เมื่อเวลา 10.00น.วานนี้ (3ส.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการจัด "ราชดำเนินเสวนา" เรื่อง "ปฏิรูป กสทช. เพื่อการปฏิรูปสื่อ" ตามโครงการ 60ปี สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย "ปฏิวัติคนข่าว ปฏิรูปสื่อ" ของสมาคมนักข่าวฯ จัดร่วมกับ ศูนย์ศึกษาจริยธรรมกฎหมายและนโยบายสื่อ และสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย โดยมีวิทยากร มาร่วมเสวนาได้แก่ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) , นางภัทรา โชว์ศรี ผอ.สำนักตรวจสอบการเงินที่ 6 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) , น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข ประธานคณะอนุกก.ด้านกฎหมายและนโยบายสื่อ สถาบันอิศรา และนายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์ โดยมีนายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวฯ เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา
น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข กล่าวว่า กสทช. มีความสำคัญ และจำเป็นในสังคมไทย ซึ่งการปฏิรูปสื่อ หมายถึงการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของรัฐ การผ่อนคลายการผูกขาดของรัฐ กระจายการถือครอง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสื่อ และก่อให้เกิดการแข่งขันโดยบริสุทธิ์ เป็นธรรม โดยมีเป้าหมาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผูกขาด ให้หลักประกันในการสื่อสารของคนทุกกลุ่มในสังคม และสร้างมาตรฐานของเนื้อหารายการ
ทั้งนี้ ภารกิจในการปฏิรูปสื่อ มีอยู่ 3 ด้าน คือ 1. การกระจายการถือครองคลื่นความถี่ ตรงตามเจตนารมณ์หรือไม่ 2. ประชาชนได้เข้าถึงอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ 3. การแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรม นี่คือประเด็นที่สังคมต้องจับตา จึงคิดว่า กสทช. ยังมีความจำเป็นยังคงต้องคงอยู่ต่อไป แต่มีบางอย่างที่ต้องแก้ไข
จากการที่เคยเป็นอนุกก.ยกร่างกฎหมายการประกอบกิจการฯ และรู้ปัญหาของวิทยุกระจายเสียง จึงมีโอกาสจับตาดู กสทช. มาโดยตลอด และที่มาของการยกร่างกฎหมายฉบับนั้น อยู่บนแนวคิดว่า ต้องคลี่นความถี่วิทยุมีได้ 524 คลื่นในทั่วประเทศ และใน 524 คลื่น แบ่งเป็น ของกรมประชาสัมพันธ์ 100 กว่าคลื่น กองทัพบก 100 กว่าคลื่น อสมท. 62 คลื่น ถามว่านี่คือทรัพยากรไม่มีเอกชน และประชาชนเป็นเจ้าของเลย ดังนั้นเราต้องการการกระจายการถือครอง 524 คลื่น และวันนี้ ต้องถามว่า หน่วยงานเหล่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีคลื่นเหล่านี้และท่านสามารถลดการถือครองรวมกันเหลือ 209 คลื่นได้หรือไม่ แต่ผลปรากฏว่า วันนี้เรามีวิทยุเป็นหมื่นๆ คลื่นทั้งที่ 524 คลื่น ยังไม่ได้รับการจัดสรร และยังคงอยู่ การกระจายคลื่นหลักยังไม่เกิดขึ้น ถ้ากสทช. ทำงานภายใต้การยกร่างนั้นง่ายๆ เลย
"เราไม่คิดว่า เราจะเกิดภาวการณ์ ที่วิทยุชุมชนเกิดขึ้นเป็นหมื่นคลื่น แล้วเราจะจัดสรรให้เราอยู่กันอย่างมีความสุขได้อย่างไร ซึ่งเราเข้าใจว่า เมื่อเกิดกสทช.ตามพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่แล้ว จะจัดการ 524 คลื่น แต่ท่านไม่ได้ทำเลยแม้แต่นิดเดียว"
ส่วนเรื่องทีวีดิจิตัล มี 48 ช่องใหม่ มีการจัดสรรช่องธุรกิจไปแล้ว 24 ช่อง ยังเหลือชุมชนอีก 12 ช่อง ที่ยังไม่มีพูดถึง และไม่ต้องพูดถึงช่องสาธารณะ ที่มีการจัดสรรไปแล้วบางส่วน แต่ขณะนี้มีคนวิเคราะห์ว่า ช่องธุรกิจ 24 ช่อง กำลังจะตาย และไปไม่รอด นี่คือ ผลงานที่ กสทช. มองแต่ผลงานข้างหน้า โดยไม่มองปัญหาข้างหลัง ซึ่งขณะนั้น ผู้ยกร่างกฎหมายมองว่า ช่องอนาล็อก 6 ช่องในปัจจุบัน ควรกระจายให้ชุมชน และบริการสาธารณะ และธุรกิจโดยสัดส่วนที่เป็นธรรม จึงมีคนสงสัยว่า มีการแบ่ง 12 ช่องสาธารณะ แบ่งเพื่ออะไร อยากจะบอกว่า กสทช.ไม่ได้ใช้ และตีความกฎหมายที่ให้อำนาจ กสทช.ดำเนินการ แต่กลับดำเนินการตามที่ท่านคิดว่าอยากทำ โดยลืมนึกว่ากฎหมายมีหลักการใช้ และการตีความ กฎหมาย
" กสทช.เพราะเอากฎหมายเรื่องการแบ่งช่องสาธารณะใบอนุญาต ประเภท 1 มาตรา10 (ก) บอกว่าให้ออกเพื่อให้การส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ขอให้ท่านดูบทกฎหมายแล้วถาม กสทช.ใช้และตีความกฎหมายแบบไหน เอามาตัดความ ตื่นเช้ามาต้องได้ดูวิทยาศาสตร์ แต่ท่านกลับเอา 1วรรค ของกฎหมายมาแบ่งเป็น 3 ช่อง นั่นหมายความว่า ช่องสาธารณะช่องที่ 1 ท่านตื่นเช้าขึ้นมาท่านต้องได้ดูความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อย่างอื่น ท่านไม่ได้ ช่องที่ 2 ท่านต้องได้ดูศิลปวัฒนธรรม ช่องที่ 3 ท่านต้องได้ดูสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน ท่านจะไม่ได้เห็นทีวีในปัจจุบันแบบนี้ นี่คือปัญหาที่พูดมา ตลอด"
และในวงเล็บ (ข) แบ่งเป็น 2แบบ คือเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัย แต่ข้อนี้ท่านเอาอะไรมาตัดสินว่าต้อง 3 ช่อง และวงเล็บ (ค.) ก็แบ่ง 3 ช่อง รวมเป็น 12 ช่อง นี่คือปัญหาเรื่องการใช้ และการตีความกฎหมาย วันนั้นเราไม่มีความรู้เรื่องสื่อสาธารณะมากนัก ตนจึงเขียนวงเล็บ ก. เอง ว่าสื่อสาธารณะต้องเป็นองค์ประกอบที่เป็นความรู้ซึ่งในประเภทที่ 1 ดังนั้น ช่องทีวีดิจิตัลจริงๆ ต้องมีความหลากหลายผสมกัน นี่จึงเป็นปัญหาของการใช้ และการตีความกฎหมายของ กสทช.
สำหรับเรื่องการแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม ระบุตามกฎหมายว่า ต้องป้องกันในส่วนของการถือครองเพื่อการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม ซึ่งไม่เห็นว่า กสทช. จะทำอะไรเลย วันนี้เปิดทีวีดิจิตัล ก็มีการถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อ จะเห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ ไปถือครองทีวีดิจิตัล ครบถ้วนแล้ว แล้วจากนี้ กสทช.จะเก็บไปตัดสินเหมือนที่ปล่อยให้มีวิทยุชุมชน เป็นหมื่นคลื่นหรือไม่ ก็คาดหวังว่าจะไม่ทำแบบนั้น
** กสทช.ละเลงเงินไม่คุ้มกับงาน
ประเด็นปัญหาที่นำไปสู่การปฏิรูป กสทช. คือ เรื่องการบริการจัดการ ที่ต้องดูเรื่องแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ที่เป็นปัญหามาก ดูโครงสร้างสำนักงาน กสทช. โครงสร้างบุคลากร กฎระเบียบ และเรื่องงบประมาณ ซึ่งจากการตรวจสอบจากเว็บไซต์ ของ กสทช. ระบุว่า ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลของ กสทช. สู่สาธารณะ แต่กลับไม่พบรายงานประจำปีในเว็บไซต์ จนต้องตามหาหนังสือสรุปรายการงาน 2 เล่มของ กสทช. พบว่าโครงสร้างของ กสทช. มีทั้งหมด 46 สาย โดยงานกำกับดูแลวิทยุ ทีวีดิจิติล ทีวีดาวเทยม เขามีคน 1,083 คน มีผู้บริหารระดับต้น 70 คน พนักงานปฏิบัติการระดับสูง 310 คน พนักงานปฏิบัติการระดับต้น 68 คน และพนักงานสัญญาจ้างอีกว่า 300 กว่าคน และพนักงานที่ไม่รวมผู้เชี่ยวชาญ ก็มีประมาณ 900กว่าคน จึงทำให้กสทช. มีโครงสร้าง ที่หัวใหญ่กว่าหาง และมีข้อมูลระบุข้อมูลว่าใน 46 สายงาน มีคนดูแลงานด้านกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพียง 264 คน มี 64 คนในการออกใบอนุญาต และคนดูแลการใช้คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ 14 คน ซึ่งมีคนแค่นี้ ไม่เพียงพอ
เรื่องการใช้จ่ายบุคลากร ทั้ง 1,083 คน นั้นใช้งบประมาณปี 2556 จำนวน 634 ล้านกว่าบาท พนักงาน 1 คนกินเงินเดือน 48,000 บาท/เดือน มีค่าตอบแทนกสทช. ประมาณ 270,000 บาท บำเหน็จอัตราเฉลี่ย 79,000บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเบี้ยประชุมของกรรมการ 50 ล้านบาท ค่าเดินทางไปต่างประเทศ 32 ล้านบาท ค่าจ้างเหมารายการจัดอีเวนท์ 274 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายใจการประชาสัมพันธ์ 180 กว่าล้าน ค่าจ้างที่ปรึกษา 329 ล้านบาท เงินบริจาคและการกุศล 99 ล้านบาท ซึ่งตนย้ำว่า นี่คือข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือรายงานประจำปีของ กสทช. และนอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา เรื่องการใช้จ่ายปี 56 ในส่วนของค่าใช้จ่ายของอนุกรรมการ และคณะทำงานของ กสทช. 840 คน ประมาณ 49 ล้านบาท
ดังนั้น แนวทางขับเคลื่อนการการปฏิรูประยะสั้น สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบในความมีธรรมาภิบาล ประกอบกับการประเมินการใช้งบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพ และ กสทช.เองก็ต้องไม่ทิ้งแนวคิดในการปฏิรูปสื่อ แต่ตนยืนยันว่า กสทช. ยังต้องเป็นองค์กรอิสระแบบนี้ แต่จะอิสระอย่างไร ก็ต้องไม่ทิ้งเรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างการผูกขาด ให้หลักประกันการมีเสรีภาพเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม และสร้างมาตรฐานเนื้อหาสาระที่หลากหลาย ส่วนระยะยาวต้องปรับแก้กฎหมายเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และต้องเป็นองค์กรที่โปร่งใสตรวจสอบได้
นอกจากนี้ยังขอเสนอแนวคิด “ฉันทามติ”ว่า น่าจะถูกนำมาใช้ในการทำงานของ กสทช. หมายความว่า คน 11 คน (กรรมการกสทช.) ต้องออกมติให้ได้ให้เป็นเอกฉันท์ เพราะทุกวันนี้ แพ้เขา 1 เสียง ก็แพ้แล้ว และผู้บริโภคเป็นเสียงข้างน้อยเสมอ และเสนอให้แยกองค์กรให้เล็กลง เป็นสององค์กร ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรหนึ่งกำกับโทรคมนาคม และอีกองค์กรก็กำกับดูแลวิทยุและโทรทัศน์
** คนที่รู้เรื่องสื่อในกสทช.มีน้อย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า ที่รัฐธรรมนูญออกแบบกสทช. มาให้เป็นองค์กรอิสระเพื่อทำงานได้เร็ว โดยยอมรับว่าเรื่องของการกำกับดูแล กสทช. น่าจะติดลบ แต่การจัดสรรคลื่น ถือว่าเป็นเรื่องเด่น เพราะมีแรงงจูงใจเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจ จะเห็นจากการจัดสรรคลื่น 2100 ของโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้รัฐได้งบประมาณต่ำ และเปลี่ยนเป็นคลื่น UHFของทีวี อันนี้ได้งบสูงแต่จะทำให้เอกชนอยู่ได้หรือไม่ ต้องดูต่อไป และ ที่วิจารณ์ว่า กสทช. แตะเรื่องปฏิรูปสื่อของรัฐน้อย แม้จะมีการออกแบบไว้แล้ว แต่ส่วนของทีวี มีการทำอยู่แต่หาโจทย์ที่วินวิน ไม่ได้
"แม้กสทช.จะสอบไม่ตก แต่อาจจะได้คะแนนไม่ดี แต่เรื่องการกำกับดูแล อาจจะสอบตก เพราะ ในกิจการโทรทัศน์รายใหม่ อยากจะเข้ามามาก แม้รายเดิมก็พยายามจะถ่วงก็ตาม และไม่อยากให้กำกับ และยอมรับว่า งานยุทธศาสตร์สำคัญของกสทช. มีบุคลากรน้อย แต่งานบริการกลับมีคนมากกว่า เงินมีเยอะ แต่ไม่เป็นไปตามภารกิจ ที่ต้องได้รับการปฏิรูป ซึ่งเป็นการต่อสู้กันภายใน แต่ก็จะพยายามจะทำให้มีสต๊าฟมากขึ้น แต่ก็อยู่ที่กรรมการ จะตัดสิน แต่ทั้งนี้หลังจากถูกตรวจสอบมากขึ้น ก็คึกคักมากขึ้นหวังว่าจะดีขึ้น แต่ต้องปรับเรื่องกำลังคน เพราะเงินไปอยู่ในส่วนที่ไม่จำเป็น มากกว่าส่วนที่จำเป็น"
ทั้งนี้ ถ้าจะต้องปฏิรูป กสทช. หากจะต้องแก้ กม. ต้องให้น้ำหนักเรื่องการกำกับดูแลมากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากทำตรงนี้ สัดส่วนของคนที่เข้าไปในกสทช. รู้เรื่องสื่อก็มีน้อย เพราะพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ จริยธรรม กับกรรมการคนอื่นต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี เพราะคนเชี่ยวชาญด้านสื่อใน กสทช. มีน้อยมาก หากจะแก้กฎหมายควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นจริงๆเข้ามา ต้องได้คนที่เข้าใจเรื่องสื่อสารมวลชน ทำเรื่องกำกับดูแลให้เป็นรูปธรรม มีการวัดผลแบบ KPI แม้กฎหมายเขียนให้ถอดถอน กสทช.ได้ แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นต้องแก้กฎหมายให้เขากลัว
ส่วนเรื่องธรรมาภิบาล มีปัญหามากในระดับบอร์ด และพนักงาน ท้ายที่สุดทางแก้ต้องแก้เรื่องรายได้ของ กสทช. ที่รายได้สูงมาก และการออกแบบให้เราอิสระเกินไป ก็ทำให้ฟุมเฟื่อย และใช้ไม่ถูกจุด อย่างไรก็ตาม คิดว่าเจตนาของการมีองค์กรอิสระ เพื่อกำกับดูแลอย่าง กสทช. ยังคงต้องมีอยู่ ดีกว่าการไปเป็นหน่วยงานรัฐ
"หากจะปรับแก้ กสทช. จริงๆ ต้องซ่อมจุดอ่อนว่า จะยึดโยงอำนาจตรวจสอบยังไง ต้องเขียนล็อกเรื่องลงมติ เรื่องฉันทามติ แทนการโหวตเสียงข้างน้อย ให้ดิฉันถกเถียงทีไรก็แพ้ทุกที ถ้าต้องมีกรรมการ 11 คนอย่างอิสระ ต้องดูเรื่องการเขียนกฎหมาย ไม่ควรให้ข้างมากเกิน 1 เสียงก็ชนะ รวมถึงอาจจะต้องแก้กฎหมายให้ชัดเจนเรื่องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของ กสทช. ให้สังคมรับทราบ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ" น.ส.สุภิญญา กล่าว
**การเปิดเผยข้อมูลกสทช.ยังไม่โปร่งใส
นางภัทรา โชว์ศรี กล่าวว่า อยากให้เข้าใจบทบาทขอ สตง. ที่มีการตรววจสอบหลายลักษณะ ส่วนตรวจสอบการเงินหัวใจสำคัญ คือการใช้จ่ายเงิน แต่ในส่วนของ กสทช.ไม่ได้ดูแค่การใช้จ่ายเงิน เพราะเป็นหน่วยงานพิเศษ ต้องมองในภาพของการดำเนินงานด้วย จึงเป็นหน่วยที่ดูกฎหมาย โครงสร้างการบริหารบุคคล มองถึงยุทธศาสตร์ แผนแม่บท โครงสร้างบุคลากร ทั้งหมดที่พูดกันผ่านการดู และสะสม เพราะเป็นหน่วยงานใหญ่ และใหม่ อย่างไรก็ตาม รายงานผลปฏิบัติงานปี 2556 เป็นรายงานที่ สตง. ยังไม่ได้รับรอง และแสดงความเห็นจาก สตง. จึงขอให้ กสทช.รอเพื่อให้นำส่วนของ สตง. เข้าไปใส่ด้วย เพราะต้องยอมรับว่าตัวเลขหลายตัวสูงขึ้นมาก
"เรื่องการใช้จ่ายเงินของกสทช.เราจับมาตั้งแต่ปี 53-56 พบว่าบางจุดลดลง แต่สิ่งที่กำลังมอง มองเรื่องการจัดงานอีเวนต์ หลายๆงานที่กสทช.สามารถทำเองได้ แต่กลับจ้างบริษัทภายนอก เพื่อให้การทำโปร่งใสมากขึ้น เพราะตรวจสอบยาก เนื่องจากคุณมีใบเสร็จใบเดียว แล้วจบ จึงอยากให้ทำงานด้วยตัวเอง และกระจายคนมาออกสู่การปฏิบัติมากกว่านี้ ไม่ใช่กองอยู่ในงานบริหาร เพราะถ้าเทียบ สตง. มีคน 2,000 กว่าคน แต่กสทช. พันกว่าคน ดูแลแค่สื่อเท่าน้้น ดังนั้นต้องแสดงถึงประสิทธิภาพในการทำงานของ กสทช. โดยคำนึงถึงการมีธรรมาภิบาล และการตั้งอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ต้องไม่มาโดยระบบโควตา"
จุดหนึ่งที่กสทช. ต้องปรับปรุงแก้ไขคือ การเปิดเผยข้อมูล เพราะกฎหมายระบุแล้วว่า ท่านจะต้องเปิดเผยอะไร แต่การปฏิบัติการเปิดเผย ยังไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และล่าช้ามาก ซึ่ง สตง.พูดถึงเรื่องนี้ในรายงานด้วย เพราะเมื่อใดที่ให้มีการเปิดเผยข้อมูล จะทำให้คนที่คิดทำอะไรนอกลู่นอกทางลำบาก ซึ่งจะไม่ใช่แค่สตง.เท่านั้น ที่จะติดตามตรวจสอบท่าน
"จ่ายเท่าไรไม่ว่า แต่จ่ายแล้วต้องเห็นผลงาน งานคืออะไร กับการจ่ายขนาดนั้น สตง. พยายามดูแล กสทช. อย่างมากๆ ตาของทุกคนสำคัญมากกว่า เพราะตาของสังคมที่จะช่วยกันตรวจสอบ กสทช. เพราะประโยชน์จะตกกับเราทุกคนและคิดว่า กสทช.ควรมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานที่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์ไม่ผ่าน ควรต้องมีมาตรการยังไงบ้าง คิดว่ายังต้องมีการแก้ไขกฎหมายของ กสทช. แต่คิดว่า กสทช. ยังคงต้องมีอยู่ " นางภัทรา กล่าว
** ต้องควบคุมเนื้อหาให้ตรงตามสัญญา
นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กล่าวว่า อยากฝากประเด็นให้จับตาการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่เปลี่ยนจากสัมปทานของหน่วยงานรัฐกลับมาจัดสรรใหม่ ที่ต้องดูเรื่องหลักเกณฑ์ ความจำเป็นที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาว่า คลื่นกำหนดอายุกี่ปี รอดูว่าจะได้จัดรสรรเมื่อไร รวมทั้งการให้ใบอนุญาต ทีวีสาธารณะไม่มีการออกหลักเกณฑ์ประกวด คุณสมบัติ และ ไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากสังคม เราอาจจะเห็นหน่วยงานรัฐเข้ามา อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม ส่วนการปฏิรูประดับเนื้อหา จะทำอย่างไร ที่จะสนับสนุนผู้ผลิตสื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งจะกำกับดูแลเนื้อหาทีวีช่องธุรกิจยังไง เพราะปัจจุบันพบว่าบางรายการได้ช่องข่าวไป แต่ก็ทำข่าวกอสซิบบันเทิง ข่าวดารา
ขอตั้งข้อสังเกตว่า มีใครเคยเห็นการนำงานวิจัยของ กสทช. ที่ใช้งบประมาณจำนวนมากจัดทำขึ้นเว็บไซต์ของ กสทช. หรือไม่ มีใครเคยเห็นเอกสารวิจัยมาแสดงในงานการทำประชาพิจารณ์ของกสทช.หรือไม่ ว่าอยู่ที่ไหน ซึ่งผมก็ไม่เคยเห็นเลย ทั้งที่ทราบมาว่า ใช้เงินทำวิจัยมากถึง 330 ล้านบาทในการจ้างที่ปรึกษาทำเรื่องนี้ เมื่อปี 56 และมีข่าววงในจากเพื่อนนักวิชาการ ที่ไปรับงานวิจัยของ กสทช. ระบุว่า บางโปรเจกต์ งบวิจัยสูงถึง 10-20 ล้านบาท รวมถึงงบดูงานต่างประเทศ แต่พบว่า ไมใช่เฉพาะคนที่วิจัยไปต่างประเทศเท่านั้น แต่มีคนของ กสทช. ต้องไปด้วย และคนที่ไปด้วยกลับฟังภาษาอังกฤษยังไม่ได้ ก็เหมือนลักษณะหมุนๆ กันไป
**จ่ายเบี้ยประชุมอนุฯ เว่อร์
ส่วนประเด็นของการตั้งอนุกรรมการ ถามว่า มีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ ในการเข้ามาเป็น หรือเป็นเพียงความชอบของ กสทช. แต่ละคนเท่านั้นในการใช้โควต้าในการเลือก เพราะถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องพวกนี้ เราจะรู้ว่า ใครทำงาน ใครไม่ทำงาน เพราะทราบมาว่าเบี้ยประชุมครั้งละ 8,000 บาท บางคนพูดกันคนละ 2 นาที ก็รับเงินเบี้ยประชุม ซึ่งการมีอนุกรรมการ มากเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์ และมีข่าวว่าจะปรับเบี้ยประชุมเพิ่มเป็น 15,000บาท เพราะอนุกรรมการบางคน มาถึงก็แค่เปิดอ่านแฟ้มที่เจ้าหน้าที่ กสทช.เตรียมไว้ในที่ประชุม แล้วก็พูดโดยไม่ทำการบ้านมาก่อน ดังนั้นคิดว่าต้องพิจารณาว่า งานเรื่องไหนสำคัญ และจำเป็นที่ควรมีอนุกรรมการ
ส่วนเรื่องงบฯ เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ ฝากกรรมการ กสทช. ช่วยแชร์ประสบการณ์จากไปต่างประเทศให้สังคมได้รับทราบบ้าง เพราะมีมูลค่าสูง จะได้รู้ว่าท่านได้ทำอะไรในการทำนโยบายบ้าง รวมทั้งต้องการให้ กสทช. เป็นองค์กรที่มีพื้นที่ถกเถียงและผลิตนโยบาย โดยการดึงการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปมีส่วนร่วมถกเถียงก่อนออกนโยบาย ไม่ใช่แค่การเข้าไปควบคุมแล้วสั่งการเท่านั้น เพราะบางประกาศ ที่มีผลกระทบก็ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วม
อย่างไรก็ตามมีกลไกอื่นในการตรวจสอบทั้งสื่อ และนักวิชาการแต่ กสทช.ใช้เงินซื้อพื้นที่ประชาสัมพันธ์ 184 ล้านบาท สื่อที่รับเงินจาก กสทช.จะทำหน้าที่ได้เต็มที่ได้อย่างไร เพราะลงข่าวประชาสัมพันธ์โจมตีฝ่ายที่เห็นต่างจาก กสทช. ไม่ต่างจากข่าวที่ กสทช.เขียนเอง จึงขอฝากสื่อไปดูแลตรวจสอบกันด้วย รวมทั้งกสทช. เป็นแหล่งทุนหลักในการทำวิจัย ทำให้นักวิชาการไม่กล้าวิจารณ์ กสทช. อาทิ ผลิตงานวิจัยออกมาเรื่องประมูลคลื่น 3 จี ผู้รับงานวิจัยไม่ได้ออกมาพูดเลยว่า กสทช.นำไปใช้ตรงกับที่ท่านวิจัยหรือไม่ พอเห็นเราออกมาวิจารณ์ ก็อัดเรากลับ แทนที่จะเปิดพื้นที่สาธารณะ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือการฟ้องร้อง สุดท้ายตนอยากเห็น กสทช. ยึดมั่นในการปฏิรูปสื่อ มากกว่าโอนเอียงไปกับอำนาจต่างๆ
น.ส.สุวรรณา สมบัติรักษาสุข กล่าวว่า กสทช. มีความสำคัญ และจำเป็นในสังคมไทย ซึ่งการปฏิรูปสื่อ หมายถึงการปรับปรุงการใช้ทรัพยากรของรัฐ การผ่อนคลายการผูกขาดของรัฐ กระจายการถือครอง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงสื่อ และก่อให้เกิดการแข่งขันโดยบริสุทธิ์ เป็นธรรม โดยมีเป้าหมาเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผูกขาด ให้หลักประกันในการสื่อสารของคนทุกกลุ่มในสังคม และสร้างมาตรฐานของเนื้อหารายการ
ทั้งนี้ ภารกิจในการปฏิรูปสื่อ มีอยู่ 3 ด้าน คือ 1. การกระจายการถือครองคลื่นความถี่ ตรงตามเจตนารมณ์หรือไม่ 2. ประชาชนได้เข้าถึงอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ 3. การแข่งขันที่เสรี และเป็นธรรม นี่คือประเด็นที่สังคมต้องจับตา จึงคิดว่า กสทช. ยังมีความจำเป็นยังคงต้องคงอยู่ต่อไป แต่มีบางอย่างที่ต้องแก้ไข
จากการที่เคยเป็นอนุกก.ยกร่างกฎหมายการประกอบกิจการฯ และรู้ปัญหาของวิทยุกระจายเสียง จึงมีโอกาสจับตาดู กสทช. มาโดยตลอด และที่มาของการยกร่างกฎหมายฉบับนั้น อยู่บนแนวคิดว่า ต้องคลี่นความถี่วิทยุมีได้ 524 คลื่นในทั่วประเทศ และใน 524 คลื่น แบ่งเป็น ของกรมประชาสัมพันธ์ 100 กว่าคลื่น กองทัพบก 100 กว่าคลื่น อสมท. 62 คลื่น ถามว่านี่คือทรัพยากรไม่มีเอกชน และประชาชนเป็นเจ้าของเลย ดังนั้นเราต้องการการกระจายการถือครอง 524 คลื่น และวันนี้ ต้องถามว่า หน่วยงานเหล่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีคลื่นเหล่านี้และท่านสามารถลดการถือครองรวมกันเหลือ 209 คลื่นได้หรือไม่ แต่ผลปรากฏว่า วันนี้เรามีวิทยุเป็นหมื่นๆ คลื่นทั้งที่ 524 คลื่น ยังไม่ได้รับการจัดสรร และยังคงอยู่ การกระจายคลื่นหลักยังไม่เกิดขึ้น ถ้ากสทช. ทำงานภายใต้การยกร่างนั้นง่ายๆ เลย
"เราไม่คิดว่า เราจะเกิดภาวการณ์ ที่วิทยุชุมชนเกิดขึ้นเป็นหมื่นคลื่น แล้วเราจะจัดสรรให้เราอยู่กันอย่างมีความสุขได้อย่างไร ซึ่งเราเข้าใจว่า เมื่อเกิดกสทช.ตามพ.ร.บ.จัดสรรคลื่นความถี่แล้ว จะจัดการ 524 คลื่น แต่ท่านไม่ได้ทำเลยแม้แต่นิดเดียว"
ส่วนเรื่องทีวีดิจิตัล มี 48 ช่องใหม่ มีการจัดสรรช่องธุรกิจไปแล้ว 24 ช่อง ยังเหลือชุมชนอีก 12 ช่อง ที่ยังไม่มีพูดถึง และไม่ต้องพูดถึงช่องสาธารณะ ที่มีการจัดสรรไปแล้วบางส่วน แต่ขณะนี้มีคนวิเคราะห์ว่า ช่องธุรกิจ 24 ช่อง กำลังจะตาย และไปไม่รอด นี่คือ ผลงานที่ กสทช. มองแต่ผลงานข้างหน้า โดยไม่มองปัญหาข้างหลัง ซึ่งขณะนั้น ผู้ยกร่างกฎหมายมองว่า ช่องอนาล็อก 6 ช่องในปัจจุบัน ควรกระจายให้ชุมชน และบริการสาธารณะ และธุรกิจโดยสัดส่วนที่เป็นธรรม จึงมีคนสงสัยว่า มีการแบ่ง 12 ช่องสาธารณะ แบ่งเพื่ออะไร อยากจะบอกว่า กสทช.ไม่ได้ใช้ และตีความกฎหมายที่ให้อำนาจ กสทช.ดำเนินการ แต่กลับดำเนินการตามที่ท่านคิดว่าอยากทำ โดยลืมนึกว่ากฎหมายมีหลักการใช้ และการตีความ กฎหมาย
" กสทช.เพราะเอากฎหมายเรื่องการแบ่งช่องสาธารณะใบอนุญาต ประเภท 1 มาตรา10 (ก) บอกว่าให้ออกเพื่อให้การส่งเสริมความรู้ การศึกษา ศาสนา ศิลปะวัฒนาธรรม วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม ขอให้ท่านดูบทกฎหมายแล้วถาม กสทช.ใช้และตีความกฎหมายแบบไหน เอามาตัดความ ตื่นเช้ามาต้องได้ดูวิทยาศาสตร์ แต่ท่านกลับเอา 1วรรค ของกฎหมายมาแบ่งเป็น 3 ช่อง นั่นหมายความว่า ช่องสาธารณะช่องที่ 1 ท่านตื่นเช้าขึ้นมาท่านต้องได้ดูความรู้ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม อย่างอื่น ท่านไม่ได้ ช่องที่ 2 ท่านต้องได้ดูศิลปวัฒนธรรม ช่องที่ 3 ท่านต้องได้ดูสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของประชาชน ท่านจะไม่ได้เห็นทีวีในปัจจุบันแบบนี้ นี่คือปัญหาที่พูดมา ตลอด"
และในวงเล็บ (ข) แบ่งเป็น 2แบบ คือเพื่อความมั่นคง และความปลอดภัย แต่ข้อนี้ท่านเอาอะไรมาตัดสินว่าต้อง 3 ช่อง และวงเล็บ (ค.) ก็แบ่ง 3 ช่อง รวมเป็น 12 ช่อง นี่คือปัญหาเรื่องการใช้ และการตีความกฎหมาย วันนั้นเราไม่มีความรู้เรื่องสื่อสาธารณะมากนัก ตนจึงเขียนวงเล็บ ก. เอง ว่าสื่อสาธารณะต้องเป็นองค์ประกอบที่เป็นความรู้ซึ่งในประเภทที่ 1 ดังนั้น ช่องทีวีดิจิตัลจริงๆ ต้องมีความหลากหลายผสมกัน นี่จึงเป็นปัญหาของการใช้ และการตีความกฎหมายของ กสทช.
สำหรับเรื่องการแข่งขันเสรีที่เป็นธรรม ระบุตามกฎหมายว่า ต้องป้องกันในส่วนของการถือครองเพื่อการแข่งขันเสรี และเป็นธรรม ซึ่งไม่เห็นว่า กสทช. จะทำอะไรเลย วันนี้เปิดทีวีดิจิตัล ก็มีการถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อ จะเห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ ไปถือครองทีวีดิจิตัล ครบถ้วนแล้ว แล้วจากนี้ กสทช.จะเก็บไปตัดสินเหมือนที่ปล่อยให้มีวิทยุชุมชน เป็นหมื่นคลื่นหรือไม่ ก็คาดหวังว่าจะไม่ทำแบบนั้น
** กสทช.ละเลงเงินไม่คุ้มกับงาน
ประเด็นปัญหาที่นำไปสู่การปฏิรูป กสทช. คือ เรื่องการบริการจัดการ ที่ต้องดูเรื่องแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ ที่เป็นปัญหามาก ดูโครงสร้างสำนักงาน กสทช. โครงสร้างบุคลากร กฎระเบียบ และเรื่องงบประมาณ ซึ่งจากการตรวจสอบจากเว็บไซต์ ของ กสทช. ระบุว่า ต้องมีการเปิดเผยข้อมูลของ กสทช. สู่สาธารณะ แต่กลับไม่พบรายงานประจำปีในเว็บไซต์ จนต้องตามหาหนังสือสรุปรายการงาน 2 เล่มของ กสทช. พบว่าโครงสร้างของ กสทช. มีทั้งหมด 46 สาย โดยงานกำกับดูแลวิทยุ ทีวีดิจิติล ทีวีดาวเทยม เขามีคน 1,083 คน มีผู้บริหารระดับต้น 70 คน พนักงานปฏิบัติการระดับสูง 310 คน พนักงานปฏิบัติการระดับต้น 68 คน และพนักงานสัญญาจ้างอีกว่า 300 กว่าคน และพนักงานที่ไม่รวมผู้เชี่ยวชาญ ก็มีประมาณ 900กว่าคน จึงทำให้กสทช. มีโครงสร้าง ที่หัวใหญ่กว่าหาง และมีข้อมูลระบุข้อมูลว่าใน 46 สายงาน มีคนดูแลงานด้านกิจการวิทยุและโทรทัศน์ เพียง 264 คน มี 64 คนในการออกใบอนุญาต และคนดูแลการใช้คลื่นวิทยุและโทรทัศน์ 14 คน ซึ่งมีคนแค่นี้ ไม่เพียงพอ
เรื่องการใช้จ่ายบุคลากร ทั้ง 1,083 คน นั้นใช้งบประมาณปี 2556 จำนวน 634 ล้านกว่าบาท พนักงาน 1 คนกินเงินเดือน 48,000 บาท/เดือน มีค่าตอบแทนกสทช. ประมาณ 270,000 บาท บำเหน็จอัตราเฉลี่ย 79,000บาท และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเบี้ยประชุมของกรรมการ 50 ล้านบาท ค่าเดินทางไปต่างประเทศ 32 ล้านบาท ค่าจ้างเหมารายการจัดอีเวนท์ 274 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายใจการประชาสัมพันธ์ 180 กว่าล้าน ค่าจ้างที่ปรึกษา 329 ล้านบาท เงินบริจาคและการกุศล 99 ล้านบาท ซึ่งตนย้ำว่า นี่คือข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือรายงานประจำปีของ กสทช. และนอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา เรื่องการใช้จ่ายปี 56 ในส่วนของค่าใช้จ่ายของอนุกรรมการ และคณะทำงานของ กสทช. 840 คน ประมาณ 49 ล้านบาท
ดังนั้น แนวทางขับเคลื่อนการการปฏิรูประยะสั้น สังคมต้องช่วยกันตรวจสอบในความมีธรรมาภิบาล ประกอบกับการประเมินการใช้งบประมาณ อย่างมีประสิทธิภาพ และ กสทช.เองก็ต้องไม่ทิ้งแนวคิดในการปฏิรูปสื่อ แต่ตนยืนยันว่า กสทช. ยังต้องเป็นองค์กรอิสระแบบนี้ แต่จะอิสระอย่างไร ก็ต้องไม่ทิ้งเรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างการผูกขาด ให้หลักประกันการมีเสรีภาพเข้าถึงของคนทุกกลุ่ม และสร้างมาตรฐานเนื้อหาสาระที่หลากหลาย ส่วนระยะยาวต้องปรับแก้กฎหมายเพื่อสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต และต้องเป็นองค์กรที่โปร่งใสตรวจสอบได้
นอกจากนี้ยังขอเสนอแนวคิด “ฉันทามติ”ว่า น่าจะถูกนำมาใช้ในการทำงานของ กสทช. หมายความว่า คน 11 คน (กรรมการกสทช.) ต้องออกมติให้ได้ให้เป็นเอกฉันท์ เพราะทุกวันนี้ แพ้เขา 1 เสียง ก็แพ้แล้ว และผู้บริโภคเป็นเสียงข้างน้อยเสมอ และเสนอให้แยกองค์กรให้เล็กลง เป็นสององค์กร ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรหนึ่งกำกับโทรคมนาคม และอีกองค์กรก็กำกับดูแลวิทยุและโทรทัศน์
** คนที่รู้เรื่องสื่อในกสทช.มีน้อย
น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า ที่รัฐธรรมนูญออกแบบกสทช. มาให้เป็นองค์กรอิสระเพื่อทำงานได้เร็ว โดยยอมรับว่าเรื่องของการกำกับดูแล กสทช. น่าจะติดลบ แต่การจัดสรรคลื่น ถือว่าเป็นเรื่องเด่น เพราะมีแรงงจูงใจเป็นผลประโยชน์ทางธุรกิจ จะเห็นจากการจัดสรรคลื่น 2100 ของโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้รัฐได้งบประมาณต่ำ และเปลี่ยนเป็นคลื่น UHFของทีวี อันนี้ได้งบสูงแต่จะทำให้เอกชนอยู่ได้หรือไม่ ต้องดูต่อไป และ ที่วิจารณ์ว่า กสทช. แตะเรื่องปฏิรูปสื่อของรัฐน้อย แม้จะมีการออกแบบไว้แล้ว แต่ส่วนของทีวี มีการทำอยู่แต่หาโจทย์ที่วินวิน ไม่ได้
"แม้กสทช.จะสอบไม่ตก แต่อาจจะได้คะแนนไม่ดี แต่เรื่องการกำกับดูแล อาจจะสอบตก เพราะ ในกิจการโทรทัศน์รายใหม่ อยากจะเข้ามามาก แม้รายเดิมก็พยายามจะถ่วงก็ตาม และไม่อยากให้กำกับ และยอมรับว่า งานยุทธศาสตร์สำคัญของกสทช. มีบุคลากรน้อย แต่งานบริการกลับมีคนมากกว่า เงินมีเยอะ แต่ไม่เป็นไปตามภารกิจ ที่ต้องได้รับการปฏิรูป ซึ่งเป็นการต่อสู้กันภายใน แต่ก็จะพยายามจะทำให้มีสต๊าฟมากขึ้น แต่ก็อยู่ที่กรรมการ จะตัดสิน แต่ทั้งนี้หลังจากถูกตรวจสอบมากขึ้น ก็คึกคักมากขึ้นหวังว่าจะดีขึ้น แต่ต้องปรับเรื่องกำลังคน เพราะเงินไปอยู่ในส่วนที่ไม่จำเป็น มากกว่าส่วนที่จำเป็น"
ทั้งนี้ ถ้าจะต้องปฏิรูป กสทช. หากจะต้องแก้ กม. ต้องให้น้ำหนักเรื่องการกำกับดูแลมากขึ้น เพราะไม่มีใครอยากทำตรงนี้ สัดส่วนของคนที่เข้าไปในกสทช. รู้เรื่องสื่อก็มีน้อย เพราะพูดเรื่องสิทธิเสรีภาพ จริยธรรม กับกรรมการคนอื่นต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี เพราะคนเชี่ยวชาญด้านสื่อใน กสทช. มีน้อยมาก หากจะแก้กฎหมายควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านนั้นจริงๆเข้ามา ต้องได้คนที่เข้าใจเรื่องสื่อสารมวลชน ทำเรื่องกำกับดูแลให้เป็นรูปธรรม มีการวัดผลแบบ KPI แม้กฎหมายเขียนให้ถอดถอน กสทช.ได้ แต่ก็ไม่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นต้องแก้กฎหมายให้เขากลัว
ส่วนเรื่องธรรมาภิบาล มีปัญหามากในระดับบอร์ด และพนักงาน ท้ายที่สุดทางแก้ต้องแก้เรื่องรายได้ของ กสทช. ที่รายได้สูงมาก และการออกแบบให้เราอิสระเกินไป ก็ทำให้ฟุมเฟื่อย และใช้ไม่ถูกจุด อย่างไรก็ตาม คิดว่าเจตนาของการมีองค์กรอิสระ เพื่อกำกับดูแลอย่าง กสทช. ยังคงต้องมีอยู่ ดีกว่าการไปเป็นหน่วยงานรัฐ
"หากจะปรับแก้ กสทช. จริงๆ ต้องซ่อมจุดอ่อนว่า จะยึดโยงอำนาจตรวจสอบยังไง ต้องเขียนล็อกเรื่องลงมติ เรื่องฉันทามติ แทนการโหวตเสียงข้างน้อย ให้ดิฉันถกเถียงทีไรก็แพ้ทุกที ถ้าต้องมีกรรมการ 11 คนอย่างอิสระ ต้องดูเรื่องการเขียนกฎหมาย ไม่ควรให้ข้างมากเกิน 1 เสียงก็ชนะ รวมถึงอาจจะต้องแก้กฎหมายให้ชัดเจนเรื่องเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินของ กสทช. ให้สังคมรับทราบ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ" น.ส.สุภิญญา กล่าว
**การเปิดเผยข้อมูลกสทช.ยังไม่โปร่งใส
นางภัทรา โชว์ศรี กล่าวว่า อยากให้เข้าใจบทบาทขอ สตง. ที่มีการตรววจสอบหลายลักษณะ ส่วนตรวจสอบการเงินหัวใจสำคัญ คือการใช้จ่ายเงิน แต่ในส่วนของ กสทช.ไม่ได้ดูแค่การใช้จ่ายเงิน เพราะเป็นหน่วยงานพิเศษ ต้องมองในภาพของการดำเนินงานด้วย จึงเป็นหน่วยที่ดูกฎหมาย โครงสร้างการบริหารบุคคล มองถึงยุทธศาสตร์ แผนแม่บท โครงสร้างบุคลากร ทั้งหมดที่พูดกันผ่านการดู และสะสม เพราะเป็นหน่วยงานใหญ่ และใหม่ อย่างไรก็ตาม รายงานผลปฏิบัติงานปี 2556 เป็นรายงานที่ สตง. ยังไม่ได้รับรอง และแสดงความเห็นจาก สตง. จึงขอให้ กสทช.รอเพื่อให้นำส่วนของ สตง. เข้าไปใส่ด้วย เพราะต้องยอมรับว่าตัวเลขหลายตัวสูงขึ้นมาก
"เรื่องการใช้จ่ายเงินของกสทช.เราจับมาตั้งแต่ปี 53-56 พบว่าบางจุดลดลง แต่สิ่งที่กำลังมอง มองเรื่องการจัดงานอีเวนต์ หลายๆงานที่กสทช.สามารถทำเองได้ แต่กลับจ้างบริษัทภายนอก เพื่อให้การทำโปร่งใสมากขึ้น เพราะตรวจสอบยาก เนื่องจากคุณมีใบเสร็จใบเดียว แล้วจบ จึงอยากให้ทำงานด้วยตัวเอง และกระจายคนมาออกสู่การปฏิบัติมากกว่านี้ ไม่ใช่กองอยู่ในงานบริหาร เพราะถ้าเทียบ สตง. มีคน 2,000 กว่าคน แต่กสทช. พันกว่าคน ดูแลแค่สื่อเท่าน้้น ดังนั้นต้องแสดงถึงประสิทธิภาพในการทำงานของ กสทช. โดยคำนึงถึงการมีธรรมาภิบาล และการตั้งอนุกรรมการ ที่ปรึกษา ต้องไม่มาโดยระบบโควตา"
จุดหนึ่งที่กสทช. ต้องปรับปรุงแก้ไขคือ การเปิดเผยข้อมูล เพราะกฎหมายระบุแล้วว่า ท่านจะต้องเปิดเผยอะไร แต่การปฏิบัติการเปิดเผย ยังไม่เป็นไปตามกฎหมายกำหนด และล่าช้ามาก ซึ่ง สตง.พูดถึงเรื่องนี้ในรายงานด้วย เพราะเมื่อใดที่ให้มีการเปิดเผยข้อมูล จะทำให้คนที่คิดทำอะไรนอกลู่นอกทางลำบาก ซึ่งจะไม่ใช่แค่สตง.เท่านั้น ที่จะติดตามตรวจสอบท่าน
"จ่ายเท่าไรไม่ว่า แต่จ่ายแล้วต้องเห็นผลงาน งานคืออะไร กับการจ่ายขนาดนั้น สตง. พยายามดูแล กสทช. อย่างมากๆ ตาของทุกคนสำคัญมากกว่า เพราะตาของสังคมที่จะช่วยกันตรวจสอบ กสทช. เพราะประโยชน์จะตกกับเราทุกคนและคิดว่า กสทช.ควรมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานที่ชัดเจน ถ้าเกณฑ์ไม่ผ่าน ควรต้องมีมาตรการยังไงบ้าง คิดว่ายังต้องมีการแก้ไขกฎหมายของ กสทช. แต่คิดว่า กสทช. ยังคงต้องมีอยู่ " นางภัทรา กล่าว
** ต้องควบคุมเนื้อหาให้ตรงตามสัญญา
นายวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กล่าวว่า อยากฝากประเด็นให้จับตาการจัดสรรคลื่นความถี่ ที่เปลี่ยนจากสัมปทานของหน่วยงานรัฐกลับมาจัดสรรใหม่ ที่ต้องดูเรื่องหลักเกณฑ์ ความจำเป็นที่อยู่ในกระบวนการพิจารณาว่า คลื่นกำหนดอายุกี่ปี รอดูว่าจะได้จัดรสรรเมื่อไร รวมทั้งการให้ใบอนุญาต ทีวีสาธารณะไม่มีการออกหลักเกณฑ์ประกวด คุณสมบัติ และ ไม่ผ่านการทำประชาพิจารณ์จากสังคม เราอาจจะเห็นหน่วยงานรัฐเข้ามา อาจจะทำให้เกิดการแข่งขันไม่เป็นธรรม ส่วนการปฏิรูประดับเนื้อหา จะทำอย่างไร ที่จะสนับสนุนผู้ผลิตสื่อที่หลากหลายยิ่งขึ้น รวมทั้งจะกำกับดูแลเนื้อหาทีวีช่องธุรกิจยังไง เพราะปัจจุบันพบว่าบางรายการได้ช่องข่าวไป แต่ก็ทำข่าวกอสซิบบันเทิง ข่าวดารา
ขอตั้งข้อสังเกตว่า มีใครเคยเห็นการนำงานวิจัยของ กสทช. ที่ใช้งบประมาณจำนวนมากจัดทำขึ้นเว็บไซต์ของ กสทช. หรือไม่ มีใครเคยเห็นเอกสารวิจัยมาแสดงในงานการทำประชาพิจารณ์ของกสทช.หรือไม่ ว่าอยู่ที่ไหน ซึ่งผมก็ไม่เคยเห็นเลย ทั้งที่ทราบมาว่า ใช้เงินทำวิจัยมากถึง 330 ล้านบาทในการจ้างที่ปรึกษาทำเรื่องนี้ เมื่อปี 56 และมีข่าววงในจากเพื่อนนักวิชาการ ที่ไปรับงานวิจัยของ กสทช. ระบุว่า บางโปรเจกต์ งบวิจัยสูงถึง 10-20 ล้านบาท รวมถึงงบดูงานต่างประเทศ แต่พบว่า ไมใช่เฉพาะคนที่วิจัยไปต่างประเทศเท่านั้น แต่มีคนของ กสทช. ต้องไปด้วย และคนที่ไปด้วยกลับฟังภาษาอังกฤษยังไม่ได้ ก็เหมือนลักษณะหมุนๆ กันไป
**จ่ายเบี้ยประชุมอนุฯ เว่อร์
ส่วนประเด็นของการตั้งอนุกรรมการ ถามว่า มีความเชี่ยวชาญจริงหรือไม่ ในการเข้ามาเป็น หรือเป็นเพียงความชอบของ กสทช. แต่ละคนเท่านั้นในการใช้โควต้าในการเลือก เพราะถ้ามีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องพวกนี้ เราจะรู้ว่า ใครทำงาน ใครไม่ทำงาน เพราะทราบมาว่าเบี้ยประชุมครั้งละ 8,000 บาท บางคนพูดกันคนละ 2 นาที ก็รับเงินเบี้ยประชุม ซึ่งการมีอนุกรรมการ มากเกินไปก็ไม่เกิดประโยชน์ และมีข่าวว่าจะปรับเบี้ยประชุมเพิ่มเป็น 15,000บาท เพราะอนุกรรมการบางคน มาถึงก็แค่เปิดอ่านแฟ้มที่เจ้าหน้าที่ กสทช.เตรียมไว้ในที่ประชุม แล้วก็พูดโดยไม่ทำการบ้านมาก่อน ดังนั้นคิดว่าต้องพิจารณาว่า งานเรื่องไหนสำคัญ และจำเป็นที่ควรมีอนุกรรมการ
ส่วนเรื่องงบฯ เดินทางไปดูงานที่ต่างประเทศ ฝากกรรมการ กสทช. ช่วยแชร์ประสบการณ์จากไปต่างประเทศให้สังคมได้รับทราบบ้าง เพราะมีมูลค่าสูง จะได้รู้ว่าท่านได้ทำอะไรในการทำนโยบายบ้าง รวมทั้งต้องการให้ กสทช. เป็นองค์กรที่มีพื้นที่ถกเถียงและผลิตนโยบาย โดยการดึงการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปมีส่วนร่วมถกเถียงก่อนออกนโยบาย ไม่ใช่แค่การเข้าไปควบคุมแล้วสั่งการเท่านั้น เพราะบางประกาศ ที่มีผลกระทบก็ไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วม
อย่างไรก็ตามมีกลไกอื่นในการตรวจสอบทั้งสื่อ และนักวิชาการแต่ กสทช.ใช้เงินซื้อพื้นที่ประชาสัมพันธ์ 184 ล้านบาท สื่อที่รับเงินจาก กสทช.จะทำหน้าที่ได้เต็มที่ได้อย่างไร เพราะลงข่าวประชาสัมพันธ์โจมตีฝ่ายที่เห็นต่างจาก กสทช. ไม่ต่างจากข่าวที่ กสทช.เขียนเอง จึงขอฝากสื่อไปดูแลตรวจสอบกันด้วย รวมทั้งกสทช. เป็นแหล่งทุนหลักในการทำวิจัย ทำให้นักวิชาการไม่กล้าวิจารณ์ กสทช. อาทิ ผลิตงานวิจัยออกมาเรื่องประมูลคลื่น 3 จี ผู้รับงานวิจัยไม่ได้ออกมาพูดเลยว่า กสทช.นำไปใช้ตรงกับที่ท่านวิจัยหรือไม่ พอเห็นเราออกมาวิจารณ์ ก็อัดเรากลับ แทนที่จะเปิดพื้นที่สาธารณะ แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือการฟ้องร้อง สุดท้ายตนอยากเห็น กสทช. ยึดมั่นในการปฏิรูปสื่อ มากกว่าโอนเอียงไปกับอำนาจต่างๆ