สธ. เผยอาการหญิง 48 ปี ยังไร้ไข้ ไม่เข้าข่ายติดเชื้ออีโบลา รอผลตรวจเลือดครั้งที่ 2 ก่อนส่งคณะทำงานตัดสินกลับบ้านได้หรือไม่
วันนี้ (23 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ศุภมิตร ชุณสุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงอาการของหญิงวัย 48 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคที่สถาบันบำราศนราดูร หลังมีอาการไข้และผื่นขึ้นหลังเดินทางกลับมาจากไลบีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาด ว่า ผลการตรวจร่างกายยังไม่พบอาการผิดปกติ อุณหภูมิต่ำกว่า 37 ซึ่งไม่ถือว่ามีไข้ ทั้งนี้ หากดูตามเงื่อนไขอาการโรคติดเชื้ออีโบลาไม่ถือว่าหญิงรายนี้เข้าข่ายผู้สงสัย แต่ด้วยเหตุที่เกิดความกังวลจึงขอรับการตรวจสอบด้วยตัวเอง
“แม้ว่าจะไม่เข้าข่ายว่าต้องสงสัย แต่เมื่อเริ่มต้นกระบวนการแล้วก็ต้องดูแลให้ต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการวัดไข้ ยังได้เจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ ผลการตรวจครั้งแรกเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้อ แต่ตามกระบวนการควบคุมโรค จะต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้ง คาดว่าจะตรวจในวันที่ 24 ส.ค. และจะแจ้งผลอีกครั้ง”นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า หลังจากนี้ คณะแพทย์ยังคงติดตามอาการและรอผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 เมื่อได้ผลตรวจเลือดแล้ว จะนำเข้าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เนื่องจากเป็นกรณีที่เป็นที่สนใจของประชาชน โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้ตัดสินว่าให้กลับบ้านได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อกลับบ้านแล้วจะมีกระบวนการ ให้คำแนะนำทางสุขภาพ และติดตาม สอบถามทางโทรศัพท์ เป็นเวลา 21 วัน อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมข้อมูล ความรู้ล่าสุด ยืนยันว่า โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สามารถติดต่อจากเลือด น้ำเหลือง ด้วยการสัมผัสโดยตรง วิธีการติดต่อเหมือนโรคเอดส์ แต่เชื้อเอดส์จะสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ผู้ติดไม่แสดงอาการเจ็บป่วยจึงแพร่เชื้อได้ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ขณะที่ผู้ป่วยอีโบลามักมีอาการหนักมาก และการแพร่เชื้อจึงมักเกิดขึ้นในช่วงป่วยหนัก คนที่เสี่ยงต่อการติดโรคจึงมักเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนคนทั่วไปมีความเสี่ยงน้อย
ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ยอดผู้ป่วยล่าสุดสะสม 2,615 ราย ตาย 1,427 ราย ใน 3 ประเทศ 1 เมือง สถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงเดิม โดยการระบาดรุนแรงในประเทศไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน
“หญิงรายดังกล่าวที่รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ ถือเป็นบุคคลที่เสียสละอย่างมาก เพราะหากเก็บอาการเจ็บป่วยของตนเองเป็นความลับ เมื่อเดินทางไปยังประเทศเสี่ยง หากติดเชื้อขึ้นจริงๆ จะเป็นผลเสียและทำให้เกิดการระบาดในประเทศขึ้น ซึ่งในพื้นที่ที่พบการระบาด ก็พบว่าเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อควบคุมโรคให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความเข้าใจ และความพร้อมของสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการควบคุมการระบาดของโรค” นพ.โอภาส กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. นพ.ศุภมิตร ชุณสุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงอาการของหญิงวัย 48 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนโรคที่สถาบันบำราศนราดูร หลังมีอาการไข้และผื่นขึ้นหลังเดินทางกลับมาจากไลบีเรีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการระบาด ว่า ผลการตรวจร่างกายยังไม่พบอาการผิดปกติ อุณหภูมิต่ำกว่า 37 ซึ่งไม่ถือว่ามีไข้ ทั้งนี้ หากดูตามเงื่อนไขอาการโรคติดเชื้ออีโบลาไม่ถือว่าหญิงรายนี้เข้าข่ายผู้สงสัย แต่ด้วยเหตุที่เกิดความกังวลจึงขอรับการตรวจสอบด้วยตัวเอง
“แม้ว่าจะไม่เข้าข่ายว่าต้องสงสัย แต่เมื่อเริ่มต้นกระบวนการแล้วก็ต้องดูแลให้ต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากการวัดไข้ ยังได้เจาะเลือดเพื่อตรวจหาเชื้อ ผลการตรวจครั้งแรกเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้อ แต่ตามกระบวนการควบคุมโรค จะต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้ง คาดว่าจะตรวจในวันที่ 24 ส.ค. และจะแจ้งผลอีกครั้ง”นพ.ศุภมิตร กล่าว
นพ.ศุภมิตร กล่าวว่า หลังจากนี้ คณะแพทย์ยังคงติดตามอาการและรอผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 เมื่อได้ผลตรวจเลือดแล้ว จะนำเข้าคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เนื่องจากเป็นกรณีที่เป็นที่สนใจของประชาชน โดยคณะกรรมการจะเป็นผู้ตัดสินว่าให้กลับบ้านได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อกลับบ้านแล้วจะมีกระบวนการ ให้คำแนะนำทางสุขภาพ และติดตาม สอบถามทางโทรศัพท์ เป็นเวลา 21 วัน อย่างไรก็ตาม จากการรวบรวมข้อมูล ความรู้ล่าสุด ยืนยันว่า โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา สามารถติดต่อจากเลือด น้ำเหลือง ด้วยการสัมผัสโดยตรง วิธีการติดต่อเหมือนโรคเอดส์ แต่เชื้อเอดส์จะสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน ผู้ติดไม่แสดงอาการเจ็บป่วยจึงแพร่เชื้อได้ด้วยการมีเพศสัมพันธ์ ขณะที่ผู้ป่วยอีโบลามักมีอาการหนักมาก และการแพร่เชื้อจึงมักเกิดขึ้นในช่วงป่วยหนัก คนที่เสี่ยงต่อการติดโรคจึงมักเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนคนทั่วไปมีความเสี่ยงน้อย
ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ยอดผู้ป่วยล่าสุดสะสม 2,615 ราย ตาย 1,427 ราย ใน 3 ประเทศ 1 เมือง สถานการณ์ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมายังคงเดิม โดยการระบาดรุนแรงในประเทศไลบีเรีย และเซียร์ราลีโอน
“หญิงรายดังกล่าวที่รายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ ถือเป็นบุคคลที่เสียสละอย่างมาก เพราะหากเก็บอาการเจ็บป่วยของตนเองเป็นความลับ เมื่อเดินทางไปยังประเทศเสี่ยง หากติดเชื้อขึ้นจริงๆ จะเป็นผลเสียและทำให้เกิดการระบาดในประเทศขึ้น ซึ่งในพื้นที่ที่พบการระบาด ก็พบว่าเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เพื่อควบคุมโรคให้เป็นไปตามมาตรฐาน ความเข้าใจ และความพร้อมของสังคมจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่งในการควบคุมการระบาดของโรค” นพ.โอภาส กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่