หมอจุฬาฯ ชี้เชื้ออีโบลาติดโรคยากกว่าไข้หวัด โอกาสแพร่ระบาดสู่ไทยต่ำ ระบุระบบสาธารณสุขไทยมีมาตรการเฝ้าระวังเข้ม มั่นใจไม่เกิดการระบาดหนักแบบแอฟริกา เผยผลสำรวจค้างคาว - ลิงในไทย ไม่เป็นแหล่งรังโรค
วันนี้ (1 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว “อีโบลา...เมื่อมาถึงไทย...รับมืออย่างไร?” ว่า โรคอีโบลาไม่ใช่โรคใหม่ มีมาเกือบ 40 ปี ระบาดมาแล้วกว่า 20 ครั้ง พบผู้ป่วยประมาณ 500 - 600 ราย แต่ยังสามารถควบคุมโรคได้ดี การระบาดครั้งนี้ก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือน ยังจำกัดวงระบาดอยู่ใน 3 ประเทศแอฟริกา คือ กินี ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ก.ค. มีรายงานผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1,323 ราย เสียชีวิต 729 คน ไม่กระจายไปยังประเทศ หรือภูมิภาคอื่น ส่วนสาเหตุที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ค่อนข้างยากจน ยังต้องมีการล่าสัตว์ ซึ่งสัตว์ป่าเป็นแหล่งโรค และห่างไกลการเข้าถึงด้านสาธารณสุข แพทย์มีน้อย นอกจากนี้ ยังมีความรู้น้อยและมีความเชื่อบางอย่างทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้น เช่น ทำความสะอาดศพด้วยมือเปล่าก่อนฝัง เชื่อว่าอีโบลายังไม่ระบาด และการไปโรงพยาบาลจะโดนขโมยอวัยวะ เป็นต้น
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า โรคอีโบลามีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต รวมถึงมีเลือดออกคล้ายโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเชื้ออีโบลาทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย จึงทำให้มีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกในอวัยวะภายใน และจะตายภายในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ 50 - 90% ยังไม่มียารักษาเฉพาะและวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการ ซึ่งในคนที่มีภูมิต้านทานดี ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้เอง และหายเป็นปกติได้ ซึ่งที่ผ่านมาอัตราการรอดชีวิตคือ 40%
“แม้จะเป็นการติดต่อจากคนสู่คน แต่การแพร่กระจายเชื้อค่อนข้างต่ำ เพราะต้องเป็นการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเป็นโรค ทั้งอาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตา น้ำลาย เลือด เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปผิวหนังปกติจะป้องกันการเข้าของเชื้อโรคได้ เว้นแต่จะมีบาดแผลหรือมือไปแตะต้องแล้วมาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบจับอาการแล้วกิน จึงทำให้ติดเชื้อได้ แต่ไม่พบการติดต่อกันทางเดินหายใจ การแพร่เชื้อจึงน้อยกว่าไข้หวัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ระยะฟักตัวและยังไม่มีอาการของโรค โอกาสแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นน้อยมาก ดังนั้น การเดินสวนกับชาวแอฟริกัน หรือการพูดคุยไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่อย่างใด” ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า โอกาสการระบาดของโรคอีโบลามาประเทศไทยถือว่าต่ำมาก เพราะการที่เชื้อจะเข้ามาประเทศไทยได้นั้นต้องเป็นช่องทางจาก “คน” เท่านั้น โดยอาจเป็นคนไทยที่ไปในพื้นที่ระบาด หรือคนในพื้นที่ระบาดเดินทางมายังประเทศไทย แต่คนที่ติดเชื้ออีโบลาในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน คงไม่มีโอกาสเดินทางโดยเครื่องบินเข้ามายังประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอัตราตายสูง เมื่อป่วยมีอาการจะไม่สามารถเดินทางไกลได้ และจากการตรวจสอบก็พบว่า ไม่มีสายการบินใดที่บินตรงจากพื้นที่ระบาดมายังประเทศไทย ขณะที่สนามบินมีมาตรการเฝ้าระวังอยู่แล้ว โดยผู้โดยสารต้องแสดงตัวในขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง ทำให้สามารถติดตามตัวได้จนครบ 21 วัน ตามระยะฟักตัวของโรค ส่วนคนไทยที่เดินทางไปพื้นที่ระบาดก็ต้องมีการให้ความรู้ เมื่อกลับมาแล้วมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง
“หากมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคอีโบลาในประเทศไทย เชื่อมั่นว่าระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยสามารถรับมือ ควบคุมได้และไม่ก่อให้เกิดการระบาด เนื่องจากมีประสบการณ์ในการควบคุมโรคซาร์สได้อย่างประสบความสำเร็จ ทั้งที่อำนาจในการติดโรคของซาร์สสูงกว่าอีโบลา โดยอัตราการแพร่เชื้อของโรคซาร์สจาก 1 คนไปได้ถึง 3 คน มากกว่าเชื้ออีโบลาที่แพร่จาก 1 คนไปได้ 1-2 คนเท่านั้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งยังมีห้องแยกแบบมาตรฐานสูง (Negative Pressure Room) ในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อด้วย” ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีพบผู้ต้องสงสัยชาวแอฟริกันป่วยโรคอีโบลาที่ฮ่องกง และอังกฤษ ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุชัดแล้วว่า ไม่ใช่เชื้ออีโบลา การระบาดจึงยังจำกัดอยู่เพียง 3 ประเทศดังกล่าว ส่วนไนจีเรียที่พบผู้ป่วยและเสียชีวิต 1 ราย ยังไม่ถือว่าเป็นประเทศที่มีการระบาด จนกว่าจะพบผู้ป่วยรายที่ 2 หรือ 3 แต่หากพ้นระยะฟักตัว 21 วันแล้วไม่พบผู้ป่วย ประเทศไนจีเรียก็จะถือเป็นเขตปลอดโรคนี้
ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสิทธิคุณ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการสำรวจในประเทศไทย โดยค้างคาว จำนวน 699 ตัว ลิง 50 ตัว ปรากฏว่าไม่พบเชื้ออีโบลา ประเทศไทยจึงไม่มีแหล่งรังโรคอีโบลาในธรรมชาติ และจากการศึกษาเมื่อปี 2547 โดยการนำผู้ป่วย 1 คนไปอยู่ในชุมชนที่มีความเสี่ยง พบว่า ผู้ป่วยโรคอีโบลา ทำให้คนอื่นเป็นโรคได้ 1 - 2 คน ขณะที่ผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 1 คน ทำให้ป่วย 5 - 100 คน และโรคหัด ทำให้ป่วย 12 - 18 คน แสดงให้เห็นว่าโรคอีโบลาโอกาสแพร่เชื้อไม่มาก และต่ำกว่าโรคอื่นอีกมาก
เมื่อถามถึงโอกาสที่เชื้ออีโบลาจะเข้าสู่ประเทศไทยผ่านการนำเข้าสัตว์ป่าหรือไม่ เนื่องจากแห่ลงรังโรคอยู่ในสัตว์ด้วย ศ.น.สพ.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากนำเข้าสัตว์ถูกกฎหมายจะต้องผ่านด่านกักกันโรคก่อน แต่หากลักลอบเข้ามาถือเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะตรวจสอบไม่ได้ และอาจเป็นการนำโรคที่เราไม่ทราบด้วย ส่วนซากสัตว์ถ้ามีการลักลอบนำเข้ามาจะมีการแช่เย็น เชื้อก็ยังคงอยู่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (1 ส.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว “อีโบลา...เมื่อมาถึงไทย...รับมืออย่างไร?” ว่า โรคอีโบลาไม่ใช่โรคใหม่ มีมาเกือบ 40 ปี ระบาดมาแล้วกว่า 20 ครั้ง พบผู้ป่วยประมาณ 500 - 600 ราย แต่ยังสามารถควบคุมโรคได้ดี การระบาดครั้งนี้ก็เช่นกัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 5 เดือน ยังจำกัดวงระบาดอยู่ใน 3 ประเทศแอฟริกา คือ กินี ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน โดยข้อมูลเมื่อวันที่ 27 ก.ค. มีรายงานผู้ป่วยแล้วมากกว่า 1,323 ราย เสียชีวิต 729 คน ไม่กระจายไปยังประเทศ หรือภูมิภาคอื่น ส่วนสาเหตุที่ยังควบคุมการระบาดไม่ได้ เพราะเกิดขึ้นในหมู่บ้านที่ค่อนข้างยากจน ยังต้องมีการล่าสัตว์ ซึ่งสัตว์ป่าเป็นแหล่งโรค และห่างไกลการเข้าถึงด้านสาธารณสุข แพทย์มีน้อย นอกจากนี้ ยังมีความรู้น้อยและมีความเชื่อบางอย่างทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้มากขึ้น เช่น ทำความสะอาดศพด้วยมือเปล่าก่อนฝัง เชื่อว่าอีโบลายังไม่ระบาด และการไปโรงพยาบาลจะโดนขโมยอวัยวะ เป็นต้น
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า โรคอีโบลามีระยะฟักตัว 2 - 21 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย การอักเสบของตับ ไต รวมถึงมีเลือดออกคล้ายโรคไข้เลือดออก เนื่องจากเชื้ออีโบลาทำให้การแข็งตัวของเลือดเสีย จึงทำให้มีอาการอาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกในอวัยวะภายใน และจะตายภายในสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งอัตราป่วยตายอยู่ที่ 50 - 90% ยังไม่มียารักษาเฉพาะและวัคซีนป้องกัน ต้องรักษาตามอาการ ซึ่งในคนที่มีภูมิต้านทานดี ร่างกายจะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้เอง และหายเป็นปกติได้ ซึ่งที่ผ่านมาอัตราการรอดชีวิตคือ 40%
“แม้จะเป็นการติดต่อจากคนสู่คน แต่การแพร่กระจายเชื้อค่อนข้างต่ำ เพราะต้องเป็นการสัมผัสเชื้อโดยตรงจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยเป็นโรค ทั้งอาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำตา น้ำลาย เลือด เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปผิวหนังปกติจะป้องกันการเข้าของเชื้อโรคได้ เว้นแต่จะมีบาดแผลหรือมือไปแตะต้องแล้วมาขยี้ตา แคะจมูก หรือหยิบจับอาการแล้วกิน จึงทำให้ติดเชื้อได้ แต่ไม่พบการติดต่อกันทางเดินหายใจ การแพร่เชื้อจึงน้อยกว่าไข้หวัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่อยู่ระยะฟักตัวและยังไม่มีอาการของโรค โอกาสแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นน้อยมาก ดังนั้น การเดินสวนกับชาวแอฟริกัน หรือการพูดคุยไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อแต่อย่างใด” ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวว่า โอกาสการระบาดของโรคอีโบลามาประเทศไทยถือว่าต่ำมาก เพราะการที่เชื้อจะเข้ามาประเทศไทยได้นั้นต้องเป็นช่องทางจาก “คน” เท่านั้น โดยอาจเป็นคนไทยที่ไปในพื้นที่ระบาด หรือคนในพื้นที่ระบาดเดินทางมายังประเทศไทย แต่คนที่ติดเชื้ออีโบลาในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นคนยากจน คงไม่มีโอกาสเดินทางโดยเครื่องบินเข้ามายังประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรงและอัตราตายสูง เมื่อป่วยมีอาการจะไม่สามารถเดินทางไกลได้ และจากการตรวจสอบก็พบว่า ไม่มีสายการบินใดที่บินตรงจากพื้นที่ระบาดมายังประเทศไทย ขณะที่สนามบินมีมาตรการเฝ้าระวังอยู่แล้ว โดยผู้โดยสารต้องแสดงตัวในขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมือง ทำให้สามารถติดตามตัวได้จนครบ 21 วัน ตามระยะฟักตัวของโรค ส่วนคนไทยที่เดินทางไปพื้นที่ระบาดก็ต้องมีการให้ความรู้ เมื่อกลับมาแล้วมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทาง
“หากมีการตรวจพบผู้ป่วยโรคอีโบลาในประเทศไทย เชื่อมั่นว่าระบบทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยสามารถรับมือ ควบคุมได้และไม่ก่อให้เกิดการระบาด เนื่องจากมีประสบการณ์ในการควบคุมโรคซาร์สได้อย่างประสบความสำเร็จ ทั้งที่อำนาจในการติดโรคของซาร์สสูงกว่าอีโบลา โดยอัตราการแพร่เชื้อของโรคซาร์สจาก 1 คนไปได้ถึง 3 คน มากกว่าเชื้ออีโบลาที่แพร่จาก 1 คนไปได้ 1-2 คนเท่านั้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลระดับโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งยังมีห้องแยกแบบมาตรฐานสูง (Negative Pressure Room) ในการแยกผู้ป่วยติดเชื้อด้วย” ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีพบผู้ต้องสงสัยชาวแอฟริกันป่วยโรคอีโบลาที่ฮ่องกง และอังกฤษ ผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการระบุชัดแล้วว่า ไม่ใช่เชื้ออีโบลา การระบาดจึงยังจำกัดอยู่เพียง 3 ประเทศดังกล่าว ส่วนไนจีเรียที่พบผู้ป่วยและเสียชีวิต 1 ราย ยังไม่ถือว่าเป็นประเทศที่มีการระบาด จนกว่าจะพบผู้ป่วยรายที่ 2 หรือ 3 แต่หากพ้นระยะฟักตัว 21 วันแล้วไม่พบผู้ป่วย ประเทศไนจีเรียก็จะถือเป็นเขตปลอดโรคนี้
ศ.นพ.นรินทร์ หิรัญสิทธิคุณ ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกัน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการที่คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการสำรวจในประเทศไทย โดยค้างคาว จำนวน 699 ตัว ลิง 50 ตัว ปรากฏว่าไม่พบเชื้ออีโบลา ประเทศไทยจึงไม่มีแหล่งรังโรคอีโบลาในธรรมชาติ และจากการศึกษาเมื่อปี 2547 โดยการนำผู้ป่วย 1 คนไปอยู่ในชุมชนที่มีความเสี่ยง พบว่า ผู้ป่วยโรคอีโบลา ทำให้คนอื่นเป็นโรคได้ 1 - 2 คน ขณะที่ผู้ป่วยโรคมาลาเรีย 1 คน ทำให้ป่วย 5 - 100 คน และโรคหัด ทำให้ป่วย 12 - 18 คน แสดงให้เห็นว่าโรคอีโบลาโอกาสแพร่เชื้อไม่มาก และต่ำกว่าโรคอื่นอีกมาก
เมื่อถามถึงโอกาสที่เชื้ออีโบลาจะเข้าสู่ประเทศไทยผ่านการนำเข้าสัตว์ป่าหรือไม่ เนื่องจากแห่ลงรังโรคอยู่ในสัตว์ด้วย ศ.น.สพ.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากนำเข้าสัตว์ถูกกฎหมายจะต้องผ่านด่านกักกันโรคก่อน แต่หากลักลอบเข้ามาถือเป็นเรื่องน่าห่วง เพราะตรวจสอบไม่ได้ และอาจเป็นการนำโรคที่เราไม่ทราบด้วย ส่วนซากสัตว์ถ้ามีการลักลอบนำเข้ามาจะมีการแช่เย็น เชื้อก็ยังคงอยู่
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่