ปัจจุบันนี้อาหารไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก อาจเป็นเพราะปัจจัยหลายๆ อย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ มีร้านอาหารไทยในต่างประเทศจำนวนมาก เมื่อทำให้ฝรั่งกินจึงมีการดัดแปลงรสชาติให้เหมาะกับรสนิยมของชาวต่างชาติ แรกเริ่มเดิมทีรสชาติเปลี่ยนเพราะในต่างประเทศไม่มีเครื่องปรุงบางอย่าง แต่ต่อมามีเครื่องครบ รสชาติจึงเหมือนเดิม
คนไทยกินข้าวแบบร่วมกันกินหลายๆ คน และแต่ละบ้านก็มีการทำอาหารแตกต่างกันไป เรียกว่าสูตรใครสูตรมัน อาหารหลักคือน้ำพริกกะปิ แต่ถ้าใครเคยฟัง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าแล้ว ก็จะรู้ว่าน้ำพริกนั้นมีเป็นร้อยอย่าง
คนไทยแต่ละภาคกินอาหารต่างกัน แกงที่ใส่กะทินั้นเป็นของคนภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสานจะไม่ค่อยนิยม แต่ทางภาคเหนือหากจะมีกะทิ ก็อาจเป็นเพราะได้รับมาจากพม่าอย่างเช่น แกงฮังเล เป็นต้น แต่จะว่าไปแล้วแกงฮังเลก็ไม่ใส่กะทิเพียงแต่มีน้ำพริกแกงฮังเล และใส่ขิงลงไปด้วยเท่านั้น ส่วนทางอีสานนั้น จะว่าไปแล้วก็กินอะไรที่ออกจะง่ายๆ และไม่ค่อยจะมีเนื้อสัตว์มากเท่าไร จะกินผักมากเหมือนกับคนเวียดนาม
ในบ้านผู้ดี และในวัง การกินอาหารจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวแต่ละอย่างในถ้วยเล็กๆ หมดแล้วก็ค่อยเติมเอา อาหารชาววังนี้มักจะออกหวาน และมีการประดิดประดอยมากมาย หากมีผัก ผลไม้ก็จะมีการแกะสลักและคว้านด้วย แม้กระทั่งน้อยหน่า เรื่องการแกะสลักนี้ ตอมผมอยู่นิวซีแลนด์ คุณยายชลอ รังควร แม่ภรรยท่านทูตได้แกะสลักขิงให้ดู มีความละเอียดอ่อนถึงขนาดใส่ในน้ำก็พลิ้วไหวได้ น่าชมมาก นับเป็นศิลปะขั้นสูงที่ต้องอาศัยการฝึกฝนกันนาน
เวลานี้มีความตื่นตัวที่จะส่งเสริมอาหารไทยให้ไปในต่างประเทศ ซึ่งที่จริงก็มีการทำมานานแล้ว แต่รัฐไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเอกชนไปบุกเบิกเองตามมีตามเกิด เรียกว่าเรียนถูกเรียนผิด คือเพิ่งจะมีร้านอาหารไทยในต่างประเทศเมื่อประมาณ 40-50 ปีที่ผ่านมานี้เอง ในขณะที่อาหารจีนมีมานานแล้ว
การที่จะส่งเสริมจริงๆ จังๆ ก็ต้องมีการจัดทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเตรียมว่าจะใช้เฉพาะข้าวหอมมะลิ หรือจะเสริมข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่เข้าไปด้วย ส่วนการเตรียมเครื่องเทศนั้น เรายังไม่เคยมีการเอาเครื่องเทศไทยบรรจุขวดขายถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำใส่ขวดให้มีความสวยงาม และควรมีข้อความระบุสรรพคุณไว้ด้วย
ขั้นต่อไปคือ การตกลงใจว่าจะให้อาหารไทยที่จะไปในต่างประเทศเป็นแบบดั้งเดิม หรือแบบประยุกต์ เพราะเวลานี้มั่วไปหมด อาหารไทยที่ชาวต่างชาติกินจึงมีความแตกต่างกัน สุดแต่ว่าใครจะเป็นผู้ปรุง
การเสนออาหารไทยมีสองแบบคือ แบบสำรับกับแบบที่เสิร์ฟทีละจานเป็นคอร์สๆ ที่ชิคาโก เชฟไทยใช้วิธีเสิร์ฟทีละจานคือเชฟจัดให้ไม่ต้องสั่ง ราคาหัวละ 90 เหรียญ ทราบว่าขายดิบขายดี คนจะกินต้องจองกันเป็นเดือน
การนำเสนอหรือ Presentation ก็สำคัญ บางคนใช้ศิลปะทำให้อาหารที่เสิร์ฟมีความสวยงาม นอกจากนั้น สถานที่ก็ควรจะพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องจัดแบบไทย ซึ่งร้านอาหารหลายแห่งในต่างประเทศจัดมากเกินไปดูแล้วรุงรังมาก อย่างเราเห็นร้านจีนสมัยใหม่ ก็ตกแต่งแบบฝรั่ง เช่น ร้าน Hong Bao ที่ซอยพร้อมพงศ์ เป็นต้น
นอกจากสถานที่แล้ว ก็ควรฝึกคนเสิร์ฟให้มีมารยาทดี แต่งตัวสะอาดพูดภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ส่วนมากคนเสิร์ฟในร้านอาหารไทย มักจะเป็นนักเรียนที่มาทำงานหาลำไพ่พิเศษ
เมื่อเตรียมการทุกอย่างแล้ว ก็อย่าลืมเรื่องพ่อครัวแม่ครัว บางคนไปตั้งร้านอาหารแล้ว แต่เปิดขายไม่ได้เพราะคนครัวไม่ได้รับอนุญาต ฝรั่งเขาพิถีพิถันมาก ต้องมีการตรวจความสะอาด และดูด้วยว่าคนทำครัวได้ใบอนุญาตหรือเปล่า
ถึงอย่างไร เรามีของดีอยู่แล้วโอกาสที่อาหารไทยจะไปโลกจึงมีมาก
คนไทยกินข้าวแบบร่วมกันกินหลายๆ คน และแต่ละบ้านก็มีการทำอาหารแตกต่างกันไป เรียกว่าสูตรใครสูตรมัน อาหารหลักคือน้ำพริกกะปิ แต่ถ้าใครเคยฟัง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์เล่าแล้ว ก็จะรู้ว่าน้ำพริกนั้นมีเป็นร้อยอย่าง
คนไทยแต่ละภาคกินอาหารต่างกัน แกงที่ใส่กะทินั้นเป็นของคนภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสานจะไม่ค่อยนิยม แต่ทางภาคเหนือหากจะมีกะทิ ก็อาจเป็นเพราะได้รับมาจากพม่าอย่างเช่น แกงฮังเล เป็นต้น แต่จะว่าไปแล้วแกงฮังเลก็ไม่ใส่กะทิเพียงแต่มีน้ำพริกแกงฮังเล และใส่ขิงลงไปด้วยเท่านั้น ส่วนทางอีสานนั้น จะว่าไปแล้วก็กินอะไรที่ออกจะง่ายๆ และไม่ค่อยจะมีเนื้อสัตว์มากเท่าไร จะกินผักมากเหมือนกับคนเวียดนาม
ในบ้านผู้ดี และในวัง การกินอาหารจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวแต่ละอย่างในถ้วยเล็กๆ หมดแล้วก็ค่อยเติมเอา อาหารชาววังนี้มักจะออกหวาน และมีการประดิดประดอยมากมาย หากมีผัก ผลไม้ก็จะมีการแกะสลักและคว้านด้วย แม้กระทั่งน้อยหน่า เรื่องการแกะสลักนี้ ตอมผมอยู่นิวซีแลนด์ คุณยายชลอ รังควร แม่ภรรยท่านทูตได้แกะสลักขิงให้ดู มีความละเอียดอ่อนถึงขนาดใส่ในน้ำก็พลิ้วไหวได้ น่าชมมาก นับเป็นศิลปะขั้นสูงที่ต้องอาศัยการฝึกฝนกันนาน
เวลานี้มีความตื่นตัวที่จะส่งเสริมอาหารไทยให้ไปในต่างประเทศ ซึ่งที่จริงก็มีการทำมานานแล้ว แต่รัฐไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเอกชนไปบุกเบิกเองตามมีตามเกิด เรียกว่าเรียนถูกเรียนผิด คือเพิ่งจะมีร้านอาหารไทยในต่างประเทศเมื่อประมาณ 40-50 ปีที่ผ่านมานี้เอง ในขณะที่อาหารจีนมีมานานแล้ว
การที่จะส่งเสริมจริงๆ จังๆ ก็ต้องมีการจัดทำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การเตรียมว่าจะใช้เฉพาะข้าวหอมมะลิ หรือจะเสริมข้าวพันธุ์ใหม่ๆ เช่น ข้าวไรซ์เบอรี่เข้าไปด้วย ส่วนการเตรียมเครื่องเทศนั้น เรายังไม่เคยมีการเอาเครื่องเทศไทยบรรจุขวดขายถึงเวลาแล้วที่จะต้องทำใส่ขวดให้มีความสวยงาม และควรมีข้อความระบุสรรพคุณไว้ด้วย
ขั้นต่อไปคือ การตกลงใจว่าจะให้อาหารไทยที่จะไปในต่างประเทศเป็นแบบดั้งเดิม หรือแบบประยุกต์ เพราะเวลานี้มั่วไปหมด อาหารไทยที่ชาวต่างชาติกินจึงมีความแตกต่างกัน สุดแต่ว่าใครจะเป็นผู้ปรุง
การเสนออาหารไทยมีสองแบบคือ แบบสำรับกับแบบที่เสิร์ฟทีละจานเป็นคอร์สๆ ที่ชิคาโก เชฟไทยใช้วิธีเสิร์ฟทีละจานคือเชฟจัดให้ไม่ต้องสั่ง ราคาหัวละ 90 เหรียญ ทราบว่าขายดิบขายดี คนจะกินต้องจองกันเป็นเดือน
การนำเสนอหรือ Presentation ก็สำคัญ บางคนใช้ศิลปะทำให้อาหารที่เสิร์ฟมีความสวยงาม นอกจากนั้น สถานที่ก็ควรจะพิจารณาว่าจำเป็นหรือไม่ที่ต้องจัดแบบไทย ซึ่งร้านอาหารหลายแห่งในต่างประเทศจัดมากเกินไปดูแล้วรุงรังมาก อย่างเราเห็นร้านจีนสมัยใหม่ ก็ตกแต่งแบบฝรั่ง เช่น ร้าน Hong Bao ที่ซอยพร้อมพงศ์ เป็นต้น
นอกจากสถานที่แล้ว ก็ควรฝึกคนเสิร์ฟให้มีมารยาทดี แต่งตัวสะอาดพูดภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ส่วนมากคนเสิร์ฟในร้านอาหารไทย มักจะเป็นนักเรียนที่มาทำงานหาลำไพ่พิเศษ
เมื่อเตรียมการทุกอย่างแล้ว ก็อย่าลืมเรื่องพ่อครัวแม่ครัว บางคนไปตั้งร้านอาหารแล้ว แต่เปิดขายไม่ได้เพราะคนครัวไม่ได้รับอนุญาต ฝรั่งเขาพิถีพิถันมาก ต้องมีการตรวจความสะอาด และดูด้วยว่าคนทำครัวได้ใบอนุญาตหรือเปล่า
ถึงอย่างไร เรามีของดีอยู่แล้วโอกาสที่อาหารไทยจะไปโลกจึงมีมาก