ASTVผู้จัดการรายวัน-ตำรวจรวบตัววิศวกร เจ้าของอาคาร ผู้รับเหมาช่วง คอนโดปทุมฯ ถล่มตามหมายจับได้ยกเช็ต พร้อมออกหมายจับเพิ่มอีก 3 ราย วิศวกรซัดผู้รับเหมาเทคอนกรีตโดยพลการ ผู้รับเหมาโบ้ยไม่ได้สั่ง แต่หัวหน้างานทำเอง เผยผู้ติดในซากอาคารส่อไม่มีสัญญาณชีพแล้ว แต่ยังไม่เลิกค้นหา หลังญาติเข้ามาร้องเรียนมีผู้สูญหายเพิ่ม
ความคืบหน้าทางคดีกรณีอาคารคอนโดมิเนียมกำลังก่อสร้าง สูง 6 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลอง 6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้พังถล่มลงมาทับคนงาน โดยมีทั้งผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ตามที่ได้มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น
วานนี้ (13 ส.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค1 พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รรท.ผบช.ภ.1พร้อมด้วย พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร์ รอง ผบช.ภ.1 พล.ต.ต.สมิทธิ มุกดาสนิท ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี พล.ต.ต.ธวัชชัย ยิ่งเจริญสุข ผบก.สส.ภ.1 และพ.อ.วิจารณ์ จดแตง ผู้อำนวยการกฎหมาย กอ.รมน. หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานกฎหมายส่วนรักษาความสงบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ร่วมแถลงการณ์จับกุมนายศักดิ์สิทธิ์ อินทร์ทอง อายุ 44 ปี วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 620/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 นางเพ็ญศรี กิติไพศาลนนท์ อายุ 49 ปี ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 621/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 และในฐานะนิติบุคคล ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 629/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557 นายเดี่ยว ปราบโจร อายุ 43ปี ผู้รับเหมาช่วง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 622/2557 ลงวันที่ 12ส.ค.2557 นายบุญยกร หีบทอง อายุ 48 ปี ในฐานะนิติบุคคลและส่วนตัว (กรรมการผู้จัดการบริษัท ยู เพลส จำกัด) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 628/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557
พล.ต.ต.สมิทธิ กล่าวว่า เบื้องต้นได้มีการสอบปากคำพยานไปแล้วทั้งหมด 20 ปาก เพื่อรวบรวมหลักฐานในการดำเนินคดีส่วนการดำเนินคดีกับผู้มีส่วนร่วม ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องของโครงการดังกล่าวว่าจะมีการมอบเอกสารเพื่อใช้ตรวจสอบสาเหตุของการถล่มของอาคารดังกล่าวหรือไม่
ทั้งนี้ การตรวจสอบจำนวนคนงานที่เข้ามาในพื้นที่ประมาณ 41คน ซึ่งจำนวนดังกล่าว ยังไม่ชัดเจน อาจมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ไม่มากนัก โดยเป็นคนงานไทย 24 คน คนงานต่างชาติ 17คน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบผู้ที่ยังติดอยู่ภายในซากอาคารดังกล่าวพบว่าไม่มีสัญญาณชีพแล้ว ซึ่งจะใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ในการรื้อโครงสร้างอาคาร เพื่อตรวจหาผู้ติดยังติดอยู่ภายในอาคารว่ามีหลงเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
นายศักดิ์สิทธิ์ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างให้การว่า ในส่วนของโครงการยังไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานโครงสร้าง เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว โดยนายเดี่ยว ผู้รับเหมาช่วง ได้เทคอนกรีตโดยพละการ ทั้งที่ต้องให้ทางฝ่ายวิศวกรโครงการเข้าไปตรวจสอบก่อน ถึงจะสามารถเทคอนกรีตเพิ่มในแต่ละครั้งได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความไม่เรียบร้อยของงาน ทำให้ตัวโครงสร้างยังไม่พร้อมที่จะรับน้ำหนักของคอนกรีตที่จะเทลงในครั้งใหม่
นายเดี่ยว ผู้รับเหมาช่วง ให้การว่า ขณะที่เกิดเหตุ ตนออกไปทำธุระข้างนอก ไม่ได้อยู่ที่โครงการ ซึ่งมีหัวหน้างานของบริษัทตนเอง ชื่อกบ ไม่ทราบชื่อและนามสกุลจริง ได้สั่งให้เทคอนกรีตจำนวน 40 คิว บริเวณชั้นบนสุดของอาคาร โดยเริ่มเทจากด้านในฝั่งซ้ายออกมาด้านนอกฝั่งขวาติดถนนของโครงการ ก่อนที่อาคารดังกล่าวจะทรุดตัวและถล่มลง
นางเพ็ญศรี เจ้าของโครงการ กล่าวทั้งน้ำตาว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นเจ้าโครงการ รู้สึกเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นไปได้ ตนไม่อยากให้ต้องมีใครเสียชีวิต หากตนเองตายแทนได้ตนก็ยอม อย่างไรก็ตาม ตนยินดีที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบเหตุเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนและความเสียหายในสิ่งที่เกิดขึ้น
พล.ต.ต.ศรีวราห์ กล่าวว่า ยังได้ออกหมายจับนายชานัยชนม์ เกิดเทศ อายุ 46ปี ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 623/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 นายจิระ ขันมั่น อายุ 43 ปี ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 624/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 และนางสาวแพนด้า (นามสมมุติ) อายุ 18 ปี บุตรสาวของนางเพ็ญศรี ในฐานะนิติบุคคลและส่วนตัว (กรรมการผู้จัดการบริษัท ยู เพลส จำกัด) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 630/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557 ก่อนประสานให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบปากคำอย่างละเอียดหาข้อเท็จจริงต่อไป
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหา กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน20,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก่อนนำตัวผู้ต้องหาไปสอบสวนขยายผลและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสายวานนี้ (13 ส.ค.) ได้มีการเข้ารื้ออาคารที่ถล่มเพื่อตรวจหาคนงานที่คาดว่ายังติดอยู่ภายในซากเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจลงพื้นที่วางแผนการดำเนินการค้นหาร่างคนงานอย่างต่อเนื่อง และได้มีการกันพื้นที่โดยรอบตัวอาคารไม่ให้บุคคลอื่นเข้าใกล้ตัวอาคารเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการยุบตัว และการเคลื่อนตัวของแผ่นปูนที่ถล่มลงมา เพราะมีฝนตก และได้ให้สุนัขตำรวจเข้าดมกลิ่นตรวจสอบจุดที่คาดว่าจะมีร่างคนงานที่เสียชีวิตติดอยู่ที่ซากอาคาร เพื่อให้ทราบจุดที่คาดว่ามีซากคนงานอยู่จุดใดโซนใดของอาคาร จากนั้นจะใช้กล้องส่องดูตามซอกแผ่นปูน และพื้นที่ด้านใต้อาคารเพื่อตรวจหาและฟังเสียงผู้รอดชีวิต และจะมาประเมินประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดการดำเนินงานรื้อปล่องลิฟต์ออกก่อน เพื่อความปลอดภัยในการค้นหา เพราะเกรงว่าปล่องลิฟต์จะโค่นลงมาขณะรื้อ แล้วจะใช้เครื่องจักรรื้อซากปูนที่ถล่มทั้งหมดต่อไป
ส่วนบรรยากาศโดยรอบมีบรรดาญาติๆ ของคนงานที่มารอด้วยความหวังจะเจอร่าง ไม่ว่าจะรอดชีวิตหรือเสียชีวิตก็ตาม นอกจากนี้ ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการตั้งศูนย์รับแจ้งคนหาย เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าจะยังมีผู้ติดค้างภายในซากอาคารอยู่อีกจำนวนเท่าไร เนื่องจากพบว่าเริ่มมีญาติๆ ของคนงานเข้ามาร้องเรียนเพิ่มอีก จึงคาดว่าจะมีคนงานติดอยู่ภายในอาคารมากกว่าจำนวนที่ทราบเบื้องต้น
นพ.ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ปทุมธานี กล่าวสรุปว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่ามีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารถล่ม 33 คน สามารถช่วยออกมาได้ 28 ราย บาดเจ็บ 25 ราย เสียชีวิต 3 รายเท่าเดิม เป็นคนไทยทั้งหมด โดยผู้ได้บาดเจ็บอาการไม่รุนแรง สามารถกลับบ้านได้แล้ว 20 คน เหลือพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 คน แบ่งเป็น รพ.ปทุมธานี 3 คน รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 1 คน และรพ.คลองหลวง 1 คน คาดว่ายังอยู่ในซากตึกอีก 5 คน แต่ได้มีการยุติการช่วยชีวิตเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 12 ส.ค. โดยกำลังประเมินสถานการณ์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะยังไม่พบสัญญาณชีพ จึงไม่แน่ใจว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทหาร และทีมกู้ภัย จะค้นหาผู้รอดชีวิตต่อไป หรือจะยกเศษซากอาคารออกเลย
นพ.อนุรักษ์ อมรเพชรสถาพร ผู้อำนวยการ สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การพิจารณาว่าต้องให้เวลานานเท่าไรจึงจะแน่ชัดว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกไม่มีสัญญาณชีพแล้วนั้น ในประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่ชัด แต่ในต่างประเทศพบว่า ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกถล่มยังคงมีชีวิตได้ถึง 7 วัน คงต้องประเมินสถานการร์หน้างานว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
ความคืบหน้าทางคดีกรณีอาคารคอนโดมิเนียมกำลังก่อสร้าง สูง 6 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณถนนเลียบคลอง 6 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้พังถล่มลงมาทับคนงาน โดยมีทั้งผู้เสียชีวิต และได้รับบาดเจ็บ ตามที่ได้มีการเสนอข่าวไปแล้วนั้น
วานนี้ (13 ส.ค.) ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค1 พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รรท.ผบช.ภ.1พร้อมด้วย พล.ต.ต.วิรุฬ เอี่ยมไพจิตร์ รอง ผบช.ภ.1 พล.ต.ต.สมิทธิ มุกดาสนิท ผบก.ภ.จว.ปทุมธานี พล.ต.ต.ธวัชชัย ยิ่งเจริญสุข ผบก.สส.ภ.1 และพ.อ.วิจารณ์ จดแตง ผู้อำนวยการกฎหมาย กอ.รมน. หัวหน้าส่วนปฏิบัติการคณะทำงานกฎหมายส่วนรักษาความสงบ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ร่วมแถลงการณ์จับกุมนายศักดิ์สิทธิ์ อินทร์ทอง อายุ 44 ปี วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 620/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 นางเพ็ญศรี กิติไพศาลนนท์ อายุ 49 ปี ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 621/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 และในฐานะนิติบุคคล ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 629/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557 นายเดี่ยว ปราบโจร อายุ 43ปี ผู้รับเหมาช่วง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 622/2557 ลงวันที่ 12ส.ค.2557 นายบุญยกร หีบทอง อายุ 48 ปี ในฐานะนิติบุคคลและส่วนตัว (กรรมการผู้จัดการบริษัท ยู เพลส จำกัด) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 628/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557
พล.ต.ต.สมิทธิ กล่าวว่า เบื้องต้นได้มีการสอบปากคำพยานไปแล้วทั้งหมด 20 ปาก เพื่อรวบรวมหลักฐานในการดำเนินคดีส่วนการดำเนินคดีกับผู้มีส่วนร่วม ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องของโครงการดังกล่าวว่าจะมีการมอบเอกสารเพื่อใช้ตรวจสอบสาเหตุของการถล่มของอาคารดังกล่าวหรือไม่
ทั้งนี้ การตรวจสอบจำนวนคนงานที่เข้ามาในพื้นที่ประมาณ 41คน ซึ่งจำนวนดังกล่าว ยังไม่ชัดเจน อาจมีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ไม่มากนัก โดยเป็นคนงานไทย 24 คน คนงานต่างชาติ 17คน ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบผู้ที่ยังติดอยู่ภายในซากอาคารดังกล่าวพบว่าไม่มีสัญญาณชีพแล้ว ซึ่งจะใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ในการรื้อโครงสร้างอาคาร เพื่อตรวจหาผู้ติดยังติดอยู่ภายในอาคารว่ามีหลงเหลืออยู่จำนวนเท่าใด
นายศักดิ์สิทธิ์ วิศวกรผู้ควบคุมการก่อสร้างให้การว่า ในส่วนของโครงการยังไม่ได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานโครงสร้าง เนื่องจากเป็นช่วงวันหยุดยาว โดยนายเดี่ยว ผู้รับเหมาช่วง ได้เทคอนกรีตโดยพละการ ทั้งที่ต้องให้ทางฝ่ายวิศวกรโครงการเข้าไปตรวจสอบก่อน ถึงจะสามารถเทคอนกรีตเพิ่มในแต่ละครั้งได้ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากความไม่เรียบร้อยของงาน ทำให้ตัวโครงสร้างยังไม่พร้อมที่จะรับน้ำหนักของคอนกรีตที่จะเทลงในครั้งใหม่
นายเดี่ยว ผู้รับเหมาช่วง ให้การว่า ขณะที่เกิดเหตุ ตนออกไปทำธุระข้างนอก ไม่ได้อยู่ที่โครงการ ซึ่งมีหัวหน้างานของบริษัทตนเอง ชื่อกบ ไม่ทราบชื่อและนามสกุลจริง ได้สั่งให้เทคอนกรีตจำนวน 40 คิว บริเวณชั้นบนสุดของอาคาร โดยเริ่มเทจากด้านในฝั่งซ้ายออกมาด้านนอกฝั่งขวาติดถนนของโครงการ ก่อนที่อาคารดังกล่าวจะทรุดตัวและถล่มลง
นางเพ็ญศรี เจ้าของโครงการ กล่าวทั้งน้ำตาว่า ในฐานะที่ตนเองเป็นเจ้าโครงการ รู้สึกเสียใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นไปได้ ตนไม่อยากให้ต้องมีใครเสียชีวิต หากตนเองตายแทนได้ตนก็ยอม อย่างไรก็ตาม ตนยินดีที่จะช่วยเหลือผู้ที่ประสบเหตุเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนและความเสียหายในสิ่งที่เกิดขึ้น
พล.ต.ต.ศรีวราห์ กล่าวว่า ยังได้ออกหมายจับนายชานัยชนม์ เกิดเทศ อายุ 46ปี ผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 623/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 นายจิระ ขันมั่น อายุ 43 ปี ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 624/2557 ลงวันที่ 12 ส.ค.2557 และนางสาวแพนด้า (นามสมมุติ) อายุ 18 ปี บุตรสาวของนางเพ็ญศรี ในฐานะนิติบุคคลและส่วนตัว (กรรมการผู้จัดการบริษัท ยู เพลส จำกัด) ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลจังหวัดธัญบุรี 630/2557 ลงวันที่ 13 ส.ค.2557 ก่อนประสานให้ผู้ต้องหาทั้งหมดเข้ามอบตัวกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อสอบปากคำอย่างละเอียดหาข้อเท็จจริงต่อไป
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่แจ้งข้อหา กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน20,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 และความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ก่อนนำตัวผู้ต้องหาไปสอบสวนขยายผลและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงสายวานนี้ (13 ส.ค.) ได้มีการเข้ารื้ออาคารที่ถล่มเพื่อตรวจหาคนงานที่คาดว่ายังติดอยู่ภายในซากเพิ่มเติม โดยเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจลงพื้นที่วางแผนการดำเนินการค้นหาร่างคนงานอย่างต่อเนื่อง และได้มีการกันพื้นที่โดยรอบตัวอาคารไม่ให้บุคคลอื่นเข้าใกล้ตัวอาคารเด็ดขาด เนื่องจากเกรงว่าจะมีการยุบตัว และการเคลื่อนตัวของแผ่นปูนที่ถล่มลงมา เพราะมีฝนตก และได้ให้สุนัขตำรวจเข้าดมกลิ่นตรวจสอบจุดที่คาดว่าจะมีร่างคนงานที่เสียชีวิตติดอยู่ที่ซากอาคาร เพื่อให้ทราบจุดที่คาดว่ามีซากคนงานอยู่จุดใดโซนใดของอาคาร จากนั้นจะใช้กล้องส่องดูตามซอกแผ่นปูน และพื้นที่ด้านใต้อาคารเพื่อตรวจหาและฟังเสียงผู้รอดชีวิต และจะมาประเมินประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดการดำเนินงานรื้อปล่องลิฟต์ออกก่อน เพื่อความปลอดภัยในการค้นหา เพราะเกรงว่าปล่องลิฟต์จะโค่นลงมาขณะรื้อ แล้วจะใช้เครื่องจักรรื้อซากปูนที่ถล่มทั้งหมดต่อไป
ส่วนบรรยากาศโดยรอบมีบรรดาญาติๆ ของคนงานที่มารอด้วยความหวังจะเจอร่าง ไม่ว่าจะรอดชีวิตหรือเสียชีวิตก็ตาม นอกจากนี้ ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจได้มีการตั้งศูนย์รับแจ้งคนหาย เพื่อตรวจสอบให้แน่ชัดว่าจะยังมีผู้ติดค้างภายในซากอาคารอยู่อีกจำนวนเท่าไร เนื่องจากพบว่าเริ่มมีญาติๆ ของคนงานเข้ามาร้องเรียนเพิ่มอีก จึงคาดว่าจะมีคนงานติดอยู่ภายในอาคารมากกว่าจำนวนที่ทราบเบื้องต้น
นพ.ณรงค์ ตั้งตรงไพโรจน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) ปทุมธานี กล่าวสรุปว่า เบื้องต้นได้รับรายงานว่ามีผู้ติดอยู่ใต้ซากอาคารถล่ม 33 คน สามารถช่วยออกมาได้ 28 ราย บาดเจ็บ 25 ราย เสียชีวิต 3 รายเท่าเดิม เป็นคนไทยทั้งหมด โดยผู้ได้บาดเจ็บอาการไม่รุนแรง สามารถกลับบ้านได้แล้ว 20 คน เหลือพักรักษาตัวในโรงพยาบาล 5 คน แบ่งเป็น รพ.ปทุมธานี 3 คน รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ 1 คน และรพ.คลองหลวง 1 คน คาดว่ายังอยู่ในซากตึกอีก 5 คน แต่ได้มีการยุติการช่วยชีวิตเมื่อเวลา 20.00 น. ของวันที่ 12 ส.ค. โดยกำลังประเมินสถานการณ์ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะยังไม่พบสัญญาณชีพ จึงไม่แน่ใจว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ทหาร และทีมกู้ภัย จะค้นหาผู้รอดชีวิตต่อไป หรือจะยกเศษซากอาคารออกเลย
นพ.อนุรักษ์ อมรเพชรสถาพร ผู้อำนวยการ สำนักสาธารณสุขฉุกเฉิน กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การพิจารณาว่าต้องให้เวลานานเท่าไรจึงจะแน่ชัดว่าผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกไม่มีสัญญาณชีพแล้วนั้น ในประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ที่แน่ชัด แต่ในต่างประเทศพบว่า ผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากตึกถล่มยังคงมีชีวิตได้ถึง 7 วัน คงต้องประเมินสถานการร์หน้างานว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป