http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
“…เมื่อวันที่ 3 ก.ค. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณี ปตท.เสนอ คสช.ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศ ให้อยู่ในรูปของน้ำมัน เพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ว่า ถ้าให้ ธปท.ใช้เงินสำรองฯ ในเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีกฎหมายห้าม และระบุชัดว่า หน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศ เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน เผื่อไว้เงินทุนไหลออก และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง แต่หาก ปตท. เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่ง ปตท.เป็นเจ้าของน้ำมันในฐานะผู้รักษาความมั่นคงด้านพลังงาน ก็ควรจะนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จาก ธปท. เพื่อนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้…” (ไทยรัฐ 3 ส.ค. 2557)
ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศของประเทศไทย ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาแล้วถึง 2 รอบ มีต้นเหตุจากการพังทลายของตลาดหุ้นทั้ง 2 ครั้ง เป็นวิกฤตเศรษฐกิจทั้ง 2 ครั้ง
การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2521 (-62 เปอร์เซ็นต์) หรือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกทำให้ค่าเงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินไหลออก ทำให้สภาพคล่องของประเทศเสียหาย เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา คนตกงาน มีการผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินแข็งกว่าความเป็นจริง ทำให้มีการหาทางทำกำไรต่อ ขายหุ้นออก หุ้นตกต่อ ทำให้ได้บาท เอาบาทไปซื้อดอลลาร์ที่ ธปท.ทุนสำรองลดลงมีการลดค่าเงินบาทหลายครั้ง (รวม-27 เปอร์เซ็นต์) สถาบันการเงินไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ประสบปัญหาสภาพคล่อง
ทางการเข้าควบกิจการ 25 แห่ง รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษาในปี 2527
และตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 ขึ้นมาบริหารจัดการหนี้สินกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา
ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก
การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2537 (- 88 เปอร์เซ็นต์) หรือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 หลังการนำระบบ Maintenance margin และ Forced Sell มาใช้ในตลาดหุ้นในปลายปี 2536 มีผลให้ตลาดหุ้นขึ้นแรง จากนั้นก็ตกแรง มีการบังคับขายหุ้นของนักลงทุน ยิ่งทำให้ตลาดหุ้นตกหนักลงไปอีก กลไกความเสียหายทางเศรษฐกิจก็จะเป็นแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก แต่รุนแรงกว่า เงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่นสภาพคล่องเสียหาย เอกชนล้มละลาย คนตกงาน
ไม่เฉพาะสถาบันการเงินและไฟแนนซ์เท่านั้นที่ล้มลง ธนาคารหลายแห่งก็ล้มลง รวมแล้วประมาณ 70 แห่ง มากกว่าโครงการ 4 เมษาเสียอีก ทุกวันนี้ไม่เหลือชื่อธนาคารเหล่านี้ให้เห็นแล้ว เช่น ธ.ไทยธนุ(TDB) ธ.นครธน (NTB) ธ.มหานคร(FBCB) ธ.นครหลวงไทย (SCIB) ธ.ศรีนคร (BMB) ธ.แหลมทอง (LTB) ธ.เอเชีย (BOA) ธ.สหธนาคาร (UB) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
เงินทุนไหลออก ทุนสำรองลดลง ครั้งนี้ต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทตกแรงกว่าครั้งแรก (-55 เปอร์เซ็นต์)
ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟอีกเป็นครั้งที่ 2
ตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุของค่าเงินพังทลาย เกิดที่ประเทศใดก็เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ เกิดที่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้เงินเหรียญสหรัฐพังทลายเช่นเดียวกัน
การพังทลายของตลาด NASDAQ เมื่อปี 2000-2002 หลังมีการนำตัวหุ้นขนาดใหญ่เข้าไปคำนวณในดัชนี (Index reformed) ในปี 1999 ทำให้ดัชนีเบี่ยงเบนสูง คืออ่อนแอสูง ทำให้กลุ่มทุนสามานย์เข้าไปควบคุม (ปั่น)ได้ง่ายNASDAQ Index พุ่งขึ้นจากระดับ 2,500 จุด ไปสูงสุด 5,000 จุด จากนั้นก็พังทลายลงมาอย่างรุนแรง (-78 เปอร์เซ็นต์)
ส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายตามมา
สกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากสกุลเงินเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่าเงินเหรียญสหรัฐตกลง 48 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินยูโร ถือเป็นการตกลงที่รุนแรงในประวัติศาสตร์เงินเหรียญสหรัฐเงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น นักลงทุนพากันทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ
เงินเหรียญสหรัฐไหลออกจากสหรัฐรุนแรง เปลี่ยนไปถือครองสกุลเงินอื่นๆ ไปซื้อสินทรัพย์นอกสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้
สกุลเงินทั่วโลกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
ทุนสำรองของประเทศต่างๆ สูงขึ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลก (G91 Index) พุ่งสูงขึ้น
สินค้าโภคภัณฑ์โลก เช่น ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ราคาสูงขึ้น
เงินเฟ้อโลกสูงขึ้น
สภาพคล่องของอเมริกาเสียหาย ต้องออกกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ (Debt ceiling) หลายรอบ เท่านั้นยังไม่พอ ต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ด้วย (Quantitative Easing) เอกชนทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ล้มลงค่อนประเทศ ราคาสินทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมาก ตามการตกลงขอค่าเงินเหรียญสหรัฐ คนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น คนอเมริกันเดือดร้อนกันทั่วประเทศ ออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน (Occupy Wall Street)
ตลาดหุ้นโลก (G91 Index) พุ่งสูงขึ้น หลังการพังลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000-2003 เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลกทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกระหว่างปี 2001-2007 พุ่งสูงขึ้น
G91 index เพิ่มขึ้น 463 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็พังทลายลงในปี 2008ตกลงถึง 62 เปอร์เซ็นต์รู้จักกันในชื่อ Hamburger crisis
กลับมาที่เรื่องของประเทศไทย
ต้องเข้าใจกลไก การเกิดขึ้นกับทุนสำรองและค่าเงินบาท
แล้วมาดูว่า การปรับเปลี่ยนทุนสำรองจากการถือเงินสกุลหลักและทองคำ มาเป็นการสำรองด้วยน้ำมัน จะเป็นอย่างไร
ค่าเงินบาทย้อนหลัง 36 ปี
ความเป็นไปของค่าเงินบาท เกิดขึ้นทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ
1) ปัจจัยในประเทศที่กระทบค่าเงินบาทการ “ลด” และ“ลอย” ค่าเงินบาท ในวงกลมทั้ง 2 เกิดจากปัจจัยในประเทศ จากการที่ตลาดหุ้นพังทลายในปี 2521 และปี 2537
2) ปัจจัยนอกประเทศที่กระทบค่าเงินบาท (2000 USD Crash) การพังทลายของตลาด NASDAQ ระหว่างปี 2000-2002 ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามาในประเทศไทย นำมาเปลี่ยนหรือมาซื้อเงินบาท ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น (และทำให้ทุนสำรองสูงขึ้น ดูข้อมูลในช่วงถัดไป)
ระหว่างปี 2001-2007 เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากระดับประมาณ 45 บาท ขึ้นมาเป็น 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งขึ้นมาประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์
ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ IMF หมดในกลางปี 2003 (IMF DEBT zero) ก่อนกำหนด 2 ปี
ทุนสำรองลดลงในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก จนต้อง “ลดค่าเงินบาท” ตัวเลขทุนสำรองช่วงนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน จึงไม่ปรากฏภาพให้เห็นได้ชัดในกราฟประเทศไทยเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก
ทุนสำรองลดลงในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 (วงกลมสีแดง) จนต้อง “ลอยค่าเงินบาทกลางปี 2540” ดูตามกราฟ ปี 2539 ประเทศไทยมีทุนสำรองอยู่ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ความไม่เชื่อมั่นในค่าเงินบาท ทำให้เงินทุนไหลออก
กลางปี 2540ประเทศไทยมีการขายดอลลาร์ล่วงหน้า 29,280 ล้านเหรียญสหรัฐทำให้ทุนรองสุทธิลดลงเหลือประมาณ1,144ล้านเหรียญสหรัฐ
จึงต้องเข้าขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 2
โชคช่วยประเทศไทย การพังทลายของตลาด NASDAQ และ USD ในปี 2000 ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยท่วมท้น
กลางปี 2554 (2011) ทุนสำรองสุทธิของประเทศไทยขึ้นทะลุระดับ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย
การที่เงินทุนไหลเข้าช่วงดังกล่าว ซึ่งตรงกับช่วงการมาของรัฐบาลทักษิณ ทำให้ทุนสำรองสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นสูงขึ้น
การใช้หนี้ IMF ได้หมดก่อนกำหนด 2 ปีและการที่ทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก เงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงไม่ใช่ฝีมือของใครหรือของรัฐบาลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นผลมาจากค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย แล้วเกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากนั่นเอง
การที่ทุนสำรองสุทธิของประเทศอยู่ที่ระดับสูง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นที่มาของนโยบายที่ต่ำต้อย ที่เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ผู้บริหารประเทศในเวลาต่อมา
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนโยบายจะเอาทุนสำรอง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 300,000 ล้านบาท มาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ อ้างว่าจะไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ ได้รับการต่อต้านจากศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเรื่องเลยเงียบไป
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ลดละ เมื่อเห็นว่า ธปท.มีทุนสำรองมาก จึงได้ทำการโอนย้ายหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาทมาให้ ธปท.ทำการชำระหนี้ ซึ่งโดยตรงแล้ว เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะต้องทำการชำระหนี้ก้อนนี้ แต่กลับโอนไปให้ ธปท.บริหารจัดการ
การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปไว้ที่ ธปท.ก็เพื่อจะทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง ไม่ให้เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะทำให้สามารถกู้เงินได้มากขึ้น เป็นที่มาของการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท
วินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ตกต่ำมาก
ภาวนาขออย่าให้เกิดวิกฤตอะไรกับประเทศไทยเลยวิกฤตอะไรของประเทศไทยกลายเป็นโอกาสของคนในรัฐบาลยิ่งลักษณ์และที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทั้งหมด ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่แดนไกล
ประวัติศาสตร์น้ำท่วมแรงของประเทศไทย จะเกิดขึ้นในรอบ 70-80 ปี โครงการน้ำที่ใช้เงินกว่า3 แสนล้านบาท ได้ข่าวว่าจะมีการตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาอีก น้ำท่วมประเทศแรงครั้งเดียวในปี 2554 จากนั้นก็ไม่มีการท่วมแรงอีกเลย แต่โครงการน้ำก็ทำอย่างกว้างขวางและใหญ่โต
โครงการจำนำข้าวก็เป็นโอกาสของคนในรัฐบาลหรือเกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ความก้าวหน้าในจัดการกับโครงการจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้านบาท ไม่ก้าวหน้า
มาอีกแล้ว
มาถึงคิวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ปตท.เสนอคสช.ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันเพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
อย่างที่นำเสนอไว้ข้างต้น ทุนสำรองนอกจากอยู่ในรูปสกุลเงินที่มีความมั่นคงแล้ว ยังอยู่ในรูปของโลหะที่มีค่าเช่นทองคำ แต่ก็ยังยากที่จะรักษาเสถียรภาพของทุนสำรองไว้ได้ ไม่เฉพาะที่ประเทศไทย แม้ประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหา คงจำเรื่องการออกกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ และพิมพ์เงินมาเสริมสภาพคล่องของอเมริกาได้ (QE)
ตามข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น ทุนสำรองของประเทศไทยบางช่วงก็ลดลงแทบหมดประเทศ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย และก็เคยทำให้ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือสภาพคล่องจาก IMF มาแล้วถึง 2 ครั้ง
แต่หลังปี 2544 (2001) ทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นเหตุให้คนเห็นแก่ได้ คนเห็นแก่ตัวมารุมทึ้งกัน อย่างขาดข้อมูลความรู้และความเข้าใจให้ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมัน
ลองพิจารณาความผันผวนของราคาน้ำมันโลก จากกราฟนี้
ราคาน้ำมัน (BRENT) ย้อนหลัง 17 ปี พบว่าผันผวนรุนแรงมาก จากปี 2001-2008 ราคาพุงขึ้น 768 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นราคาก็ตกลงมา ช่วงระยะเวลาประมาณครึ่งปี ตกลงถึง 77 เปอร์เซ็นต์
ดูข้อมูลนี้แล้วไม่ทราบว่าผู้บริหารปตท.จะให้สำรองราคาน้ำมันที่บาร์เรลละเท่าใดดี เพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน อย่างที่หวัง
ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น มูลค่าทุนสำรองในรูปน้ำมันอาจจะสูงขึ้นท่วมประเทศไทย
ถ้าราคาน้ำมันตกลง มูลค่าทุนสำรองในรูปน้ำมันอาจจะตกลงติดพื้น ก็ต้องทำให้ไปพึ่ง IMF อีก
พลังงานของชาตินอกจะไม่มั่นคงอย่างที่คิด จะพลอยทำให้ทุนสำรองและค่าเงินบาทมีปัญหา ขึ้นลงแรง ผันผวน ปั่นป่วนแรง ที่สุดในโลกอีกด้วย
วิสัยทัศน์การปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันของ ปตท.เป็นเรื่องแหวกแนว
ปริมาณการใช้น้ำมันของแต่ละประเทศแตกกันไป ตามโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกษตรกรรม คนระดับล่างเช่นเกษตรกรทั่วไปมีความจำเป็นจะต้องใช้น้ำมันมาก น้ำมันจึงเป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งที่สำคัญ
แต่หากไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมอย่างสิงคโปร์ ถึงแม้ราคาน้ำมันขายปลีกจะสูงอย่างไร ปริมาณการใช้ก็ไม่มาก
เรื่องราคาขายปลีกน้ำมัน ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ทราบ หรือเป็นเรื่องที่ปิดบังอะไร เป็นเรื่องที่รู้ได้ ราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก
นอกจากคนไทยจะได้ใช้น้ำมันราคาสูงแล้วยัง เป็นที่มาของตลาดมืดหรือตลาดน้ำมันเถื่อนทางภาคใต้ของประเทศไทย ต้องให้กำลังคนและงบประมาณในการปราบปราม แต่ดูแล้วก็เอาชนะได้ยาก เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกแตกต่างกันมาก
ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นหลังมีการแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเมื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศมาเลเซีย
ปี 2544 ราคาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อมาถึงปี 2557 ราคาน้ำมันของประเทศไทยสูงกว่าของประเทศมาเลเซียกว่าเท่าตัว
ราคาน้ำมันเป็นต้นทุนของความเป็นอยู่และการเดินทางของคนไทย เป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งของผู้ผลิต เป็นต้นทุนของระบบ เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นการที่จะทำให้ต้นทุนความเป็นอยู่ต่ำและต้นทุนการผลิตต่ำ หรือต้นทุนของประเทศไทยต่ำ ราคาน้ำมันก็จะต้องอยู่ที่ระดับต่ำ
ทำไมประเทศมาเลเซียจึงสามารถผลิตน้ำมันออกมาขายที่ราคาต่ำได้ แต่ทำไมประเทศไทยจึงไม่สามารถผลิตน้ำมันออกมาขายที่ราคาต่ำได้ ฝีมือการผลิตและการบริหารจัดการของประเทศไทยต่ำชั้นกว่าของประเทศมาเลเซียมากนักหรือ
ต้นทุนความเป็นอยู่ที่ต่ำของประชนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำต่างหากคือปรัชญาชุมชนและปรัชญาการผลิตที่ถูกต้อง
การแปรรูป ปตท.เมื่อปลายปี 2544 ทำให้ปตท.ที่เคยเป็นของคนไทย 100 เปอร์เซ็ยต์ เหลือเป็นของคนไทยเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ แล้วตกเป็นของเอกชน 49 เปอร์เซ็นต์(สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล 14/8/2557) รายงานว่า ประชากรประเทศไทยมี64,871,000
(ตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย 11/03/2557) จำนวนผู้ถือหุ้นปตท. (49%) 53,063 หรือ 0.08% ของประชากรประเทศ
(คำนวณ) จำนวนประชากรที่ถือหุ้นปตท. (51%) 64,817,937 หรือ 99.92% ของประชากรประเทศ
เอาใหม่ นำเสนอเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
ประชาชนคนไทย 99.92 เปอร์เซ็นต์ ถือหุ้นปตท. 51 เปอร์เซ็นต์
เอกชน 0.08 เปอร์เซ็นต์ ถือหุ้นปตท. 49 เปอร์เซ็นต์
คิดแล้ว จำนวนเอกชนน้อยมาก ถือหุ้นประมาณครึ่งหนึ่งของปตท.
เป็นปัจจัยซ่อนเร้น ของคำว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน” คือคน 99.92 เปอร์เซ็นต์ของประเทศต้องใช้น้ำมันราคาสูง เพื่อเป็นความมั่นคง(มั่งคั่ง) ของคน 0.08 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ
คนส่วนน้อย มั่งคั่ง มั่นคง จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน แต่คนส่วนใหญ่เดือดร้อนจากด้านราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แล้วจะเรียกว่า เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานที่ดีได้อย่างไร
ปตท.เป็นบริษัทผูกขาดกิจการพลังงานผ่านโรงกลั่น
นี่ขนาดว่าประชาชน 0.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นเจ้าของปตท.49 เปอร์เซ็นต์ ราคาน้ำในขายปลีกของประเทศไทยยังสูงกว่าของประเทศเพื่อนบ้านขนาดนี้ หากเขาเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซ็นต์ ราคาก็จะต้องสูงมากกว่านี้กลุ่มเอกชนกำลังคิดจะเป็นเจ้าของปตท. 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่อไปก็จะสามารถกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเอาตามใจชอบได้
คน 0.08 เปอร์เซ็นต์จะยิ่งมั่งคั่งมั่นคงขึ้นไปอีก
คน 99.92 เปอร์เซ็นต์ก็จะเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก
จากบอร์ดปตท.ถึงซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ
วิสัยทัศน์และทิฐิเป็นที่กังขา ชื่นชมการแปรรูปของรัฐวิสาหกิจของนางมาร์กาเร็ตแทตเชอร์ ในช่วงที่นางเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสหราชอาณาจักร
การสื่อและการโฆษณาทำให้ชาวโลกไม่ทราบถึงความเบี่ยงเบนของประเทศสหราชอาณาจักร เข้าใจว่าประเทศอังกฤษเป็นประเทศของผู้ดี เป็นประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้ววิสัยทัศน์และปรัชญาของผู้ปกครองประเทศต่ำเรี่ยดิน
ตอนหลัง ประชาชนคนอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ชอบนางแทตเซอร์ และเรียกนางว่า “นางแม่มด” ลองฟังเรื่องราวของต่อไปนี้
พรรคการเมืองอยู่ได้ด้วยทุน แล้วใช้ทุนและการโฆษณาหาเสียงกับคนในประเทศ เจ้าของพรรคการเมือง ถ้าไม่เป็นของกลุ่มทุน ก็เป็นของนายทุนคนเดียว เช่นที่ประเทศไทย
มาร์กาเรต แทตเชอร์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม หญิงเหล็กแห่งเกาะอังกฤษ (The Iron Lady) นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 3 สมัย ระยะเวลา 11 ปี (4 พฤษภาคม 2522 - 28 พฤศจิกายน 2533)
นางแทตเชอร์อ้างการค้าเสรีโดยการลดบทบาทของรัฐ แล้วแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน ทำให้สินค้าและบริการพื้นฐานราคาสูงขึ้นสร้างกำไรมหาศาลให้กลุ่มทุน แต่คนอังกฤษเดือดร้อนมากขึ้นมีชีวิตที่ลำบากมากขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำให้ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ารถไฟ สูงขึ้น ทำให้ประชาชนในประเทศเดือดร้อน ในภาพพบว่าราคาน้ำมันของประเทศอังกฤษสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของประเทศที่ราคาแพงที่สุดในโลก
น้ำมันประเทศมาเลเซียราคาต่ำเป็นอันดับที่ 8 ของโลก น้ำมันของประเทศเวเนซุเอลาราคาถูกที่สุดในโลก
นางแทตเชอร์ เกิดวันที่ 13 ตุลาคม 2468 เสียชีวิตวันที่ 8 เมษายน2556 (87 ปี) ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่สะดวก
คนอังกฤษ รอวันตายของ “แม่มดแทตเชอร์” เมื่อได้ข่าวนางแทตเชอร์ตายก็ออกมาเฉลิมฉลองตามถนน ไชโย โห่ร้อง ไม่ไปร่วมงานศพที่รัฐบาลจัดให้นางแทตเช่อร์ทำให้เพลงชื่อDing-Dong!The Witch is Dead (นางแม่มดตายแล้ว) ขึ้นติดอันดับ 1 เพลงให้ความหมายว่าดีใจ สะใจ ที่นางแม่มดตาย เพลงนี้เป็นเพลงจากภาพยนตร์อเมริกันชื่อ TheWizard of Oz ที่จูดี้การ์แลนด์แสดงนำเมื่อ 75 ปีมาแล้ว (ค.ศ. 1939) เป็นนิทานอเมริกันอายุกว่าร้อยปี ที่เด็กๆทั่วโลกชอบ
Margaret Thatcher's death celebrated in Brixtonhttp://www.youtube.com/watch?v=wrxy93fY3vI
MARGARET THATCHER DEAD!! Brixton Celebrates Partyhttp://www.youtube.com/watch?v=ikhRGrJReJ8
ตำรวจลอนดอนเตรียมรับมือม็อบฉลองข่าวนางแทตเชอร์ตายhttp://www.mcot.net/site/content?id=5168cc2e150ba05c5100001d#.U-twtnnlo5s
DING-DONG! THE WITCH IS DEAD จากGleehttp://www.youtube.com/watch?v=pLzwH2gv5FY
รัฐวิสาหกิจมีหลายประเภท บางประเภทก็เพื่อการแสวงหากำไร เช่นกองสลากของรัฐบาลเป็นต้น บางประเภทต้องไม่เอามาแสวงหากำไร เช่นกิจการขนส่ง และกิจการพลังงานเป็นต้น โดยเฉพาะกิจการที่ทำให้เกิดการผูกขาด รัฐจะต้องเอามาจัดการจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนของประเทศ ให้มีกินมีใช้อย่างพอเพียง ไม่ขาดแคลน ราคาถูก
กิจการพลังงานของประเทศไทย ถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในระบบผูกขาดมากขึ้น ทำให้เอกชนคิดเข้ามาแสวงหากำไรมากขึ้น ตามปรัชญาแล้ว กิจการพลังงานจะต้องเป็นของรัฐหรือเป็นของประชาชนทั้งหมด แต่ก็ถูกแบ่งไปแล้วถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ต้องหาทางเอา 49 เปอร์เซ็นต์มาคืนให้ประชาชนการเสนอให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันการที่เอกชนคิดจะเอากิจการพลังงานเพิ่มมากขึ้นไปอีก หรือเอาไปทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์เป็นวิสัยทัศน์ที่เบี่ยงเบน เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นเรื่องที่อันตราย จะทำให้คนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนมากกว่าที่เกิดขึ้นกับคนในประเทศอังกฤษ
indexthai2@gmail.com
ขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
“…เมื่อวันที่ 3 ก.ค. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณี ปตท.เสนอ คสช.ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศ ให้อยู่ในรูปของน้ำมัน เพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ว่า ถ้าให้ ธปท.ใช้เงินสำรองฯ ในเรื่องนี้ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีกฎหมายห้าม และระบุชัดว่า หน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศ เพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน เผื่อไว้เงินทุนไหลออก และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง แต่หาก ปตท. เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่ง ปตท.เป็นเจ้าของน้ำมันในฐานะผู้รักษาความมั่นคงด้านพลังงาน ก็ควรจะนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จาก ธปท. เพื่อนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้…” (ไทยรัฐ 3 ส.ค. 2557)
ในรอบ 36 ปีที่ผ่านมา ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศของประเทศไทย ผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาแล้วถึง 2 รอบ มีต้นเหตุจากการพังทลายของตลาดหุ้นทั้ง 2 ครั้ง เป็นวิกฤตเศรษฐกิจทั้ง 2 ครั้ง
การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2521 (-62 เปอร์เซ็นต์) หรือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรกทำให้ค่าเงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินไหลออก ทำให้สภาพคล่องของประเทศเสียหาย เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา คนตกงาน มีการผูกค่าเงินไว้ ทำให้ค่าเงินแข็งกว่าความเป็นจริง ทำให้มีการหาทางทำกำไรต่อ ขายหุ้นออก หุ้นตกต่อ ทำให้ได้บาท เอาบาทไปซื้อดอลลาร์ที่ ธปท.ทุนสำรองลดลงมีการลดค่าเงินบาทหลายครั้ง (รวม-27 เปอร์เซ็นต์) สถาบันการเงินไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ประสบปัญหาสภาพคล่อง
ทางการเข้าควบกิจการ 25 แห่ง รู้จักกันในชื่อโครงการ 4 เมษาในปี 2527
และตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปี 2528 ขึ้นมาบริหารจัดการหนี้สินกับสถาบันการเงินที่มีปัญหา
ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรก
การพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2537 (- 88 เปอร์เซ็นต์) หรือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 หลังการนำระบบ Maintenance margin และ Forced Sell มาใช้ในตลาดหุ้นในปลายปี 2536 มีผลให้ตลาดหุ้นขึ้นแรง จากนั้นก็ตกแรง มีการบังคับขายหุ้นของนักลงทุน ยิ่งทำให้ตลาดหุ้นตกหนักลงไปอีก กลไกความเสียหายทางเศรษฐกิจก็จะเป็นแบบเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก แต่รุนแรงกว่า เงินบาทไม่ได้รับความเชื่อมั่นสภาพคล่องเสียหาย เอกชนล้มละลาย คนตกงาน
ไม่เฉพาะสถาบันการเงินและไฟแนนซ์เท่านั้นที่ล้มลง ธนาคารหลายแห่งก็ล้มลง รวมแล้วประมาณ 70 แห่ง มากกว่าโครงการ 4 เมษาเสียอีก ทุกวันนี้ไม่เหลือชื่อธนาคารเหล่านี้ให้เห็นแล้ว เช่น ธ.ไทยธนุ(TDB) ธ.นครธน (NTB) ธ.มหานคร(FBCB) ธ.นครหลวงไทย (SCIB) ธ.ศรีนคร (BMB) ธ.แหลมทอง (LTB) ธ.เอเชีย (BOA) ธ.สหธนาคาร (UB) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT)
เงินทุนไหลออก ทุนสำรองลดลง ครั้งนี้ต้องลอยค่าเงินบาท ค่าเงินบาทตกแรงกว่าครั้งแรก (-55 เปอร์เซ็นต์)
ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากไอเอ็มเอฟอีกเป็นครั้งที่ 2
ตลาดหุ้นเป็นต้นเหตุของค่าเงินพังทลาย เกิดที่ประเทศใดก็เป็นแบบเดียวกันทุกประเทศ เกิดที่ตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้เงินเหรียญสหรัฐพังทลายเช่นเดียวกัน
การพังทลายของตลาด NASDAQ เมื่อปี 2000-2002 หลังมีการนำตัวหุ้นขนาดใหญ่เข้าไปคำนวณในดัชนี (Index reformed) ในปี 1999 ทำให้ดัชนีเบี่ยงเบนสูง คืออ่อนแอสูง ทำให้กลุ่มทุนสามานย์เข้าไปควบคุม (ปั่น)ได้ง่ายNASDAQ Index พุ่งขึ้นจากระดับ 2,500 จุด ไปสูงสุด 5,000 จุด จากนั้นก็พังทลายลงมาอย่างรุนแรง (-78 เปอร์เซ็นต์)
ส่งผลให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐพังทลายตามมา
สกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 รองจากสกุลเงินเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่าเงินเหรียญสหรัฐตกลง 48 เปอร์เซ็นต์เมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินยูโร ถือเป็นการตกลงที่รุนแรงในประวัติศาสตร์เงินเหรียญสหรัฐเงินเหรียญสหรัฐไม่ได้รับความเชื่อมั่น นักลงทุนพากันทิ้งเงินเหรียญสหรัฐ
เงินเหรียญสหรัฐไหลออกจากสหรัฐรุนแรง เปลี่ยนไปถือครองสกุลเงินอื่นๆ ไปซื้อสินทรัพย์นอกสกุลเงินเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้
สกุลเงินทั่วโลกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐ
ทุนสำรองของประเทศต่างๆ สูงขึ้น
ตลาดหุ้นทั่วโลก (G91 Index) พุ่งสูงขึ้น
สินค้าโภคภัณฑ์โลก เช่น ทองคำ น้ำมัน ฯลฯ ราคาสูงขึ้น
เงินเฟ้อโลกสูงขึ้น
สภาพคล่องของอเมริกาเสียหาย ต้องออกกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ (Debt ceiling) หลายรอบ เท่านั้นยังไม่พอ ต้องพิมพ์เงินออกมาใช้ด้วย (Quantitative Easing) เอกชนทั้งขนาดเล็กขนาดใหญ่ล้มลงค่อนประเทศ ราคาสินทรัพย์ ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกลงอย่างมาก ตามการตกลงขอค่าเงินเหรียญสหรัฐ คนว่างงานเพิ่มสูงขึ้น คนอเมริกันเดือดร้อนกันทั่วประเทศ ออกมาเดินประท้วงตามท้องถนน (Occupy Wall Street)
ตลาดหุ้นโลก (G91 Index) พุ่งสูงขึ้น หลังการพังลายของค่าเงินเหรียญสหรัฐในปี 2000-2003 เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลกทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกระหว่างปี 2001-2007 พุ่งสูงขึ้น
G91 index เพิ่มขึ้น 463 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็พังทลายลงในปี 2008ตกลงถึง 62 เปอร์เซ็นต์รู้จักกันในชื่อ Hamburger crisis
กลับมาที่เรื่องของประเทศไทย
ต้องเข้าใจกลไก การเกิดขึ้นกับทุนสำรองและค่าเงินบาท
แล้วมาดูว่า การปรับเปลี่ยนทุนสำรองจากการถือเงินสกุลหลักและทองคำ มาเป็นการสำรองด้วยน้ำมัน จะเป็นอย่างไร
ค่าเงินบาทย้อนหลัง 36 ปี
ความเป็นไปของค่าเงินบาท เกิดขึ้นทั้งปัจจัยภายในประเทศ และปัจจัยภายนอกประเทศ
1) ปัจจัยในประเทศที่กระทบค่าเงินบาทการ “ลด” และ“ลอย” ค่าเงินบาท ในวงกลมทั้ง 2 เกิดจากปัจจัยในประเทศ จากการที่ตลาดหุ้นพังทลายในปี 2521 และปี 2537
2) ปัจจัยนอกประเทศที่กระทบค่าเงินบาท (2000 USD Crash) การพังทลายของตลาด NASDAQ ระหว่างปี 2000-2002 ทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น ทำให้เงินเหรียญสหรัฐไหลออกมาท่วมโลก รวมทั้งไหลเข้ามาในประเทศไทย นำมาเปลี่ยนหรือมาซื้อเงินบาท ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น (และทำให้ทุนสำรองสูงขึ้น ดูข้อมูลในช่วงถัดไป)
ระหว่างปี 2001-2007 เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากระดับประมาณ 45 บาท ขึ้นมาเป็น 29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ หรือแข็งขึ้นมาประมาณ 54 เปอร์เซ็นต์
ทำให้ประเทศไทยสามารถใช้หนี้ IMF หมดในกลางปี 2003 (IMF DEBT zero) ก่อนกำหนด 2 ปี
ทุนสำรองลดลงในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก จนต้อง “ลดค่าเงินบาท” ตัวเลขทุนสำรองช่วงนั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน จึงไม่ปรากฏภาพให้เห็นได้ชัดในกราฟประเทศไทยเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งแรก
ทุนสำรองลดลงในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ 2 (วงกลมสีแดง) จนต้อง “ลอยค่าเงินบาทกลางปี 2540” ดูตามกราฟ ปี 2539 ประเทศไทยมีทุนสำรองอยู่ประมาณ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ความไม่เชื่อมั่นในค่าเงินบาท ทำให้เงินทุนไหลออก
กลางปี 2540ประเทศไทยมีการขายดอลลาร์ล่วงหน้า 29,280 ล้านเหรียญสหรัฐทำให้ทุนรองสุทธิลดลงเหลือประมาณ1,144ล้านเหรียญสหรัฐ
จึงต้องเข้าขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF เป็นครั้งที่ 2
โชคช่วยประเทศไทย การพังทลายของตลาด NASDAQ และ USD ในปี 2000 ส่งผลให้เงินทุนไหลเข้าประเทศไทยท่วมท้น
กลางปี 2554 (2011) ทุนสำรองสุทธิของประเทศไทยขึ้นทะลุระดับ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย
การที่เงินทุนไหลเข้าช่วงดังกล่าว ซึ่งตรงกับช่วงการมาของรัฐบาลทักษิณ ทำให้ทุนสำรองสูงขึ้น เงินบาทแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นสูงขึ้น
การใช้หนี้ IMF ได้หมดก่อนกำหนด 2 ปีและการที่ทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก เงินบาทแข็งค่าขึ้น จึงไม่ใช่ฝีมือของใครหรือของรัฐบาลใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นผลมาจากค่าเงินเหรียญสหรัฐเสียหาย แล้วเกิดเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากนั่นเอง
การที่ทุนสำรองสุทธิของประเทศอยู่ที่ระดับสูง 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นที่มาของนโยบายที่ต่ำต้อย ที่เห็นแก่ตัวและเห็นแก่ได้ผู้บริหารประเทศในเวลาต่อมา
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีนโยบายจะเอาทุนสำรอง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินไทยประมาณ 300,000 ล้านบาท มาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่งแห่งชาติ อ้างว่าจะไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งชาติ ได้รับการต่อต้านจากศิษย์หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเรื่องเลยเงียบไป
รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ไม่ลดละ เมื่อเห็นว่า ธปท.มีทุนสำรองมาก จึงได้ทำการโอนย้ายหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่มีอยู่ประมาณ 1 ล้านล้านบาทมาให้ ธปท.ทำการชำระหนี้ ซึ่งโดยตรงแล้ว เป็นภาระหน้าที่ของกระทรวงการคลังที่จะต้องทำการชำระหนี้ก้อนนี้ แต่กลับโอนไปให้ ธปท.บริหารจัดการ
การโอนหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปไว้ที่ ธปท.ก็เพื่อจะทำให้อัตราส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีลดลง ไม่ให้เกิน 60 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะทำให้สามารถกู้เงินได้มากขึ้น เป็นที่มาของการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท
วินัยทางการเงินการคลังของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ตกต่ำมาก
ภาวนาขออย่าให้เกิดวิกฤตอะไรกับประเทศไทยเลยวิกฤตอะไรของประเทศไทยกลายเป็นโอกาสของคนในรัฐบาลยิ่งลักษณ์และที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ทั้งหมด ทั้งที่อยู่ในประเทศและอยู่แดนไกล
ประวัติศาสตร์น้ำท่วมแรงของประเทศไทย จะเกิดขึ้นในรอบ 70-80 ปี โครงการน้ำที่ใช้เงินกว่า3 แสนล้านบาท ได้ข่าวว่าจะมีการตั้งกระทรวงน้ำขึ้นมาอีก น้ำท่วมประเทศแรงครั้งเดียวในปี 2554 จากนั้นก็ไม่มีการท่วมแรงอีกเลย แต่โครงการน้ำก็ทำอย่างกว้างขวางและใหญ่โต
โครงการจำนำข้าวก็เป็นโอกาสของคนในรัฐบาลหรือเกี่ยวข้องกับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ แต่ความก้าวหน้าในจัดการกับโครงการจำนำข้าวขาดทุน 5 แสนล้านบาท ไม่ก้าวหน้า
มาอีกแล้ว
มาถึงคิวของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ปตท.เสนอคสช.ให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันเพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน
อย่างที่นำเสนอไว้ข้างต้น ทุนสำรองนอกจากอยู่ในรูปสกุลเงินที่มีความมั่นคงแล้ว ยังอยู่ในรูปของโลหะที่มีค่าเช่นทองคำ แต่ก็ยังยากที่จะรักษาเสถียรภาพของทุนสำรองไว้ได้ ไม่เฉพาะที่ประเทศไทย แม้ประเทศสหรัฐอเมริกาก็มีปัญหา คงจำเรื่องการออกกฎหมายเพิ่มเพดานหนี้ และพิมพ์เงินมาเสริมสภาพคล่องของอเมริกาได้ (QE)
ตามข้อมูลที่นำเสนอข้างต้น ทุนสำรองของประเทศไทยบางช่วงก็ลดลงแทบหมดประเทศ ทำให้สภาพคล่องเสียหาย และก็เคยทำให้ประเทศไทยต้องเข้ารับความช่วยเหลือสภาพคล่องจาก IMF มาแล้วถึง 2 ครั้ง
แต่หลังปี 2544 (2001) ทุนสำรองของประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงมากเป็นเหตุให้คนเห็นแก่ได้ คนเห็นแก่ตัวมารุมทึ้งกัน อย่างขาดข้อมูลความรู้และความเข้าใจให้ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมัน
ลองพิจารณาความผันผวนของราคาน้ำมันโลก จากกราฟนี้
ราคาน้ำมัน (BRENT) ย้อนหลัง 17 ปี พบว่าผันผวนรุนแรงมาก จากปี 2001-2008 ราคาพุงขึ้น 768 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นราคาก็ตกลงมา ช่วงระยะเวลาประมาณครึ่งปี ตกลงถึง 77 เปอร์เซ็นต์
ดูข้อมูลนี้แล้วไม่ทราบว่าผู้บริหารปตท.จะให้สำรองราคาน้ำมันที่บาร์เรลละเท่าใดดี เพื่อสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน อย่างที่หวัง
ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้น มูลค่าทุนสำรองในรูปน้ำมันอาจจะสูงขึ้นท่วมประเทศไทย
ถ้าราคาน้ำมันตกลง มูลค่าทุนสำรองในรูปน้ำมันอาจจะตกลงติดพื้น ก็ต้องทำให้ไปพึ่ง IMF อีก
พลังงานของชาตินอกจะไม่มั่นคงอย่างที่คิด จะพลอยทำให้ทุนสำรองและค่าเงินบาทมีปัญหา ขึ้นลงแรง ผันผวน ปั่นป่วนแรง ที่สุดในโลกอีกด้วย
วิสัยทัศน์การปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันของ ปตท.เป็นเรื่องแหวกแนว
ปริมาณการใช้น้ำมันของแต่ละประเทศแตกกันไป ตามโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เป็นเกษตรกรรม คนระดับล่างเช่นเกษตรกรทั่วไปมีความจำเป็นจะต้องใช้น้ำมันมาก น้ำมันจึงเป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งที่สำคัญ
แต่หากไม่ใช่ประเทศเกษตรกรรมอย่างสิงคโปร์ ถึงแม้ราคาน้ำมันขายปลีกจะสูงอย่างไร ปริมาณการใช้ก็ไม่มาก
เรื่องราคาขายปลีกน้ำมัน ไม่ใช่เรื่องที่ไม่ทราบ หรือเป็นเรื่องที่ปิดบังอะไร เป็นเรื่องที่รู้ได้ ราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก
นอกจากคนไทยจะได้ใช้น้ำมันราคาสูงแล้วยัง เป็นที่มาของตลาดมืดหรือตลาดน้ำมันเถื่อนทางภาคใต้ของประเทศไทย ต้องให้กำลังคนและงบประมาณในการปราบปราม แต่ดูแล้วก็เอาชนะได้ยาก เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกแตกต่างกันมาก
ราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้นหลังมีการแปรรูป ปตท.เข้าตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเมื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศมาเลเซีย
ปี 2544 ราคาใกล้เคียงกัน แต่เมื่อมาถึงปี 2557 ราคาน้ำมันของประเทศไทยสูงกว่าของประเทศมาเลเซียกว่าเท่าตัว
ราคาน้ำมันเป็นต้นทุนของความเป็นอยู่และการเดินทางของคนไทย เป็นต้นทุนของการผลิตและการขนส่งของผู้ผลิต เป็นต้นทุนของระบบ เป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นการที่จะทำให้ต้นทุนความเป็นอยู่ต่ำและต้นทุนการผลิตต่ำ หรือต้นทุนของประเทศไทยต่ำ ราคาน้ำมันก็จะต้องอยู่ที่ระดับต่ำ
ทำไมประเทศมาเลเซียจึงสามารถผลิตน้ำมันออกมาขายที่ราคาต่ำได้ แต่ทำไมประเทศไทยจึงไม่สามารถผลิตน้ำมันออกมาขายที่ราคาต่ำได้ ฝีมือการผลิตและการบริหารจัดการของประเทศไทยต่ำชั้นกว่าของประเทศมาเลเซียมากนักหรือ
ต้นทุนความเป็นอยู่ที่ต่ำของประชนส่วนใหญ่ของประเทศ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำต่างหากคือปรัชญาชุมชนและปรัชญาการผลิตที่ถูกต้อง
การแปรรูป ปตท.เมื่อปลายปี 2544 ทำให้ปตท.ที่เคยเป็นของคนไทย 100 เปอร์เซ็ยต์ เหลือเป็นของคนไทยเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ แล้วตกเป็นของเอกชน 49 เปอร์เซ็นต์(สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล 14/8/2557) รายงานว่า ประชากรประเทศไทยมี64,871,000
(ตลาดหลักทรัพย์ประเทศไทย 11/03/2557) จำนวนผู้ถือหุ้นปตท. (49%) 53,063 หรือ 0.08% ของประชากรประเทศ
(คำนวณ) จำนวนประชากรที่ถือหุ้นปตท. (51%) 64,817,937 หรือ 99.92% ของประชากรประเทศ
เอาใหม่ นำเสนอเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
ประชาชนคนไทย 99.92 เปอร์เซ็นต์ ถือหุ้นปตท. 51 เปอร์เซ็นต์
เอกชน 0.08 เปอร์เซ็นต์ ถือหุ้นปตท. 49 เปอร์เซ็นต์
คิดแล้ว จำนวนเอกชนน้อยมาก ถือหุ้นประมาณครึ่งหนึ่งของปตท.
เป็นปัจจัยซ่อนเร้น ของคำว่า “เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน” คือคน 99.92 เปอร์เซ็นต์ของประเทศต้องใช้น้ำมันราคาสูง เพื่อเป็นความมั่นคง(มั่งคั่ง) ของคน 0.08 เปอร์เซ็นต์ของประเทศ
คนส่วนน้อย มั่งคั่ง มั่นคง จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน แต่คนส่วนใหญ่เดือดร้อนจากด้านราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แล้วจะเรียกว่า เพื่อความมั่นคงด้านพลังงานที่ดีได้อย่างไร
ปตท.เป็นบริษัทผูกขาดกิจการพลังงานผ่านโรงกลั่น
นี่ขนาดว่าประชาชน 0.08 เปอร์เซ็นต์ เป็นเจ้าของปตท.49 เปอร์เซ็นต์ ราคาน้ำในขายปลีกของประเทศไทยยังสูงกว่าของประเทศเพื่อนบ้านขนาดนี้ หากเขาเป็นเจ้าของ 100 เปอร์เซ็นต์ ราคาก็จะต้องสูงมากกว่านี้กลุ่มเอกชนกำลังคิดจะเป็นเจ้าของปตท. 100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่อไปก็จะสามารถกำหนดราคาขายปลีกน้ำมันเอาตามใจชอบได้
คน 0.08 เปอร์เซ็นต์จะยิ่งมั่งคั่งมั่นคงขึ้นไปอีก
คน 99.92 เปอร์เซ็นต์ก็จะเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก
จากบอร์ดปตท.ถึงซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ
วิสัยทัศน์และทิฐิเป็นที่กังขา ชื่นชมการแปรรูปของรัฐวิสาหกิจของนางมาร์กาเร็ตแทตเชอร์ ในช่วงที่นางเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศสหราชอาณาจักร
การสื่อและการโฆษณาทำให้ชาวโลกไม่ทราบถึงความเบี่ยงเบนของประเทศสหราชอาณาจักร เข้าใจว่าประเทศอังกฤษเป็นประเทศของผู้ดี เป็นประเทศที่เจริญแล้ว เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่แท้ที่จริงแล้ววิสัยทัศน์และปรัชญาของผู้ปกครองประเทศต่ำเรี่ยดิน
ตอนหลัง ประชาชนคนอังกฤษส่วนใหญ่ไม่ชอบนางแทตเซอร์ และเรียกนางว่า “นางแม่มด” ลองฟังเรื่องราวของต่อไปนี้
พรรคการเมืองอยู่ได้ด้วยทุน แล้วใช้ทุนและการโฆษณาหาเสียงกับคนในประเทศ เจ้าของพรรคการเมือง ถ้าไม่เป็นของกลุ่มทุน ก็เป็นของนายทุนคนเดียว เช่นที่ประเทศไทย
มาร์กาเรต แทตเชอร์ หัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม หญิงเหล็กแห่งเกาะอังกฤษ (The Iron Lady) นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 3 สมัย ระยะเวลา 11 ปี (4 พฤษภาคม 2522 - 28 พฤศจิกายน 2533)
นางแทตเชอร์อ้างการค้าเสรีโดยการลดบทบาทของรัฐ แล้วแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน ทำให้สินค้าและบริการพื้นฐานราคาสูงขึ้นสร้างกำไรมหาศาลให้กลุ่มทุน แต่คนอังกฤษเดือดร้อนมากขึ้นมีชีวิตที่ลำบากมากขึ้น เงินเฟ้อสูงขึ้น
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจทำให้ค่าน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ารถไฟ สูงขึ้น ทำให้ประชาชนในประเทศเดือดร้อน ในภาพพบว่าราคาน้ำมันของประเทศอังกฤษสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของประเทศที่ราคาแพงที่สุดในโลก
น้ำมันประเทศมาเลเซียราคาต่ำเป็นอันดับที่ 8 ของโลก น้ำมันของประเทศเวเนซุเอลาราคาถูกที่สุดในโลก
นางแทตเชอร์ เกิดวันที่ 13 ตุลาคม 2468 เสียชีวิตวันที่ 8 เมษายน2556 (87 ปี) ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่สะดวก
คนอังกฤษ รอวันตายของ “แม่มดแทตเชอร์” เมื่อได้ข่าวนางแทตเชอร์ตายก็ออกมาเฉลิมฉลองตามถนน ไชโย โห่ร้อง ไม่ไปร่วมงานศพที่รัฐบาลจัดให้นางแทตเช่อร์ทำให้เพลงชื่อDing-Dong!The Witch is Dead (นางแม่มดตายแล้ว) ขึ้นติดอันดับ 1 เพลงให้ความหมายว่าดีใจ สะใจ ที่นางแม่มดตาย เพลงนี้เป็นเพลงจากภาพยนตร์อเมริกันชื่อ TheWizard of Oz ที่จูดี้การ์แลนด์แสดงนำเมื่อ 75 ปีมาแล้ว (ค.ศ. 1939) เป็นนิทานอเมริกันอายุกว่าร้อยปี ที่เด็กๆทั่วโลกชอบ
Margaret Thatcher's death celebrated in Brixtonhttp://www.youtube.com/watch?v=wrxy93fY3vI
MARGARET THATCHER DEAD!! Brixton Celebrates Partyhttp://www.youtube.com/watch?v=ikhRGrJReJ8
ตำรวจลอนดอนเตรียมรับมือม็อบฉลองข่าวนางแทตเชอร์ตายhttp://www.mcot.net/site/content?id=5168cc2e150ba05c5100001d#.U-twtnnlo5s
DING-DONG! THE WITCH IS DEAD จากGleehttp://www.youtube.com/watch?v=pLzwH2gv5FY
รัฐวิสาหกิจมีหลายประเภท บางประเภทก็เพื่อการแสวงหากำไร เช่นกองสลากของรัฐบาลเป็นต้น บางประเภทต้องไม่เอามาแสวงหากำไร เช่นกิจการขนส่ง และกิจการพลังงานเป็นต้น โดยเฉพาะกิจการที่ทำให้เกิดการผูกขาด รัฐจะต้องเอามาจัดการจัดสรรให้เกิดความเป็นธรรมต่อคนของประเทศ ให้มีกินมีใช้อย่างพอเพียง ไม่ขาดแคลน ราคาถูก
กิจการพลังงานของประเทศไทย ถูกเปลี่ยนแปลงให้อยู่ในระบบผูกขาดมากขึ้น ทำให้เอกชนคิดเข้ามาแสวงหากำไรมากขึ้น ตามปรัชญาแล้ว กิจการพลังงานจะต้องเป็นของรัฐหรือเป็นของประชาชนทั้งหมด แต่ก็ถูกแบ่งไปแล้วถึง 49 เปอร์เซ็นต์ ต้องหาทางเอา 49 เปอร์เซ็นต์มาคืนให้ประชาชนการเสนอให้ ธปท.ปรับเปลี่ยนทุนสำรองให้มาอยู่ในรูปของน้ำมันการที่เอกชนคิดจะเอากิจการพลังงานเพิ่มมากขึ้นไปอีก หรือเอาไปทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์เป็นวิสัยทัศน์ที่เบี่ยงเบน เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นเรื่องที่อันตราย จะทำให้คนไทยทั้งประเทศเดือดร้อนมากกว่าที่เกิดขึ้นกับคนในประเทศอังกฤษ