สธ.สั่งจับตา "อีโบลา" ทุกจังหวัด เฝ้าระวังคนจาก 3 ประเทศระบาด เน้นมีไข้และออกจากประเทศมาไม่เกิน 21 วัน พร้อมเพิ่มจุดตรวจทุกท่าอากาศยานนานาชาติ เผยเดินทางเข้าไทยน้อยลงเหลือ 3-5 คนต่อวัน ตรวจจับทุกราย วัดไข้อย่างละเอียด มีระบบติดตาม หากเจอต้องสงสัยเตรียมส่งห้องแยกโรค รพ.บางพลี WHO คาดคุมการระบาดได้ใน 3-6 เดือน
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ทั่วประเทศ เกี่ยวกับการซักซ้อมเตรียมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า ได้สั่งการให้ นพ.สสจ.ทั่วประเทศจัดระบบเฝ้าระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และมีประวัติเดินทางไปใน 3 ประเทศที่มีการระบาดของโรค คือ กีนี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ภายในระยะเวลาไม่เกิน 21 วัน ซึ่งเป็นระยะฟักตัวของโรค รวมทั้งให้ รพศ./รพท. จัดระบบห้องแยกโรคตามมาตรฐาน หากต้องส่งตรวจเชื้อยืนยัน ให้ส่งห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้ให้ด่านควบคุมโรค กรมควบคุมโรค (คร.) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ จ.สงขลา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้และเดินทางจาก 3 ประเทศดังกล่าว แม้การเดินทางส่วนใหญ่จากทวีปแอฟริกาจะผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็ตาม ซึ่งมีระบบเฝ้าระวังที่เข้มข้นอยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ จ.จันทบุรี ที่มีชาวแอฟริกันมาอาศัยอยู่ เพื่อค้าขายพลอยจำนวนหลายร้อยคนนั้น ได้มอบหมายให้ สสจ.จันทบุรีและสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 3 ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
"การเฝ้าระวังที่จันทบุรี ไม่ได้หมายความผู้ที่เป็นชาวแอฟริกันจะน่ากังวลว่าจะมีเชื้อชนิดนี้ แต่เนื่องจากการค้าขายพลอยอาจต้องมีการเดินทางเข้าออกประเทศบ่อยครั้ง จึงต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีการอยู่รวมกันเป็นชุมชน โดยจะเน้นเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่ระบาด ไม่เกิน 21 วันและมีอาการไข้เป็นหลัก" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีผู้ป่วยชาว จ.จันทบุรี ที่สังคมออนไลน์มีการส่งต่อว่าติดเชื้ออีโบลานั้น ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจนแล้วว่าเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง และมีการติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นโรคบิดร่วมด้วย ขณะนี้ได้ย้ายผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาที่รพ.พระปกเกล้าแล้ว ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอีโบลาแต่อย่างใด
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าน่าจะควบคุมโรคได้ภายใน 3- 6 เดือน สำหรับระบบคัดกรองเฝ้าระวังของไทยก็ได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก ว่ามีการเตรียมตัวเรื่องนี้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจจับผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดได้ทุกราย เนื่องจากต้องรายงานตัวเรื่องการฉีดวัคซีนไข้เหลืองซึ่งเป็นข้อบังคับ ทั้งยังไม่มีสายการบินที่บินตรงจาก 3 ประเทศที่ระบาดมายังประเทศไทย เพราะต้องต่อเครื่องที่ประเทศเคนยาและเอธิโอเปีย โดยปัจจุบันมีผู้เดินทางเข้ามาราว 3-5 คนต่อวันลดลงจากเดิมที่มีประมาณ 6-8 คนต่อวัน เนื่องจากประเทศต้นทางมีการกักผู้เดินทางไม่ให้ออกนอกประเทศง่ายนัก
"ในส่วนของผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่ระบาด หากเกิน 21 วันที่เป็นระยะฟักตัวของโรคจะดำเนินการจดชื่อและที่อยู่ แต่หากไม่เกิน 21 วัน จะมีการซักประวัติ จดชื่อที่อยู่ และตรวจวัดไข้ หากพบว่ามีไข้จะประสาน รพ.บางพลี รับตัวเข้าห้องปลอดเชื้อทันที หากไม่มีไข้จะมีการตรวจติดตามอาการทุกวันจนครบ 21 วัน ซึ่งการตรวจวัดไข้เป็นการตรวจรายบุคคลอย่างละเอียด เพราะคนที่เดินทางเข้ามามีไม่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเทอร์โมสแกนที่เป็นการตรวจอุณหภูมิสำหรับคนมากๆ" รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา คร. กล่าวว่า จนถึงวันที่ 31 ก.ค. 2557 องค์การอนามัยโลกรายงานมีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจำนวน 1,440 คน เสียชีวิต 826 คน ส่วนกรณีข่าวพบผู้ป่วยเพิ่มในประเทศไนจีเรีย 2 คนนั้น เป็นเพียงผู้เข้าข่ายต้องสงสัยยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นการติดเชื้ออีโบลา จึงไม่ถือว่าเป็นประเทศที่มีการระบาด
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) ทั่วประเทศ เกี่ยวกับการซักซ้อมเตรียมสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ว่า ได้สั่งการให้ นพ.สสจ.ทั่วประเทศจัดระบบเฝ้าระวัง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และมีประวัติเดินทางไปใน 3 ประเทศที่มีการระบาดของโรค คือ กีนี เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย ภายในระยะเวลาไม่เกิน 21 วัน ซึ่งเป็นระยะฟักตัวของโรค รวมทั้งให้ รพศ./รพท. จัดระบบห้องแยกโรคตามมาตรฐาน หากต้องส่งตรวจเชื้อยืนยัน ให้ส่งห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ได้มาตรฐานองค์การอนามัยโลก
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ได้ให้ด่านควบคุมโรค กรมควบคุมโรค (คร.) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ภูเก็ต หาดใหญ่ จ.สงขลา สุวรรณภูมิ และดอนเมือง เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้และเดินทางจาก 3 ประเทศดังกล่าว แม้การเดินทางส่วนใหญ่จากทวีปแอฟริกาจะผ่านทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็ตาม ซึ่งมีระบบเฝ้าระวังที่เข้มข้นอยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ จ.จันทบุรี ที่มีชาวแอฟริกันมาอาศัยอยู่ เพื่อค้าขายพลอยจำนวนหลายร้อยคนนั้น ได้มอบหมายให้ สสจ.จันทบุรีและสำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ที่ 3 ติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
"การเฝ้าระวังที่จันทบุรี ไม่ได้หมายความผู้ที่เป็นชาวแอฟริกันจะน่ากังวลว่าจะมีเชื้อชนิดนี้ แต่เนื่องจากการค้าขายพลอยอาจต้องมีการเดินทางเข้าออกประเทศบ่อยครั้ง จึงต้องมีการเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีการอยู่รวมกันเป็นชุมชน โดยจะเน้นเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่ระบาด ไม่เกิน 21 วันและมีอาการไข้เป็นหลัก" ปลัด สธ. กล่าว
นพ.ณรงค์ กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีผู้ป่วยชาว จ.จันทบุรี ที่สังคมออนไลน์มีการส่งต่อว่าติดเชื้ออีโบลานั้น ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจนแล้วว่าเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง และมีการติดเชื้อทางเดินอาหารเป็นโรคบิดร่วมด้วย ขณะนี้ได้ย้ายผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาที่รพ.พระปกเกล้าแล้ว ไม่ได้ป่วยเป็นโรคอีโบลาแต่อย่างใด
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าน่าจะควบคุมโรคได้ภายใน 3- 6 เดือน สำหรับระบบคัดกรองเฝ้าระวังของไทยก็ได้รับการชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก ว่ามีการเตรียมตัวเรื่องนี้เป็นอย่างดี ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่สามารถตรวจจับผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่มีการระบาดได้ทุกราย เนื่องจากต้องรายงานตัวเรื่องการฉีดวัคซีนไข้เหลืองซึ่งเป็นข้อบังคับ ทั้งยังไม่มีสายการบินที่บินตรงจาก 3 ประเทศที่ระบาดมายังประเทศไทย เพราะต้องต่อเครื่องที่ประเทศเคนยาและเอธิโอเปีย โดยปัจจุบันมีผู้เดินทางเข้ามาราว 3-5 คนต่อวันลดลงจากเดิมที่มีประมาณ 6-8 คนต่อวัน เนื่องจากประเทศต้นทางมีการกักผู้เดินทางไม่ให้ออกนอกประเทศง่ายนัก
"ในส่วนของผู้ที่เดินทางมาจาก 3 ประเทศที่ระบาด หากเกิน 21 วันที่เป็นระยะฟักตัวของโรคจะดำเนินการจดชื่อและที่อยู่ แต่หากไม่เกิน 21 วัน จะมีการซักประวัติ จดชื่อที่อยู่ และตรวจวัดไข้ หากพบว่ามีไข้จะประสาน รพ.บางพลี รับตัวเข้าห้องปลอดเชื้อทันที หากไม่มีไข้จะมีการตรวจติดตามอาการทุกวันจนครบ 21 วัน ซึ่งการตรวจวัดไข้เป็นการตรวจรายบุคคลอย่างละเอียด เพราะคนที่เดินทางเข้ามามีไม่มาก ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเทอร์โมสแกนที่เป็นการตรวจอุณหภูมิสำหรับคนมากๆ" รองอธิบดี คร. กล่าว
นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา คร. กล่าวว่า จนถึงวันที่ 31 ก.ค. 2557 องค์การอนามัยโลกรายงานมีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจำนวน 1,440 คน เสียชีวิต 826 คน ส่วนกรณีข่าวพบผู้ป่วยเพิ่มในประเทศไนจีเรีย 2 คนนั้น เป็นเพียงผู้เข้าข่ายต้องสงสัยยังไม่ได้รับการยืนยันว่าเป็นการติดเชื้ออีโบลา จึงไม่ถือว่าเป็นประเทศที่มีการระบาด