นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงภายหลังการประชุม กกต. นานกว่า 4 ชม. ร่วมกับผู้บริหารสำนักงาน เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหา และข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ตามโจทย์ที่คณะทำงานด้านการปฏิรูป ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมกกต.ได้ประชุมพิจารณาแล้วเสร็จโดยประธาน กกต. จะลงนามและส่งไปยังคณะทำงานด้านการปฏิรูปของคสช. ในเช้าวันนี้ ( 8 ก.ค.) โดยประเด็นที่มีการเสนอเป็นการให้ข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอที่ควรจะเป็น ไม่ใช่การฟันธงว่า ต้องแก้เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในกรณีของการเลือกตั้งส.ส. นั้น ยังคงให้มี ส.ส.มาจากระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ แต่เห็นว่าเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตเลือกตั้ง และอิทธิพลในการเลือกตั้ง ระบบแบ่งเขตควรเปลี่ยนจากเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นแบบเขตใหญ่ ส่วนส.ส.บัญชีรายชื่อมีที่มาจากกลุ่มสาขาอาชีพที่หลากหลาย โดยคำนึงถึง เพศ และภูมิภาคเป็นหลัก ซึ่งส.ส.ทั้งสองระบบ ควรมีจำนวนที่ใกล้เคียงกัน
ส่วน ส.ว.ก็เสนอว่ามีความจำเป็นที่ต้องคงไว้ แต่จะให้มีทั้งส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้งหรือไม่ ก็ได้เสนอจุดเด่นจุดด้อยว่า ถ้าจะให้ส.ว. มาจากกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย โดยคำนึงถึงเรื่องของความสามารถมากกว่าการศึกษา การจะให้มี ส.ว.ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ที่ไม่ได้จบปริญญาตรี ก็ยากที่จะได้มาจากการเลือกตั้ง จึงน่าจะได้รับการพิจารณาในรูปของการเป็น ส.ว.สรรหามากกว่า
**สมัครส.ส.ติดกันได้ไม่เกิน 2วาระ
นอกจากนี้ มีการเสนอให้มีการแก้ไขในเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยได้เสนอให้มีการเพิ่มว่า การที่ผู้สมัครจะต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ แม้ประโยชน์ของการไม่สังกัดจะมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่การสังกัดพรรค จะมีผลในเรื่องของการพัฒนาและสนับสนุนงานของพรรค ซึ่งพรรคควรมีการวางกรอบในการควบคุมส.ส.ของพรรคโดยไม่ให้ ส.ส.ของพรรคต้องดำเนินการตามคำสั่งของพรรคการเมืองเสมอไปเหมือนที่ผ่านมา และการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็ควรกำหนดให้ต้องสังกัดพรรคมาไม่น้อย 1 ปี และเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งส.ส.แล้วควรกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่ต้องไม่ดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ หรือ 8 ปี พร้อมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาสภาผัวเมีย ควรกำหนดห้ามมิให้บุพการี บุตร บุตรบุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย หรืออดีตคู่สมรส ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.หรือ ส.ว.ในคราววาระเดียวกัน และยังเห็นควรให้กำหนดเพิ่มในลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ว่า ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง คดียาเสพติด และคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ขณะที่พรรคการเมือง ควรมีการกำหนดให้การตั้งพรรคทำได้ยากขึ้น แม้จะมีผู้ก่อตั้ง 15 คน แต่จะเป็นพรรคการเมืองได้ ต้องหาสมาชิกให้ได้ครบ 5 พันคน และตั้งสาขาพรรคใน 4 ภาค ให้แล้วเสร็จก่อน
**ยุบสภา ให้ปลัดฯรักษาการแทน ครม.
นายภุชงค์ ยังกล่าวอีกว่า และเพื่อให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต เป็นธรรม จะเสนอให้มีการพิจาณาถึง อำนาจ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง ว่า หากเกิดปัญหาการขัดขวาง เกิดเหตุสุดวิสัยอันเป็นภัยร้ายแรง ให้ กกต.มีอำนาจในการเสนอเลื่อนขยายวันเลือกตั้ง วันรับสมัคร หรือกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ โดยไม่ต้องมีการปรึกษาหรือขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรี และเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าราชการการเมืองใช้ตำแหน่งหน้าที่ ทรัพยากรของรัฐไปเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม ก็ให้มีการกำหนดให้ข้าราชการ เป็นข้าราชการเมืองตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดข้ออ้างว่า ใช้เวลานอกราชการไปหาเสียง อีกทั้งเมื่อมีการยุบสภา หรือกรณีดำรงตำแหน่งครบวาระ ให้คณะรัฐมนตรีพ้นไปโดยปริยาย ไม่ต้องเป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการ และเห็นควรให้ปลัดกระทรวง ทบวงกรม รักษาการแทน รวมทั้งในระหว่างการเลือกตั้งเพื่อไม่ให้มีการข่มขู่พยานจนเกิดการกลับคำให้การ เสนอให้พยานของกกต.ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองพยาน และเพิ่มอำนาจให้กกต.สามารถเรียกเอกสาร หรือเชิญบุคคลมาให้ถ้อยคำต่อกกต. หากไม่มาก็ให้มีบทโทษ อีกทั้งมีการให้ข้อมูลข้อดี ข้อเสียถึงการเลือกตั้ง ว่าควรจะให้เป็น หน้าที่ หรือเป็นสิทธิ และเสนอมาตรการในการป้องกันการใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยอาจจะมีการตั้งเป็นคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยหลายหน่วยงานอาทิ ป.ป.ช. สตง. ศาลรัฐธรรมนูญ และกกต.ขึ้นมาตรวจสอบว่านโยบายที่พรรคการเมืองเสนอสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ และส่งผลทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหายในอนาคตหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หลังกกต.ส่งข้อเสนอแนวทางดังกล่าวไปให้คณะทำงานด้านการปฏิรูปแล้ว ทางกกต.ก็จะมาจัดทำในส่วนที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง พรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวม 5 ฉบับ ซึ่งก็จะมีส่วนของการใช้สิทธิเลือกตั้งว่าจะต้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิก่อนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 92 ประเทศ ที่ใช้วิธีการนี้ และการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวมถึงการเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งจะยังคงมีอยู่หรือไม่ และหากมีอยู่ควรมีการปรับแก้ไขในเรื่องใดเพราะที่ผ่านมา เลืออกตั้งนอกราชอาณาจักรใช้งบประมาณต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหนึ่งคนกว่า 2 พัน ขณะที่ในประเทศผู้มีสิทธิเลือกตั้งหนึ่งคนใช้งบเพียงหลักร้อยบาท รวมถึงจะมีการเสนอให้ศาลให้ข้อมูลที่กกต.เสนอไปขอให้พิจารณาสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้ระบบกล่าวหาของกฎหมายอาญาอย่างที่ทำอยู่ปัจจุบัน เนื่องจากที่ผ่านมาพยานกลับคำให้การในชั้นศาลทำให้คดีเลือกตั้งจำนวนมากกกต.ไม่สารมารถเอาผิดได้ ทั้งนี้กกต.จะเร่งส่งรายละเอียดทั้งหมดให้กับคสช.พิจารณา เพื่อให้ทันกับการพิจารณาของสภาปฏิรูปซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาทั้ง ระบบว่าการเลือกตั้งควรจะเป็นอย่างไร
**"ปนัดดา"ค้านเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วปท.
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสว่า มีแนวคิดที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดว่า อยากให้มองว่าผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันเป็นระบบประเทศไทยเดียวกัน ซึ่งผู้ว่าฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ประจำอยู่ในแต่ละจังหวัด ดังนั้นจึงเป็นข้าราชการภูมิภาค ที่ทำงานเชื่อมโยงความเป็นประเทศไทย ถ้าหากเปลี่ยนไปใช้ระบบเลือกตั้งทั้งหมด ความเชื่อมโยงตรงนี้ก็จะขาดหายไป
"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพินิจพิเคราะห์อย่างยิ่ง เรื่องเลือกตั้งเราเลือกอยู่แล้วในระดับ อบจ. เทศบาล หรือ อบต. อันนั้นคือการกระจายอำนาจภูมิภาค ซึ่งผู้ว่าฯ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงความเป็นหนึ่งในประเทศไทยเดียวกัน และถ้าไปเลือกตั้งทุกระดับหมด แล้วรัฐบาลส่วนกลางจะมีระบบเชื่อมโยงทั้งเรื่องงบประมาณ การบริหารจัดการไปสู่ทุกจังหวัดอย่างไร" ม.ล.ปนัดดา กล่าว
ขณะนี้ถือเป็นข้อศึกษาที่ดีถึงแนวคิดที่จะเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กลับไปเป็นนายกเทศมนตรี เหมือนในอดีต ที่จะสื่อความรู้ความเข้าใจให้เยาวชน และประชาชนชัดเจน ซึ่งถ้าทำได้จะสื่อได้ทันทีว่า กทม.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเดียวกับเทศบาล อบต. หรือ อบจ. ที่เป็นรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ กทม.ไม่ใช่จังหวัดที่ 77 อย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยประเทศไทยมีการปกครองระเบียบบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วย 76 จังหวัด ไม่ใช่ 77 จังหวัด กทม.ไม่ใช่ราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ กทม.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"ฝ่ายที่่คิดเรื่องนี้ คงคิดกันเรื่องการกระจายอำนาจ ที่อยากให้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน แต่อยากให้มีประเด็นที่่รัฐบาลส่วนกลางจะต้องมีมือมีไม้ในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการ การบริหารราชการแผ่นดินไปสู่ 76 จังหวัด" ม.ล.ปนัดดา กล่าว
** คสช.ห้ามจ้อรธน.ชั่วคราว
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก คสช.ว่า สำหรับความคืบหน้าการจัดทำการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ภายหลังนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช.ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขเรื่องของหมวดความมั่นคง ในการคงอำนาจคสช.ควบคู่กับการทำงานรัฐบาล ที่ทางคสช.ขอให้เขียนแบ่งอำนาจ หน้าที่ระหว่างคสช.กับรัฐบาล ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า คสช.อยู่ต่อเพื่อก้าวก่าย หรือครอบงำรัฐบาล ส่งกลับมายังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะ คสช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงการตรวจสอบถ้อยคำอีกเพียงเล็กน้อยเพื่อความถูกต้อง และอยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ร่างหนังสือเพื่อนำความขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะเดียวกัน คสช.ได้กำชับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯห้ามให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชน โดย พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำในที่ประชุม คสช.ว่า หลังมีการประกาศใช้แล้ว ขอเป็นผู้ชี้แจงเพียงคนเดียว ในประเด็นที่เกิดข้อซักถาม
ส่วน ส.ว.ก็เสนอว่ามีความจำเป็นที่ต้องคงไว้ แต่จะให้มีทั้งส.ว.สรรหา และส.ว.เลือกตั้งหรือไม่ ก็ได้เสนอจุดเด่นจุดด้อยว่า ถ้าจะให้ส.ว. มาจากกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลาย โดยคำนึงถึงเรื่องของความสามารถมากกว่าการศึกษา การจะให้มี ส.ว.ที่เป็นปราชญ์ชาวบ้าน ที่ไม่ได้จบปริญญาตรี ก็ยากที่จะได้มาจากการเลือกตั้ง จึงน่าจะได้รับการพิจารณาในรูปของการเป็น ส.ว.สรรหามากกว่า
**สมัครส.ส.ติดกันได้ไม่เกิน 2วาระ
นอกจากนี้ มีการเสนอให้มีการแก้ไขในเรื่องคุณสมบัติ และลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยได้เสนอให้มีการเพิ่มว่า การที่ผู้สมัครจะต้องสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ แม้ประโยชน์ของการไม่สังกัดจะมีอยู่ส่วนหนึ่ง แต่การสังกัดพรรค จะมีผลในเรื่องของการพัฒนาและสนับสนุนงานของพรรค ซึ่งพรรคควรมีการวางกรอบในการควบคุมส.ส.ของพรรคโดยไม่ให้ ส.ส.ของพรรคต้องดำเนินการตามคำสั่งของพรรคการเมืองเสมอไปเหมือนที่ผ่านมา และการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง ก็ควรกำหนดให้ต้องสังกัดพรรคมาไม่น้อย 1 ปี และเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งส.ส.แล้วควรกำหนดให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี แต่ต้องไม่ดำรงตำแหน่งติดต่อกันไม่เกิน 2 วาระ หรือ 8 ปี พร้อมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาสภาผัวเมีย ควรกำหนดห้ามมิให้บุพการี บุตร บุตรบุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย หรืออดีตคู่สมรส ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นส.ส.หรือ ส.ว.ในคราววาระเดียวกัน และยังเห็นควรให้กำหนดเพิ่มในลักษณะต้องห้ามของผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งส.ส.ว่า ไม่เป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่เกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้ง คดียาเสพติด และคดีหมิ่นสถาบันเบื้องสูง ขณะที่พรรคการเมือง ควรมีการกำหนดให้การตั้งพรรคทำได้ยากขึ้น แม้จะมีผู้ก่อตั้ง 15 คน แต่จะเป็นพรรคการเมืองได้ ต้องหาสมาชิกให้ได้ครบ 5 พันคน และตั้งสาขาพรรคใน 4 ภาค ให้แล้วเสร็จก่อน
**ยุบสภา ให้ปลัดฯรักษาการแทน ครม.
นายภุชงค์ ยังกล่าวอีกว่า และเพื่อให้การเลือกตั้งเกิดความสุจริต เป็นธรรม จะเสนอให้มีการพิจาณาถึง อำนาจ กกต.ในการจัดการเลือกตั้ง ว่า หากเกิดปัญหาการขัดขวาง เกิดเหตุสุดวิสัยอันเป็นภัยร้ายแรง ให้ กกต.มีอำนาจในการเสนอเลื่อนขยายวันเลือกตั้ง วันรับสมัคร หรือกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ โดยไม่ต้องมีการปรึกษาหรือขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรี และเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าราชการการเมืองใช้ตำแหน่งหน้าที่ ทรัพยากรของรัฐไปเป็นประโยชน์ในการหาเสียงเอาเปรียบฝ่ายตรงข้าม ก็ให้มีการกำหนดให้ข้าราชการ เป็นข้าราชการเมืองตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้เกิดข้ออ้างว่า ใช้เวลานอกราชการไปหาเสียง อีกทั้งเมื่อมีการยุบสภา หรือกรณีดำรงตำแหน่งครบวาระ ให้คณะรัฐมนตรีพ้นไปโดยปริยาย ไม่ต้องเป็นคณะรัฐมนตรีรักษาการ และเห็นควรให้ปลัดกระทรวง ทบวงกรม รักษาการแทน รวมทั้งในระหว่างการเลือกตั้งเพื่อไม่ให้มีการข่มขู่พยานจนเกิดการกลับคำให้การ เสนอให้พยานของกกต.ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองพยาน และเพิ่มอำนาจให้กกต.สามารถเรียกเอกสาร หรือเชิญบุคคลมาให้ถ้อยคำต่อกกต. หากไม่มาก็ให้มีบทโทษ อีกทั้งมีการให้ข้อมูลข้อดี ข้อเสียถึงการเลือกตั้ง ว่าควรจะให้เป็น หน้าที่ หรือเป็นสิทธิ และเสนอมาตรการในการป้องกันการใช้นโยบายประชานิยมในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยอาจจะมีการตั้งเป็นคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยหลายหน่วยงานอาทิ ป.ป.ช. สตง. ศาลรัฐธรรมนูญ และกกต.ขึ้นมาตรวจสอบว่านโยบายที่พรรคการเมืองเสนอสามารถดำเนินการได้จริงหรือไม่ และส่งผลทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหายในอนาคตหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หลังกกต.ส่งข้อเสนอแนวทางดังกล่าวไปให้คณะทำงานด้านการปฏิรูปแล้ว ทางกกต.ก็จะมาจัดทำในส่วนที่จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง พรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น รวม 5 ฉบับ ซึ่งก็จะมีส่วนของการใช้สิทธิเลือกตั้งว่าจะต้องให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิก่อนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 92 ประเทศ ที่ใช้วิธีการนี้ และการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร รวมถึงการเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งจะยังคงมีอยู่หรือไม่ และหากมีอยู่ควรมีการปรับแก้ไขในเรื่องใดเพราะที่ผ่านมา เลืออกตั้งนอกราชอาณาจักรใช้งบประมาณต่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งหนึ่งคนกว่า 2 พัน ขณะที่ในประเทศผู้มีสิทธิเลือกตั้งหนึ่งคนใช้งบเพียงหลักร้อยบาท รวมถึงจะมีการเสนอให้ศาลให้ข้อมูลที่กกต.เสนอไปขอให้พิจารณาสั่งเลือกตั้งใหม่ หรือเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นหลัก ไม่ใช่ใช้ระบบกล่าวหาของกฎหมายอาญาอย่างที่ทำอยู่ปัจจุบัน เนื่องจากที่ผ่านมาพยานกลับคำให้การในชั้นศาลทำให้คดีเลือกตั้งจำนวนมากกกต.ไม่สารมารถเอาผิดได้ ทั้งนี้กกต.จะเร่งส่งรายละเอียดทั้งหมดให้กับคสช.พิจารณา เพื่อให้ทันกับการพิจารณาของสภาปฏิรูปซึ่งจะเป็นผู้พิจารณาทั้ง ระบบว่าการเลือกตั้งควรจะเป็นอย่างไร
**"ปนัดดา"ค้านเลือกตั้งผู้ว่าฯทั่วปท.
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกระแสว่า มีแนวคิดที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดว่า อยากให้มองว่าผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันเป็นระบบประเทศไทยเดียวกัน ซึ่งผู้ว่าฯ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลที่ประจำอยู่ในแต่ละจังหวัด ดังนั้นจึงเป็นข้าราชการภูมิภาค ที่ทำงานเชื่อมโยงความเป็นประเทศไทย ถ้าหากเปลี่ยนไปใช้ระบบเลือกตั้งทั้งหมด ความเชื่อมโยงตรงนี้ก็จะขาดหายไป
"เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องพินิจพิเคราะห์อย่างยิ่ง เรื่องเลือกตั้งเราเลือกอยู่แล้วในระดับ อบจ. เทศบาล หรือ อบต. อันนั้นคือการกระจายอำนาจภูมิภาค ซึ่งผู้ว่าฯ จะทำหน้าที่เชื่อมโยงความเป็นหนึ่งในประเทศไทยเดียวกัน และถ้าไปเลือกตั้งทุกระดับหมด แล้วรัฐบาลส่วนกลางจะมีระบบเชื่อมโยงทั้งเรื่องงบประมาณ การบริหารจัดการไปสู่ทุกจังหวัดอย่างไร" ม.ล.ปนัดดา กล่าว
ขณะนี้ถือเป็นข้อศึกษาที่ดีถึงแนวคิดที่จะเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้บริหารกรุงเทพมหานคร กลับไปเป็นนายกเทศมนตรี เหมือนในอดีต ที่จะสื่อความรู้ความเข้าใจให้เยาวชน และประชาชนชัดเจน ซึ่งถ้าทำได้จะสื่อได้ทันทีว่า กทม.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเดียวกับเทศบาล อบต. หรือ อบจ. ที่เป็นรูปแบบพิเศษ
ทั้งนี้ กทม.ไม่ใช่จังหวัดที่ 77 อย่างที่หลายคนเข้าใจ โดยประเทศไทยมีการปกครองระเบียบบริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วย 76 จังหวัด ไม่ใช่ 77 จังหวัด กทม.ไม่ใช่ราชการบริหารส่วนภูมิภาค แต่ กทม.เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
"ฝ่ายที่่คิดเรื่องนี้ คงคิดกันเรื่องการกระจายอำนาจ ที่อยากให้เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน แต่อยากให้มีประเด็นที่่รัฐบาลส่วนกลางจะต้องมีมือมีไม้ในการเชื่อมโยงการบริหารจัดการ การบริหารราชการแผ่นดินไปสู่ 76 จังหวัด" ม.ล.ปนัดดา กล่าว
** คสช.ห้ามจ้อรธน.ชั่วคราว
ผู้สื่อข่าวรายงานจาก คสช.ว่า สำหรับความคืบหน้าการจัดทำการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว ภายหลังนายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาคสช.ฝ่ายกฎหมาย ในฐานะหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ ได้ปรับปรุงแก้ไขเรื่องของหมวดความมั่นคง ในการคงอำนาจคสช.ควบคู่กับการทำงานรัฐบาล ที่ทางคสช.ขอให้เขียนแบ่งอำนาจ หน้าที่ระหว่างคสช.กับรัฐบาล ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า คสช.อยู่ต่อเพื่อก้าวก่าย หรือครอบงำรัฐบาล ส่งกลับมายังพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะ คสช.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงการตรวจสอบถ้อยคำอีกเพียงเล็กน้อยเพื่อความถูกต้อง และอยู่ระหว่างให้เจ้าหน้าที่สำนักอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ร่างหนังสือเพื่อนำความขึ้นทูลเกล้าฯ ขณะเดียวกัน คสช.ได้กำชับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯห้ามให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชน โดย พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำในที่ประชุม คสช.ว่า หลังมีการประกาศใช้แล้ว ขอเป็นผู้ชี้แจงเพียงคนเดียว ในประเด็นที่เกิดข้อซักถาม