นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวถึง การเปิดรับรายชื่อจากองค์กรนิติบุคคล ที่จะเสนอชื่อบุคคลเข้าสู่กระบวนการสรรหา เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในวันที่ 14 ส.ค.นี้ ว่า ทางคณะกรรมการสิทธิฯ ยังไม่ได้มีการหารือเรื่องดังกล่าว แต่ได้มีการบรรจุเข้าเป็นวาระการประชุมแล้ว โดยส่วนตัวมองว่า อาจจะไม่มีการเสนอรายชื่อ เนื่องจากมีกระแสข่าวว่า สปช. จะมีการปฏิรูปองค์กรอิสระ ดังนั้น ก็ไม่จำเป็นที่องค์กรอิสระต้องเข้าร่วม แต่ทั้งนี้คงต้องขึ้นอยู่กับมติที่ประชุม กสม. จะเห็นควรเป็นอย่างไร
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในวันที่ 13 ส.ค. ที่ประชุม กสม.อาจมีการพิจารณาว่า สำนักงานฯจะส่งบุคคลเข้าคัดเลือกเป็นสปช.หรือไม่ และถ้าส่ง จะเป็นใคร แต่โดยในกสม.มีความเห็นค่อนข้างหลากหลาย ส่วนหนึ่งที่เห็นว่า น่าจะเสนอรายชื่อ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ย่อมต้องมีการเขียนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่มีความสำคัญอย่างมากในระดับสากล หากแม้ กสม.จะไม่ได้รับการสรรรหาเป็นสปช. ก็มั่นใจว่า หัวข้อสิทธิมนุษยชนต้องถูกเขียนในรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ส่วนอีกด้านที่เห็นว่า กสม.ไม่ควรเสนอชื่อ เนื่องจากยังไม่มีความแน่นอนว่า ในตัวรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะยังคงจำนวนองค์กรอิสระไว้เท่าเดิมหรือไม่ หรืออาจจะมีการยุบ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้พอ กสม. มีความเห็นที่หลากหลาย ก็เป็นไปได้ว่าในที่ประชุมอาจต้องใช้เสียงข้างมากว่าจะเสนอชื่อเป็น สปช. หรือไม่
นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการหารือแล้ว โดยในชั้นของสำนักงาน เห็นว่าผู้ตรวจฯ ควรที่จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็น สปช. เนื่องจากผู้ตรวจฯ ถือเป็นองค์กรนิติบุคคล ที่มีส่วนในการปฏิรูปกฎหมาย เพราะเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งสำนักงาน มีแนวทางว่า น่าจะเสนอชื่อผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ มีความรู้และประสบการณ์การทำงานที่เชี่ยวชาญ น่าจะเป็นบุคคลที่จะสามารถสะท้อนปัญหาต่างๆได้ อาทิ นายนายพิเชต สุนทรพิพิธ อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรกของประเทศไทย นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน และ นายปราโมทย์ โชติมงคล อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าที่ประชุมผู้ตรวจฯ น่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ เนื่องจากหากที่ประชุมผู้ตรวจฯเห็นชอบในแนวทางของสำนักงาน จะได้มีเวลาในการทาบทามอดีตผู้ตรวจฯ เพื่อเข้ารับการเสนอชื่อต่อไป
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย เปิดเผยว่า ตามที่พรรคคนไทยได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่า จะเสนอบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. นั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาและทาบทามตัวบุคคลอยู่ คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ทั้งนี้ผู้ที่จะเป็น สปช. ต้องได้บุคคลที่รู้ซึ้งถึงปัญหา 11 ด้าน เพื่อคิดนอกกรอบ ถึงจะปฏิรูปประเทศไทยได้สำเร็จ แค่เฉพาะการแก้ปัญหาปากท้องที่ทำได้ง่ายมาก หากให้พวกที่คิดไม่ได้ทำไม่เป็น มาแก้ไข ทั้งการขึ้นค่าจ้าง ใช้นโยบายประชานิยม ยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบาก เศรษฐกิจประเทศได้รับผลกระทบ แต่ถ้าได้พวกที่คิดได้ ทำเป็นเข้ามา จะสามารถแก้ปัญหาปากท้องได้ในระยะยาว
"คสช.ต้องกลั่นกรองบุคคลให้เหมาะสมกับงานด้วย จากโอกาสที่ได้รับจากประชาชน จากอำนาจที่มีอยู่มากมาย คสช.ต้องไม่ทำให้ประชาชนที่เฝ้ารอดูอยู่ต้องผิดหวังอีก เหมือนเช่นที่เคยผิดหวังจากการเห็นรายชื่อ สนช. ที่แต่งตั้งมา เราไม่อยากเห็นการสรรหาสปช. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือคณะรัฐมนตรี ซ้ำรอยการแต่งตั้งสนช. โปรดเลือกคนดี คนเก่ง คิดได้ทำเป็น และผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เข้ามาทำเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศชาติให้อยู่ได้ ประชาชนจึงอยู่รอด" นายอุเทน กล่าว
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาของประเทศได้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นการแสวงหาทางออกร่วมกันให้ประเทศสามารถเดินไปข้างหน้าได้ด้วยความสงบเรียบร้อย และมีความเจริญก้าวหน้า พรรคชาติพัฒนา พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิรูปในแง่มุมต่างๆ พรรคชาติพัฒนาได้เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศมาโดยตลอด ซึ่งตั้งแต่ช่วงของการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคชาติพัฒนามีนโยบายที่สนับสนุนการปฏิรูปอยู่แล้ว และเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราทุกคนควรร่วมกันแสดงความคิดเห็นให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ช่วยกันระดมความคิด สะท้อนสภาพปัญหาทั้งระบบของประเทศชาติให้ได้รับการแก้ไขในระยะยาว ไม่เดินกลับมาสู่วังวนของปัญหาเดิมๆ อีก ทุกฝ่ายจึงควรเข้าไปสะท้อนปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติได้อย่างตรงจุดที่สุด พรรคชาติพัฒนาจะพิจารณาเสนอตัวบุคคลเพื่อรับการสรรหาให้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อไป
ทั้งนี้ มีรายงานว่าในวันที่ 13 ส.ค. ที่ประชุม กสม.อาจมีการพิจารณาว่า สำนักงานฯจะส่งบุคคลเข้าคัดเลือกเป็นสปช.หรือไม่ และถ้าส่ง จะเป็นใคร แต่โดยในกสม.มีความเห็นค่อนข้างหลากหลาย ส่วนหนึ่งที่เห็นว่า น่าจะเสนอรายชื่อ เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ย่อมต้องมีการเขียนบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐาน แต่มีความสำคัญอย่างมากในระดับสากล หากแม้ กสม.จะไม่ได้รับการสรรรหาเป็นสปช. ก็มั่นใจว่า หัวข้อสิทธิมนุษยชนต้องถูกเขียนในรัฐธรรมนูญอย่างแน่นอน ส่วนอีกด้านที่เห็นว่า กสม.ไม่ควรเสนอชื่อ เนื่องจากยังไม่มีความแน่นอนว่า ในตัวรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น จะยังคงจำนวนองค์กรอิสระไว้เท่าเดิมหรือไม่ หรืออาจจะมีการยุบ ซึ่งเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ทั้งนี้พอ กสม. มีความเห็นที่หลากหลาย ก็เป็นไปได้ว่าในที่ประชุมอาจต้องใช้เสียงข้างมากว่าจะเสนอชื่อเป็น สปช. หรือไม่
นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงเรื่องนี้ ว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มีการหารือแล้ว โดยในชั้นของสำนักงาน เห็นว่าผู้ตรวจฯ ควรที่จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็น สปช. เนื่องจากผู้ตรวจฯ ถือเป็นองค์กรนิติบุคคล ที่มีส่วนในการปฏิรูปกฎหมาย เพราะเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในด้านจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ และจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งสำนักงาน มีแนวทางว่า น่าจะเสนอชื่อผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ตรวจการแผ่นดิน เพราะเห็นว่าบุคคลเหล่านี้ มีความรู้และประสบการณ์การทำงานที่เชี่ยวชาญ น่าจะเป็นบุคคลที่จะสามารถสะท้อนปัญหาต่างๆได้ อาทิ นายนายพิเชต สุนทรพิพิธ อดีตผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรกของประเทศไทย นายพูลทรัพย์ ปิยะอนันต์ อดีตผู้ตรวจการแผ่นดิน และ นายปราโมทย์ โชติมงคล อดีตประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม คาดว่าที่ประชุมผู้ตรวจฯ น่าจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 13 ส.ค.นี้ เนื่องจากหากที่ประชุมผู้ตรวจฯเห็นชอบในแนวทางของสำนักงาน จะได้มีเวลาในการทาบทามอดีตผู้ตรวจฯ เพื่อเข้ารับการเสนอชื่อต่อไป
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย เปิดเผยว่า ตามที่พรรคคนไทยได้ประกาศก่อนหน้านี้ว่า จะเสนอบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็น สปช. นั้น ขณะนี้กำลังพิจารณาและทาบทามตัวบุคคลอยู่ คาดว่าจะมีความชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ ทั้งนี้ผู้ที่จะเป็น สปช. ต้องได้บุคคลที่รู้ซึ้งถึงปัญหา 11 ด้าน เพื่อคิดนอกกรอบ ถึงจะปฏิรูปประเทศไทยได้สำเร็จ แค่เฉพาะการแก้ปัญหาปากท้องที่ทำได้ง่ายมาก หากให้พวกที่คิดไม่ได้ทำไม่เป็น มาแก้ไข ทั้งการขึ้นค่าจ้าง ใช้นโยบายประชานิยม ยิ่งทำให้ชาวบ้านลำบาก เศรษฐกิจประเทศได้รับผลกระทบ แต่ถ้าได้พวกที่คิดได้ ทำเป็นเข้ามา จะสามารถแก้ปัญหาปากท้องได้ในระยะยาว
"คสช.ต้องกลั่นกรองบุคคลให้เหมาะสมกับงานด้วย จากโอกาสที่ได้รับจากประชาชน จากอำนาจที่มีอยู่มากมาย คสช.ต้องไม่ทำให้ประชาชนที่เฝ้ารอดูอยู่ต้องผิดหวังอีก เหมือนเช่นที่เคยผิดหวังจากการเห็นรายชื่อ สนช. ที่แต่งตั้งมา เราไม่อยากเห็นการสรรหาสปช. คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ หรือคณะรัฐมนตรี ซ้ำรอยการแต่งตั้งสนช. โปรดเลือกคนดี คนเก่ง คิดได้ทำเป็น และผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เข้ามาทำเพื่อเดินหน้าปฏิรูปประเทศชาติให้อยู่ได้ ประชาชนจึงอยู่รอด" นายอุเทน กล่าว
นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา โฆษกพรรคชาติพัฒนา กล่าวว่า ขณะนี้การแก้ไขปัญหาของประเทศได้เข้าสู่ขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ ซึ่งเป็นการแสวงหาทางออกร่วมกันให้ประเทศสามารถเดินไปข้างหน้าได้ด้วยความสงบเรียบร้อย และมีความเจริญก้าวหน้า พรรคชาติพัฒนา พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมกันแสดงความคิดเห็น และเสนอข้อเสนอแนะสำหรับการปฏิรูปในแง่มุมต่างๆ พรรคชาติพัฒนาได้เล็งเห็นความสำคัญของการปฏิรูปประเทศมาโดยตลอด ซึ่งตั้งแต่ช่วงของการเลือกตั้งที่ผ่านมา พรรคชาติพัฒนามีนโยบายที่สนับสนุนการปฏิรูปอยู่แล้ว และเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่เราทุกคนควรร่วมกันแสดงความคิดเห็นให้ประเทศเดินไปข้างหน้า ช่วยกันระดมความคิด สะท้อนสภาพปัญหาทั้งระบบของประเทศชาติให้ได้รับการแก้ไขในระยะยาว ไม่เดินกลับมาสู่วังวนของปัญหาเดิมๆ อีก ทุกฝ่ายจึงควรเข้าไปสะท้อนปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไข ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือประเทศชาติได้อย่างตรงจุดที่สุด พรรคชาติพัฒนาจะพิจารณาเสนอตัวบุคคลเพื่อรับการสรรหาให้เข้าไปทำหน้าที่ในสภาปฏิรูปแห่งชาติต่อไป