ASTV ผู้จัดการรายวัน - แนะจับตาการทำธุรกรรมขนาดใหญ่ของบริษัทจดทะเบียน แหล่งทุนของผู้ถือหุ้นจับโยงใยนอมินี นักบัญชีคาดเทมาเส็กไม่ปล่อยอินทัช เหตุยังสามารถสร้างกำไรและมีศัยกภาพการแข่งขันในธุรกิจ
นายชวาลา เทียนประเสริฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงหลักการตรวจสอบบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า กฎเกณฑ์ที่ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ต.ล.วางไว้นั้นรัดกุม และเพียงพอแล้ว ขึ้นอยู่กับการนำกฎเกณฑ์ดังกล่าวไปปรับใช้ของแต่ละบริษัท
“กฏก็คือกฎ ย่อมมีทั้งผู้ที่ทำตามกฏอย่างเคร่งครัด และผู้ที่นำกฏเกณฑ์ไปปรับให้เอื้อประโยชน์เข้าหาตนเอง ดังนั้นการทำหน้าที่ตรวจสอบต้องใช้ทั้งหลักเกณฑ์ จรรยาบรรณ และวิจารณะญาณ รวมถึงระบบสารสนเทศในปัจจุบันที่เอื้อต่อการเรียกดูข้อมูลสำคัญทางการเงิน” นายชวาลา กล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ กล่าวถึงการตรวจสอบทางบัญชีกรณีการถือหุ้นแทนกัน หรือ นอมินี (nominee) ว่าเริ่มต้นจากการสอบบัญชีปกติ แต่จะเจาะลึกลงไปในจุดที่ผู้ตรวจสอบเห็นถึงความผิดปกติ เช่นความน่าจะเป็นของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุนเข้าซื้อหุ้น รวมถึงการแต่งบัญชีเพื่อสร้างตัวเลข
“ต้องแจกแจงคำว่า นอมินี ก่อนว่าเป็นการถือหุ้นโดยบุคคล องค์กร หรือกองทุน คือเมื่อพูดว่านอมินีไม่ได้หมายถึง “ไม่ดี” เสมอไป การเข้ามาถื่อหุ้นผ่านกองทุน และถือไว้เพื่อรับเงินปันผลโดยไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับระบบบัญชีก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฏหมาย แต่ถ้ามีการกระทำผิดกฏเราก็จะตรวจสอบพบได้ในที่สุด เพราะแม้ว่าผู้สอบบัญชีจะสามารถตรวจสอบบัญชีบริษัทได้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นได้ อย่างไรก็ตามเราก็จะดูแหล่งที่มาของเงิน คุณเอาเงินจากไหนมาซื้อหุ้นจำนวนนี้ การเคลื่อนไหวของธุรกรรมขนาดใหญ่ เช่นขายสินค้าไปให้บริษัทลูกแล้วบริษัทลูกจ่ายเงินหรือไม่ ฯลฯ คือในความเป็นจริงแล้วคุณแต่งบัญชีได้ แต่ปริมาณเงินสดคุณไม่สามารถแต่งได้ เพราะปริมาณเงินสดเป็นของจริงที่สามารถตรวจสอบได้” นายชวาลา กล่าว
นายชวาลา ยอมรับว่ารูปแบบการถือหุ้นแทน หรือ การทำนอมินีในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นรูปแบบการตรวจสอบจึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ลึงลงไปในรายละเอียด และความน่าจะเป็นของรายการทางบัญชีที่ปรากฏ โดยเฉพาะการเคลื่นอไหวของรายการขนาดใหญ่ ทั้งขายสินค้า การให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทแม่ และบริษัทลูก รวมถึงลักษณะการอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่คงที่
“การให้กู้เงิน เราต้องตั้งคำถามว่าทำไมไม่ไปกู้แบงก์ แล้วเมื่อกู้ไปแล้วลูกหนี้เอาเงินไปทำอะไร ส่งคืนหรือไม่ ส่งครบ ส่งตามกำหนดหรือไม่ คือมันต้องละเอียดลึกลงไป มาถึงการจ่ายเงินปันผลแม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่การจ่ายปันผลในลักษณะมาก - น้อยไม่คงที่ ก็ต้องเจาะเข้าไปว่าจ่ายมากเพราะบริษัทมีกำไรที่แท้จริงหรือไม่ จ่ายน้อยเพราะกำไรน้อยจริงหรือไม่ รวมถึงกรณีที่บริษัทมีสภาพคล่องส่วนเกินและไม่ต้องนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมก็สามารถนำมาจ่ายปันผลเพิ่มได้เช่นกัน ซึ่งก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียด” นายชวาลา กล่าว
กรณีที่มีข่าวว่าเทมาเส็กจะทยอยลดสัดส่วนในการถือหุ้นในบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ intuch ลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยายามกันตัวเองออกจากความขัดทางการเมืองไทยที่ส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์และราคาหุ้นของกลุ่ม นายชวาลา กล่าวว่า หากผู้ถือหุ้นต้องการที่จะขายทิ้งหุ้นอาจเกิดจาก 2 กรณี คือไม่สนใจลงทุนในธุรกิจดังกล่าวแล้ว หรือธุรกิจดังกล่าวใกล้ถึงจุดอิ่มตัวจึงต้องการขายทิ้งไปก่อน ดังนั้นหากหันกลับมาพิจารณาการลงทุนด้านโทรคมนาคมในไทยที่เกิดสะดุดชั่วคราว เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีมติให้เลื่อนการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz, 900MHz ออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งกดดันให้ราคาหุ้นในกลุ่มผู้ประกอบการให้บริการเครือข่ายมือถือปรับตัวลดลง รวมถึง ADVANC ซึ่งถือเป็นผู้ครองมาร์เกตแชร์เบอร์ 1 ในประเทศไทยนั้น ไม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการลงทุนยังต้องดำเนินต่อไป และเมื่อเกิดการพัฒนาเทคโนโยลีการสื่อสารระบบ 4G อย่างจริงจังภาพการแข่งขันอย่างรุนแรกจะกลับมา และคาดว่า ADVANC จะยังสามารถรักษามาร์เกตแชร์อันดับ 1 ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นการพิจารณาน่าจะอยู่ตรงการอนุมัติจ่ายเงินปันผลอย่างเหมาะสมต่อฐานะกำไรของบริษัท
“การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่จะบังคับให้บริษัทจ่ายเงินปันผลในอัตราที่มากกว่ากำไรปกตินั้นเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่บริษัทมีสภาพคล่องส่วนเกินมากและไม่ต้องนำเงินไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในระยะ 3 - 5 ปี เพราะส่วนใหญ่หากโครงการลงทุนเกิดชะงัก บริษัทจดทะเบียนนิยมนำเงินไปเก็บในรูปแบบที่สามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่าที่จะจ่ายออกมาเป็นปันผล เพราะเมื่อถึงเวลาต้องลงทุนการจะมาออกหุ้นกุ้เพื่อระดมเงินทุนกลับจากนักลงทุน ก็ต้องพิจารณาความสามารถในการทำกำไร ณ เวลานั้น รูปแบบการขายกิจการของผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่วนใหญ่ขายทิ้งเพราะธุรกิจนั้นใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เราก็สามารถตรวจสอบพบได้ คือศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่อง กรณีนี้มองว่าบริษัทดังกล่าวยังมีศัยภาพในการทำกำไร และธุรกิจสื่อสารก็ยังมีโอกาสอีกมาก” นายชวลา กล่าว
นายชวาลา เทียนประเสริฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงหลักการตรวจสอบบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า กฎเกณฑ์ที่ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ต.ล.วางไว้นั้นรัดกุม และเพียงพอแล้ว ขึ้นอยู่กับการนำกฎเกณฑ์ดังกล่าวไปปรับใช้ของแต่ละบริษัท
“กฏก็คือกฎ ย่อมมีทั้งผู้ที่ทำตามกฏอย่างเคร่งครัด และผู้ที่นำกฏเกณฑ์ไปปรับให้เอื้อประโยชน์เข้าหาตนเอง ดังนั้นการทำหน้าที่ตรวจสอบต้องใช้ทั้งหลักเกณฑ์ จรรยาบรรณ และวิจารณะญาณ รวมถึงระบบสารสนเทศในปัจจุบันที่เอื้อต่อการเรียกดูข้อมูลสำคัญทางการเงิน” นายชวาลา กล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบัญชี บริษัท ดีลอยท์ กล่าวถึงการตรวจสอบทางบัญชีกรณีการถือหุ้นแทนกัน หรือ นอมินี (nominee) ว่าเริ่มต้นจากการสอบบัญชีปกติ แต่จะเจาะลึกลงไปในจุดที่ผู้ตรวจสอบเห็นถึงความผิดปกติ เช่นความน่าจะเป็นของผู้ถือหุ้น แหล่งที่มาของเงินทุนเข้าซื้อหุ้น รวมถึงการแต่งบัญชีเพื่อสร้างตัวเลข
“ต้องแจกแจงคำว่า นอมินี ก่อนว่าเป็นการถือหุ้นโดยบุคคล องค์กร หรือกองทุน คือเมื่อพูดว่านอมินีไม่ได้หมายถึง “ไม่ดี” เสมอไป การเข้ามาถื่อหุ้นผ่านกองทุน และถือไว้เพื่อรับเงินปันผลโดยไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับระบบบัญชีก็ถือเป็นการกระทำที่ไม่ผิดกฏหมาย แต่ถ้ามีการกระทำผิดกฏเราก็จะตรวจสอบพบได้ในที่สุด เพราะแม้ว่าผู้สอบบัญชีจะสามารถตรวจสอบบัญชีบริษัทได้ แต่ไม่สามารถตรวจสอบบัญชีผู้ถือหุ้นได้ อย่างไรก็ตามเราก็จะดูแหล่งที่มาของเงิน คุณเอาเงินจากไหนมาซื้อหุ้นจำนวนนี้ การเคลื่อนไหวของธุรกรรมขนาดใหญ่ เช่นขายสินค้าไปให้บริษัทลูกแล้วบริษัทลูกจ่ายเงินหรือไม่ ฯลฯ คือในความเป็นจริงแล้วคุณแต่งบัญชีได้ แต่ปริมาณเงินสดคุณไม่สามารถแต่งได้ เพราะปริมาณเงินสดเป็นของจริงที่สามารถตรวจสอบได้” นายชวาลา กล่าว
นายชวาลา ยอมรับว่ารูปแบบการถือหุ้นแทน หรือ การทำนอมินีในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นรูปแบบการตรวจสอบจึงจำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ลึงลงไปในรายละเอียด และความน่าจะเป็นของรายการทางบัญชีที่ปรากฏ โดยเฉพาะการเคลื่นอไหวของรายการขนาดใหญ่ ทั้งขายสินค้า การให้กู้ยืมเงินระหว่างบริษัทแม่ และบริษัทลูก รวมถึงลักษณะการอนุมัติจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่คงที่
“การให้กู้เงิน เราต้องตั้งคำถามว่าทำไมไม่ไปกู้แบงก์ แล้วเมื่อกู้ไปแล้วลูกหนี้เอาเงินไปทำอะไร ส่งคืนหรือไม่ ส่งครบ ส่งตามกำหนดหรือไม่ คือมันต้องละเอียดลึกลงไป มาถึงการจ่ายเงินปันผลแม้ว่าจะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนอยู่แล้ว แต่การจ่ายปันผลในลักษณะมาก - น้อยไม่คงที่ ก็ต้องเจาะเข้าไปว่าจ่ายมากเพราะบริษัทมีกำไรที่แท้จริงหรือไม่ จ่ายน้อยเพราะกำไรน้อยจริงหรือไม่ รวมถึงกรณีที่บริษัทมีสภาพคล่องส่วนเกินและไม่ต้องนำเงินไปลงทุนเพิ่มเติมก็สามารถนำมาจ่ายปันผลเพิ่มได้เช่นกัน ซึ่งก็ต้องพิจารณาอย่างละเอียด” นายชวาลา กล่าว
กรณีที่มีข่าวว่าเทมาเส็กจะทยอยลดสัดส่วนในการถือหุ้นในบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ intuch ลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพยายามกันตัวเองออกจากความขัดทางการเมืองไทยที่ส่งผลเสียหายต่อภาพลักษณ์และราคาหุ้นของกลุ่ม นายชวาลา กล่าวว่า หากผู้ถือหุ้นต้องการที่จะขายทิ้งหุ้นอาจเกิดจาก 2 กรณี คือไม่สนใจลงทุนในธุรกิจดังกล่าวแล้ว หรือธุรกิจดังกล่าวใกล้ถึงจุดอิ่มตัวจึงต้องการขายทิ้งไปก่อน ดังนั้นหากหันกลับมาพิจารณาการลงทุนด้านโทรคมนาคมในไทยที่เกิดสะดุดชั่วคราว เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. มีมติให้เลื่อนการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz, 900MHz ออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งกดดันให้ราคาหุ้นในกลุ่มผู้ประกอบการให้บริการเครือข่ายมือถือปรับตัวลดลง รวมถึง ADVANC ซึ่งถือเป็นผู้ครองมาร์เกตแชร์เบอร์ 1 ในประเทศไทยนั้น ไม่ถือเป็นปัจจัยสำคัญ เนื่องจากการลงทุนยังต้องดำเนินต่อไป และเมื่อเกิดการพัฒนาเทคโนโยลีการสื่อสารระบบ 4G อย่างจริงจังภาพการแข่งขันอย่างรุนแรกจะกลับมา และคาดว่า ADVANC จะยังสามารถรักษามาร์เกตแชร์อันดับ 1 ไว้ได้อย่างแข็งแกร่ง ดังนั้นการพิจารณาน่าจะอยู่ตรงการอนุมัติจ่ายเงินปันผลอย่างเหมาะสมต่อฐานะกำไรของบริษัท
“การที่ผู้ถือหุ้นใหญ่จะบังคับให้บริษัทจ่ายเงินปันผลในอัตราที่มากกว่ากำไรปกตินั้นเป็นไปไม่ได้ ยกเว้นกรณีที่บริษัทมีสภาพคล่องส่วนเกินมากและไม่ต้องนำเงินไปลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในระยะ 3 - 5 ปี เพราะส่วนใหญ่หากโครงการลงทุนเกิดชะงัก บริษัทจดทะเบียนนิยมนำเงินไปเก็บในรูปแบบที่สามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่าที่จะจ่ายออกมาเป็นปันผล เพราะเมื่อถึงเวลาต้องลงทุนการจะมาออกหุ้นกุ้เพื่อระดมเงินทุนกลับจากนักลงทุน ก็ต้องพิจารณาความสามารถในการทำกำไร ณ เวลานั้น รูปแบบการขายกิจการของผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่วนใหญ่ขายทิ้งเพราะธุรกิจนั้นใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว เราก็สามารถตรวจสอบพบได้ คือศักยภาพในการทำกำไรของบริษัทลดลงอย่างต่อเนื่อง กรณีนี้มองว่าบริษัทดังกล่าวยังมีศัยภาพในการทำกำไร และธุรกิจสื่อสารก็ยังมีโอกาสอีกมาก” นายชวลา กล่าว