วานนี้ (24 ส.ค.) ที่สถาบันบำราศนราดูร จ.นนทบุรี นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเปิดการประชุมเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาล เพื่อรองรับผู้ป่วยสงสัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา จัดโดยกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมควบคุมโรค (คร.) โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ในส่วนกลางและจาก 37 จังหวัด เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน ว่า มาตรการสำคัญในการรับมือโรคอีโบลา คือ การเฝ้าระวังโรคทั้งในคนและสัตว์ การเตรียมพร้อมของโรงพยาบาล และห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) โดยเน้นในเรื่องของมาตรฐานเพื่อให้มีความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ หากมีผู้ป่วยสงสัยโรคอีโบลา จะส่งผู้ป่วยไปยัง สถาบันบำราศนราดูร รพ.ราชวิถี รพ.นพรัตนราชธานี หากเป็นเด้กจะส่งสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ส่วนภูมิภาค จะเตรียมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสนามบินและด่านชายแดน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังจนถึงขณะนี้ ไทยยังไม่พบผู้เข้าข่ายสงสัยโรคนี้ ทั้งนี้ วันที่ 26 ส.ค. สธ.จะเสนอของบกลางประมาณ 100 ล้านบาท ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเตรียมความพร้อมในระยะเฉพาะหน้า สำหรับมาตรการเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ 1.การจัดหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 2.การพัฒนามาตรฐานและความปลอดภัยของระบบตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และ 3.การให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและสร้างร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อการป้องกันโรค
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า อาการหญิงไทย ที่พักดูอาการที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่เย็นวันที่ 20 ส.ค. จนถึงขณะนี้อาการทั่วไปปกติ ไม่มีไข้ แต่ได้มีการตรวจเลือดเพื่อยืนยันซ้ำอีกครั้ง โดยส่งตรวจพิสูจน์ที่แล็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทราบผลใน 8 ชั่วโมง คาดว่าจะแจ้งผลได้ในวันที่ 25 ส.ค. ทั้งนี้ หากทราบผลยืนยันแล้วจะส่งให้คณะทำงานวินิจฉัยยืนยัน ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน พิจารณาว่าจะอนุญาตให้หญิงวัย 48 ปีกลับบ้านหรือต้องเฝ้าระวังต่อ สำหรับผลการตรวจคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. จนถึงขณะนี้มีทั้งหมด 708 คน จากกินี 384 คน ไลบีเรีย 54 คน เซียร์ราลีโอน 35 คน ไนจีเรีย 231 คน และประเทศอื่นๆ 4 คน ไม่มีรายใดมีไข้ แต่ทุกคนอยู่ในระบบติดตามอาการทุกวัน
นพ.โสภณ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคอีโบลาถึงวันที่ 20 ส.ค. พบผู้ป่วย 2,615 ราย เสียชีวิต 1,427 ราย เฉลี่ยอัตราผู้ป่วยรอดชีวิต ร้อยละ 47 ซึ่ง สธ.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก เพราะยังไม่พบว่ามีการกระจายออกนอกทวีปแอฟริกา เชื้อโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ที่มีอาการป่วย เชื้อเข้าทางบาดแผลหรือรอยถลอก หรือ เข้าทางเยื่อเมือก เช่น เยื่อตา ไม่ติดต่อทางเดินหายใจ
***สุวรรณภูมิตั้งเทอร์โมสแกนตรวจ
นายแพทย์เจรียงโรจน์ กฤษณา ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ร่วมกับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ออกมาตรการป้องกันแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยมีการติดตั้งเครื่อง Thermoscan จำนวน 1 เครื่องที่บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน E ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา พร้อมจัดหลุมจอดสำหรับเที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าลีโอน และไนจีเรียไว้ที่อาคารเทียบเครื่องบิน E ซึ่งเมืาอผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าวมาถึงจะต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ ถ้าหากพบอุณหภูมิสูงผิดปกติ ทางด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจะให้คำแนะนำและดำเนินการตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาติดตั้งจุดคัดกรองผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานเพิ่มเติมอีก 5 เครื่อง ได้แก่ พื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ก่อนเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง จำนวน 3 เครื่อง พื้นที่สำหรับผู้โดยสารผ่านเครื่อง (Transit) จำนวน 2 เครื่องด้วย.
ทั้งนี้ หากมีผู้ป่วยสงสัยโรคอีโบลา จะส่งผู้ป่วยไปยัง สถาบันบำราศนราดูร รพ.ราชวิถี รพ.นพรัตนราชธานี หากเป็นเด้กจะส่งสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ส่วนภูมิภาค จะเตรียมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทุกจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสนามบินและด่านชายแดน
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังจนถึงขณะนี้ ไทยยังไม่พบผู้เข้าข่ายสงสัยโรคนี้ ทั้งนี้ วันที่ 26 ส.ค. สธ.จะเสนอของบกลางประมาณ 100 ล้านบาท ต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเตรียมความพร้อมในระยะเฉพาะหน้า สำหรับมาตรการเร่งด่วน 3 เรื่อง คือ 1.การจัดหาอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน 2.การพัฒนามาตรฐานและความปลอดภัยของระบบตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป และ 3.การให้ความรู้ความเข้าใจประชาชน เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและสร้างร่วมมือกันในทุกภาคส่วน เพื่อการป้องกันโรค
ด้าน นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า อาการหญิงไทย ที่พักดูอาการที่สถาบันบำราศนราดูร ตั้งแต่เย็นวันที่ 20 ส.ค. จนถึงขณะนี้อาการทั่วไปปกติ ไม่มีไข้ แต่ได้มีการตรวจเลือดเพื่อยืนยันซ้ำอีกครั้ง โดยส่งตรวจพิสูจน์ที่แล็บของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถทราบผลใน 8 ชั่วโมง คาดว่าจะแจ้งผลได้ในวันที่ 25 ส.ค. ทั้งนี้ หากทราบผลยืนยันแล้วจะส่งให้คณะทำงานวินิจฉัยยืนยัน ที่มี ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นประธาน พิจารณาว่าจะอนุญาตให้หญิงวัย 48 ปีกลับบ้านหรือต้องเฝ้าระวังต่อ สำหรับผลการตรวจคัดกรองผู้เดินทางจากประเทศที่มีการระบาด ตั้งแต่วันที่ 8 มิ.ย. จนถึงขณะนี้มีทั้งหมด 708 คน จากกินี 384 คน ไลบีเรีย 54 คน เซียร์ราลีโอน 35 คน ไนจีเรีย 231 คน และประเทศอื่นๆ 4 คน ไม่มีรายใดมีไข้ แต่ทุกคนอยู่ในระบบติดตามอาการทุกวัน
นพ.โสภณ กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกรายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคอีโบลาถึงวันที่ 20 ส.ค. พบผู้ป่วย 2,615 ราย เสียชีวิต 1,427 ราย เฉลี่ยอัตราผู้ป่วยรอดชีวิต ร้อยละ 47 ซึ่ง สธ.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ประชาชนไม่ควรตื่นตระหนก เพราะยังไม่พบว่ามีการกระจายออกนอกทวีปแอฟริกา เชื้อโรคนี้ติดต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงกับเลือด น้ำเหลือง สิ่งคัดหลั่งของผู้ที่มีอาการป่วย เชื้อเข้าทางบาดแผลหรือรอยถลอก หรือ เข้าทางเยื่อเมือก เช่น เยื่อตา ไม่ติดต่อทางเดินหายใจ
***สุวรรณภูมิตั้งเทอร์โมสแกนตรวจ
นายแพทย์เจรียงโรจน์ กฤษณา ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ร่วมกับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ออกมาตรการป้องกันแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา โดยมีการติดตั้งเครื่อง Thermoscan จำนวน 1 เครื่องที่บริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน E ตั้งแต่เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่ผ่านมา พร้อมจัดหลุมจอดสำหรับเที่ยวบินที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด ได้แก่ กินี ไลบีเรีย เซียร์ร่าลีโอน และไนจีเรียไว้ที่อาคารเทียบเครื่องบิน E ซึ่งเมืาอผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าวมาถึงจะต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิ ถ้าหากพบอุณหภูมิสูงผิดปกติ ทางด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศจะให้คำแนะนำและดำเนินการตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาติดตั้งจุดคัดกรองผู้โดยสารภายในท่าอากาศยานเพิ่มเติมอีก 5 เครื่อง ได้แก่ พื้นที่สำหรับผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ก่อนเคาน์เตอร์ตรวจหนังสือเดินทาง จำนวน 3 เครื่อง พื้นที่สำหรับผู้โดยสารผ่านเครื่อง (Transit) จำนวน 2 เครื่องด้วย.