ASTVผู้จัดการรายวัน-แพทยสภาจ่อเรียกแพทย์ 240 ราย ชี้แจงทำความเข้าใจกรณีอุ้มบุญ 29 ส.ค.นี้ พร้อมสั่งตั้งอนุกรรมการสอบสวนเคสนี้เป็นการเฉพาะ คสช.ไฟเขียวชง พ.ร.บ.อุ้มบุญ เข้าสู่การพิจารณาของ สนช. ด้านตำรวจแจกความคืบหน้า เตรียมดำเนินคดีสถานพยาบาล แพทย์ ส่วนกรณี "ชิเกตะ" สืบต่อเข้าข่ายค้ามนุษย์หรือไม่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับแพทยสภา และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กรณีปัญหาอุ้มบุญ วานนี้ (13 ส.ค.) ว่า ได้ข้อสรุปร่วมกัน 2 ส่วน คือ 1.การควบคุมแพทย์และสถานบริการที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรืออุ้มบุญอย่างถูกต้อง โดยวันที่ 29 ส.ค. แพทยสภาจะเรียกประชุมแพทย์ที่ให้บริการอุ้มบุญทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ และ 2.มอบให้ สบส. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งประเด็นสิทธิมนุษยชน เพื่อหาทางออกของปัญหาในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งจำเป็นต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะต้องการรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องมีการทบทวนก่อนการผลักดันกฎหมายหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าบางประเด็นมีความละเอียดอ่อน เช่น การอนุญาตให้หญิงไม่ใช่ญาติอุ้มท้องแทน อาจต้องถามความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ส่วนจะต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือจะทบทวนอย่างไร คงต้องเป็นหน้าที่ของ พม. ที่จะต้องพิจารณาว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ครอบคลุมและตอบคำถามในสิ่งที่สังคมมีความกังวลได้หรือไม่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การเชิญแพทย์ทำอุ้มบุญ 240 คนมาร่วมประชุมวันที่ 29 ส.ค. ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ก็เพื่อต้องการชี้แจงและทำความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทย์สภา แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเรียกมาตรวจสอบว่าแพทย์คนใดทำผิด
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (14 ส.ค.) จะมีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ขอมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนชุดพิเศษกรณีอุ้มบุญ เพื่อให้ทำงานในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนการสอบสวนจริยธรรมแพทย์ 2 ราย จากคลินิก เอส.เอ.อาร์.ที ที่ทำอุ้มบุญให้ "น้องแกรมมี่" อยู่ระหว่างการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสอบสวนจริยธรรมจะล่าช้าเหมือนกรณีการอุ้มบุญของชาวเวียดนามหรือไม่ นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะเหมือนกัน เพราะกรณีนี้มีหลักฐานชัดเจน แต่ที่กำหนดระยะเวลา 6 เดือน เพราะเป็นกระบวนการตามปกติของแพทยสภา ที่ต้องสอบสวนเพื่อให้ความเป็นธรรมกับแพทย์
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหนึ่งในแพทย์ที่กำลังถูกสอบสวนกรณีการทำอุ้มบุญเป็นกรรมการแพทยสภาและมีรายงานว่ากรรมการแพทยสภาเป็นหุ้นส่วนในสถานบริกรที่ถูกสอบสวน นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า แพทย์ที่ถูกสอบสวนไม่ได้เป็นกรรมการของแพทยสภา แต่ถึงเป็นก็ไม่ได้กระทบกับการสอบสวนแต่อย่างใด ส่วนกรรมการแม้จะเป็นหุ้นส่วน แต่ก็ไม่เกี่ยวกับการสอบสวน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีแพทย์ที่ทำอุ้มบุญเด็ก 15 ราย ที่มีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่นคนเดียวกัน ได้หลบหนีไป นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ไม่น่าใช่ปัญหา เพราะโดยหลักการ หากเรียกแพทย์มาสอบสวน แต่แพทย์คนดังกล่าวไม่มา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะพิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่ และสอบถามจากพยานข้างเคียง เช่น แม่ที่รับทำอุ้มบุญ ต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวถึงกรณี รพ.เอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธการทำคลอดให้แก่แม่ที่ทำอุ้มบุญซึ่งอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ปากมดลูกเปิด 8 เซนติเมตรแล้ว ว่า ต้องหาข้อเท็จจริงก่อนว่า โรงพยาบาลได้ส่งตัวต่อหรือไม่ หรือมีเหตุอะไร ที่ทำให้ปฏิเสธการทำคลอด ต้องให้คณะกรรมการของ สบส.ตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเห็นว่า ควรมีการชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากมีข้อกังวลว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการกำหนดว่าให้แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญนั้น ทำตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทยสภา ซึ่งขณะนี้แพทยสภากำลังพิจารณาปรับปรุงใหม่ให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติสามารถท้องแทนได้ รวมถึงจะมีการให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์แทนขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด ซึ่งกำลังพิจารราอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร
***คสช.ไฟเขียว พ.รบ.อุ้มบุญ
นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... แล้ว ก่อนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้พิจารณาต่อ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ได้มีกำหนดหลักการเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยมีทั้งหมด 49 มาตรา แบ่งเป็น 6 หมวด และบทเฉพาะกาล
***ตำรวจเดินหน้าเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้ช่วยผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานคดีอุ้มบุญ กล่าวถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนว่า ได้แบ่งการสอบสวนเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกการดำเนินคดีอาญาสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่่สืบเนื่องจากการตรวจค้นอาคารศิวาเทล ชั้น 12เอ และ15 ซึ่งเปิดเป็นคลีนิคฉีดตัวอ่อนตามที่มีการนำค้นจากผู้หญิงที่ไปรับอุ้มบุญในท้องที่สน.ลุมพินี ซึ่งต้องรอให้ทากระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ในวันนี้ เวลา 10.00 น. หลังจากมีการแจ้งความร้องทุกข์ก็สามารถออกหมายเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องและรวมรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีได้ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลผู้ที่เข้าข่ายประทำผิดเหล่านี้อยู่แล้ว ตำรวจก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนที่สอง ในท้องที่ สน.ลาดพร้าว ที่มีการค้นคอนโดและพบเด็กทารกจำนวน 9 คน ในส่วนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจเข้าข่ายความผิดพรากผู้เยาว์ กักขังหน่วงเหนี่ยว ค้ามนุษย์ ปลอมและใช้เอกสารปลอม แจ้งความเท็จ ใช้เอกสารอันเป็นเท็จในการแจ้งเกิด เป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานว่าจะเข้าองค์ประกอบความผิดไหนบ้าง ตอนนี้ได้สั่งการให้ทุกสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลพยานหลักฐานทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลต่างๆ ให้ครบถ้วน
***สืบสวนเข้าข่ายค้ามนุษย์หรือไม่
พล.ต.ท.ก่อเกียรติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของนายมิตสุโตกิ ชิเกตะ ที่อ้างตัวว่าเป็นพ่อก่อนหน้านี้ถึงตอนนี้ยังไม่ปรากฎความผิด อยากให้มาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกิดขึ้นว่าจะนำเด็กไปทำอะไร หากไม่มาให้ถ้อยคำแล้วพบข้อมูลว่ามีพฤติกรรมนำเด็กไปหาผลประโยชน์ก็จะเข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ ซึ่งตำรวจก็จะรวบรวมพยานหลักฐานแจ้งข้อกล่าวหา และออกหมายจับได้ อย่างไรก็ตาม ได้พยายามที่จะประสานงานเพื่อให้รู้ว่าเด็กที่ถูกนำตัวออกไปก่อนหน้านี้ ตอนนี้มีความเป็นอยู่อย่างไร เอาเด็กออกไปทำอะไร ซึ่งก็พยายามในการประสานงานทุกทางให้ได้ข้อมูล สำหรับนางยาสุโกะ ชิเกตะ ที่เดินทางมาพร้อมกับนายมิตสุโตกินั้นยังไม่มีหลักฐานอะไรเชื่อมโยงว่า มีความสัมพันธ์อย่างไรเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนไหนอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
***แจ้งความออลไอวีเอฟคลีนิก
พ.ต.อ.เดชา พรหมสุวรรณ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า ตนได้รับการประสานจากนายชาตรี พินใย ตัวแทนของกรมส่งเสริมบริการสุภาพ ว่าจะเดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับทาง ออลไอวีเอฟ คลีนิก ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงแรมย่านเพลินจิต ตามความผิดฐาน พ.ร.บ.สถานพยาบาล ในข้อหา "ประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพไม่ปฎิบัติตามกฎหมายวิชาชีพตามเวชกรรม" ในเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่จะทำการออกหมายเรียกตัวเพื่อนำตัวมาสอบสวน หากไม่มาก็จะขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
***แม่อุ้มบุญขอหยุดพูดเว้นเจอกันทุกฝ่าย
น.ส.ภัทรมล จันทร์บัว แม่อุ้มบุญ กล่าวภายหลังพาน้องแกรมมี่กลับจากโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา มาพักที่บ้านในอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ว่า จะไม่ขอพูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะครอบครัวชาวออสเตรเลียที่กล่าวหาตน เพียงขอให้เสนอข่าวเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว และความเป็นอยู่ของน้องแกรมมี่เท่านั้นก็พอ แต่ถ้าจะให้พูดอีก ก็ขอให้ทุกฝ่ายมาพบกันเลย ทั้งครอบครัวชาวออสเตรเลีย เอเจนซี่ และตนเอง จะได้ชี้แจงใครผิดใครถูก
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับแพทยสภา และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กรณีปัญหาอุ้มบุญ วานนี้ (13 ส.ค.) ว่า ได้ข้อสรุปร่วมกัน 2 ส่วน คือ 1.การควบคุมแพทย์และสถานบริการที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์หรืออุ้มบุญอย่างถูกต้อง โดยวันที่ 29 ส.ค. แพทยสภาจะเรียกประชุมแพทย์ที่ให้บริการอุ้มบุญทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจ และ 2.มอบให้ สบส. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งประเด็นสิทธิมนุษยชน เพื่อหาทางออกของปัญหาในภาพรวม โดยเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งจำเป็นต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะต้องการรับฟังความคิดเห็นในทุกภาคส่วน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ต้องมีการทบทวนก่อนการผลักดันกฎหมายหรือไม่ นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ถือเป็นหน้าที่ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งที่ประชุมเห็นว่าบางประเด็นมีความละเอียดอ่อน เช่น การอนุญาตให้หญิงไม่ใช่ญาติอุ้มท้องแทน อาจต้องถามความเห็นจากหลายๆ ฝ่าย ส่วนจะต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่ หรือจะทบทวนอย่างไร คงต้องเป็นหน้าที่ของ พม. ที่จะต้องพิจารณาว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ครอบคลุมและตอบคำถามในสิ่งที่สังคมมีความกังวลได้หรือไม่
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การเชิญแพทย์ทำอุ้มบุญ 240 คนมาร่วมประชุมวันที่ 29 ส.ค. ที่อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ก็เพื่อต้องการชี้แจงและทำความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทย์สภา แต่ไม่ได้หมายความว่า จะเรียกมาตรวจสอบว่าแพทย์คนใดทำผิด
อย่างไรก็ตาม วันนี้ (14 ส.ค.) จะมีการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการแพทยสภา ขอมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนชุดพิเศษกรณีอุ้มบุญ เพื่อให้ทำงานในการตรวจสอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ ส่วนการสอบสวนจริยธรรมแพทย์ 2 ราย จากคลินิก เอส.เอ.อาร์.ที ที่ทำอุ้มบุญให้ "น้องแกรมมี่" อยู่ระหว่างการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
ผู้สื่อข่าวถามว่า การสอบสวนจริยธรรมจะล่าช้าเหมือนกรณีการอุ้มบุญของชาวเวียดนามหรือไม่ นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ไม่น่าจะเหมือนกัน เพราะกรณีนี้มีหลักฐานชัดเจน แต่ที่กำหนดระยะเวลา 6 เดือน เพราะเป็นกระบวนการตามปกติของแพทยสภา ที่ต้องสอบสวนเพื่อให้ความเป็นธรรมกับแพทย์
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีหนึ่งในแพทย์ที่กำลังถูกสอบสวนกรณีการทำอุ้มบุญเป็นกรรมการแพทยสภาและมีรายงานว่ากรรมการแพทยสภาเป็นหุ้นส่วนในสถานบริกรที่ถูกสอบสวน นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า แพทย์ที่ถูกสอบสวนไม่ได้เป็นกรรมการของแพทยสภา แต่ถึงเป็นก็ไม่ได้กระทบกับการสอบสวนแต่อย่างใด ส่วนกรรมการแม้จะเป็นหุ้นส่วน แต่ก็ไม่เกี่ยวกับการสอบสวน
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีแพทย์ที่ทำอุ้มบุญเด็ก 15 ราย ที่มีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่นคนเดียวกัน ได้หลบหนีไป นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า ไม่น่าใช่ปัญหา เพราะโดยหลักการ หากเรียกแพทย์มาสอบสวน แต่แพทย์คนดังกล่าวไม่มา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะพิจารณาตามหลักฐานที่มีอยู่ และสอบถามจากพยานข้างเคียง เช่น แม่ที่รับทำอุ้มบุญ ต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ดำเนินการ
นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดี สบส. กล่าวถึงกรณี รพ.เอกชนแห่งหนึ่งปฏิเสธการทำคลอดให้แก่แม่ที่ทำอุ้มบุญซึ่งอยู่ในภาวะฉุกเฉิน ปากมดลูกเปิด 8 เซนติเมตรแล้ว ว่า ต้องหาข้อเท็จจริงก่อนว่า โรงพยาบาลได้ส่งตัวต่อหรือไม่ หรือมีเหตุอะไร ที่ทำให้ปฏิเสธการทำคลอด ต้องให้คณะกรรมการของ สบส.ตรวจสอบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเห็นว่า ควรมีการชะลอการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากมีข้อกังวลว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว มีการกำหนดว่าให้แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญนั้น ทำตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานของแพทยสภา ซึ่งขณะนี้แพทยสภากำลังพิจารณาปรับปรุงใหม่ให้หญิงที่ไม่ใช่ญาติสามารถท้องแทนได้ รวมถึงจะมีการให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์แทนขณะตั้งครรภ์ การคลอด และหลังคลอด ซึ่งกำลังพิจารราอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร
***คสช.ไฟเขียว พ.รบ.อุ้มบุญ
นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... แล้ว ก่อนจะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นผู้พิจารณาต่อ ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ได้มีกำหนดหลักการเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม ตลอดจนควบคุมการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อนและเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง โดยมีทั้งหมด 49 มาตรา แบ่งเป็น 6 หมวด และบทเฉพาะกาล
***ตำรวจเดินหน้าเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.ก่อเกียรติ วงศ์วรชาติ ผู้ช่วยผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานคดีอุ้มบุญ กล่าวถึงความคืบหน้าการสืบสวนสอบสวนว่า ได้แบ่งการสอบสวนเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกการดำเนินคดีอาญาสถานพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ที่่สืบเนื่องจากการตรวจค้นอาคารศิวาเทล ชั้น 12เอ และ15 ซึ่งเปิดเป็นคลีนิคฉีดตัวอ่อนตามที่มีการนำค้นจากผู้หญิงที่ไปรับอุ้มบุญในท้องที่สน.ลุมพินี ซึ่งต้องรอให้ทากระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ในวันนี้ เวลา 10.00 น. หลังจากมีการแจ้งความร้องทุกข์ก็สามารถออกหมายเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องและรวมรวมพยานหลักฐานดำเนินคดีได้ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขมีข้อมูลผู้ที่เข้าข่ายประทำผิดเหล่านี้อยู่แล้ว ตำรวจก็สามารถดำเนินการได้ทันที
ส่วนที่สอง ในท้องที่ สน.ลาดพร้าว ที่มีการค้นคอนโดและพบเด็กทารกจำนวน 9 คน ในส่วนนี้ผู้ที่เกี่ยวข้อง อาจเข้าข่ายความผิดพรากผู้เยาว์ กักขังหน่วงเหนี่ยว ค้ามนุษย์ ปลอมและใช้เอกสารปลอม แจ้งความเท็จ ใช้เอกสารอันเป็นเท็จในการแจ้งเกิด เป็นต้น ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมพยานหลักฐานว่าจะเข้าองค์ประกอบความผิดไหนบ้าง ตอนนี้ได้สั่งการให้ทุกสถานีตำรวจที่เกี่ยวข้องหาข้อมูลพยานหลักฐานทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคลต่างๆ ให้ครบถ้วน
***สืบสวนเข้าข่ายค้ามนุษย์หรือไม่
พล.ต.ท.ก่อเกียรติ กล่าวอีกว่า ในส่วนของนายมิตสุโตกิ ชิเกตะ ที่อ้างตัวว่าเป็นพ่อก่อนหน้านี้ถึงตอนนี้ยังไม่ปรากฎความผิด อยากให้มาให้ถ้อยคำในเรื่องที่เกิดขึ้นว่าจะนำเด็กไปทำอะไร หากไม่มาให้ถ้อยคำแล้วพบข้อมูลว่ามีพฤติกรรมนำเด็กไปหาผลประโยชน์ก็จะเข้าข่ายความผิดฐานค้ามนุษย์ได้ ซึ่งตำรวจก็จะรวบรวมพยานหลักฐานแจ้งข้อกล่าวหา และออกหมายจับได้ อย่างไรก็ตาม ได้พยายามที่จะประสานงานเพื่อให้รู้ว่าเด็กที่ถูกนำตัวออกไปก่อนหน้านี้ ตอนนี้มีความเป็นอยู่อย่างไร เอาเด็กออกไปทำอะไร ซึ่งก็พยายามในการประสานงานทุกทางให้ได้ข้อมูล สำหรับนางยาสุโกะ ชิเกตะ ที่เดินทางมาพร้อมกับนายมิตสุโตกินั้นยังไม่มีหลักฐานอะไรเชื่อมโยงว่า มีความสัมพันธ์อย่างไรเข้ามาเกี่ยวข้องในส่วนไหนอยู่ระหว่างการตรวจสอบ
***แจ้งความออลไอวีเอฟคลีนิก
พ.ต.อ.เดชา พรหมสุวรรณ พนักงานสอบสวนผู้ทรงคุณวุฒิ กล่าวว่า ตนได้รับการประสานจากนายชาตรี พินใย ตัวแทนของกรมส่งเสริมบริการสุภาพ ว่าจะเดินทางเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับทาง ออลไอวีเอฟ คลีนิก ซึ่งตั้งอยู่ภายในโรงแรมย่านเพลินจิต ตามความผิดฐาน พ.ร.บ.สถานพยาบาล ในข้อหา "ประกอบกิจการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาตและปล่อยให้ผู้ประกอบวิชาชีพไม่ปฎิบัติตามกฎหมายวิชาชีพตามเวชกรรม" ในเบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่จะทำการออกหมายเรียกตัวเพื่อนำตัวมาสอบสวน หากไม่มาก็จะขออนุมัติศาลออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
***แม่อุ้มบุญขอหยุดพูดเว้นเจอกันทุกฝ่าย
น.ส.ภัทรมล จันทร์บัว แม่อุ้มบุญ กล่าวภายหลังพาน้องแกรมมี่กลับจากโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา มาพักที่บ้านในอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ว่า จะไม่ขอพูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะครอบครัวชาวออสเตรเลียที่กล่าวหาตน เพียงขอให้เสนอข่าวเกี่ยวกับชีวิตครอบครัว และความเป็นอยู่ของน้องแกรมมี่เท่านั้นก็พอ แต่ถ้าจะให้พูดอีก ก็ขอให้ทุกฝ่ายมาพบกันเลย ทั้งครอบครัวชาวออสเตรเลีย เอเจนซี่ และตนเอง จะได้ชี้แจงใครผิดใครถูก