ASTVผู้จัดการรายวัน-คมนาคมเคาะงบปี 58 ที่ 1.46 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 10.35% โดยเป็นงบลงทุนถึง 1.08 แสนล.เตรียมชี้แจงคสช. 29 ก.ค.นี้ “สร้อยทิพย์”เผยเลื่อนย้ายหมอชิตและอู่ขสมก.เป็นปี 60 ส่อกระทบก่อสร้างสายสีแดง เร่งร.ฟ.ท.-บขส.-ขสมก.ร่วมทำแผนกรอบเวลาย้ายออก ด้านร.ฟ.ท.ยังไม่ปรับแผนก่อสร้างสีแดง ยันเสร็จปี 60 ตามกำหนด
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้ประชุมหัวหน้าหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยสรุปกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2558 รวมทั้งสิ้น146,781.42 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2557 ประมาณ 10.35% โดยแบ่งเป็นงบลงทุน 108,845.87 ล้านบาท (หน่วยงานราชการ 100,687.38 ล้านบาท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 8,158.49 ล้านบาท) โดยจะประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2557และชี้แจงร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วาระ 1 วันที่ 1 สิงหาคม วาระ 2 วันที่ 1 สิงหาคม-5 กันยายน วาระ 3 วันที่ 9 กันยายน และทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 15 กันยายน
ทั้งนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ได้งบประมาณมากที่สุด 61,378.37 ล้านบาท รองลงมาคือ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้รับงบ 40,596.73 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ได้รับ 19,298.21 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับ 9,664.31 ล้านบาท องคืการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมกง) ได้รับ 3,500.15 ล้านบาท
“ได้กำชับให้ทุกหน่วยงาน ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนบริหารงานของ คสช. ซึ่งมีประเด็นหลักเช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน โดยมอบหมายในกรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จัดทำโครงข่ายถนนที่เชื่อมต่อด่านชายแดนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบซึ่งจะเพิ่มจาก 18 ด่านในปัจจุบันเป็น 68 ด่านในปี 2558 ซึ่งจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ซึ่งจะนำเสนอแผนต่อคสช.ต่อไป
รวมถึงให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเข้ามาพร้อมกับการเปิด AEC ซึ่งต้องเข้มงวดในทุกขั้นตอน ทั้งตัวสถานี ยานพาหนะและบุคคลที่ผ่านเข้าออก โดยประสานงานร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข “นางสร้อยทิพย์กล่าว
ส่วนงบประมาณปี 2557 ล่าสุดภาพรวมมีการเบิกจ่ายไปแล้วประมาณ 75% แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 95% แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2556 และค่อนข้างพอใจเนื่องจากปี2556ถึง 2557 ที่มีการชุมนุมต่อเนื่อง โดยในช่วงท้ายปีงบประมาณ 2557 นี้หน่วยงานยืนยันว่าจะเร่งรัดได้มาก เนื่องจากได้มีการเตรียมแผนการก่อสร้างไว้แล้วเมื่อได้รับอนุมัติสามารถดำเนินการได้ทันทีพร้อมกันนี้จะเร่งผูกพันในส่วนของงบโครงการต่างๆ ด้วย
**เลื่อนย้ายหมอชิต-ขสมก.กระทบสายสีแดง**
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธินวานนี้ (21 ก.ค.) ว่า ได้หารือร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยได้มอบให้ทั้ง 3 หน่วยงาน เร่งจัดทำกรอบเวลาการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต พื้นที่ 75 ไร่ และอู่จอดรถของ ขสมก. พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อ ก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของ ร.ฟ.ท. และรายงานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาพื้นที่อีกครั้งเพื่อสรุปรายละเอียด พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการจราจรเมื่อมีการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ออกไป ทั้งนี้ ตามแผนเดิม บขส. และขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่แล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตของ ร.ฟ.ท. แต่ล่าสุด คาดว่า
ทั้ง บขส. และ ขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่ทั้งหมดได้ภายในปี 2560 คาดว่า ขสมก.จะย้ายไปอยู่ใต้ทางด่วนโดยจะก่อสร้างทั้งอู่จอดรถ พื้นที่ 9 ไร่ และอู่สำหรับเติมก๊าซ NGV พื้นที่ 3.5ไร่ ส่วนบขส.นั้นอยู่ระหว่างสรุปแผนที่จะย้ายสถานีขนส่งไปอยู่ที่ใหม่
“ได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงาน เร่งสรุปกรอบระยะเวลาการย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งจะเป็นลักษณะการทยอยย้ายออกควบคู่กับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งสัญญาก่อสร้างสายสีแดงจะแล้วเสร็จในปี 2560 โดยคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการก่อสร้าง ส่วนแผนการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อนั้นขณะนี้ได้จัดทำแผนเสร็จแล้วพร้อมจะเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา”นางสร้อยทิพย์ กล่าว
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวถึงแผนการย้ายสถานี ขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร) ว่า ที่ผ่านมา บขส.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่จะทำการย้ายสถานีขนส่งโดยมี 4 จุด ประกอบด้วย บริเวณเมืองทองธานี ,บริเวณรังสิต และบริเวณดอนเมืองฝั่งซ้าย และฝั่งขวา โดยแผนดังกล่าวได้จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ ปี 2555
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอ คสช.พิจารณา หาก คสช.อนุมัติบขส.ก็พร้อมที่จะดำเนินการทันที
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กล่าวว่า แม้การโยกย้ายออกจากพื้นที่ของ บขส.และ ขสมก.จะล่าช้ากว่าแผน แต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่มีการปรับแผนก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี2560 เพราะเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ โดยทยอยเข้าพื้นที่ที่สามารถทำได้ พร้อมทั้งประสานกับผู้รับเหมาปรับการทำงานให้เร็วขึ้น
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ได้ประชุมหัวหน้าหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยสรุปกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2558 รวมทั้งสิ้น146,781.42 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2557 ประมาณ 10.35% โดยแบ่งเป็นงบลงทุน 108,845.87 ล้านบาท (หน่วยงานราชการ 100,687.38 ล้านบาท หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ 8,158.49 ล้านบาท) โดยจะประชุมร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2557และชี้แจงร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 วาระ 1 วันที่ 1 สิงหาคม วาระ 2 วันที่ 1 สิงหาคม-5 กันยายน วาระ 3 วันที่ 9 กันยายน และทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 15 กันยายน
ทั้งนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ได้งบประมาณมากที่สุด 61,378.37 ล้านบาท รองลงมาคือ กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ได้รับงบ 40,596.73 ล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ได้รับ 19,298.21 ล้านบาท การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับ 9,664.31 ล้านบาท องคืการขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมกง) ได้รับ 3,500.15 ล้านบาท
“ได้กำชับให้ทุกหน่วยงาน ดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนบริหารงานของ คสช. ซึ่งมีประเด็นหลักเช่น การพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน โดยมอบหมายในกรมทางหลวง(ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) จัดทำโครงข่ายถนนที่เชื่อมต่อด่านชายแดนที่กระทรวงคมนาคมรับผิดชอบซึ่งจะเพิ่มจาก 18 ด่านในปัจจุบันเป็น 68 ด่านในปี 2558 ซึ่งจะเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ซึ่งจะนำเสนอแผนต่อคสช.ต่อไป
รวมถึงให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเข้ามาพร้อมกับการเปิด AEC ซึ่งต้องเข้มงวดในทุกขั้นตอน ทั้งตัวสถานี ยานพาหนะและบุคคลที่ผ่านเข้าออก โดยประสานงานร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข “นางสร้อยทิพย์กล่าว
ส่วนงบประมาณปี 2557 ล่าสุดภาพรวมมีการเบิกจ่ายไปแล้วประมาณ 75% แม้จะต่ำกว่าเป้าหมายที่ 95% แต่ถือว่าอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับปี 2556 และค่อนข้างพอใจเนื่องจากปี2556ถึง 2557 ที่มีการชุมนุมต่อเนื่อง โดยในช่วงท้ายปีงบประมาณ 2557 นี้หน่วยงานยืนยันว่าจะเร่งรัดได้มาก เนื่องจากได้มีการเตรียมแผนการก่อสร้างไว้แล้วเมื่อได้รับอนุมัติสามารถดำเนินการได้ทันทีพร้อมกันนี้จะเร่งผูกพันในส่วนของงบโครงการต่างๆ ด้วย
**เลื่อนย้ายหมอชิต-ขสมก.กระทบสายสีแดง**
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธินวานนี้ (21 ก.ค.) ว่า ได้หารือร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยได้มอบให้ทั้ง 3 หน่วยงาน เร่งจัดทำกรอบเวลาการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิต พื้นที่ 75 ไร่ และอู่จอดรถของ ขสมก. พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อ ก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ของ ร.ฟ.ท. และรายงานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาพื้นที่อีกครั้งเพื่อสรุปรายละเอียด พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการจราจรเมื่อมีการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ออกไป ทั้งนี้ ตามแผนเดิม บขส. และขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่แล้วเสร็จในปี 2558 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตของ ร.ฟ.ท. แต่ล่าสุด คาดว่า
ทั้ง บขส. และ ขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่ทั้งหมดได้ภายในปี 2560 คาดว่า ขสมก.จะย้ายไปอยู่ใต้ทางด่วนโดยจะก่อสร้างทั้งอู่จอดรถ พื้นที่ 9 ไร่ และอู่สำหรับเติมก๊าซ NGV พื้นที่ 3.5ไร่ ส่วนบขส.นั้นอยู่ระหว่างสรุปแผนที่จะย้ายสถานีขนส่งไปอยู่ที่ใหม่
“ได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงาน เร่งสรุปกรอบระยะเวลาการย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งจะเป็นลักษณะการทยอยย้ายออกควบคู่กับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งสัญญาก่อสร้างสายสีแดงจะแล้วเสร็จในปี 2560 โดยคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการก่อสร้าง ส่วนแผนการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อนั้นขณะนี้ได้จัดทำแผนเสร็จแล้วพร้อมจะเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา”นางสร้อยทิพย์ กล่าว
ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวถึงแผนการย้ายสถานี ขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร) ว่า ที่ผ่านมา บขส.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่จะทำการย้ายสถานีขนส่งโดยมี 4 จุด ประกอบด้วย บริเวณเมืองทองธานี ,บริเวณรังสิต และบริเวณดอนเมืองฝั่งซ้าย และฝั่งขวา โดยแผนดังกล่าวได้จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ ปี 2555
ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอ คสช.พิจารณา หาก คสช.อนุมัติบขส.ก็พร้อมที่จะดำเนินการทันที
ด้านนายภากรณ์ ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ในฐานะประธานคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กล่าวว่า แม้การโยกย้ายออกจากพื้นที่ของ บขส.และ ขสมก.จะล่าช้ากว่าแผน แต่ ร.ฟ.ท.ยังไม่มีการปรับแผนก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปี2560 เพราะเชื่อว่าจะสามารถบริหารจัดการได้ โดยทยอยเข้าพื้นที่ที่สามารถทำได้ พร้อมทั้งประสานกับผู้รับเหมาปรับการทำงานให้เร็วขึ้น