมทขึ้นเป็นนักบินแล้ว
โดยบริษัท รับสมัครนักบินทุกปี โดยปี 57 อยู่ระหว่างการคัดเลือก จะเริ่มสอบเดือนกันยายนนี้ ซึ่งมีนักนักศึกษายื่นสมัคร 2,000 คน คาดว่าจะผ่านเกณฑ์ 80-90 คน และมีในส่วนที่เป็นนักบินผู้ช่วยจากสายการบินอื่น มาสมัครอีกประมาณ 85 คน ซี่งนอกจากต้องสอบผ่านเกณฑ์แล้ว จำนวนที่จะรับได้ในแต่ละปีนั้นจะต้องดูจากจำนวนเครื่องบิน เส้นทางบินประกอบด้วยโดยขณะนี้บริษัท มีมาตรการในการเพิ่มรายได้บางอย่างให้นักบิน เช่น ค่าตอบแทนพิเศษ ซึ่งต้องดูค่าใช้จ่ายของบริษัทประกอบด้วย
"การบินไทยสร้างคนจากศูนย์เป็นนักบิน ใช้เวลา 7-8 ปี ลงทุนฝึกนักบิน 1 คน ในเวลา 2ปี ถึง 2ปีครึ่งใช้เงินประมาณ 4 ล้านบาท ปัจจุบัน ธุรกิจการบินมีการแข่งขันสูง ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง มีผลต่อองค์กร ทำให้มีการซื้อตัวขึ้นในขณะที่การโปรโมทขึ้นเป็นกัปตันต้องอยู่ที่ความต้องการของบริษัท และเรียงความอาวุโส ซึ่งอาจจะกระทบต่อบางคนที่อายุมากแล้วที่มองว่าหากไปสายการบินอื่นจะขึ้นเป็นกัปตันเลย และมีหลายสายการบินที่ผลิตนักบินเองไม่ทัน"ร้อยโทอธิศักดิ์ กล่าว
ด้านเรืออากาศเอกมนตรี จำเรียง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน การบินไทยกล่าวว่า อัตราเงินเดือนนักบินเจแปนแอร์ไลน์สูงที่สุดประมาณ 1 ล้านบาทต่อเดือนแต่จะกำหนดชั่วโมงบินชัดเจน ส่วนสายการบินตะวันออกกลางเฉลี่ยที่ 7 แสนบาท ขณะที่การบินไทยเงินเดือน 2.4 แสนบาท ยังไม่รวมค่าชั่วโมงบินและยอมรับว่าการปรับขึ้นเงินเดือนแต่ละปีค่อนข้างน้อย ก็อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งให้นักบินออกไปอยู่สายการบินอื่นที่มีรายได้ดีกว่า
***ลุ้นออมสินปล่อยกู้ปลายก.ย.
พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ กล่าวว่า บริษัทอยู่ระหว่างรอกระทรวงการคลังพิจารณาจัดหาเงินกู้จำนวน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อมาเสริมสภาพคล่อง ซึ่งเงินสดหมุนเวียนจะมีพอในเดือนกันยายนนี้ โดยบริษัทจะต้องมีเงินสดหมุนเวียนประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาทต่อเดือน แต่หากคลังพิจารณาล่าช้าบริษัทได้ขอกู้จากธนาคารออมสินมาช่วยก่อน
ทั้งนี้ คาดว่าอัตราส่วนบรรทุกผู้โดยสาร(cabin factor)ในช่วงไตรมาส 3/57 จะลดลงมาอยู่ที่ 65-70% ต่ำกว่าไตรมาส 2/57 เล็กน้อยเนื่องจากเป็นช่วงโลว์ซีซั่น แต่จะฟื้นตัวมาอยู่ที่80% ในช่วงไตรมาส 4/57 ซึ่งได้กำชับผู้จัดการฝ่ายขายในแต่ละประเทศดูแลการขายตั๋วโดยสาร และคาดว่าผลประกอบการของบริษัทในไตรมาส 4/57 นี้น่าจะมีกำไร และเชื่อว่าในปีนี้บริษัทจะขาดทุนไม่เกิน 1.2 หมื่นล้านบาทจากเดิมคาดว่าจะขาดทุนสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากบริษัทจะเดินหน้าตามแผนฟื้นฟูกิจการ และแก้ไขจุดอ่อน เช่นทจำนวนพนักงานมากเกินไป เครื่องบินมากเกินไป เส้นทางบิน เป็นต้น
โดยแผนฟื้นฟูการบินไทยนั้น ได้เสนอซุปเปอร์บอร์ดแล้วแต่ยังเห็นว่าแผนยังไม่ชัดเจน ซึ่งจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการฟื้นฟูซึ่งมีผู้แทนจาก 3 ส่วนคือ ซุปเปอร์บอร์ด บอร์ดการบินไทยและฝ่ายบริหารการบินไทย เพื่อช่วยแนะนำแก้ไขจุดอ่อน กำหนดรายละเอียดและแนวทางฟื้นฟู โดยเป้าหมายเพื่อให้การบินไทยกลับมาเป็นที่ 1 ในภูมิภาค ซึ่งจะมีการประชุมบอร์ดการบินไทยวันที่ 29 สิงหาคมนี้ เพื่อตั้งคณะอนุกรรมการเร่งดำเนินการฟื้นฟูกิจการเนื่องจากคลังจะพิจารณาเงินกู้ให้แผนฟื้นฟูต้องชัดเจนก่อน
เรืออากาศเอกมนตรี กล่าวว่า บริษัทต้องการเงินประมาณ 2 หมื่นล้านบาทมาสนับสนุน ทั้งสภาพคล่องและการจ่ายค่ามัดจำและค่าเช่าเครื่องบิน เนื่องจากประเมินแล้วพบว่าช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 57เงินสดหมุนเวียนจะต่ำกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท หรือ 15% ของรายได้ บริษัทมีความจำเป็นต้องรักษาระดับกระแสเงินสดไว้โดยแผนสำรองในระหว่างรอเงินกู้จากคลังคือกู้จากธนาคารออมสิน 5,000-7,000 ล้านบาทอายุ 6-12 เดือน ภายในเดือนกันยายนนี้ มาช่วยเร่งด่วนก่อน หากขั้นตอนกู้ออมสินไม่แล้วเสร็จ จำเป็นต้องใช้เครดิตไลน์ ของบริษัททที่มีประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาทมาใช้ก่อน
โดยในปี57 บริษัทจะรับมอบเครื่องบินรวม 7 ลำ คือ เครื่องบินดรีมไลเนอร์ 787 จำนวน 3 ลำ,โบอิ้ง 777-300 ER /2 ลำ และแอร์บัส 320-300 / 2 ลำ ส่วนปี 58-60 จะรับมอบเฉลี่ยปีละ 5 ลำ และยัง สั่งซื้อเครื่องบินดรีมไลเนอร์ 787 ทั้งหมดจำนวน 9 ลำ กำหนดรับมอบในข่วงปี 57-60 โดยใช้วิธีเช่าซื้อ ซึ่งมีค่าเช่าประมาณ 1 แสนเหรียญ/ลำ/ปี อีกด้วย
ส่วนการปรับลดพนักงานจะต้องประเมินจากจำนวนเครื่องบินที่มี ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องบิน 100 ลำ ควรมีพนักงาน 1.8 หมื่นคน แต่การบินไทยมีพนักงาร 2.4 หมื่นคน จึงตั้งเป้าหมายปรับลดไว้ที่ 6,000 คนใน 5 ปีหรือเฉลี่ย 1,200 คนต่อปี โดยปีนี้มีพนักงานครบเกษียณอายุ 500 คน และมีสมัครใจเข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดอีก 900 คนคาดว่าจะใช้เงิน 2,000 ล้านบาทซึ่งอยู่ระหว่างประเมินโดยมีความเหมาะสมเพราะเงินลงทุน 2,000 ล้านบาทจะคืนทุนใน 3 ปี
*เร่ง THAI ฟื้นฟูกิจการ ปรับโครงสร้าง-กลยุทธ์
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) กล่าวว่า พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และประธาน คนร. ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจของบมจ.การบินไทย(THAI) เป็นอย่างมาก โดยเมื่อปลายสัปดาห์ได้มีการเรียกประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้า คสช. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ รองประธาน คนร. คนร. บางท่าน ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้อำนวยการ THAI เพื่อหารือถึงการดำเนินการและแผนธุรกิจของTHAI
ที่ประชุมได้รับทราบและพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ เห็นว่า ถึงแม้ว่า ปีนี้ THAI จะประสบปัญหาขาดทุน แต่ THAI ยังมีพื้นฐานเดิมที่ดีซึ่งหากได้รับการปรับโครงสร้างและกลยุทธ์ธุรกิจอย่างเหมาะสมจะมีศักยภาพสูงในการดำเนินงานภายในระยะอันใกล้และต่อไปในอนาคต และที่ประชุมยังมีความมั่นใจว่า ฐานะทางการเงินของ THAI จะไม่เลวร้ายเหมือนที่ปรากฏเป็นข่าว เพราะ THAI ยังมีระดับเงินสดอยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีส่วนของผู้ถือหุ้นเกินกว่า 46,000 ล้านบาท อีกทั้งจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการ THAI ได้ปรับเพิ่มขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ สถาบันการเงินต่างๆ ได้แสดงความสนใจที่จะให้การสนับสนุนในด้านสภาพคล่องให้แก่ THAI และในกรณีที่จำเป็นกระทรวงการคลังก็พร้อมที่จะดูแล THAI หากเกิดปัญหาสภาพคล่อง
ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่า THAI มีความจำเป็นต้องวางแผนยุทธศาสตร์ให้มีศักยภาพในการแข่งขันอย่างยั่งยืนในระยะยาว จึงมอบหมายให้คณะกรรมการ THAI เร่งดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทบทวน กำหนดยุทธศาสตร์และปรับโครงสร้างธุรกิจของ THAI ให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
โดยจะประกอบด้วย กรรมการ THAI ร่วมกับกรรมการ คนร. และผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ด้านการปรับโครงสร้างทางธุรกิจและด้านการเงิน เพื่อทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารของ THAI โดย สคร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คนร. จะประสานการทำงานอย่างใกล้ชิด