รายงานข่าวแจ้งว่า มีกระแสข่าวว่า สนช.จะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำ สนช. เนื่องจากว่าระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 1 ปี คงไม่สามารถทำอะไรได้มาก อีกทั้ง สนช.ส่วนใหญ่เป็นทหาร และข้าราชการระดับสูง มีภารกิจประจำ อาจไม่มีเวลามาประชุมกรรมาธิการ และหน้าที่หลักของสนช. ชุดนี้คือ ต้องพิจารณากฏหมายเป็นหลัก โดยมีกฎหมายที่จ่อเข้าสู่การพิจารณาของสนช. กว่า 40 ฉบับ จึงเห็นว่าไม่ควรตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ แต่อาจจะใช้เป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ เฉพาะเพื่อพิจารณากฎหมายเป็นหลัก หรืออาจเป็นไปในลักษณะที่ใช้ตั้งคณะกรรมาธิการประสานงานหรือวิป ขึ้นมา 1 คณะ เพื่อใช้เป็นคณะการพิจารณร่างกฏหมาย และเรื่องภายในสนช.
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีการยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ใหม่ไว้แล้ว โดยในข้อบังคับฉบับใหม่นี้ ก็ยังคงมีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำ สนช.อยู่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม สนช.ว่าจะมีมติออย่างไร
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง กระแสข่าวที่ สนช.จะไม่ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ (กมธ.) ประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ก็มีความเป็นไปได้ แต่ก็ต้องดูว่า สามาชิกคิดเห็นกันอย่างไร หากทุกคนเห็นด้วย ก็ยกเว้นการใช้ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสรรหากรรมาธิการ ที่ผ่านมาการตั้งกรรมาธิการประจำคณะต่างๆ ก็จะไปศึกษางานที่เกี่ยวข้อง หรือมีร่างกฏหมายใดเข้ามาที่ประชุมใหญก็จะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการชุดนั้นๆไปศึกษา แล้วก็นำมาเข้าพิจารณาในที่ประชุมโดยไม่ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเป็นการประหยัดเวลา และบุคคลากร ไปในตัว แต่ก็มีข้อเสียบ้าง คือ บางคณะมีการตั้งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ตั้งอนุกรรมาธิการ 6-7 ชุด ซึ่งก็หมายความว่า ต้องใช้งบประมาณตามไปด้วย ทั้งเบี้ยประชุม เบี้ยดูงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะที่บางครั้ง ที่เรื่องที่อนุกรรมาธิการทำก็ไม่ได้นำเสนอ
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่ติดใจว่า จะตั้งหรือไม่ตั้งคณะกรรมาธิการฯ ในกรณีที่ไม่มี ก็สามารถตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเฉพาะเพื่อพิจารณากฏหมายในแต่ละฉบับได้ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมสนช.พิจารณาเห็นชอบ และเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่ถ้ามีการตั้งคณะกรรมาธิการ ตนก็ขอเสนอให้สนช. เป็นกรรมาธิการได้ 1 คณะ และตั้งอนุกรรมาธิการได้ไม่เกิน 3 อนุกรรมาธิการ เพื่อให้สนช. ทำงานได้เต็มที่ และต้องไม่มีการตั้งงบประมาณในการดูงานต่างประเทศ รวมไปถึงตัวประธานสนช. และรองประธาน สนช.ด้วย ยกเว้นในกรณที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ สนช.มีระยะเวลาอยู่ประมาณปีกว่า ก็จะพ้นจากตำแหน่ง เพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ด้านนายสมชาย แสวงการ สนช. กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพราะกรรมาธิการสามัญมีหน้าที่ตรวจสอบ รับเรื่องราว และปัญหาจากประชาชน ประกอบกับขณะนี้เราไม่มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมา สนช. ชุดก่อนก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญถึง 21 คณะ ซึ่งระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็พอๆกัน หากไม่มีคณะกรรมาธิการสนช. จะทำงานกันแบบไหน
อย่างไรก็ตาม การจะมีหรือไม่มีต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สนช. เนื่องจากขณะนี้ยังใช้ข้อบังคับการประชุมสนช. ปี 49 ซึ่งมีหลายข้อ ที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ดังนั้นคงต้องมีการยกร่างข้อบังคับใหม่ คาดว่าเมื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน และรองประธานสนช.แล้ว ที่ประชุมสนช. คงต้องตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อยกร่างข้อบังคับใหม่ ซึ่งเมื่อถึงตรงนั้น ก็ต้องดูว่าเนื้อหาในร่างข้อบังคับใหม่ จะเป็นออกแบบไหน
**ปลัดมท.มั่นใจสรรหาสปช.ไม่มีล็อบบี้
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การคัดสรรสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในส่วนของ 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างรอบคอบ โดยให้ประสานร่วมกับคณะกรรมการทั้ง 5 คน ในจังหวัด เพื่อสรรหารายชื่อผู้เป็นสมาชิก สปช. ส่งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทันตามกำหนด โดยยืนยันว่าจะไม่มีการล็อบบี้ เพราะคณะกรรมการทุกคนล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถ จึงเชื่อว่า จะไม่มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการสรรหาสมาชิก สปช. ในสัดส่วนของกระทรวงมหาดไทย กรม และรัฐวิสาหกิจในสังกัด มีแนวโน้มว่าจะส่งบุคคลเข้ารับการสรรหา 2 คน ตามที่ได้รับโควตา เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย มีความเชื่อมโยงกับเรื่องการปรองดอง การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม และจะต้องร่วมกันออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่า จะมีการนัดหารือเพื่อสรรหาตัวบุคคลได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย จะเปิดให้สรรหาได้อย่างอิสระ อาจเป็นอดีตข้าราชการ ข้าราชการปัจจุบัน หรือบุคคลภายนอก
**ผู้ตรวจการฯส่งคนรับสรรหาสปช.
นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยถึงกรณีที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สามารถเสนอชื่อบุคคลเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้ ว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับ รวมถึงรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย เราได้เห็นกฎหมายต่างๆ ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่ามีปัญหาตรงไหน จึงถือว่ามีส่วนในการเสนอแก้ไขกฎหมายและวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว เมื่อมีการทำเรื่องปฏิรูปที่เป็นรูปแบบ ผู้ตรวจการแผ่นดินน่าจะเป็นองค์กรที่เหมาะสมที่จะสะท้อนข้อเท็จจริงต่อการปฏิรูปได้ เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เพราะเรามีข้อมูลและประสบการณ์จากการพิจารณาเรื่องที่ได้รับร้องเรียนมา อีกทั้งเราได้ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายมาโดยตลอด ดังนั้น สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินคงจะเสนอรายชื่อบุคคลเป็นผู้แทนเข้าสู่การสรรหาเป็น สปช. ส่วนจะเป็นใครคงต้องให้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาก่อน
** กำนัน-ผญบ.ไม่ใช่เครื่องมือหาเสียง
เมื่อเวลา 11.30 น. วานนี้ (10 ส.ค.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Panadda Diskul"ถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร. 5 วันพระราชทานกำเนิดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 10 สิงหาคม ของทุกปี โดยระบุว่า
"ข้าพเจ้าได้พบปะกับพี่น้องกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ผู้เข้ารับรางวัลเกียรติยศ "แหนบทองคำ" ประจำปี 2557 เนื่องในวันพระราชทานกำเนิดสถาบันกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน (10 ส.ค.) ที่พิพิธภัณฑ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวงแล้ว ข้าพเจ้ามีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบจากพี่น้องกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หลายท่านที่พูดคุยอย่างเปิดใจว่า... ที่ผ่านๆมา ระบบการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอย่างมาก ทั้งที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยเลย กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหลายหนักใจกับนักการเมืองเช่นว่านี้ และอยากแลเห็นการปฏิรูปประเทศไทยโดยจัดระเบียบบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะผู้เป็นกำลังอันสำคัญให้กับข้าราชการฝ่ายปกครองและส่วนราชการอื่นๆ กับอีกทั้งถือเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวงในการบำบัดทุกข์-บำรุงสุขประชาชน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือหาเสียงหรือหัวคะแนนของพรรคการเมืองใดๆ อีกต่อไป"
อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีการยกร่างข้อบังคับการประชุมสนช.ใหม่ไว้แล้ว โดยในข้อบังคับฉบับใหม่นี้ ก็ยังคงมีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญประจำ สนช.อยู่ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับที่ประชุม สนช.ว่าจะมีมติออย่างไร
นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึง กระแสข่าวที่ สนช.จะไม่ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ (กมธ.) ประจำสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ก็มีความเป็นไปได้ แต่ก็ต้องดูว่า สามาชิกคิดเห็นกันอย่างไร หากทุกคนเห็นด้วย ก็ยกเว้นการใช้ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการสรรหากรรมาธิการ ที่ผ่านมาการตั้งกรรมาธิการประจำคณะต่างๆ ก็จะไปศึกษางานที่เกี่ยวข้อง หรือมีร่างกฏหมายใดเข้ามาที่ประชุมใหญก็จะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการชุดนั้นๆไปศึกษา แล้วก็นำมาเข้าพิจารณาในที่ประชุมโดยไม่ต้องมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาเป็นการประหยัดเวลา และบุคคลากร ไปในตัว แต่ก็มีข้อเสียบ้าง คือ บางคณะมีการตั้งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ตั้งอนุกรรมาธิการ 6-7 ชุด ซึ่งก็หมายความว่า ต้องใช้งบประมาณตามไปด้วย ทั้งเบี้ยประชุม เบี้ยดูงาน ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขณะที่บางครั้ง ที่เรื่องที่อนุกรรมาธิการทำก็ไม่ได้นำเสนอ
นายวัลลภ กล่าวด้วยว่า ส่วนตัวไม่ติดใจว่า จะตั้งหรือไม่ตั้งคณะกรรมาธิการฯ ในกรณีที่ไม่มี ก็สามารถตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเฉพาะเพื่อพิจารณากฏหมายในแต่ละฉบับได้ ก่อนเสนอให้ที่ประชุมสนช.พิจารณาเห็นชอบ และเป็นการประหยัดงบประมาณด้วย แต่ถ้ามีการตั้งคณะกรรมาธิการ ตนก็ขอเสนอให้สนช. เป็นกรรมาธิการได้ 1 คณะ และตั้งอนุกรรมาธิการได้ไม่เกิน 3 อนุกรรมาธิการ เพื่อให้สนช. ทำงานได้เต็มที่ และต้องไม่มีการตั้งงบประมาณในการดูงานต่างประเทศ รวมไปถึงตัวประธานสนช. และรองประธาน สนช.ด้วย ยกเว้นในกรณที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะ สนช.มีระยะเวลาอยู่ประมาณปีกว่า ก็จะพ้นจากตำแหน่ง เพราะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ด้านนายสมชาย แสวงการ สนช. กล่าวว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ ที่จะไม่มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ เพราะกรรมาธิการสามัญมีหน้าที่ตรวจสอบ รับเรื่องราว และปัญหาจากประชาชน ประกอบกับขณะนี้เราไม่มีวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมา สนช. ชุดก่อนก็มีการตั้งคณะกรรมาธิการสามัญถึง 21 คณะ ซึ่งระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็พอๆกัน หากไม่มีคณะกรรมาธิการสนช. จะทำงานกันแบบไหน
อย่างไรก็ตาม การจะมีหรือไม่มีต้องเป็นไปตามข้อบังคับการประชุม สนช. เนื่องจากขณะนี้ยังใช้ข้อบังคับการประชุมสนช. ปี 49 ซึ่งมีหลายข้อ ที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี 2557 ดังนั้นคงต้องมีการยกร่างข้อบังคับใหม่ คาดว่าเมื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธาน และรองประธานสนช.แล้ว ที่ประชุมสนช. คงต้องตั้งกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อยกร่างข้อบังคับใหม่ ซึ่งเมื่อถึงตรงนั้น ก็ต้องดูว่าเนื้อหาในร่างข้อบังคับใหม่ จะเป็นออกแบบไหน
**ปลัดมท.มั่นใจสรรหาสปช.ไม่มีล็อบบี้
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึง การคัดสรรสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในส่วนของ 76 จังหวัดทั่วประเทศ โดยได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดแล้ว ให้ดำเนินการตามขั้นตอนอย่างรอบคอบ โดยให้ประสานร่วมกับคณะกรรมการทั้ง 5 คน ในจังหวัด เพื่อสรรหารายชื่อผู้เป็นสมาชิก สปช. ส่งให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ทันตามกำหนด โดยยืนยันว่าจะไม่มีการล็อบบี้ เพราะคณะกรรมการทุกคนล้วนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ความสามารถ จึงเชื่อว่า จะไม่มีปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น
ทั้งนี้ ในส่วนของการสรรหาสมาชิก สปช. ในสัดส่วนของกระทรวงมหาดไทย กรม และรัฐวิสาหกิจในสังกัด มีแนวโน้มว่าจะส่งบุคคลเข้ารับการสรรหา 2 คน ตามที่ได้รับโควตา เนื่องจากกระทรวงมหาดไทย มีความเชื่อมโยงกับเรื่องการปรองดอง การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน การดำเนินการของศูนย์ดำรงธรรม และจะต้องร่วมกันออกกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่า จะมีการนัดหารือเพื่อสรรหาตัวบุคคลได้ภายในสัปดาห์หน้า ซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นตัวแทนจากกระทรวงมหาดไทย จะเปิดให้สรรหาได้อย่างอิสระ อาจเป็นอดีตข้าราชการ ข้าราชการปัจจุบัน หรือบุคคลภายนอก
**ผู้ตรวจการฯส่งคนรับสรรหาสปช.
นายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยถึงกรณีที่ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน สามารถเสนอชื่อบุคคลเข้าสู่กระบวนการสรรหาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ได้ ว่า สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินมีหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกระดับ รวมถึงรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ล้าสมัย เราได้เห็นกฎหมายต่างๆ ที่มีการร้องเรียนเข้ามาว่ามีปัญหาตรงไหน จึงถือว่ามีส่วนในการเสนอแก้ไขกฎหมายและวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐอยู่แล้ว เมื่อมีการทำเรื่องปฏิรูปที่เป็นรูปแบบ ผู้ตรวจการแผ่นดินน่าจะเป็นองค์กรที่เหมาะสมที่จะสะท้อนข้อเท็จจริงต่อการปฏิรูปได้ เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เพราะเรามีข้อมูลและประสบการณ์จากการพิจารณาเรื่องที่ได้รับร้องเรียนมา อีกทั้งเราได้ศึกษาเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายมาโดยตลอด ดังนั้น สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินคงจะเสนอรายชื่อบุคคลเป็นผู้แทนเข้าสู่การสรรหาเป็น สปช. ส่วนจะเป็นใครคงต้องให้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาก่อน
** กำนัน-ผญบ.ไม่ใช่เครื่องมือหาเสียง
เมื่อเวลา 11.30 น. วานนี้ (10 ส.ค.) ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Panadda Diskul"ถึงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร. 5 วันพระราชทานกำเนิดกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน 10 สิงหาคม ของทุกปี โดยระบุว่า
"ข้าพเจ้าได้พบปะกับพี่น้องกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ผู้เข้ารับรางวัลเกียรติยศ "แหนบทองคำ" ประจำปี 2557 เนื่องในวันพระราชทานกำเนิดสถาบันกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน (10 ส.ค.) ที่พิพิธภัณฑ์สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ณ วังวรดิศ ถนนหลานหลวงแล้ว ข้าพเจ้ามีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทราบจากพี่น้องกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน หลายท่านที่พูดคุยอย่างเปิดใจว่า... ที่ผ่านๆมา ระบบการเมืองเข้าไปแทรกแซงการทำงานของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านอย่างมาก ทั้งที่ไม่ได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องด้วยเลย กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ทั้งหลายหนักใจกับนักการเมืองเช่นว่านี้ และอยากแลเห็นการปฏิรูปประเทศไทยโดยจัดระเบียบบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ในฐานะผู้เป็นกำลังอันสำคัญให้กับข้าราชการฝ่ายปกครองและส่วนราชการอื่นๆ กับอีกทั้งถือเป็นข้าต่างพระเนตรพระกรรณของในหลวงในการบำบัดทุกข์-บำรุงสุขประชาชน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือหาเสียงหรือหัวคะแนนของพรรคการเมืองใดๆ อีกต่อไป"