หลังจากที่กลุ่มผู้พิการได้รณรงค์ผลักดันให้กระทรวงคมนาคม จัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีชานต่ำมานานเกือบ 2 ปี แต่กระทรวงคมนาคมไม่เคยรับฟัง เตรียมเดินหน้าจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี โดยรถร้อน ยังเป็นรถชานสูงที่คนพิการไม่สามารถใช้บริการได้เหมือนเดิม
นายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนที่ทุกคนขึ้นได้ ซึ่งได้มีการรณรงค์ผ่าน www.change.org/bus4allให้กระทรวงคมนาคม จัดซื้อรถเมล์ชานต่ำ โดยมีประชาชนทั่วประเทศร่วมลงชื่อเกือบกว่า 26,000 คน กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา10.00 น. ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซ.ราชวิถี 7 ทางเครือข่ายรถเมล์ฯจะมีการจัดการแถลงข่าว เรื่อง "ฟื้นฟูกิจการรถเมล์:จัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้" ด้วยการล้มร่างเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)การจัดซื้อรถเมล์NGVของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากทีโออาร์ดังกล่าวส่อไปในทางทุจริตเหมือนมีการล็อกสเปก เพราะหลังจากที่ องค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) แก้ทีโออาร์ถึง 10 ครั้ง แต่สุดท้าย ก็ย้อนไปกลับไปที่ฉบับแรก
ที่อนุมัติให้การจัดซื้อรถเมล์จำนวน 3,183 คัน แบ่งเป็นรถปรับอากาศซึ่งเป็นเมล์ชานต่ำจำนวน 1,524 คัน ส่วนรถร้อนจำนวน 1,659 คัน ยังเป็นรถชานสูงที่มีเสากั้น ซึ่งผู้พิการ และบุคคลที่ใช้รถเข็นไม่สามารถใช้ได้ โดย ขสมก.ได้เสนอให้มีการติดลิฟท์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้ผู้พิการที่ใข้รถเข็นตกเป็นจำเลยของสังคม เพราะรถติดลิฟท์ใช้เวลาเข้าออกเกือบ 3 นาที ขณะที่รถเมล์ชานต่ำ ใช้เวลาแค่ 20 วินาที เท่านั้น
"ถ้าเป็นรถเมล์ติดลิฟต์คนพิการหรือคนป่วยที่ใช้รถเข็นต่างๆ ก็คงไม่กล้าใช้ เพราะการขึ้นลงใช้เวลานานมาก พวกเราคงจะถูกมองด้วยสายตาที่ไม่พอใจ และถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุแห่งความล่าช้าในการเดินทาง ซึ่งพวกเราไม่อยากตกอยู่ในสภาพแบบนั้น ดังนั้น จึงต้องการให้มีการล้มทีโออาร์ที่ ขสมก.ทำ เพราะมันไม่ยุติธรรม พวกเราขอคัดค้านรถเมล์ติดลิฟท์ และขอให้กระทรวงคมนาคมจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำแทน เพื่อเป็นรถเมล์ที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการ คนป่วย คนชรา ผู้หญิงตั้งครรภ์ ภาษีของคนไทยที่ต้องจัดซื้อรถเมล์โครงการนี้จำนวนหลายหมื่นล้านบาท ควรเป็นประโยชน์ต่อคนทุกคน" นายธีรยุทธ กล่าว
นายธีรยุทธ กล่าวด้วยว่า คนพิการต่อสู้เรื่องนี้มาถึงสองปี เพราะอยากมีโอกาสได้นั่งรถเมล์บ้าง เพราะทุกวันนี้พวกเราแทบจะไม่ สามารถออกไปไหนได้ เพราะต้องเสียค่าแท็กซึ่แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าร้อยบาท และบางครั้งยังถูกปฏิเสธไม่รับโดยสาร เพราะฉะนั้นการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีครั้งนี้ จึงสำคัญมาก เพราะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม เพราะคนพิการก็จ่ายภาษีเหมือนกัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 56 พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม ในขณะนั้นได้สั่งให้ ขสมก. ชะลอการเปิดประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV พร้อมทั้งให้ นายนเรศน์ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก.ในฐานะประธานทีโออาร์ ให้แก้ไขทีโออาร์ ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา(รถร้อน) 1,659 คัน ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของกลุ่มผู้พิการ ที่ต้องการเข้าถึงบริการได้ทั้งรถร้อนและรถปรับอากาศ แต่ในที่สุด ขสมก.กลับไปใช้ทีโออาร์ฉบับแรก
นอกจากนี้ จากที่ได้ตรวจสอบโครงการมาอย่างต่อเนื่องพบว่า โครงการยังมีการหมกเม็ด เพราะไม่ได้จ่ายค่าชัดซื้อแค่ 13,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ยังต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงอีก 10 ปี จำนวน 15,000 ล้านบาทด้วย แต่ ขสมก. และกระทรวงคมนาคมไม่เคยพูดถึง ดังนั้น จึงอยากให้ผู้มีอำนาจยกเลิกทีโออาร์ฉบับนี้ และเริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ด้วยความโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
ทั้งนี้การแถลงข่าวเรื่อง “ฟื้นฟูกิจการรถเมล์ : จัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้”จะจัดขึ้นที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยมี อาจารย์อุดมโชค ชูรัตน์ ประธานภาคีเครือข่ายฯ รศ.ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงเกี่ยวกับการกระทำที่น่าจะผิดกฎหมาย และพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต พร้อมทั้งประเด็นเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน นายอรุณ ลีธนาโชค ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวถังรถโดยสาร แถลงเกี่ยวกับสเปกรถโดยสาร ด้านความปลอดภัย ฯลฯ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเสริมและแถลงปิดท้ายในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค โดยการแถลงข่าวครั้งนี้ จะมีกลุ่มผู้พิการต่างๆ กลุ่มผู้สูงอายุ จากองค์การต่างๆ เข้าร่วมด้วยเพื่อเรียก ร้องให้มีการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ที่ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้
นายธีรยุทธ สุคนธวิท เลขานุการเครือข่ายรถเมล์เพื่อประชาชนที่ทุกคนขึ้นได้ ซึ่งได้มีการรณรงค์ผ่าน www.change.org/bus4allให้กระทรวงคมนาคม จัดซื้อรถเมล์ชานต่ำ โดยมีประชาชนทั่วประเทศร่วมลงชื่อเกือบกว่า 26,000 คน กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา10.00 น. ณ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซ.ราชวิถี 7 ทางเครือข่ายรถเมล์ฯจะมีการจัดการแถลงข่าว เรื่อง "ฟื้นฟูกิจการรถเมล์:จัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้" ด้วยการล้มร่างเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)การจัดซื้อรถเมล์NGVของกระทรวงคมนาคม เนื่องจากทีโออาร์ดังกล่าวส่อไปในทางทุจริตเหมือนมีการล็อกสเปก เพราะหลังจากที่ องค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) แก้ทีโออาร์ถึง 10 ครั้ง แต่สุดท้าย ก็ย้อนไปกลับไปที่ฉบับแรก
ที่อนุมัติให้การจัดซื้อรถเมล์จำนวน 3,183 คัน แบ่งเป็นรถปรับอากาศซึ่งเป็นเมล์ชานต่ำจำนวน 1,524 คัน ส่วนรถร้อนจำนวน 1,659 คัน ยังเป็นรถชานสูงที่มีเสากั้น ซึ่งผู้พิการ และบุคคลที่ใช้รถเข็นไม่สามารถใช้ได้ โดย ขสมก.ได้เสนอให้มีการติดลิฟท์ ซึ่งข้อเสนอดังกล่าว จะทำให้ผู้พิการที่ใข้รถเข็นตกเป็นจำเลยของสังคม เพราะรถติดลิฟท์ใช้เวลาเข้าออกเกือบ 3 นาที ขณะที่รถเมล์ชานต่ำ ใช้เวลาแค่ 20 วินาที เท่านั้น
"ถ้าเป็นรถเมล์ติดลิฟต์คนพิการหรือคนป่วยที่ใช้รถเข็นต่างๆ ก็คงไม่กล้าใช้ เพราะการขึ้นลงใช้เวลานานมาก พวกเราคงจะถูกมองด้วยสายตาที่ไม่พอใจ และถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุแห่งความล่าช้าในการเดินทาง ซึ่งพวกเราไม่อยากตกอยู่ในสภาพแบบนั้น ดังนั้น จึงต้องการให้มีการล้มทีโออาร์ที่ ขสมก.ทำ เพราะมันไม่ยุติธรรม พวกเราขอคัดค้านรถเมล์ติดลิฟท์ และขอให้กระทรวงคมนาคมจัดซื้อรถเมล์ชานต่ำแทน เพื่อเป็นรถเมล์ที่ทุกคนใช้ร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการ คนป่วย คนชรา ผู้หญิงตั้งครรภ์ ภาษีของคนไทยที่ต้องจัดซื้อรถเมล์โครงการนี้จำนวนหลายหมื่นล้านบาท ควรเป็นประโยชน์ต่อคนทุกคน" นายธีรยุทธ กล่าว
นายธีรยุทธ กล่าวด้วยว่า คนพิการต่อสู้เรื่องนี้มาถึงสองปี เพราะอยากมีโอกาสได้นั่งรถเมล์บ้าง เพราะทุกวันนี้พวกเราแทบจะไม่ สามารถออกไปไหนได้ เพราะต้องเสียค่าแท็กซึ่แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าร้อยบาท และบางครั้งยังถูกปฏิเสธไม่รับโดยสาร เพราะฉะนั้นการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีครั้งนี้ จึงสำคัญมาก เพราะเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะสร้างความเท่าเทียมให้กับคนทุกกลุ่มในสังคม เพราะคนพิการก็จ่ายภาษีเหมือนกัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. 56 พล.อ.พฤณท์ สุวรรณทัต รมช.คมนาคม ในขณะนั้นได้สั่งให้ ขสมก. ชะลอการเปิดประมูลจัดซื้อรถเมล์ NGV พร้อมทั้งให้ นายนเรศน์ บุญเปี่ยม รองผู้อำนวยการ ขสมก.ในฐานะประธานทีโออาร์ ให้แก้ไขทีโออาร์ ในส่วนของรถโดยสารธรรมดา(รถร้อน) 1,659 คัน ให้เป็นไปตามข้อแนะนำของกลุ่มผู้พิการ ที่ต้องการเข้าถึงบริการได้ทั้งรถร้อนและรถปรับอากาศ แต่ในที่สุด ขสมก.กลับไปใช้ทีโออาร์ฉบับแรก
นอกจากนี้ จากที่ได้ตรวจสอบโครงการมาอย่างต่อเนื่องพบว่า โครงการยังมีการหมกเม็ด เพราะไม่ได้จ่ายค่าชัดซื้อแค่ 13,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ยังต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงอีก 10 ปี จำนวน 15,000 ล้านบาทด้วย แต่ ขสมก. และกระทรวงคมนาคมไม่เคยพูดถึง ดังนั้น จึงอยากให้ผู้มีอำนาจยกเลิกทีโออาร์ฉบับนี้ และเริ่มต้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ด้วยความโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง
ทั้งนี้การแถลงข่าวเรื่อง “ฟื้นฟูกิจการรถเมล์ : จัดซื้อรถเมล์ที่ทุกคนขึ้นได้”จะจัดขึ้นที่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยมี อาจารย์อุดมโชค ชูรัตน์ ประธานภาคีเครือข่ายฯ รศ.ดร.ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์ อดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงเกี่ยวกับการกระทำที่น่าจะผิดกฎหมาย และพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริต พร้อมทั้งประเด็นเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน นายอรุณ ลีธนาโชค ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวถังรถโดยสาร แถลงเกี่ยวกับสเปกรถโดยสาร ด้านความปลอดภัย ฯลฯ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเสริมและแถลงปิดท้ายในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค โดยการแถลงข่าวครั้งนี้ จะมีกลุ่มผู้พิการต่างๆ กลุ่มผู้สูงอายุ จากองค์การต่างๆ เข้าร่วมด้วยเพื่อเรียก ร้องให้มีการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี ที่ทุกคนสามารถใช้ร่วมกันได้