ASTVผู้จัดการรายวัน-คมนาคมนัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์วันนี้ พิจารณาแผนซ่อมบำรุงใหญ่ ยันไม่กระทบเรื่องความปลอดภัยในการให้บริการ ตั้งงบซ่อมบำรุง 380 ล้าน ชง คสช. เคาะ นำร่องซ่อมระบบรางเริ่มส.ค.นี้ ส่วนซ่อมใหญ่ เตรียมว่าจ้าง "ซีเมนส์" เข้ามาดูแล
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (14 ส.ค.) จะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เพื่อตรวจสอบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด โดยจะให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นอันดับแรก ซึ่งขณะนี้มีแผนซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์อยู่แล้วโดยกำหนดไว้ที่ 1.32 ล้านกิโลเมตร แต่ปัจจุบันรถแอร์พอร์ตลิงค์ทั้ง 9 ขบวนใช้งานมาแล้วประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร ยังไม่ถึงเกณฑ์ และจะนำข้อสังเกตของนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่ารถไฟแอร์พอร์ตลิงค์เลยกำหนดการซ่อมบำรุงปกติแล้ว แต่ยังคงให้บริการตามปกติมาพิจารณาด้วย
"ตอนนี้ยังไม่ถึงเกณฑ์การซ่อมบำรุงใหญ่ แต่ก็ได้มีการเตรียมการไว้แล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมว่าจ้างบริษัท ซีเมนส์ เข้ามาดำเนินการซ่อมบำรุงระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งหมด เช่น ระบบเบรก ระบบขับเคลื่อน ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเรื่องงบประมาณในการซ่อมบำรุงแต่อย่างใด"นางสร้อยทิพย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเดือนส.ค. จะมีการซ่อมบำรุงในส่วนของรางก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างประสานกับทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เพื่อเช่าอุปกรณ์เครื่องมือในการซ่อมราง เช่น เครื่องเจียงราง มาใช้
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ปัจจุบันรถทั้ง 9 ขบวน อยู่ในสภาพใช้งานได้ทั้งหมด โดยวิ่ง 8 ขบวน สำรอง 1 ขบวน ตามมาตรฐานการให้บริการ และได้มีการนำขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express) ซึ่งมีผู้โดยสารน้อยมาวิ่งเสริมในเส้นทางรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) 1 ขบวนในช่วงเร่งด่วน เช้า (06.00-09.00น.) และเย็น (16.00 น.-20.00น.) เพื่อเพิ่มความถี่และลดเวลารอของผู้โดยสาร
สำหรับแผนซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ มีวงเงินประมาณ 380 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอแผนให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาก่อน เนื่องจากวงเงินโครงการเกิน 100 ล้านบาท
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า แม้จะเข้าสู่ช่วงการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ แต่ยืนยันได้ว่า การให้บริการยังคงมีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ส่วนการซ่อมบำรุงจะเริ่มที่ระบบรางก่อน โดยจะดำเนินการช่วงที่ไม่มีการให้บริการ คือ หลังเที่ยงคืนถึงตี 4 และในระหว่างนี้ จะลดความเร็วรถลงเหลือสูงสุดไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. และลดความเร็วเป็นพิเศษบริเวณทางโค้งลาดกระบังก่อนเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเป็นโค้งหักศอก ส่วนการซ่อมใหญ่ (Overhaul) อยู่ในกระบวนการว่าจ้างบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบและรถไฟฟ้าให้ดำเนินการ
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (14 ส.ค.) จะเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เพื่อตรวจสอบรายละเอียดของโครงการทั้งหมด โดยจะให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นอันดับแรก ซึ่งขณะนี้มีแผนซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์อยู่แล้วโดยกำหนดไว้ที่ 1.32 ล้านกิโลเมตร แต่ปัจจุบันรถแอร์พอร์ตลิงค์ทั้ง 9 ขบวนใช้งานมาแล้วประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร ยังไม่ถึงเกณฑ์ และจะนำข้อสังเกตของนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ที่ระบุว่ารถไฟแอร์พอร์ตลิงค์เลยกำหนดการซ่อมบำรุงปกติแล้ว แต่ยังคงให้บริการตามปกติมาพิจารณาด้วย
"ตอนนี้ยังไม่ถึงเกณฑ์การซ่อมบำรุงใหญ่ แต่ก็ได้มีการเตรียมการไว้แล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนเตรียมว่าจ้างบริษัท ซีเมนส์ เข้ามาดำเนินการซ่อมบำรุงระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทั้งหมด เช่น ระบบเบรก ระบบขับเคลื่อน ซึ่งไม่ได้มีปัญหาเรื่องงบประมาณในการซ่อมบำรุงแต่อย่างใด"นางสร้อยทิพย์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ในเดือนส.ค. จะมีการซ่อมบำรุงในส่วนของรางก่อน ซึ่งอยู่ระหว่างประสานกับทาง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เพื่อเช่าอุปกรณ์เครื่องมือในการซ่อมราง เช่น เครื่องเจียงราง มาใช้
นางสร้อยทิพย์กล่าวว่า ปัจจุบันรถทั้ง 9 ขบวน อยู่ในสภาพใช้งานได้ทั้งหมด โดยวิ่ง 8 ขบวน สำรอง 1 ขบวน ตามมาตรฐานการให้บริการ และได้มีการนำขบวนรถไฟฟ้าด่วน (Express) ซึ่งมีผู้โดยสารน้อยมาวิ่งเสริมในเส้นทางรถไฟฟ้าธรรมดา (City Line) 1 ขบวนในช่วงเร่งด่วน เช้า (06.00-09.00น.) และเย็น (16.00 น.-20.00น.) เพื่อเพิ่มความถี่และลดเวลารอของผู้โดยสาร
สำหรับแผนซ่อมบำรุงใหญ่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ มีวงเงินประมาณ 380 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอแผนให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาก่อน เนื่องจากวงเงินโครงการเกิน 100 ล้านบาท
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า แม้จะเข้าสู่ช่วงการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ แต่ยืนยันได้ว่า การให้บริการยังคงมีความปลอดภัยตามมาตรฐาน ส่วนการซ่อมบำรุงจะเริ่มที่ระบบรางก่อน โดยจะดำเนินการช่วงที่ไม่มีการให้บริการ คือ หลังเที่ยงคืนถึงตี 4 และในระหว่างนี้ จะลดความเร็วรถลงเหลือสูงสุดไม่เกิน 120 กม.ต่อชม. และลดความเร็วเป็นพิเศษบริเวณทางโค้งลาดกระบังก่อนเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากเป็นโค้งหักศอก ส่วนการซ่อมใหญ่ (Overhaul) อยู่ในกระบวนการว่าจ้างบริษัท ซีเมนส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตระบบและรถไฟฟ้าให้ดำเนินการ