ASTVผู้จัดการรายวัน - ธนาคารกลางจีนพยายามอย่างหนักในการผลักดันในการเพิ่มสัดส่วนการใช้เงินหยวนในตลาดทุนโลก ทั้งการเปิดกว้างให้ค่าเงินหยวนเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงได้อย่างเสรีมากขึ้นโดยล่าสุด สามารถเคลื่อนไหวได้มากกว่า 2% จากเดิมที่ควบคุมไว้ไม่เกิน 1% ส่งผลให้การทำธุรกรรมต่างต่างผ่านอัตราแลกเปลี่ยน RMD ค่อนข้างจะเปิดเสรี องค์กรต่างๆจะได้รับความสะดวกมากขึ้น
ตามมาด้วย โครงการนำร่องของจีนแผ่นดินใหญ่สำหรับการเปิดเสรีภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการเงินการธนาคาร ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนและอัตราดอกเบี้ยให้เคลื่อนไหวอิงกับกลไกตลาดมากขึ้น หรือ FTZ ในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ก็จะขยายไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศ
ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์จีน FTZ ครอบคลุมพื้นที่ 29 ตารางกิโลเมตรในเขตผู่ตงของนครเซี่ยงไฮ้ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือสนามบินนานาชาติ ท่าเรือน้ำลึกหยางชาน พื้นที่โลจิสติกส์ และเขตปลอดภาษีเหว่ยเกาเฉียว รองรับการตั้งบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทร่วมทุน รวมถึงสถาบันการเงินของเอกชน ซึ่งจะถือเป็นการพลิกโฉมภาคการธนาคารของจีนที่ปัจจุบันมีธนาคารรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าตลาดซึ่งตามการรายงานของ บลูมเบิร์ก ขณะนี้สถาบันการเงินข้ามชาติที่แสดงความสนใจเข้าไปตั้งฐานใน FTZ ได้แก่ ซิตี้กรุ๊ป เอสเอชบีซี และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
การดึงดูดธนาคารระหว่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในเซี่ยงไฮ้เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เมืองดังกล่าว ก้าวมาเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกได้ภายในปี 2563 ตามแผนขับเคลื่อนการเติบโตของนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ต้องการเห็นเศรษฐกิจจีนตั้งอยู่บนฐานการบริโภคและบริการ แทนที่จะเป็นการลงทุนและการส่งออกเช่นปัจจุบัน
**โปรแกรมจากส่วนกลาง.. เพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงิน
ความเสรีของตลาดทุนและความอิสระในการเคลื่อนไหวของเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้เซี่ยงไฮ้แสดงบทบาทศูนย์กลางการเงินได้อย่างสมบูรณ์ และส่งเสริมให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากขึ้น โดยรัฐบาลจีนได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการออกโปรแกรมที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงินจีน/ต่างชาติ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการการเปิดเสรีทางตลาดทุนตามลำดับขั้นของจีน ดังนี้
1) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินต่างชาติลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จีน
2) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินจีนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นอกจีนแผ่นดินใหญ่
***เปิดประตูตลาดทุนเซี่ยงไฮ้.. หนุนต่างชาติให้มีบทบาทในภาคการเงิน
ด้วยเงื่อนไขความพร้อมในด้านต่างๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ จึงส่งเสริมให้ตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้มีบทบาทในจีนมากกว่าตลาดทุนของกรุงปักกิ่งและเมืองเซินเจิ้น โดยรัฐบาลกลางจีนได้ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายให้นครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการเงินโลกของจีน และเพื่อเป็นการสนองตอบต่อเป้าหมายดังกล่าวของรัฐบาลกลาง รัฐบาลเซี่ยงไฮ้จึงได้พยายามจะออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนด้านธุรกิจการเงินจากวิสาหกิจต่างชาติอย่างต่อเนื่อง อาทิ
1) การออกพันธบัตรเงินหยวน (Yuan bonds)โดยวิสาหกิจต่างชาติ
2) การเปิดกระดานระหว่างประเทศ (International board) ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SSE)
ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่ยังไม่ได้รับข้อสรุป รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลก จึงทำให้ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ระงับการเปิดต่างประเทศไว้ชั่วคราว อย่างไรก็ดี แนวคิดการดำเนินนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการลดข้อจำกัดการควบคุมการไหลเวียนของเงินทุน และข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้จากวิสาหกิจต่างชาติ
***เมื่อถึงวันฝันเป็นจริงของเซี่ยงไฮ้.. ธุรกิจการเงินไทยได้ผลพวงอะไรบ้าง?
ในส่วนของประเทศไทยนั้น หากในอนาคตเซี่ยงไฮ้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกแล้ว ธุรกิจการค้าระหว่างไทยและเซี่ยงไฮ้จะมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีปริมาณไหลเวียนของเงินหยวนที่สามารถนำมาใช้ชำระเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารของไทยในจีนยังจะสามารถมีแหล่งระดมเงินทุนที่เป็นรูปเงินหยวนได้มากขึ้นด้วย อีกทั้งสามารถนำเงินหยวนที่มีไปลงทุนในตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้ได้ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของจีนผ่านเซี่ยงไฮ้ได้เช่นกัน
นายเมธี พรรณเชษฐ์ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินหยวนสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงเท่าเงินดอลลาร์ ผู้ประกอบการไทยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับเงินดอลลาร์ เงินหยวนจึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME จะช่วยเพิ่มราคาสินค้าได้มากขึ้นหากรัฐบาลจีนให้การส่งเสริม
ปัจจุบันสกุลเงินหยวนที่ทั่วโลกใช้ค้าขายกับจีนคิดเป็นสัดส่วน 10-20% แต่ไทยมีสัดส่วนแค่ 1% จึงเป็นเหตุให้ไทยต้องให้ความสำคัญกับเงินสกุลหยวนเพื่อประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญปัจจุบันจีนเป็นประเทศคู่ค้ากับไทยในอันดับ 1 ของหลายประเทศในโลก ทำให้เงินหยวนเริ่มเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น ปีที่ผ่านมาสกุลเงินหยวนขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 รองจากเงินดอลลาร์สหรัฐแล้ว
แม้สกุลเงินหยวนของจีนจะยังไม่ใช่สกุลเงินที่มีการรับแลกเปลี่ยนอย่างเสรี แต่ด้วยขนาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าของจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาบันการเงินหลักไม่สามารถละเลยการใช้เงินสกุลหยวน และในอนาคตมีโอกาสขยายช่องทางการค้าที่ชำระด้วยหยวนมากขึ้น โดยอัตราค่าความผันผวนระหว่างเงินบาทกับหยวนอยู่ที่ 0.5% หากเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยน เฉลี่ยมีอัตราค่าความผันผวนประมาณ 3% อีกทั้งทางการจีนได้ประกาศนโยบายสนับสนุนสกุลเงินหยวนมากขึ้นด้วย
ตามมาด้วย โครงการนำร่องของจีนแผ่นดินใหญ่สำหรับการเปิดเสรีภาคบริการ โดยเฉพาะด้านการเงินการธนาคาร ซึ่งรวมถึงการปฏิรูปอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนและอัตราดอกเบี้ยให้เคลื่อนไหวอิงกับกลไกตลาดมากขึ้น หรือ FTZ ในเขตการค้าเสรีเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ก็จะขยายไปยังเมืองอื่น ๆ ทั่วประเทศ
ตามข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์จีน FTZ ครอบคลุมพื้นที่ 29 ตารางกิโลเมตรในเขตผู่ตงของนครเซี่ยงไฮ้ ประกอบด้วย 4 ส่วน คือสนามบินนานาชาติ ท่าเรือน้ำลึกหยางชาน พื้นที่โลจิสติกส์ และเขตปลอดภาษีเหว่ยเกาเฉียว รองรับการตั้งบริษัทต่างชาติ หรือบริษัทร่วมทุน รวมถึงสถาบันการเงินของเอกชน ซึ่งจะถือเป็นการพลิกโฉมภาคการธนาคารของจีนที่ปัจจุบันมีธนาคารรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าตลาดซึ่งตามการรายงานของ บลูมเบิร์ก ขณะนี้สถาบันการเงินข้ามชาติที่แสดงความสนใจเข้าไปตั้งฐานใน FTZ ได้แก่ ซิตี้กรุ๊ป เอสเอชบีซี และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
การดึงดูดธนาคารระหว่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในเซี่ยงไฮ้เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยผลักดันให้เมืองดังกล่าว ก้าวมาเป็นศูนย์กลางการเงินระดับโลกได้ภายในปี 2563 ตามแผนขับเคลื่อนการเติบโตของนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ที่ต้องการเห็นเศรษฐกิจจีนตั้งอยู่บนฐานการบริโภคและบริการ แทนที่จะเป็นการลงทุนและการส่งออกเช่นปัจจุบัน
**โปรแกรมจากส่วนกลาง.. เพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงิน
ความเสรีของตลาดทุนและความอิสระในการเคลื่อนไหวของเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะผลักดันให้เซี่ยงไฮ้แสดงบทบาทศูนย์กลางการเงินได้อย่างสมบูรณ์ และส่งเสริมให้เงินหยวนมีความเป็นสากลมากขึ้น โดยรัฐบาลจีนได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการออกโปรแกรมที่จะช่วยเพิ่มช่องทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์สำหรับวิสาหกิจการเงินจีน/ต่างชาติ ซึ่งสะท้อนถึงพัฒนาการการเปิดเสรีทางตลาดทุนตามลำดับขั้นของจีน ดังนี้
1) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินต่างชาติลงทุนในตลาดหลักทรัพย์จีน
2) การส่งเสริมกลุ่มสถาบันการเงินจีนลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นอกจีนแผ่นดินใหญ่
***เปิดประตูตลาดทุนเซี่ยงไฮ้.. หนุนต่างชาติให้มีบทบาทในภาคการเงิน
ด้วยเงื่อนไขความพร้อมในด้านต่างๆ ของนครเซี่ยงไฮ้ จึงส่งเสริมให้ตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้มีบทบาทในจีนมากกว่าตลาดทุนของกรุงปักกิ่งและเมืองเซินเจิ้น โดยรัฐบาลกลางจีนได้ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายให้นครเซี่ยงไฮ้เป็นศูนย์กลางการเงินโลกของจีน และเพื่อเป็นการสนองตอบต่อเป้าหมายดังกล่าวของรัฐบาลกลาง รัฐบาลเซี่ยงไฮ้จึงได้พยายามจะออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการลงทุนด้านธุรกิจการเงินจากวิสาหกิจต่างชาติอย่างต่อเนื่อง อาทิ
1) การออกพันธบัตรเงินหยวน (Yuan bonds)โดยวิสาหกิจต่างชาติ
2) การเปิดกระดานระหว่างประเทศ (International board) ในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ (SSE)
ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจำกัดด้านกฎระเบียบที่ยังไม่ได้รับข้อสรุป รวมถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลก จึงทำให้ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ระงับการเปิดต่างประเทศไว้ชั่วคราว อย่างไรก็ดี แนวคิดการดำเนินนโยบายดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงก้าวสำคัญในการลดข้อจำกัดการควบคุมการไหลเวียนของเงินทุน และข้อจำกัดในการเข้าถึงตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้จากวิสาหกิจต่างชาติ
***เมื่อถึงวันฝันเป็นจริงของเซี่ยงไฮ้.. ธุรกิจการเงินไทยได้ผลพวงอะไรบ้าง?
ในส่วนของประเทศไทยนั้น หากในอนาคตเซี่ยงไฮ้สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการเงินโลกแล้ว ธุรกิจการค้าระหว่างไทยและเซี่ยงไฮ้จะมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีปริมาณไหลเวียนของเงินหยวนที่สามารถนำมาใช้ชำระเงินระหว่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ธนาคารของไทยในจีนยังจะสามารถมีแหล่งระดมเงินทุนที่เป็นรูปเงินหยวนได้มากขึ้นด้วย อีกทั้งสามารถนำเงินหยวนที่มีไปลงทุนในตลาดทุนของเซี่ยงไฮ้ได้ และสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เป็นการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของจีนผ่านเซี่ยงไฮ้ได้เช่นกัน
นายเมธี พรรณเชษฐ์ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ตลาดทุน สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินหยวนสามารถควบคุมได้ง่ายกว่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากไม่ต้องเผชิญความเสี่ยงกับอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงเท่าเงินดอลลาร์ ผู้ประกอบการไทยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับเงินดอลลาร์ เงินหยวนจึงกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME จะช่วยเพิ่มราคาสินค้าได้มากขึ้นหากรัฐบาลจีนให้การส่งเสริม
ปัจจุบันสกุลเงินหยวนที่ทั่วโลกใช้ค้าขายกับจีนคิดเป็นสัดส่วน 10-20% แต่ไทยมีสัดส่วนแค่ 1% จึงเป็นเหตุให้ไทยต้องให้ความสำคัญกับเงินสกุลหยวนเพื่อประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ ที่สำคัญปัจจุบันจีนเป็นประเทศคู่ค้ากับไทยในอันดับ 1 ของหลายประเทศในโลก ทำให้เงินหยวนเริ่มเข้ามามีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น ปีที่ผ่านมาสกุลเงินหยวนขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 รองจากเงินดอลลาร์สหรัฐแล้ว
แม้สกุลเงินหยวนของจีนจะยังไม่ใช่สกุลเงินที่มีการรับแลกเปลี่ยนอย่างเสรี แต่ด้วยขนาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าของจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้สถาบันการเงินหลักไม่สามารถละเลยการใช้เงินสกุลหยวน และในอนาคตมีโอกาสขยายช่องทางการค้าที่ชำระด้วยหยวนมากขึ้น โดยอัตราค่าความผันผวนระหว่างเงินบาทกับหยวนอยู่ที่ 0.5% หากเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร และเงินเยน เฉลี่ยมีอัตราค่าความผันผวนประมาณ 3% อีกทั้งทางการจีนได้ประกาศนโยบายสนับสนุนสกุลเงินหยวนมากขึ้นด้วย