เลขาธิการแพทยสภา เผย รพ.บำรุงราษฎร์ ยืนยันไม่มีการซื้อขายไตเพื่อการผ่าตัด เหตุสถานทูตกัมพูชารับรองชาวเขมรเป็นญาติกับผู้ป่วยจริง ระบุยังต้องรอการตรวจข้อเท็จจริงต่อไป ด้านสภากาชาดไทยเปิดข้อมูลคนรอปลูกถ่ายไตกว่า 4 พันคน เปลี่ยนถ่ายสำเร็จแค่ 158 คน
วันนี้ (7 ก.ค.) น.อ.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรรัตน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงกรณีข่าวการซื้อขายไตจากกัมพูชาส่งมายัง รพ. เอกชน ในประเทศไทย ว่า ระบบการดูแลการปลูกถ่ายอวัยวะในไทย จะมีระเบียบและ พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 มาตรา 34 (2) ในการควบคุมดูแลผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรฐานของวิชาชีพ และเกณฑ์ที่สถานพยาบาลและแพทย์ต้องปฏิบัติตามระเบียบของแพทยสภา รวมทั้ง พ.ร.บ. การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่มีเนื้อหาเรื่องการซื้อขายและตัดอวัยวะทั้งที่ยินยอมและไม่ยินยอม ซึ่งภายหลังที่มีข่าวเกิดขึ้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พยายามสอบสวนและตรวจสอบ ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลที่จะทำการปลูกถ่ายไต ต้องขึ้นทะเบียนสมาชิกกับศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ขณะนี้มีประมาณ 26 แห่ง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อเทียบเคียงกับกรณีที่เกิดข่าวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่า มีการเปลี่ยนถ่ายไตให้แก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนการรักษาตามมนุษยธรรมจำเป็นต้องทำ แต่ภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของกฎหมายไทยด้วย
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า จากการได้รับข้อมูลเบื้องต้นและไปตรวจสอบกับโรงพยาบาลดังกล่าว ก็ได้ข้อมูลมาบางส่วนแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลอยู่ แต่เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ต่างประเทศจำเป็นต้องมีกลไกในการตรวจสอบในเรื่องชื่อของผู้เสียหายจากประเทศต้นทางอีกครั้ง รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย แต่ในขั้นของรายละเอียดอาจต้องประสานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อขอรายชื่อผู้เสียหายถ้ามีจริง เนื่องจากขณะนี้เห็นเพียงในข่าวเท่านั้น
ศ.นพ.วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเพื่อรอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในประเทศ ประมาณ 4 พันกว่าราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้รอเปลี่ยนไต แต่อัตราการเปลี่ยนถ่ายได้ ถือว่าน้อยมาก โดยปีที่ผ่านมาสามารถเปลี่ยนถ่ายได้ 158 คน หรือ คิดเป็น 2.6 คนผู้บริจาคต่อล้านประชากรต่อปี ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายไตนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ทำได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องนำอวัยวะเก่าออก โดยทำการเชื่อมเส้นเลือดได้เลย ไม่เหมือนการเปลี่ยนถ่ายหัวใจ และ ตับอ่อน อย่างไรก็ตาม สภากาชาดไทย จะมีเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อคัดเลือกผู้รับอวัยวะอย่างเคร่งครัดด้วย
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า เรื่องนี้จะต้องมีการตรวจสอบต่อไป เพราะยังไม่รู้ว่าเรื่องจริงนั้นเป็นเช่นไร แต่เบื้องต้นตนได้รับการยืนยันทางวาจาจาก รพ.บำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ปรากฏชื่อตามข่าวแล้วว่า ทางสถานทูตกัมพูชาได้มีการรับรองว่าผู้บริจาคไตชาวกัมพูชานั้นเป็นญาติกับผู้ป่วยจริง ซึ่ง รพ.บำรุงราษฎร์ ก็ยืนยันว่าไม่มีการซื้อขายไต ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศไทยแล้วหากเป็นญาติกันก็สามารถบริจาคอวัยวะให้แก่กันได้ ซึ่งหลังจากนี้จะให้ทาง รพ.บำรุงราษฎร์ ชี้แจงเรื่องนี้มาเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการเข้าไปตรวจสอบถึงต่างประเทศว่าข้อความที่ข่าวที่ลงในสื่อว่ามีการซื้อขายไตเป็นความจริงหรือไม่นั้น อาจต้องให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หากพบหลักฐานข้อมูลว่าเป็นการซื้อขายอวัยวะกันจริง แพทยสภาคงต้องเอาผิดกับทั้งแพทย์และโรงพยาบาลสถานหนัก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ค.) น.อ.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรรัตน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) แถลงกรณีข่าวการซื้อขายไตจากกัมพูชาส่งมายัง รพ. เอกชน ในประเทศไทย ว่า ระบบการดูแลการปลูกถ่ายอวัยวะในไทย จะมีระเบียบและ พ.ร.บ.สถานพยาบาล 2541 มาตรา 34 (2) ในการควบคุมดูแลผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามมาตรฐานของวิชาชีพ และเกณฑ์ที่สถานพยาบาลและแพทย์ต้องปฏิบัติตามระเบียบของแพทยสภา รวมทั้ง พ.ร.บ. การค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ที่มีเนื้อหาเรื่องการซื้อขายและตัดอวัยวะทั้งที่ยินยอมและไม่ยินยอม ซึ่งภายหลังที่มีข่าวเกิดขึ้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้พยายามสอบสวนและตรวจสอบ ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ
ทั้งนี้ โรงพยาบาลที่จะทำการปลูกถ่ายไต ต้องขึ้นทะเบียนสมาชิกกับศูนย์บริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ขณะนี้มีประมาณ 26 แห่ง และอยู่ระหว่างการตรวจสอบเพื่อเทียบเคียงกับกรณีที่เกิดข่าวขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม พบว่า มีการเปลี่ยนถ่ายไตให้แก่ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศด้วย แต่ไม่ว่าจะเป็นชาติไหนการรักษาตามมนุษยธรรมจำเป็นต้องทำ แต่ภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของกฎหมายไทยด้วย
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวว่า จากการได้รับข้อมูลเบื้องต้นและไปตรวจสอบกับโรงพยาบาลดังกล่าว ก็ได้ข้อมูลมาบางส่วนแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลอยู่ แต่เนื่องจากผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ต่างประเทศจำเป็นต้องมีกลไกในการตรวจสอบในเรื่องชื่อของผู้เสียหายจากประเทศต้นทางอีกครั้ง รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย แต่ในขั้นของรายละเอียดอาจต้องประสานกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เพื่อขอรายชื่อผู้เสียหายถ้ามีจริง เนื่องจากขณะนี้เห็นเพียงในข่าวเท่านั้น
ศ.นพ.วิศิษฎ์ ฐิตวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ขึ้นทะเบียนเพื่อรอการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะในประเทศ ประมาณ 4 พันกว่าราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้รอเปลี่ยนไต แต่อัตราการเปลี่ยนถ่ายได้ ถือว่าน้อยมาก โดยปีที่ผ่านมาสามารถเปลี่ยนถ่ายได้ 158 คน หรือ คิดเป็น 2.6 คนผู้บริจาคต่อล้านประชากรต่อปี ซึ่งการเปลี่ยนถ่ายไตนั้น ถือเป็นการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะที่ทำได้ง่ายที่สุด เพราะไม่ต้องนำอวัยวะเก่าออก โดยทำการเชื่อมเส้นเลือดได้เลย ไม่เหมือนการเปลี่ยนถ่ายหัวใจ และ ตับอ่อน อย่างไรก็ตาม สภากาชาดไทย จะมีเกณฑ์การปฏิบัติเพื่อคัดเลือกผู้รับอวัยวะอย่างเคร่งครัดด้วย
ด้าน นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า เรื่องนี้จะต้องมีการตรวจสอบต่อไป เพราะยังไม่รู้ว่าเรื่องจริงนั้นเป็นเช่นไร แต่เบื้องต้นตนได้รับการยืนยันทางวาจาจาก รพ.บำรุงราษฎร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่ปรากฏชื่อตามข่าวแล้วว่า ทางสถานทูตกัมพูชาได้มีการรับรองว่าผู้บริจาคไตชาวกัมพูชานั้นเป็นญาติกับผู้ป่วยจริง ซึ่ง รพ.บำรุงราษฎร์ ก็ยืนยันว่าไม่มีการซื้อขายไต ทั้งนี้ ตามกฎหมายของประเทศไทยแล้วหากเป็นญาติกันก็สามารถบริจาคอวัยวะให้แก่กันได้ ซึ่งหลังจากนี้จะให้ทาง รพ.บำรุงราษฎร์ ชี้แจงเรื่องนี้มาเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง สำหรับการเข้าไปตรวจสอบถึงต่างประเทศว่าข้อความที่ข่าวที่ลงในสื่อว่ามีการซื้อขายไตเป็นความจริงหรือไม่นั้น อาจต้องให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หากพบหลักฐานข้อมูลว่าเป็นการซื้อขายอวัยวะกันจริง แพทยสภาคงต้องเอาผิดกับทั้งแพทย์และโรงพยาบาลสถานหนัก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่