นักปราชญ์ท่านหนึ่งได้กล่าวว่า มีบุตร 3 จำพวกคือ บุตรที่เกิดมาแล้วตายหนึ่ง บุตรที่ยังไม่เกิดหนึ่ง และบุตรที่เกิดมาแล้วมีชีวิตอยู่แต่เป็นคนโง่หนึ่ง ใน 3 จำพวกนี้ท่านควรเลือกสองจำพวกแรกเพราะให้ความทุกข์แก่ท่านครั้งเดียว แต่จำพวกหลังให้ความทุกข์แก่ท่านตลอดไป
วาทะดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้อ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ หิโตปเทศ แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ แต่เมื่ออ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ และเผอิญมีเนื้อหาสอดคล้องกับข่าวหญิงไทยรับจ้างอุ้มบุญให้กับสามีภรรยาชาวออสเตรเลียคู่หนึ่ง ซึ่งไม่มีบุตรและได้ว่าจ้างหญิงไทยตั้งท้องแทน โดยเอาตัวอ่อนที่ได้จากการผสมเทียมมาฝากไว้ในมดลูกของหญิงไทยคนดังกล่าว และปรากฏว่าทารกในครรภ์เป็นฝาแฝดหญิงชาย แต่เมื่อคลอดออกมาปรากฏว่าทารกเพศชายมีสภาพร่างกายไม่ปกติ แต่ทารกเพศหญิงสมบูรณ์ดี
พ่อแม่ชาวออสเตรเลียได้นำเพียงลูกสาวกลับไปประเทศของตน ปล่อยให้แม่อุ้มบุญเลี้ยงลูกชายซึ่งเกิดมาไม่ปกติไปตามยถากรรม
แต่เมื่อเรื่องนี้ปรากฏเป็นข่าวดังขึ้นมา ได้มีบรรดาผู้ใจบุญทั้งหลายบริจาคเงินช่วยแม่อุ้มบุญรายนี้เป็นเงินหลายล้านบาท ทำให้ความเดือดร้อนอันเกิดจากการขาดแคลนเงินสำหรับเลี้ยงดู และรักษาอาการป่วยลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่ความเดือดร้อนทางใจหรือความทุกข์ใจคงจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เห็นเด็กป่วย และได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายจะอยู่กับเธอผู้นี้ต่อไปตราบเท่าที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ และไม่หายจากการเจ็บป่วย
จากข่าวแม่อุ้มบุญรายดังกล่าว ทำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุขได้ตื่นตัวสอบสวนเรื่องหญิงไทยรับจ้างอุ้มบุญ และได้พบว่าก่อนหน้านี้ได้มีมาแล้วหลายราย
ล่าสุดได้มีข่าวว่าชายชาวญี่ปุ่นได้ว่าจ้างหญิงไทยอุ้มบุญ และมีเด็กเกิดมาแล้ว 10 กว่าคน ทั้งยังอยู่ในท้องอีก 1 คน
ดังนั้น ถ้าดูจากข่าวที่ปรากฏ ทำให้อนุมานได้ว่าการว่าจ้างให้หญิงไทยอุ้มบุญของชาวต่างชาติ คงจะไม่ใช่เรื่องเล็กที่รัฐบาลไทยจะมองข้ามได้อีกแล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ควรจะทำการศึกษา และวางมาตรการป้องกันมิให้มีปัญหาในทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้เนื่องจากว่า การว่าจ้างอุ้มบุญคงจะไม่ใช่แค่เพียงปัญหาของคนที่ไม่สามารถมีบุตรได้ แต่ต้องการมีบุตรจึงได้ว่าจ้างให้คนอื่นให้กำเนิดบุตรแทน โดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น แต่น่าจะมีเหตุอื่นซับซ้อนซ่อนเร้นมากกว่านี้ เป็นต้นว่า เมื่อได้เด็กมาแล้วแทนที่จะเลี้ยงดูเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ในฐานะเป็นทายาทผู้สืบทอดสกุล อันเป็นสายโลหิตของตนเอง แต่อาจนำไปขายให้กับผู้ต้องการมีบุตร หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น นำไปขายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนอวัยวะ อันได้แก่ ไต เป็นต้น ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เข้าข่ายผิดทั้งกฎหมาย และผิดทั้งศีลธรรมอย่างชัดเจน
ทำไมคนจึงต้องการมีบุตร และเมื่อไม่สามารถมีได้พวกเขามีทางออกอย่างไร
เริ่มด้วยประเด็นแรกคือ ทำไมคนจึงต้องการมีบุตร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ตอบได้ว่าเนื่องจากเหตุปัจจัย 2 ประการคือ
1. ความเชื่อทางศาสนา
ความเชื่อในทางศาสนามีส่วนสำคัญมากที่ทำให้คนต้องการมีลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธและฮินดู
ชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งวิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อว่าการมีบุตรชายจะทำให้พ่อแม่รอดพ้นจากการตกนรกขุมปุตตะ
ชาวพุทธมีความเชื่อว่า การมีลูกชายและได้บวชเป็นพระในพุทธศาสนาจะช่วยให้พ่อแม่ได้บุญ และไปเกิดในสวรรค์ จึงมีคำพูดที่ว่า พ่อแม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์
2. ในทางสังคม ซึ่งมีประเพณีสืบทอดกันมา
เกี่ยวกับประเด็นนี้ คนเกือบทุกชาติและทุกศาสนา จะมีความเชื่อในการมีลูกในทำนองคล้ายๆ กันคือ ให้เป็นผู้สืบทอดสกุลในฐานะเป็นสายโลหิตของตนเอง และช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อแม่ยามแก่เฒ่าช่วยตนเองไม่ได้
ยิ่งกว่านี้ ในบางชนชาติ เช่น อินเดีย และจีนต้องการมีลูกชายเนื่องจากลูกชายนอกจากจะใช้นามสกุลของพ่อแล้ว ยังแต่งภรรยาเข้ามาช่วยงานในบ้านด้วย
แต่ของชาวอินเดียนอกจากแต่งภรรยาเข้ามาช่วยงานในบ้านแล้ว ลูกชายยังได้รับสินสอดจากฝ่ายหญิง เนื่องจากตามประเพณีของอินเดีย ผู้หญิงเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงาน
จากปัจจัย 2 ประการนี้เองที่ทำให้คนต้องการมีลูก และถ้าไม่สามารถมีได้พวกเขาก็จะหาทางออกดังต่อไปนี้
1. ถ้าภรรยาไม่สามารถมีลูกได้ แต่สามีสามารถมีได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ต้องการมีลูกหลาน ก็หาทางออกด้วยการยินยอมให้สามีมีภรรยาใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีทายาท
2. ทั้งสามีและภรรยาไม่สามารถมีลูกได้ ทางออกก็คือไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม จะไปขอจากญาติหรือขอจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน เพราะทั้งสองกรณีนี้มีข้อดีและข้อเสียคือ ถ้าไปขอจากญาติโอกาสที่จะได้มายากเว้นไว้แต่ว่าเขาจะมีลูกมากและเลี้ยงดูไม่ไหว แต่ยุคนี้สมัยนี้ทุกครอบครัวมีลูกน้อย และส่วนใหญ่ต้องการเลี้ยงดูเอง ส่วนข้อดีก็คือรู้ที่ไปที่มาของเด็กว่ามีพันธุกรรมเป็นอย่างไร
ถ้าไปขอจากสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โอกาสที่จะเลือกเด็กหน้าตาดีทำได้ไม่ยาก แต่ที่ยากก็คือไม่รู้ที่ไปที่มาของเด็ก พ่อแม่เป็นใครและมีพันธุกรรมเป็นอย่างไร จึงเป็นการเลี้ยงที่จะได้เด็กมีพฤติกรรมเกเรอันเนื่องมาจากพันธุกรรมได้
3. การว่าจ้างหญิงอื่นอุ้มบุญ
ในกรณีนี้จะทำได้ต่อเมื่อทั้งพ่อและแม่ไม่เป็นหมัน แต่มีลูกด้วยตนเองยาก และก็เสี่ยงที่จะเกิดเรื่องยุ่งๆ ดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ยกเว้นจะให้ญาติอุ้มบุญแทนคงจะดีกว่าจ้างคนอื่น
วาทะดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนได้อ่านพบในหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ หิโตปเทศ แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ แต่เมื่ออ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์ และเผอิญมีเนื้อหาสอดคล้องกับข่าวหญิงไทยรับจ้างอุ้มบุญให้กับสามีภรรยาชาวออสเตรเลียคู่หนึ่ง ซึ่งไม่มีบุตรและได้ว่าจ้างหญิงไทยตั้งท้องแทน โดยเอาตัวอ่อนที่ได้จากการผสมเทียมมาฝากไว้ในมดลูกของหญิงไทยคนดังกล่าว และปรากฏว่าทารกในครรภ์เป็นฝาแฝดหญิงชาย แต่เมื่อคลอดออกมาปรากฏว่าทารกเพศชายมีสภาพร่างกายไม่ปกติ แต่ทารกเพศหญิงสมบูรณ์ดี
พ่อแม่ชาวออสเตรเลียได้นำเพียงลูกสาวกลับไปประเทศของตน ปล่อยให้แม่อุ้มบุญเลี้ยงลูกชายซึ่งเกิดมาไม่ปกติไปตามยถากรรม
แต่เมื่อเรื่องนี้ปรากฏเป็นข่าวดังขึ้นมา ได้มีบรรดาผู้ใจบุญทั้งหลายบริจาคเงินช่วยแม่อุ้มบุญรายนี้เป็นเงินหลายล้านบาท ทำให้ความเดือดร้อนอันเกิดจากการขาดแคลนเงินสำหรับเลี้ยงดู และรักษาอาการป่วยลดลงได้ระดับหนึ่ง แต่ความเดือดร้อนทางใจหรือความทุกข์ใจคงจะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เห็นเด็กป่วย และได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคร้ายจะอยู่กับเธอผู้นี้ต่อไปตราบเท่าที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ และไม่หายจากการเจ็บป่วย
จากข่าวแม่อุ้มบุญรายดังกล่าว ทำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้หลายส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงสาธารณสุขได้ตื่นตัวสอบสวนเรื่องหญิงไทยรับจ้างอุ้มบุญ และได้พบว่าก่อนหน้านี้ได้มีมาแล้วหลายราย
ล่าสุดได้มีข่าวว่าชายชาวญี่ปุ่นได้ว่าจ้างหญิงไทยอุ้มบุญ และมีเด็กเกิดมาแล้ว 10 กว่าคน ทั้งยังอยู่ในท้องอีก 1 คน
ดังนั้น ถ้าดูจากข่าวที่ปรากฏ ทำให้อนุมานได้ว่าการว่าจ้างให้หญิงไทยอุ้มบุญของชาวต่างชาติ คงจะไม่ใช่เรื่องเล็กที่รัฐบาลไทยจะมองข้ามได้อีกแล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติที่ควรจะทำการศึกษา และวางมาตรการป้องกันมิให้มีปัญหาในทำนองนี้เกิดขึ้นอีก ทั้งนี้เนื่องจากว่า การว่าจ้างอุ้มบุญคงจะไม่ใช่แค่เพียงปัญหาของคนที่ไม่สามารถมีบุตรได้ แต่ต้องการมีบุตรจึงได้ว่าจ้างให้คนอื่นให้กำเนิดบุตรแทน โดยอาศัยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น แต่น่าจะมีเหตุอื่นซับซ้อนซ่อนเร้นมากกว่านี้ เป็นต้นว่า เมื่อได้เด็กมาแล้วแทนที่จะเลี้ยงดูเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ในฐานะเป็นทายาทผู้สืบทอดสกุล อันเป็นสายโลหิตของตนเอง แต่อาจนำไปขายให้กับผู้ต้องการมีบุตร หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น นำไปขายอวัยวะให้แก่ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยการเปลี่ยนอวัยวะ อันได้แก่ ไต เป็นต้น ถ้าเป็นเช่นนี้ก็เข้าข่ายผิดทั้งกฎหมาย และผิดทั้งศีลธรรมอย่างชัดเจน
ทำไมคนจึงต้องการมีบุตร และเมื่อไม่สามารถมีได้พวกเขามีทางออกอย่างไร
เริ่มด้วยประเด็นแรกคือ ทำไมคนจึงต้องการมีบุตร
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ตอบได้ว่าเนื่องจากเหตุปัจจัย 2 ประการคือ
1. ความเชื่อทางศาสนา
ความเชื่อในทางศาสนามีส่วนสำคัญมากที่ทำให้คนต้องการมีลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาพุทธและฮินดู
ชาวอินเดียซึ่งนับถือศาสนาฮินดู ซึ่งวิวัฒนาการมาจากศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อว่าการมีบุตรชายจะทำให้พ่อแม่รอดพ้นจากการตกนรกขุมปุตตะ
ชาวพุทธมีความเชื่อว่า การมีลูกชายและได้บวชเป็นพระในพุทธศาสนาจะช่วยให้พ่อแม่ได้บุญ และไปเกิดในสวรรค์ จึงมีคำพูดที่ว่า พ่อแม่จะได้เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์
2. ในทางสังคม ซึ่งมีประเพณีสืบทอดกันมา
เกี่ยวกับประเด็นนี้ คนเกือบทุกชาติและทุกศาสนา จะมีความเชื่อในการมีลูกในทำนองคล้ายๆ กันคือ ให้เป็นผู้สืบทอดสกุลในฐานะเป็นสายโลหิตของตนเอง และช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อแม่ยามแก่เฒ่าช่วยตนเองไม่ได้
ยิ่งกว่านี้ ในบางชนชาติ เช่น อินเดีย และจีนต้องการมีลูกชายเนื่องจากลูกชายนอกจากจะใช้นามสกุลของพ่อแล้ว ยังแต่งภรรยาเข้ามาช่วยงานในบ้านด้วย
แต่ของชาวอินเดียนอกจากแต่งภรรยาเข้ามาช่วยงานในบ้านแล้ว ลูกชายยังได้รับสินสอดจากฝ่ายหญิง เนื่องจากตามประเพณีของอินเดีย ผู้หญิงเป็นฝ่ายขอผู้ชายแต่งงาน
จากปัจจัย 2 ประการนี้เองที่ทำให้คนต้องการมีลูก และถ้าไม่สามารถมีได้พวกเขาก็จะหาทางออกดังต่อไปนี้
1. ถ้าภรรยาไม่สามารถมีลูกได้ แต่สามีสามารถมีได้ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ต้องการมีลูกหลาน ก็หาทางออกด้วยการยินยอมให้สามีมีภรรยาใหม่เพิ่มขึ้นเพื่อให้มีทายาท
2. ทั้งสามีและภรรยาไม่สามารถมีลูกได้ ทางออกก็คือไปขอเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม จะไปขอจากญาติหรือขอจากสถานเลี้ยงเด็กกำพร้าก็ได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน เพราะทั้งสองกรณีนี้มีข้อดีและข้อเสียคือ ถ้าไปขอจากญาติโอกาสที่จะได้มายากเว้นไว้แต่ว่าเขาจะมีลูกมากและเลี้ยงดูไม่ไหว แต่ยุคนี้สมัยนี้ทุกครอบครัวมีลูกน้อย และส่วนใหญ่ต้องการเลี้ยงดูเอง ส่วนข้อดีก็คือรู้ที่ไปที่มาของเด็กว่ามีพันธุกรรมเป็นอย่างไร
ถ้าไปขอจากสถานที่เลี้ยงเด็กกำพร้า โอกาสที่จะเลือกเด็กหน้าตาดีทำได้ไม่ยาก แต่ที่ยากก็คือไม่รู้ที่ไปที่มาของเด็ก พ่อแม่เป็นใครและมีพันธุกรรมเป็นอย่างไร จึงเป็นการเลี้ยงที่จะได้เด็กมีพฤติกรรมเกเรอันเนื่องมาจากพันธุกรรมได้
3. การว่าจ้างหญิงอื่นอุ้มบุญ
ในกรณีนี้จะทำได้ต่อเมื่อทั้งพ่อและแม่ไม่เป็นหมัน แต่มีลูกด้วยตนเองยาก และก็เสี่ยงที่จะเกิดเรื่องยุ่งๆ ดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ ยกเว้นจะให้ญาติอุ้มบุญแทนคงจะดีกว่าจ้างคนอื่น