ASTVผู้จัดการรายวัน - “วัชระ” บี้ บอร์ดรฟท.เดินตามมติเก่า ซ่อมบำรุงใหญ่แอร์พอร์ตลิงค์ 300 ล้าน เปิดประมูลแทนวิธีพิเศษ ขู่ไม่รับฟังเตรียมร้องต่อคสช.-ป.ป.ช.สอบ บอร์ดร.ฟ.ท.สั่งประมูล อีออกชั่นซ่อมใหญ่ แอร์พอร์ตลิ้งค์ 17 ระบบ ตามคู่มือ วงเงิน 385 ล. ชี้โปร่งใสตรวจสอบได้มากกว่าใช้วิธีพิเศษจ้างซีเมนส์ พร้อมกำชับให้เร่งซ่อมด่วนในส่วนที่จำเป็นไปก่อนระหว่างรอซ่อมใหญ่เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในวันนี้ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการการรถไฟ เพื่อขอให้มีมติใช้วิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการอิเลคทรอนิกส์ในโครงการว่าจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ทั้ง9 ขบวน ตามมติของคณะกรรมการฯเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2556 เพราะ โครงการดังกล่าวมีประเด็นที่ผิดปกติหลายประการ โดยมีความพยายามที่จะเปลี่ยนวิธีการประมูลมาใช้วิธีพิเศษแทนการประกวดราคา และปรับเพิ่มวงเงินของงานว่าจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ จากเดิม 300 ล้านบาทเป็น 386 ล้านบาทและรับประกันผลงาน3 ปี
นายวัชระกล่าวว่าโครงการนี้ต้องมีความล่าช้ามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ1 ปี เป็นเพราะหากรถไฟฟ้าวิ่งเกินระยะทางปลอดภัยระยะสุดท้ายแล้ว ผู้เกี่ยวข้องจะนำมาเป็นข้ออ้างในการเปลี่ยนวิธีการประมูล โดยว่าจ้างตรงกับบริษัทสาขาในประเทศไทยของผู้ผลิตรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ทำให้การรถไฟต้องปรับวงเงินตามที่บริษัทสาขาดังกล่าวเสนอมาใหม่ สูงขึ้น 86 ล้านบาทเนื่องจากไม่มีการแข่งขัน แต่ปริมาณงานกลับไม่ครอบคลุมระบบทั้งหมดจองรถไฟฟ้าที่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงใหญ่ในครั้งนี้
จากการติดตามพบว่าบริษัทได้ทำหนังสือถึงการรถไฟลงวันที่ 25 มิ.ย. 2557 เสนอทำการซ่อมบำรุงเพียง 4 ระบบ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 23 เดือน รับประกันผลงาน 1 ปี โดยบอร์ดการรถไฟมีการประชุมพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างในบ่ายวันที่ 19 ส.ค.
“ผมขอให้บอร์ดการรถไฟพิจารณาเลือกแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ทำให้การรถไฟเสียหาย สิ้นเปลือง งบจากการวิธีการที่ไม่โปร่งใส และขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่ใช้บริการเพราะหากผู้รับจ้างซ่อมไม่ได้ทำการซ่อมครบทุกระบบ(10 ระบบ) เมื่อเกิดความผิดปกติ หรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นกับระบบใดระบบนึ่ง ก็สามารถอ้างเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับจ้างปฏิเสธความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นได้ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการและบริษัทรถไฟฟ้า รวมถึงการรถไฟฯในฐานะผู้ให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต อย่างไรก็ตามหากบอร์ดยังเดินหน้าเรื่องนี้ต่อ ผมจะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ คสช. และ ป.ป.ช.เพื่อตรวจสอบถึงความโปร่งใสต่อไป”
นายวัชระยังกล่าวถึงปัญหาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไร้สภาและคณะกรรมาธิการมาทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจว่า ต้องยอมรับว่าลำบากที่จะติดตามตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส เพราะประชาชนคือเจ้าของรัฐาธิปัตย์ที่แท้จริง ดังนั้นอดีตส.ส.ทุกคนควรจะขยันทำการตรวจสอบมากเป็นกรณีพิเศษเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด และเรายังมีช่องทางในการตรวจสอบอีกทั้งคสช. และองค์กรอิสระอย่างป.ป.ช.
“อย่าคิดว่าเมื่อไม่มีสภา และกรรมาธิการคอยตรวจสอบแล้ว ฝ่ายข้าราชการประจำจะสามารถใช้วิธีพิเศษพิสดารอะไรก็ได้ เพราเงินแผ่นดินทุกสตางค์ต้องใช้อย่างโปร่งใสเหมือนที่หัวหน้าคสช.ได้ประกาศไว้กลางสภา”
***บอร์ดร.ฟ.ท.สั่งประมูล อีออกชั่นซ่อมใหญ่
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) ดำเนินการประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเลกทรอนิสก์ (อี-ออกชั่น)ในการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์วงเงิน 385.94 ล้านบาท ตามแผนคู่มือซึ่งจะมีการซ่อมบำรุง17 ระบบ (15 ระบบบวก 2 ระบบ( ระบบเบรคกับ V-mount หรือที่ยึดอุปกรณ์ช่วงล่าง) โดยมอบอำนาจให้แอร์พอร์ตลิ้งค์ไปดำเนินการเอง โดยกระบวนการอี ออกชั่นจะใช้เวลาประมาณ 100 วัน
ทั้งนี้บอร์ดเห็นว่าการอีออกชั่นเป็นวิธีที่โปร่งใสตรวจสอบได้ จากเดิมที่ให้จ้างพิเศษกับบริษัท ซีเมนส์ จำกัดเลย โดยในระหว่างรอการซ่อมใหญ่ ให้แอร์พอร์ตลิ้งค์ไปซ่อมบำรุงจุดที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
"ผมจะนัดหารือกับทางซีเมนส์ วันศุกร์ที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อให้ทางซีเมนส์ เร่งจัดหาอะไหล่ในส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเร่งด่วนก่อน ส่วนสภาพราง จะใช้รถตรวจสภาพและเจียงรางของ บริษัท บีทีเอสมาดำเนินการน่าจะเริ่มประมาณต้นเดือนกันยายนนี้ ส่วนตรงจุดทางโค้งบริเวณลาดกระบัง ถ้าเจียรรางแล้วไม่คุ้มก็ให้เปลี่ยนรางใหม่เลยเพราะมีสำรองอยู่แล้ว"
นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในวันนี้ตนจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการการรถไฟ เพื่อขอให้มีมติใช้วิธีการประกวดราคาด้วยวิธีการอิเลคทรอนิกส์ในโครงการว่าจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ทั้ง9 ขบวน ตามมติของคณะกรรมการฯเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2556 เพราะ โครงการดังกล่าวมีประเด็นที่ผิดปกติหลายประการ โดยมีความพยายามที่จะเปลี่ยนวิธีการประมูลมาใช้วิธีพิเศษแทนการประกวดราคา และปรับเพิ่มวงเงินของงานว่าจ้างซ่อมบำรุงใหญ่ จากเดิม 300 ล้านบาทเป็น 386 ล้านบาทและรับประกันผลงาน3 ปี
นายวัชระกล่าวว่าโครงการนี้ต้องมีความล่าช้ามาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ1 ปี เป็นเพราะหากรถไฟฟ้าวิ่งเกินระยะทางปลอดภัยระยะสุดท้ายแล้ว ผู้เกี่ยวข้องจะนำมาเป็นข้ออ้างในการเปลี่ยนวิธีการประมูล โดยว่าจ้างตรงกับบริษัทสาขาในประเทศไทยของผู้ผลิตรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ทำให้การรถไฟต้องปรับวงเงินตามที่บริษัทสาขาดังกล่าวเสนอมาใหม่ สูงขึ้น 86 ล้านบาทเนื่องจากไม่มีการแข่งขัน แต่ปริมาณงานกลับไม่ครอบคลุมระบบทั้งหมดจองรถไฟฟ้าที่จำเป็นต้องซ่อมบำรุงใหญ่ในครั้งนี้
จากการติดตามพบว่าบริษัทได้ทำหนังสือถึงการรถไฟลงวันที่ 25 มิ.ย. 2557 เสนอทำการซ่อมบำรุงเพียง 4 ระบบ ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 23 เดือน รับประกันผลงาน 1 ปี โดยบอร์ดการรถไฟมีการประชุมพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างในบ่ายวันที่ 19 ส.ค.
“ผมขอให้บอร์ดการรถไฟพิจารณาเลือกแนวทางที่ถูกต้อง ไม่ทำให้การรถไฟเสียหาย สิ้นเปลือง งบจากการวิธีการที่ไม่โปร่งใส และขอให้คำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่ใช้บริการเพราะหากผู้รับจ้างซ่อมไม่ได้ทำการซ่อมครบทุกระบบ(10 ระบบ) เมื่อเกิดความผิดปกติ หรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นกับระบบใดระบบนึ่ง ก็สามารถอ้างเป็นเหตุให้บริษัทผู้รับจ้างปฏิเสธความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นได้ จะส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการและบริษัทรถไฟฟ้า รวมถึงการรถไฟฯในฐานะผู้ให้บริการเดินรถแอร์พอร์ต อย่างไรก็ตามหากบอร์ดยังเดินหน้าเรื่องนี้ต่อ ผมจะยื่นหนังสือร้องเรียนต่อ คสช. และ ป.ป.ช.เพื่อตรวจสอบถึงความโปร่งใสต่อไป”
นายวัชระยังกล่าวถึงปัญหาที่บ้านเมืองอยู่ในสภาวะไร้สภาและคณะกรรมาธิการมาทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้เงินแผ่นดินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจว่า ต้องยอมรับว่าลำบากที่จะติดตามตรวจสอบเรื่องความโปร่งใส เพราะประชาชนคือเจ้าของรัฐาธิปัตย์ที่แท้จริง ดังนั้นอดีตส.ส.ทุกคนควรจะขยันทำการตรวจสอบมากเป็นกรณีพิเศษเข้าถึงแหล่งข้อมูลให้ได้มากที่สุด และเรายังมีช่องทางในการตรวจสอบอีกทั้งคสช. และองค์กรอิสระอย่างป.ป.ช.
“อย่าคิดว่าเมื่อไม่มีสภา และกรรมาธิการคอยตรวจสอบแล้ว ฝ่ายข้าราชการประจำจะสามารถใช้วิธีพิเศษพิสดารอะไรก็ได้ เพราเงินแผ่นดินทุกสตางค์ต้องใช้อย่างโปร่งใสเหมือนที่หัวหน้าคสช.ได้ประกาศไว้กลางสภา”
***บอร์ดร.ฟ.ท.สั่งประมูล อีออกชั่นซ่อมใหญ่
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดได้มีมติเห็นชอบให้บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) ดำเนินการประกวดราคาด้วยวิธีทางอิเลกทรอนิสก์ (อี-ออกชั่น)ในการซ่อมบำรุงใหญ่ (Overhaul) รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์วงเงิน 385.94 ล้านบาท ตามแผนคู่มือซึ่งจะมีการซ่อมบำรุง17 ระบบ (15 ระบบบวก 2 ระบบ( ระบบเบรคกับ V-mount หรือที่ยึดอุปกรณ์ช่วงล่าง) โดยมอบอำนาจให้แอร์พอร์ตลิ้งค์ไปดำเนินการเอง โดยกระบวนการอี ออกชั่นจะใช้เวลาประมาณ 100 วัน
ทั้งนี้บอร์ดเห็นว่าการอีออกชั่นเป็นวิธีที่โปร่งใสตรวจสอบได้ จากเดิมที่ให้จ้างพิเศษกับบริษัท ซีเมนส์ จำกัดเลย โดยในระหว่างรอการซ่อมใหญ่ ให้แอร์พอร์ตลิ้งค์ไปซ่อมบำรุงจุดที่มีความจำเป็นเร่งด่วน
"ผมจะนัดหารือกับทางซีเมนส์ วันศุกร์ที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อให้ทางซีเมนส์ เร่งจัดหาอะไหล่ในส่วนที่จำเป็นต้องเปลี่ยนเร่งด่วนก่อน ส่วนสภาพราง จะใช้รถตรวจสภาพและเจียงรางของ บริษัท บีทีเอสมาดำเนินการน่าจะเริ่มประมาณต้นเดือนกันยายนนี้ ส่วนตรงจุดทางโค้งบริเวณลาดกระบัง ถ้าเจียรรางแล้วไม่คุ้มก็ให้เปลี่ยนรางใหม่เลยเพราะมีสำรองอยู่แล้ว"