ASTVผู้จัดการรายวัน-พ่อค้าแม่ค้าหัวหินร้อง คสช. จัดระเบียบทำเดือดร้อน ไม่ยุติธรรม ไล่รื้อรายเล็ก แต่ขาใหญ่ผุดอาคารถาวรบนชายหาดได้ ผู้ว่าฯ กินแห้ว หลังขนกำลังลงพื้นที่ กะรื้อถอน แต่เจ้าของไม่อยู่ นัดเจรจาใหม่วันนี้ พร้อมเพิ่มมาตรการคุมราคาอาหาร หลังบิลมหาโหดแพร่ว่อนสื่อโซเชียลมีเดีย นายอำเภอเผยเดิมดีเดย์ 7 ส.ค. แต่ผ่อนผันให้ เพราะอ้างหารายได้วันหยุดยาว โลกออนไลน์ซัดหากินบนที่สาธารณะ ขายของไม่ต่างกรรโชกทรัพย์ บางรายถึงขั้นรณรงค์เลิกไปเที่ยว
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (13 ส.ค.) ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ชั่วคราว ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พ่อค้าแม่ค้าชายหาดหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 53 คน นำโดยน.ส.จงกลนี ฤทธิยงค์ มาเพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้าคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) หลังได้ความเดือดร้อนจากคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอหัวหิน ที่สั่งรื้อถอนซุ้มขายอาหารบริเวณชายหาดตลอดแนว อ.หัวหิน โดยแจ้งว่าเป็นคำสั่งของคสช. โดยมีแผงค้า 5 กลุ่ม ประมาณ 160 ร้านค้าได้รับความเดือดร้อน ซึ่งนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชนเป็นผู้รับหนังสือ และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล
น.ส.จงกลนีกล่าวว่า การรื้อถอนร้านค้าริมชายหาด แม้มีสถานทดแทนให้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะอยู่ไกลจากชายหาด 250 เมตร อีกทั้งรื้อถอนแต่ซุ้มขายอาหารขนาดเล็ก แต่อาคารถาวร ตั้งอยู่บนชายหาดกลับไม่รื้อถอน จึงขอให้ คสช. ช่วยพิจารณาเรื่องการจัดระเบียบ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอหัวหินด้วย
ส่วนข่าวเรื่องร้านค้าริมชายหาดขายอาหารราคาแพง เนื่องจากไม่มีราคากลางเป็นมาตรฐานนั้น เคยเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อนแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับว่าอาจมีบางร้านที่มีราคาสูงเกินจริง จึงอยากให้ตั้งราคากลางให้ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติ มีผู้เผยแพร่บิลค่าอาหาร 7,480 บาท ของร้านค้าแห่งหนึ่งที่ชายหาดหัวหินผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์ค รวมทั้งแจ้งความดำเนินคดีเมื่อค่ำวันที่ 12 ส.ค. ต่อมามีการเจรจาไกล่เกลี่ย จนนางบุษบา พราหมณ์โต เจ้าของร้านยอมขอโทษนักท่องเที่ยว และได้ลงประจำวันยุติการแจ้งความ ซึ่งพล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี ซึ่งมีแนวโน้มว่าหากยังขายแพงอย่างที่เป็นอยู่ อาจไม่อนุญาตให้ขายอาหารอีกหลังจัดระเบียบชายหาดหัวหินเสร็จ เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
วันเดียวกัน นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.สมพงษ์ ไทรงาม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 นายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน เจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัด สาขาหัวหิน ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 15 ตำรวจสภ.หัวหิน ตำรวจท่องเที่ยวหัวหิน คณะกรรมการจัดระเบียบชายหาดหัวหิน ประชุมสรุปแนวทางจัดระเบียบดีเดย์รื้อสิ่งปลูกสร้าง ร่ม เตียงผ้าใบที่รุกล้ำชายหาด โดยการรื้อถอนจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ เทศบาลเมืองหัวหิน ซึ่งตามข้อตกลงฝ่ายผู้ประกอบยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวชายหาด
แต่เมื่อนายวีระนำคณะพร้อมเครื่องจักรกลมาที่ชายหาด พบว่า 66 รายที่ต้องรื้อถอน มีเพียงรายเดียวที่ปฏิบัติตาม ที่เหลืออ้างว่าเจ้าของร้านไปร้องเรียนต่อ คสช. นายวีระจึงหารือกับพล.ต.สมพงษ์ ว่า จะะมาชี้แจงให้รื้อถอนอีกครั้งวันที่ 14 ส.ค. เพราะชายหาดเป็นที่สาธารณะ ห้ามบุคคลครอบครอง อีกทั้งการจัดระเบียบเป็นไปตามนโยบายของ คสช. โดยเบื้องต้นจะไม่ให้ประกอบอาหารที่ชายหาด กำหนดทางเดินชายหาด กำหนดพื้นที่สำหรับกางเต๊นท์ และวางเตียงผ้าใบให้ชัดเจน
นายวีระกล่าวว่า นอกจากการจัดระเบียบแล้ว ยังต้องดูเรื่องมาตรฐานราคาอาหาร ซึ่งถือว่ากระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยต้องทำข้อตกลงร่วมกันทุกฝ่าย ทำป้ายราคากลางกลางติดตั้งบริเวณชายหาด โดยให้การค้าภายในจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมมาประจำที่ชายหาดหัวหิน เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวด้วย
ด้านนายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน กล่าวว่า ได้ผ่อนผันการรื้อถอนให้ตามที่ผู้ประกอบการขอจากเดิมวันที่ 7 ส.ค. โดยอ้างว่ามีช่วงหยุดยาวหลายวัน แต่กลับมีปัญหาอาหารราคาแพงอีก ส่วนการจัดระเบียบ ไม่เกี่ยวกับอาหารแพง และไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะไปร้อง คสช .เนื่องจากชายหาดเป็นที่สาธารณะ ที่ผ่านมา บุกรุกทำกิน มีความผิดตามตามประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 มาตรา 9 มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่ชายหาดหัวหิน และเห็นการเก็บร่ม เตียง ผ้าใบออกไป จนเห็นชายหาดเป็นบริเวณกว้าง ต่างกล่าวว่า ในรอบกว่า 10 ปีไม่เคยเห็นแบบนี้ จึงอยากให้เป็นแบบนี้ตลอดไป เพราะชายหาดเป็นที่สาธารณะ ส่วนราคาอาหารนหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหามาตรการจัดการไม่ให้นักท่องเที่ยวเอาเปรียบอีก
ทั้งนี้ เมื่อปี 2551 เจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกชายหาดหัวหิน 18 ราย ตามพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 แต่ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิพากษายกฟ้องทุกราย ล่าสุดเทศบาลเมืองหัวหิน ดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดหัวหิน โดยมีคำสั่งศาลให้ผู้บุกรุกบางรายออกจากพื้นที่ แต่กลับต่อสู้คดีโดยยอมเสียค่าปรับ
ขณะเดียวกัน ข่าวราคาอาหารแพงและการจัดระเบียบชายหาด ทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นจำนวนมาก อาทิ "ทำผิดกฏหมายโดยการค้ากำไรเกินควร ทำไมจังหวัดและตำรวจท้องที่ถึงได้ปล่อยไว้ ไม่จัดการตามกฏหมาย ปล่อยให้นักท่องเที่ยวเดือดร้อน ราคาแบบนี้มันเป็นการขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยซ้ำไป ร้านอาหารแบบนี้มีทั่วไปตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ผู้รับผิดชอบไม่สนใจเพราะมีส่วนได้ส่วนเสีย ช่วยจัดการให้หมดไปจากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศด้วย"
"ถ้าทำมาหากินสุจริตจะไม่ว่าเลยแม่ค้าเหล่านี้ แต่นี่ยึดชายหาดสาธารณะ ไม่ทราบเคยเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ เอาเปรียบผู้ค้าขายและผู้เสียภาษีบำรุงประเทศคนอื่นมากไปมั๊ย ในเมื่อสวัสดิการอื่นๆของรัฐฯก็เท่าเทียมกัน คิดราคามหาโหดกับประชาชนหาเช้ากินค่ำ ที่นานๆจะมีวันหยุดไปตากอากาศในประเทศไทย คุณสมชายจัดไปเพื่อความยุติธรรมปราศจากมาเฟียด่วน"
"ยังไงก็ขอเรียนเชิญพี่-น้องและญาติ-มิตรรวมทั้งผองเพื่อนทั้งหลาย รณณรงค์เลิกเที่ยวหัวหิน ที่อื่นๆมีเยอะแยะที่แม่ค้าซื่อสัตย์"
"ปัญหาเรื้อรังมานานนับสิบๆ ปีแล้ว ร้านค้าปลูกรุกล้ำลงไปในทะเล ตั้งแต่ศาลเจ้าแม่ทับทิมไปถึงสะพานปลาด้วยน่าจะถูกรื้อด้วย"
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (13 ส.ค.) ที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ชั่วคราว ชั้น 1 สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) พ่อค้าแม่ค้าชายหาดหัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 53 คน นำโดยน.ส.จงกลนี ฤทธิยงค์ มาเพื่อยื่นหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และหัวหน้าคณะรักษาความสบแห่งชาติ (คสช.) หลังได้ความเดือดร้อนจากคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอหัวหิน ที่สั่งรื้อถอนซุ้มขายอาหารบริเวณชายหาดตลอดแนว อ.หัวหิน โดยแจ้งว่าเป็นคำสั่งของคสช. โดยมีแผงค้า 5 กลุ่ม ประมาณ 160 ร้านค้าได้รับความเดือดร้อน ซึ่งนายสุขสวัสดิ์ สุวรรณวงศ์ หัวหน้าฝ่ายประสานมวลชนเป็นผู้รับหนังสือ และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแล
น.ส.จงกลนีกล่าวว่า การรื้อถอนร้านค้าริมชายหาด แม้มีสถานทดแทนให้ แต่ไม่เหมาะสม เพราะอยู่ไกลจากชายหาด 250 เมตร อีกทั้งรื้อถอนแต่ซุ้มขายอาหารขนาดเล็ก แต่อาคารถาวร ตั้งอยู่บนชายหาดกลับไม่รื้อถอน จึงขอให้ คสช. ช่วยพิจารณาเรื่องการจัดระเบียบ รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอหัวหินด้วย
ส่วนข่าวเรื่องร้านค้าริมชายหาดขายอาหารราคาแพง เนื่องจากไม่มีราคากลางเป็นมาตรฐานนั้น เคยเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดไปก่อนแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินการใดๆ โดยยอมรับว่าอาจมีบางร้านที่มีราคาสูงเกินจริง จึงอยากให้ตั้งราคากลางให้ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน
รายงานข่าวแจ้งว่า ช่วงเทศกาลวันแม่แห่งชาติ มีผู้เผยแพร่บิลค่าอาหาร 7,480 บาท ของร้านค้าแห่งหนึ่งที่ชายหาดหัวหินผ่านทางโซเชียล เน็ตเวิร์ค รวมทั้งแจ้งความดำเนินคดีเมื่อค่ำวันที่ 12 ส.ค. ต่อมามีการเจรจาไกล่เกลี่ย จนนางบุษบา พราหมณ์โต เจ้าของร้านยอมขอโทษนักท่องเที่ยว และได้ลงประจำวันยุติการแจ้งความ ซึ่งพล.ต.ต.ธเนษฐ สุนทรสุข ผบก.ภ.จว.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ได้พูดคุยกับผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 จ.เพชรบุรี ซึ่งมีแนวโน้มว่าหากยังขายแพงอย่างที่เป็นอยู่ อาจไม่อนุญาตให้ขายอาหารอีกหลังจัดระเบียบชายหาดหัวหินเสร็จ เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
วันเดียวกัน นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พล.ต.สมพงษ์ ไทรงาม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 นายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน นายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน เจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่ที่ดินจังหวัด สาขาหัวหิน ทหารจากมณฑลทหารบกที่ 15 ตำรวจสภ.หัวหิน ตำรวจท่องเที่ยวหัวหิน คณะกรรมการจัดระเบียบชายหาดหัวหิน ประชุมสรุปแนวทางจัดระเบียบดีเดย์รื้อสิ่งปลูกสร้าง ร่ม เตียงผ้าใบที่รุกล้ำชายหาด โดยการรื้อถอนจะใช้กำลังเจ้าหน้าที่เทศกิจ เทศบาลเมืองหัวหิน ซึ่งตามข้อตกลงฝ่ายผู้ประกอบยอมรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตลอดแนวชายหาด
แต่เมื่อนายวีระนำคณะพร้อมเครื่องจักรกลมาที่ชายหาด พบว่า 66 รายที่ต้องรื้อถอน มีเพียงรายเดียวที่ปฏิบัติตาม ที่เหลืออ้างว่าเจ้าของร้านไปร้องเรียนต่อ คสช. นายวีระจึงหารือกับพล.ต.สมพงษ์ ว่า จะะมาชี้แจงให้รื้อถอนอีกครั้งวันที่ 14 ส.ค. เพราะชายหาดเป็นที่สาธารณะ ห้ามบุคคลครอบครอง อีกทั้งการจัดระเบียบเป็นไปตามนโยบายของ คสช. โดยเบื้องต้นจะไม่ให้ประกอบอาหารที่ชายหาด กำหนดทางเดินชายหาด กำหนดพื้นที่สำหรับกางเต๊นท์ และวางเตียงผ้าใบให้ชัดเจน
นายวีระกล่าวว่า นอกจากการจัดระเบียบแล้ว ยังต้องดูเรื่องมาตรฐานราคาอาหาร ซึ่งถือว่ากระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก โดยต้องทำข้อตกลงร่วมกันทุกฝ่าย ทำป้ายราคากลางกลางติดตั้งบริเวณชายหาด โดยให้การค้าภายในจังหวัด พาณิชย์จังหวัด และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคดำเนินการ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรมมาประจำที่ชายหาดหัวหิน เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวด้วย
ด้านนายพรชัย ถมกระจ่าง นายอำเภอหัวหิน กล่าวว่า ได้ผ่อนผันการรื้อถอนให้ตามที่ผู้ประกอบการขอจากเดิมวันที่ 7 ส.ค. โดยอ้างว่ามีช่วงหยุดยาวหลายวัน แต่กลับมีปัญหาอาหารราคาแพงอีก ส่วนการจัดระเบียบ ไม่เกี่ยวกับอาหารแพง และไม่มีเหตุผลเพียงพอที่จะไปร้อง คสช .เนื่องจากชายหาดเป็นที่สาธารณะ ที่ผ่านมา บุกรุกทำกิน มีความผิดตามตามประมวลกฎหมายที่ดิน 2497 มาตรา 9 มาตรา 108 และมาตรา 108 ทวิ โทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาที่ชายหาดหัวหิน และเห็นการเก็บร่ม เตียง ผ้าใบออกไป จนเห็นชายหาดเป็นบริเวณกว้าง ต่างกล่าวว่า ในรอบกว่า 10 ปีไม่เคยเห็นแบบนี้ จึงอยากให้เป็นแบบนี้ตลอดไป เพราะชายหาดเป็นที่สาธารณะ ส่วนราคาอาหารนหน่วยงานที่รับผิดชอบต้องหามาตรการจัดการไม่ให้นักท่องเที่ยวเอาเปรียบอีก
ทั้งนี้ เมื่อปี 2551 เจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกชายหาดหัวหิน 18 ราย ตามพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย 2456 แต่ศาลจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พิพากษายกฟ้องทุกราย ล่าสุดเทศบาลเมืองหัวหิน ดำเนินคดีตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 2522 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดหัวหิน โดยมีคำสั่งศาลให้ผู้บุกรุกบางรายออกจากพื้นที่ แต่กลับต่อสู้คดีโดยยอมเสียค่าปรับ
ขณะเดียวกัน ข่าวราคาอาหารแพงและการจัดระเบียบชายหาด ทำให้มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นทางเว็บไซต์ www.manager.co.th เป็นจำนวนมาก อาทิ "ทำผิดกฏหมายโดยการค้ากำไรเกินควร ทำไมจังหวัดและตำรวจท้องที่ถึงได้ปล่อยไว้ ไม่จัดการตามกฏหมาย ปล่อยให้นักท่องเที่ยวเดือดร้อน ราคาแบบนี้มันเป็นการขู่กรรโชกทรัพย์ด้วยซ้ำไป ร้านอาหารแบบนี้มีทั่วไปตามแหล่งท่องเที่ยว แต่ผู้รับผิดชอบไม่สนใจเพราะมีส่วนได้ส่วนเสีย ช่วยจัดการให้หมดไปจากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั่วประเทศด้วย"
"ถ้าทำมาหากินสุจริตจะไม่ว่าเลยแม่ค้าเหล่านี้ แต่นี่ยึดชายหาดสาธารณะ ไม่ทราบเคยเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ เอาเปรียบผู้ค้าขายและผู้เสียภาษีบำรุงประเทศคนอื่นมากไปมั๊ย ในเมื่อสวัสดิการอื่นๆของรัฐฯก็เท่าเทียมกัน คิดราคามหาโหดกับประชาชนหาเช้ากินค่ำ ที่นานๆจะมีวันหยุดไปตากอากาศในประเทศไทย คุณสมชายจัดไปเพื่อความยุติธรรมปราศจากมาเฟียด่วน"
"ยังไงก็ขอเรียนเชิญพี่-น้องและญาติ-มิตรรวมทั้งผองเพื่อนทั้งหลาย รณณรงค์เลิกเที่ยวหัวหิน ที่อื่นๆมีเยอะแยะที่แม่ค้าซื่อสัตย์"
"ปัญหาเรื้อรังมานานนับสิบๆ ปีแล้ว ร้านค้าปลูกรุกล้ำลงไปในทะเล ตั้งแต่ศาลเจ้าแม่ทับทิมไปถึงสะพานปลาด้วยน่าจะถูกรื้อด้วย"