ก.ปัญหาที่ 4 : ผู้เขียนมีความคิดเห็นอย่างไรต่อคดีข่มขืนแล้วฆ่า “น้องแก้ม”
ก่อนอื่นขอเรียนท่านผู้อ่านว่า รู้สึกเศร้าสลดจริงๆ หลังจากทราบข่าวการฆาตกรรม “น้องแก้ม” อย่างโหดเหี้ยมบนรถไฟสายนครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ และโยนศพทิ้งจากรถไฟเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2557 จากหนังสือพิมพ์หลายฉบับและรวมทั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ด้วย
ผู้เขียนต้องขอพูดตรงๆ ว่าผู้ที่กระทำเช่นนี้ได้ ต้องถือว่าเขาไม่ใช้คนเขาคือสัตว์เดรัจฉานที่มีร่างเหมือนคน แต่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมมนุษย์นั่นเอง ดังนั้น การนำกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และวิธีการใดๆ มาใช้กับสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้จึงไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด เพราะกฎหมายต่างๆ และกระบวนการยุติธรรมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคนไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้กับสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้นเหตุการณ์เช่นนี้จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
ผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม นายวันชัย แสงขาว อายุ 22 ปี พนักงานปูเตียงบนรถไฟตู้รถไฟนอนเที่ยวที่ 174 ตู้ 3 นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ (ภาพจากเดลินิวส์ออนไลน์ 8 ก.ค. 2557)
คดีข่มขืนแล้วฆ่า ไม่ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ถ้ายังจำกันได้เมื่อ 13 ปีที่แล้วก็ได้เกิดเหตุข่มขืนหญิงสาวปริญญาโทบนรถไฟ ซึ่งผู้เสียหายซึ่งขณะนี้อยู่ต่างประเทศได้เขียนจดหมายเปิดผนึก1 โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“.....วันนี้ ดิฉันได้รับข่าวสารจากทางเมืองไทย แค่ได้อ่านหัวข้อข่าวว่า มีเหตุข่มขืนแล้วฆ่าบนรถไฟสายใต้ ดิฉันก็รู้สึกเจ็บและปวดที่หัวใจผู้อย่างรุนแรง “มันเกิดขึ้นอีกแล้วหรือ ?” “ทำไมฉันไม่เป็นคนสุดท้าย?ทำไมต้องเป็นน้องเขา? ทำไม ?”
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวดิฉันเอง เมื่อ 13 ปีที่แล้ว หากท่านยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544 เกิดคดีข่มขืนหญิงสาวปริญญาโทบนตู้นอน บนขบวนรถไฟสายใต้ คดีนี้เป็นข่าวครึกโครม การรถไฟฯ ได้ไล่ผู้กระทำผิดออกจากงาน และศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกจำเลยเป็นเวลา 9 ปี ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้น และศาลอุธรณ์ ได้ตัดสินให้การรถไฟฯ และจำเลย ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ นับจากวันนั้นถึงวันนี้ 13 ปีผ่านไปแล้ว แต่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด ดิฉันก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย เพราะการรถไฟฯ ได้ยื่นฎีกาขอทุเลาคดีและทำให้การเยียวยาของดิฉันได้รับความล่าช้าออกไปเรื่อยๆ
หลายท่านคงไม่รู้ว่า หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนชีวิต และสุขภาพดิฉันไปตลอดกาลอย่างสิ้นเชิง ท่านรู้หรือไม่? ดิฉันต้องถูกบีบบังคับให้ออกจากงานที่กำลังไปได้ดี เพราะในสายตาของผู้บริหาร ดิฉันได้นำความเสื่อมเสียมาสู่องค์กร เพราะในการเดินทางครั้งนั้น ดิฉันไปทำงานในนามของบริษัท ดิฉันต้องเข้าโรงพยาบาลทางจิตติดต่อกันมาหลายปี มีอาการประสาทหลอน ควบคุมสติไม่ได้ ต้องเข้าบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ทุกคืนวัน ดิฉันมีอาการฝันร้าย ผวาและหวาดกลัวคนรอบข้าง ไม่ไว้วางใจผู้คน วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า นานนับหลายปี ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีอาการสั่นของมือ และเมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่กระทบกระเทือนจิตใจ แม้แต่เพียงเล็กน้อย ดิฉันจะมีภาวะตระหนก ควบคุมตนเองไม่ได้ และหลายต่อหลายครั้งถึงกับหน้ามืดเป็นลมหมดสติ ซึ่งอาการเหล่านี้แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานถึง 13 ปี ดิฉันก็ยังประสบความยากลำบากที่จะมีชีวิตเยี่ยงคนปกติ ด้วยความอ่อนแอทางสุขภาพจิตและการต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องหลายปี ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การต้องประสบกับความอับอายในสังคม ทำให้ดิฉันต้องระเห็จมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศอย่างยากลำบาก และรอคอยกระบวนการยุติธรรมที่ถูกทำให้ล่าช้า อย่างไม่เห็นแก่มนุษยธรรมของท่าน...”
(1ข้อความในจดหมายเปิดผนึก: “เหยื่อข่มขืนบนรถไฟ 13 ปีก่อน จี้เพิ่มโทษ - แฉ ร.ฟ.ท.เตะถ่วงเงินเยียวยา” จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 ก.ค. 2557)
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 13 ปีก่อนก็ยังเป็นคดีที่ยังไม่จบสิ้น และอาจจะยังมีคดีอื่นๆ อีกเฉพาะนายวันชัย แสงขาวเองก็สารภาพว่า ได้เคยก่อเหตุข่มขืนบนรถไฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง (จากสปริงส์นิวส์ 9 ก.ค. 2557) แต่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฯ กลับอ้างว่า ในรอบ 117 ปีของการรถไฟฯ ไม่เคยเกิดเหตุการณ์หรือมีคดีร้ายแรงใดๆ และผู้ต้องหาที่ก่อเหตุก็ไม่ได้เป็นพนักงานการรถไฟฯ แต่ข้อเท็จจริงกลับยืนยันว่าผู้ต้องหารายนี้เป็นพนักงานการรถไฟฯ คนไทยทั้งประเทศจึงไม่เชื่อถือคำพูดและการทำงานของท่านอีกต่อไป
นายวันชัย แสงขาว ผู้ต้องหาแต่งเครื่องแบบพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ภาพจากหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 9 ก.ค. 2557)
ข.ข้อมูลคดีข่มขืนแล้วฆ่าในรอบปีที่ผ่านมา (ก.พ. 2556 – ก.ค. 2557)
กรณีการข่มขืนแล้วฆ่าได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสังคมและคนไทยส่วนใหญ่รู้สึกชินหูชินตาไปเลย และรู้สึกว่าเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ได้ยินได้ฟังจนเบื่อกันไปเองพอเวลาผ่านไปคนไทยก็มักจะลืมกันไปเลยเพราะทุกคนมีงานที่ต้องทำมีเรื่องอื่นที่ต้องคิด แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ หน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติจนถึงระดับนโยบายที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งได้แก่ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานปกครองในพื้นที่สถาบันการศึกษาต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปหลายปีโดยไม่ได้คิดที่จะทำอะไรให้เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันหรือขจัดเหตุร้ายเช่นนี้ให้หมดไปจากสังคมไทยของเรา พูดตรงๆ ก็คือ หน่วยงานทั้งหมดที่กล่าวมานอกจากจะไม่มีความคิดที่จะแก้ไขหรือไม่หาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เหตุร้ายเกิดขึ้นแล้วยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่จะขจัดเหตุร้ายนี้ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้ได้อีกด้วยอาจจะเป็นเพราะบุคลากรในหน่วยงานเหล่านี้ไม่มีความคิด หรือขี้เกียจ หรือไม่ใส่ใจ เพราะถ้าไปคิดทำอะไรก็จะไปเพิ่มงานให้ตนเองเหนื่อยมากขึ้น ในที่สุดก็เลยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณปวีณาไปเลย (ขออนุญาตที่ต้องเอ่ยนาม) ดังนั้นเหตุข่มขืนแล้วฆ่าจึงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ง่ายๆ ดังข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคนหายมูลนิธิกระจกเงา ที่ระบุว่า “มีเหตุข่มขืนฆาตกรรมเด็กหญิง และคดีล่อลวงเด็กไปข่มขืนในรอบ 1 ปีเศษ รวมยอด 8 ศพ (จากสถิติคดีฆ่าข่มขืนเด็กในรอบ 1 ปีใน Nation TV วันที่ 8 กรกฎาคม 2557)
1. วันที่ 5 ก.พ. 56 น้องหญิง อายุ 4 ขวบ หายตัวไปที่งานประจำปีจังหวัดเลย ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต และจับคนร้ายได้
2. วันที่ 10 พ.ย. 56 น้องแม็กซ์ อายุ 7 ขวบ หายตัวไปที่งานบุญในวัดประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาภายหลังถูกฆาตกรรมและจับคนร้ายได้
3. วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องการ์ตูน อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากงานคอนเสิร์ตที่ซอยแบริ่ง ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิตและจับคนร้ายได้
4. วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องเดียร์ อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากที่พักในจังหวัดภูเก็ต ต่อมาภายหลังพบกะโหลกศีรษะและเสื้อผ้าเด็กตกอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 3 กม. สันนิษฐานว่าถูกฆาตกรรม ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
5. วันที่ 21 มี.ค. 57 น้องจันลา อายุ 7 ขวบ หายตัวไปจากแคมป์คนงานก่อสร้างในซอยพหลโยธิน 52 ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
6. วันที่ 27 เม.ย.57 น้องฟ้า อายุ 13 ปี หายตัวไปจากบ้านพักโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาพบว่าถูกฆ่าข่มขืนโดยน้าเขยของเด็กเป็นผู้ก่อเหตุ
7. วันที่ 9 พ.ค. 57 น้องเพลง อายุ 11 ปี หายตัวออกจากบ้านที่ อ.เมือง จ.ตรัง ต่อมาพบเป็นศพถูกฆ่าข่มขืน ส่วนคนร้ายเป็นคนข้างบ้าน
8. และล่าสุด 5 ก.ค. 57 น้องแก้ม อายุ 13 ปี ถูกข่มขืน(และฆ่า-ผู้เขียน)บนรถไฟโดยเจ้าหน้าที่ของโบกี้รถไฟ ก่อนโยนน้องแก้มออกนอกขบวนรถ”
พิธีไว้อาลัย “น้องแก้ม” ที่รร.สตรีนนทบุรี 9 ก.ค. 2557(จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์)
ค. ข้อเสนอแนะบางประการ เพื่อให้ท่านผู้อ่าน คมช.เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และสภานิติบัญญัติในอนาคต ได้นำไปพิจารณา
ในเมื่อท่านประกาศให้โลกทั้งโลกได้รู้ว่า พวกท่าน คสช.ได้เข้ามายึดอำนาจเพราะต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองและเพื่อให้สังคมไทยกลับสู่ความสงบสุข เราจึงขอเสนอว่าการข่มขืนแล้วฆ่าเหยื่อโดยฆาตกรที่มีจิตใจที่โหดเหี้ยมในคดีข้างต้นก็น่าจะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนำความสงบสุขกลับมาให้ประชาชนในสังคมเช่นเดียวกัน เพราะมนุษย์ก็ต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยกันทุกคน (A.H. Maslow, 1943) ดังนั้น เราจึงขอเสนอข้อเสนอแนะบางประการโดยเขียนรูปประกอบมาให้ท่านได้พิจารณา ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาชญากรรมกับความเสียหายต่อสังคม
สมมติให้ระดับความรุนแรงในการก่ออาชญากรรมเป็นแนวนอนคือ แกน X และให้ระดับความเสียหายต่อสังคมเป็นแนวตั้งคือ แกน Yโดยมีความสัมพันธ์กันในรูปสมการ:Y=f(X) ซึ่งก็คือถ้าระดับความรุนแรงในการก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ระดับความเสียหายต่อสังคมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นถ้าระดับความรุนแรงของอาชญากรรมอยู่ในระดับที่ 3 ก็จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมในระดับที่ 3 ซึ่งในสถานการณ์จริงเราดูได้จากปริมาณผู้โดยสารกลุ่มสตรีและเด็กที่จะเดินทางโดยรถไฟตามเส้นทางต่างๆ อาจมีจำนวนลดลงเพราะหันไปใช้วิธีการอื่นที่แม้ค่าใช้จ่ายมากกว่าแต่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการรถไฟฯ ก็จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น กล้อง CCTV และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ) รวมทั้งบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น สรุปแล้วความเสียหายต่อสังคมก็คือ จำนวนผู้ที่ได้รับผลเสียหายจากการก่ออาชญากรรม (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นในการรักษาความปลอดภัยหรือค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและความเสียหายที่เป็นนามธรรม (ไม่สามารถวัดเป็นปริมาณได้) เช่น ผลกระทบทางด้านจิตใจของคนในสังคม และความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศ (จากการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ CNN, July 10, 2014) เป็นต้น
การรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ (CNN) Thailand horrified after 13-year-old girl raped, thrown from train By KochaOlarn and Hilary Whiteman,CNNJuly 10, 2014 -- Updated 0336 GMT (1136 HKT)
ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการก่ออาชญากรรมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังคมได้ชี้ให้เห็นว่า เราจะต้องปรับระดับความเข้มข้นของมาตรการในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความรุนแรงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคงจะเสนอแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนจะขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการลงโทษในกรณีข่มขืนแล้วฆ่าผู้เสียหาย โดยจะต้องออกเป็นกฎหมายเรียกว่า “ร่างพระราชบัญญัติคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายในคดีข่มขืน พ.ศ. 2557” หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่...../2557 เรื่องการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายในคดีข่มขืน ซึ่งควรกำหนดให้มีรูปแบบการลงโทษเป็น 2 รูปแบบ (โดยให้เลือกได้เพียงรูปแบบเดียว)
1. การลงโทษในรูปแบบแรก มีรายละเอียดดังนี้
1.1บทลงโทษ
สำหรับผู้กระทำผิดควรได้รับโทษประหารชีวิตสถานเดียว
1.2 วิธีการลงโทษประหารชีวิตมี 3 ขั้นตอนคือ
1.2.1 ขั้นตอนแรก ให้ตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกทั้งหมดและตัดใบหูออก 1 ข้างเนื่องจากผู้กระทำผิดได้ใช้อวัยวะเพศเป็นหลักในการกระทำความผิด จึงควรต้องตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกไป ส่วนการตัดใบหูออก 1 ข้าง ก็เพื่อให้เป็นที่ทราบกันว่า คนผู้นี้ได้กระความผิดในคดีข่มขืนแล้วฆ่า
1.2.2 ขั้นตอนที่สอง เมื่อรักษาบาดแผลหายแล้ว ให้ส่งตัวไปทำงานหนักในสถานที่ทุรกันดาร (ห่างจากชุมชน) เป็นเวลา 3เดือน
1.2.3 ขั้นตอนที่สาม เมื่อทำงานหนักครบ 3 เดือนแล้ว ให้ไปปฏิบัติธรรมติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน เมื่อครบแล้วจึงนำตัวไปประหารชีวิต และต้องประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบทั่วกันด้วย
อย่างไรก็ดี เนื่องจากประเทศไทยของเราได้ยึดมั่นในหลักสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเราจึงควรให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดที่จะเลือกว่าจะรับโทษประหารชีวิตหรือจะทำงานตลอดชีวิต เพื่อเป็นการชดเชยความสูญเสียให้แก่ครอบครัวผู้เสียหาย ทั้งนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากทายาทผู้เสียหายทุกคนอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ผู้กระทำผิดรับการลงโทษในรูปแบบที่สองได้
2. การลงโทษในรูปแบบที่สอง มีรายละเอียดดังนี้
2.1 เมื่อได้รับคำสั่งศาลว่าจะได้รับโทษประหารชีวิตแล้ว ถ้าไม่ประสงค์จะถูกประหารชีวิต ผู้กระทำผิดจะต้องทำหนังสือร้องขอต่อทายาทผู้เสียหายทุกคน ขอให้ระงับโทษประหารชีวิตโดยทายาททุกคนจะต้องลงนามอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้ระงับโทษประหาร แต่ผู้กระทำผิดจะต้องรับโทษทำงานหนักตลอดชีวิตแทนโดยไม่มีการบรรเทาโทษ
2.2 วิธีการลงโทษให้ทำงานหนักตลอดชีวิต มีขั้นตอน ดังนี้
2.2.1 ขั้นตอนแรก ให้ตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกทั้งหมดและตัดใบหูออก 1 ข้าง(โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับข้อ 1.2.1)
2.2.2 ขั้นตอนที่สอง ให้นำผู้กระทำผิดไปขังไว้ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน ซึ่งควรเป็นสถานที่จะต้องอยู่ทำงานจนตลอดชีวิต
2.2.3 ขั้นตอนที่สาม เมื่อรักษาบาดแผลหายแล้ว ให้ส่งตัวไปทำงานหนักตลอดชีวิต แต่ถ้ามีความรู้หรือมีความชำนาญเฉพาะทาง ก็ให้ส่งไปทำงานตามที่ผู้กระทำผิดมีความชำนาญในเรื่องนั้น สำหรับผลผลิตที่ขายได้แบ่งให้รัฐส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะต้องส่งไปให้ทายาทผู้เสียหายตลอดไปจนกว่าผู้กระทำผิดจะสิ้นชีวิต
2.3 ห้ามผู้กระทำผิดถือครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้น และห้ามออกนอกสถานที่คุมขังหรือสถานที่ปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาดจนตลอดชีวิต
ง. บทสรุป
มนุษย์มีความเป็นคนและเป็นสัตว์อยู่ในตัวทุกคน แต่มีบางคนที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าเป็นคน ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำหนดวิธีการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าคน เพราะถ้าใช้วิธีการปกติก็คงไม่ได้ผลเช่นในอดีตที่ผ่านมาผู้เขียนจึงหวังว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ในบทความนี้คงจะช่วยให้ท่านผู้อ่าน และคสช.ได้นำไปพิจารณาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
* ต้องการสอบถาม/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นส่งมาที่ udomdee@gmail.comขอบคุณครับ
ก่อนอื่นขอเรียนท่านผู้อ่านว่า รู้สึกเศร้าสลดจริงๆ หลังจากทราบข่าวการฆาตกรรม “น้องแก้ม” อย่างโหดเหี้ยมบนรถไฟสายนครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ และโยนศพทิ้งจากรถไฟเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2557 จากหนังสือพิมพ์หลายฉบับและรวมทั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ด้วย
ผู้เขียนต้องขอพูดตรงๆ ว่าผู้ที่กระทำเช่นนี้ได้ ต้องถือว่าเขาไม่ใช้คนเขาคือสัตว์เดรัจฉานที่มีร่างเหมือนคน แต่ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับคนปกติในสังคมมนุษย์นั่นเอง ดังนั้น การนำกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และวิธีการใดๆ มาใช้กับสัตว์เดรัจฉานเช่นนี้จึงไม่บังเกิดผลแต่อย่างใด เพราะกฎหมายต่างๆ และกระบวนการยุติธรรมถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับคนไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้กับสัตว์เดรัจฉาน ดังนั้นเหตุการณ์เช่นนี้จึงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จักจบสิ้นเสียที
ผู้ต้องหาคดีฆาตกรรม นายวันชัย แสงขาว อายุ 22 ปี พนักงานปูเตียงบนรถไฟตู้รถไฟนอนเที่ยวที่ 174 ตู้ 3 นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ (ภาพจากเดลินิวส์ออนไลน์ 8 ก.ค. 2557)
คดีข่มขืนแล้วฆ่า ไม่ใช่ว่าจะเพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ถ้ายังจำกันได้เมื่อ 13 ปีที่แล้วก็ได้เกิดเหตุข่มขืนหญิงสาวปริญญาโทบนรถไฟ ซึ่งผู้เสียหายซึ่งขณะนี้อยู่ต่างประเทศได้เขียนจดหมายเปิดผนึก1 โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“.....วันนี้ ดิฉันได้รับข่าวสารจากทางเมืองไทย แค่ได้อ่านหัวข้อข่าวว่า มีเหตุข่มขืนแล้วฆ่าบนรถไฟสายใต้ ดิฉันก็รู้สึกเจ็บและปวดที่หัวใจผู้อย่างรุนแรง “มันเกิดขึ้นอีกแล้วหรือ ?” “ทำไมฉันไม่เป็นคนสุดท้าย?ทำไมต้องเป็นน้องเขา? ทำไม ?”
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวดิฉันเอง เมื่อ 13 ปีที่แล้ว หากท่านยังจำกันได้ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2544 เกิดคดีข่มขืนหญิงสาวปริญญาโทบนตู้นอน บนขบวนรถไฟสายใต้ คดีนี้เป็นข่าวครึกโครม การรถไฟฯ ได้ไล่ผู้กระทำผิดออกจากงาน และศาลอาญาได้ตัดสินจำคุกจำเลยเป็นเวลา 9 ปี ส่วนในคดีแพ่ง ศาลชั้นต้น และศาลอุธรณ์ ได้ตัดสินให้การรถไฟฯ และจำเลย ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้แก่โจทก์ นับจากวันนั้นถึงวันนี้ 13 ปีผ่านไปแล้ว แต่คดีก็ยังไม่ถึงที่สุด ดิฉันก็ยังไม่ได้รับการเยียวยาชดใช้ค่าเสียหาย เพราะการรถไฟฯ ได้ยื่นฎีกาขอทุเลาคดีและทำให้การเยียวยาของดิฉันได้รับความล่าช้าออกไปเรื่อยๆ
หลายท่านคงไม่รู้ว่า หลังเหตุการณ์ครั้งนั้น มีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนชีวิต และสุขภาพดิฉันไปตลอดกาลอย่างสิ้นเชิง ท่านรู้หรือไม่? ดิฉันต้องถูกบีบบังคับให้ออกจากงานที่กำลังไปได้ดี เพราะในสายตาของผู้บริหาร ดิฉันได้นำความเสื่อมเสียมาสู่องค์กร เพราะในการเดินทางครั้งนั้น ดิฉันไปทำงานในนามของบริษัท ดิฉันต้องเข้าโรงพยาบาลทางจิตติดต่อกันมาหลายปี มีอาการประสาทหลอน ควบคุมสติไม่ได้ ต้องเข้าบำบัดรักษาอย่างต่อเนื่อง ทุกคืนวัน ดิฉันมีอาการฝันร้าย ผวาและหวาดกลัวคนรอบข้าง ไม่ไว้วางใจผู้คน วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า นานนับหลายปี ต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีอาการสั่นของมือ และเมื่อมีเหตุการณ์อะไรที่กระทบกระเทือนจิตใจ แม้แต่เพียงเล็กน้อย ดิฉันจะมีภาวะตระหนก ควบคุมตนเองไม่ได้ และหลายต่อหลายครั้งถึงกับหน้ามืดเป็นลมหมดสติ ซึ่งอาการเหล่านี้แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานถึง 13 ปี ดิฉันก็ยังประสบความยากลำบากที่จะมีชีวิตเยี่ยงคนปกติ ด้วยความอ่อนแอทางสุขภาพจิตและการต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องหลายปี ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การต้องประสบกับความอับอายในสังคม ทำให้ดิฉันต้องระเห็จมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในต่างประเทศอย่างยากลำบาก และรอคอยกระบวนการยุติธรรมที่ถูกทำให้ล่าช้า อย่างไม่เห็นแก่มนุษยธรรมของท่าน...”
(1ข้อความในจดหมายเปิดผนึก: “เหยื่อข่มขืนบนรถไฟ 13 ปีก่อน จี้เพิ่มโทษ - แฉ ร.ฟ.ท.เตะถ่วงเงินเยียวยา” จากหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 8 ก.ค. 2557)
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 13 ปีก่อนก็ยังเป็นคดีที่ยังไม่จบสิ้น และอาจจะยังมีคดีอื่นๆ อีกเฉพาะนายวันชัย แสงขาวเองก็สารภาพว่า ได้เคยก่อเหตุข่มขืนบนรถไฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง (จากสปริงส์นิวส์ 9 ก.ค. 2557) แต่นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ว่าการการรถไฟฯ กลับอ้างว่า ในรอบ 117 ปีของการรถไฟฯ ไม่เคยเกิดเหตุการณ์หรือมีคดีร้ายแรงใดๆ และผู้ต้องหาที่ก่อเหตุก็ไม่ได้เป็นพนักงานการรถไฟฯ แต่ข้อเท็จจริงกลับยืนยันว่าผู้ต้องหารายนี้เป็นพนักงานการรถไฟฯ คนไทยทั้งประเทศจึงไม่เชื่อถือคำพูดและการทำงานของท่านอีกต่อไป
นายวันชัย แสงขาว ผู้ต้องหาแต่งเครื่องแบบพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ภาพจากหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 9 ก.ค. 2557)
ข.ข้อมูลคดีข่มขืนแล้วฆ่าในรอบปีที่ผ่านมา (ก.พ. 2556 – ก.ค. 2557)
กรณีการข่มขืนแล้วฆ่าได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนสังคมและคนไทยส่วนใหญ่รู้สึกชินหูชินตาไปเลย และรู้สึกว่าเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน ได้ยินได้ฟังจนเบื่อกันไปเองพอเวลาผ่านไปคนไทยก็มักจะลืมกันไปเลยเพราะทุกคนมีงานที่ต้องทำมีเรื่องอื่นที่ต้องคิด แต่ที่น่าประหลาดใจก็คือ หน่วยงานของรัฐตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติจนถึงระดับนโยบายที่มีหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งได้แก่ รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานปกครองในพื้นที่สถาบันการศึกษาต่างๆ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ปล่อยเวลาให้ผ่านไปหลายปีโดยไม่ได้คิดที่จะทำอะไรให้เป็นรูปธรรมเพื่อป้องกันหรือขจัดเหตุร้ายเช่นนี้ให้หมดไปจากสังคมไทยของเรา พูดตรงๆ ก็คือ หน่วยงานทั้งหมดที่กล่าวมานอกจากจะไม่มีความคิดที่จะแก้ไขหรือไม่หาแนวทางในการป้องกันไม่ให้เหตุร้ายเกิดขึ้นแล้วยังไม่ได้ดำเนินการใดๆ ที่จะขจัดเหตุร้ายนี้ให้หมดสิ้นไปจากสังคมไทยของเราให้ได้อีกด้วยอาจจะเป็นเพราะบุคลากรในหน่วยงานเหล่านี้ไม่มีความคิด หรือขี้เกียจ หรือไม่ใส่ใจ เพราะถ้าไปคิดทำอะไรก็จะไปเพิ่มงานให้ตนเองเหนื่อยมากขึ้น ในที่สุดก็เลยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคุณปวีณาไปเลย (ขออนุญาตที่ต้องเอ่ยนาม) ดังนั้นเหตุข่มขืนแล้วฆ่าจึงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และไม่มีทีท่าว่าจะยุติลงได้ง่ายๆ ดังข้อมูลของศูนย์ข้อมูลคนหายมูลนิธิกระจกเงา ที่ระบุว่า “มีเหตุข่มขืนฆาตกรรมเด็กหญิง และคดีล่อลวงเด็กไปข่มขืนในรอบ 1 ปีเศษ รวมยอด 8 ศพ (จากสถิติคดีฆ่าข่มขืนเด็กในรอบ 1 ปีใน Nation TV วันที่ 8 กรกฎาคม 2557)
1. วันที่ 5 ก.พ. 56 น้องหญิง อายุ 4 ขวบ หายตัวไปที่งานประจำปีจังหวัดเลย ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต และจับคนร้ายได้
2. วันที่ 10 พ.ย. 56 น้องแม็กซ์ อายุ 7 ขวบ หายตัวไปที่งานบุญในวัดประจำอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาภายหลังถูกฆาตกรรมและจับคนร้ายได้
3. วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องการ์ตูน อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากงานคอนเสิร์ตที่ซอยแบริ่ง ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิตและจับคนร้ายได้
4. วันที่ 6 ธ.ค. 56 น้องเดียร์ อายุ 6 ขวบ หายตัวไปจากที่พักในจังหวัดภูเก็ต ต่อมาภายหลังพบกะโหลกศีรษะและเสื้อผ้าเด็กตกอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 3 กม. สันนิษฐานว่าถูกฆาตกรรม ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
5. วันที่ 21 มี.ค. 57 น้องจันลา อายุ 7 ขวบ หายตัวไปจากแคมป์คนงานก่อสร้างในซอยพหลโยธิน 52 ต่อมาภายหลังพบถูกฆาตกรรมเสียชีวิต ตอนนี้ยังจับคนร้ายไม่ได้
6. วันที่ 27 เม.ย.57 น้องฟ้า อายุ 13 ปี หายตัวไปจากบ้านพักโรงงานที่จังหวัดสมุทรสงคราม ต่อมาพบว่าถูกฆ่าข่มขืนโดยน้าเขยของเด็กเป็นผู้ก่อเหตุ
7. วันที่ 9 พ.ค. 57 น้องเพลง อายุ 11 ปี หายตัวออกจากบ้านที่ อ.เมือง จ.ตรัง ต่อมาพบเป็นศพถูกฆ่าข่มขืน ส่วนคนร้ายเป็นคนข้างบ้าน
8. และล่าสุด 5 ก.ค. 57 น้องแก้ม อายุ 13 ปี ถูกข่มขืน(และฆ่า-ผู้เขียน)บนรถไฟโดยเจ้าหน้าที่ของโบกี้รถไฟ ก่อนโยนน้องแก้มออกนอกขบวนรถ”
พิธีไว้อาลัย “น้องแก้ม” ที่รร.สตรีนนทบุรี 9 ก.ค. 2557(จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์)
ค. ข้อเสนอแนะบางประการ เพื่อให้ท่านผู้อ่าน คมช.เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และสภานิติบัญญัติในอนาคต ได้นำไปพิจารณา
ในเมื่อท่านประกาศให้โลกทั้งโลกได้รู้ว่า พวกท่าน คสช.ได้เข้ามายึดอำนาจเพราะต้องการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของบ้านเมืองและเพื่อให้สังคมไทยกลับสู่ความสงบสุข เราจึงขอเสนอว่าการข่มขืนแล้วฆ่าเหยื่อโดยฆาตกรที่มีจิตใจที่โหดเหี้ยมในคดีข้างต้นก็น่าจะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการนำความสงบสุขกลับมาให้ประชาชนในสังคมเช่นเดียวกัน เพราะมนุษย์ก็ต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินด้วยกันทุกคน (A.H. Maslow, 1943) ดังนั้น เราจึงขอเสนอข้อเสนอแนะบางประการโดยเขียนรูปประกอบมาให้ท่านได้พิจารณา ดังนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรุนแรงของอาชญากรรมกับความเสียหายต่อสังคม
สมมติให้ระดับความรุนแรงในการก่ออาชญากรรมเป็นแนวนอนคือ แกน X และให้ระดับความเสียหายต่อสังคมเป็นแนวตั้งคือ แกน Yโดยมีความสัมพันธ์กันในรูปสมการ:Y=f(X) ซึ่งก็คือถ้าระดับความรุนแรงในการก่ออาชญากรรมเพิ่มสูงขึ้น ระดับความเสียหายต่อสังคมก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ฉะนั้นถ้าระดับความรุนแรงของอาชญากรรมอยู่ในระดับที่ 3 ก็จะส่งผลทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคมในระดับที่ 3 ซึ่งในสถานการณ์จริงเราดูได้จากปริมาณผู้โดยสารกลุ่มสตรีและเด็กที่จะเดินทางโดยรถไฟตามเส้นทางต่างๆ อาจมีจำนวนลดลงเพราะหันไปใช้วิธีการอื่นที่แม้ค่าใช้จ่ายมากกว่าแต่ปลอดภัยกว่า นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการรถไฟฯ ก็จะต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน (เช่น กล้อง CCTV และอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยต่างๆ) รวมทั้งบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น สรุปแล้วความเสียหายต่อสังคมก็คือ จำนวนผู้ที่ได้รับผลเสียหายจากการก่ออาชญากรรม (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องเพิ่มขึ้นในการรักษาความปลอดภัยหรือค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและความเสียหายที่เป็นนามธรรม (ไม่สามารถวัดเป็นปริมาณได้) เช่น ผลกระทบทางด้านจิตใจของคนในสังคม และความเสื่อมเสียชื่อเสียงของประเทศ (จากการรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ CNN, July 10, 2014) เป็นต้น
การรายงานข่าวของสื่อต่างประเทศ (CNN) Thailand horrified after 13-year-old girl raped, thrown from train By KochaOlarn and Hilary Whiteman,CNNJuly 10, 2014 -- Updated 0336 GMT (1136 HKT)
ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของการก่ออาชญากรรมกับความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสังคมได้ชี้ให้เห็นว่า เราจะต้องปรับระดับความเข้มข้นของมาตรการในการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความรุนแรงของอาชญากรรมที่เกิดขึ้น ซึ่งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคงจะเสนอแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาในด้านต่างๆ อยู่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนจะขอเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการลงโทษในกรณีข่มขืนแล้วฆ่าผู้เสียหาย โดยจะต้องออกเป็นกฎหมายเรียกว่า “ร่างพระราชบัญญัติคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายในคดีข่มขืน พ.ศ. 2557” หรือคำสั่งคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ที่...../2557 เรื่องการคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหายในคดีข่มขืน ซึ่งควรกำหนดให้มีรูปแบบการลงโทษเป็น 2 รูปแบบ (โดยให้เลือกได้เพียงรูปแบบเดียว)
1. การลงโทษในรูปแบบแรก มีรายละเอียดดังนี้
1.1บทลงโทษ
สำหรับผู้กระทำผิดควรได้รับโทษประหารชีวิตสถานเดียว
1.2 วิธีการลงโทษประหารชีวิตมี 3 ขั้นตอนคือ
1.2.1 ขั้นตอนแรก ให้ตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกทั้งหมดและตัดใบหูออก 1 ข้างเนื่องจากผู้กระทำผิดได้ใช้อวัยวะเพศเป็นหลักในการกระทำความผิด จึงควรต้องตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกไป ส่วนการตัดใบหูออก 1 ข้าง ก็เพื่อให้เป็นที่ทราบกันว่า คนผู้นี้ได้กระความผิดในคดีข่มขืนแล้วฆ่า
1.2.2 ขั้นตอนที่สอง เมื่อรักษาบาดแผลหายแล้ว ให้ส่งตัวไปทำงานหนักในสถานที่ทุรกันดาร (ห่างจากชุมชน) เป็นเวลา 3เดือน
1.2.3 ขั้นตอนที่สาม เมื่อทำงานหนักครบ 3 เดือนแล้ว ให้ไปปฏิบัติธรรมติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน เมื่อครบแล้วจึงนำตัวไปประหารชีวิต และต้องประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบทั่วกันด้วย
อย่างไรก็ดี เนื่องจากประเทศไทยของเราได้ยึดมั่นในหลักสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเราจึงควรให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดที่จะเลือกว่าจะรับโทษประหารชีวิตหรือจะทำงานตลอดชีวิต เพื่อเป็นการชดเชยความสูญเสียให้แก่ครอบครัวผู้เสียหาย ทั้งนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากทายาทผู้เสียหายทุกคนอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ผู้กระทำผิดรับการลงโทษในรูปแบบที่สองได้
2. การลงโทษในรูปแบบที่สอง มีรายละเอียดดังนี้
2.1 เมื่อได้รับคำสั่งศาลว่าจะได้รับโทษประหารชีวิตแล้ว ถ้าไม่ประสงค์จะถูกประหารชีวิต ผู้กระทำผิดจะต้องทำหนังสือร้องขอต่อทายาทผู้เสียหายทุกคน ขอให้ระงับโทษประหารชีวิตโดยทายาททุกคนจะต้องลงนามอนุมัติเป็นเอกฉันท์ให้ระงับโทษประหาร แต่ผู้กระทำผิดจะต้องรับโทษทำงานหนักตลอดชีวิตแทนโดยไม่มีการบรรเทาโทษ
2.2 วิธีการลงโทษให้ทำงานหนักตลอดชีวิต มีขั้นตอน ดังนี้
2.2.1 ขั้นตอนแรก ให้ตัดอวัยวะเพศของผู้กระทำผิดออกทั้งหมดและตัดใบหูออก 1 ข้าง(โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับข้อ 1.2.1)
2.2.2 ขั้นตอนที่สอง ให้นำผู้กระทำผิดไปขังไว้ในสถานที่ที่ห่างไกลจากชุมชน ซึ่งควรเป็นสถานที่จะต้องอยู่ทำงานจนตลอดชีวิต
2.2.3 ขั้นตอนที่สาม เมื่อรักษาบาดแผลหายแล้ว ให้ส่งตัวไปทำงานหนักตลอดชีวิต แต่ถ้ามีความรู้หรือมีความชำนาญเฉพาะทาง ก็ให้ส่งไปทำงานตามที่ผู้กระทำผิดมีความชำนาญในเรื่องนั้น สำหรับผลผลิตที่ขายได้แบ่งให้รัฐส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะต้องส่งไปให้ทายาทผู้เสียหายตลอดไปจนกว่าผู้กระทำผิดจะสิ้นชีวิต
2.3 ห้ามผู้กระทำผิดถือครองหรือมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้น และห้ามออกนอกสถานที่คุมขังหรือสถานที่ปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาดจนตลอดชีวิต
ง. บทสรุป
มนุษย์มีความเป็นคนและเป็นสัตว์อยู่ในตัวทุกคน แต่มีบางคนที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าเป็นคน ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำหนดวิธีการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อใช้กับกลุ่มบุคคลที่มีความเป็นสัตว์มากกว่าคน เพราะถ้าใช้วิธีการปกติก็คงไม่ได้ผลเช่นในอดีตที่ผ่านมาผู้เขียนจึงหวังว่า ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ในบทความนี้คงจะช่วยให้ท่านผู้อ่าน และคสช.ได้นำไปพิจารณาและปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป
* ต้องการสอบถาม/แลกเปลี่ยนความคิดเห็นส่งมาที่ udomdee@gmail.comขอบคุณครับ