ASTVผู้จัดการรายวัน-"อีโค่ โอเรียนท์ฯ" กางหลักฐานโชว์ ยันขุดเจาะผลิตน้ำมันดิบถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน พร้อมจ่ายภาษีให้รัฐรวมสูงถึง 7.3 พันล้าน สามารถพิสูจน์ได้ ยื่น คสช. ตั้งคณะทำงานเข้าตรวจสอบเพื่อความโปร่งใส จ่อฟ้อง "พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส" ทั้งอาญาและแพ่ง ฐานปูดข่าวเท็จทำเสียหาย ด้าน "พ.ท.รัฐเขต" ลั่นไม่กลัว พร้อมขอศาลสั่งให้แจ้งข้อมูลปริมาณสำรองน้ำมันดิบในไทย เพื่อตอกย้ำว่าไทยมีน้ำมันดิบมหาศาล
น.ส.มนสิชา การุณยฐิติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่ พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ได้กล่าวหาบริษัทลักลอบดำเนินกิจการขุดเจาะ สำรวจ ผลิตน้ำมันดิบโดยผิดกฎหมายระหว่างปี 2551-2555 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันว่า บริษัทได้ทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อความโปร่งใส และเตรียมจะส่งเรื่องให้สำนักงานทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อ พ.ท.รัฐเขต ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนสื่อต่างๆ ที่นำเสนออาจได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว จึงจะชี้แจง แต่ยังไม่คิดจะฟ้องร้องในขณะนี้
ทั้งนี้ บริษัทยืนยันใน 3 ประเด็นที่ถูกกล่าวหา คือ การลักลอบขุดเจาะและผลิต ไม่เป็นความจริง เพราะได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานตามที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 3/2546/60 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43 และสัมปทานเลขที่ 5/2546/62 แปลงสำรวจปิโตรเลียมบนบกหมายเลข L33/43 ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้รับการอนุญาตกำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิตจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในปี 2552
ส่วนกรณีที่ระบุว่า มีการผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่ ส.ป.ก.นั้น ที่ผ่านมา เป็นการผลิตโดยเปิดเผยจริง มีการทำหนังสือยืนยัน ขอความยินยอมให้เข้าใช้ที่ดินจากสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดเพชรบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2553 และหนังสือคำขอในวันที่ 11 ก.พ.2553 ต่อมาปี 2555 ทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีคำสั่งให้บริษัทหยุดผลิตปิโตรเลียมบนที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2555 ด้วยเหตุที่การให้ความยินยอมที่ผ่านมานั้นให้เฉพาะแก่การสำรวจปิโตรเลียมเท่านั้น ซึ่งบริษัทก็ได้หยุดการผลิตน้ำมันตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.2555 เป็นต้นมา และได้ยื่นขอทุเลาคำสั่ง และได้รับการผลิตในแปลง L44-V เนื่องจากไม่ได้อยู่เขต ส.ป.ก.ในขณะนี้
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าภาคหลวงมานาน 5 ปี จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาลนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันบริษัทได้เสียค่าภาคหลวงให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไปแล้วกว่า 1,400 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้จ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐอีกกว่า 2,500 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังต้องนำเสียภาษีปิโตรเลียม ในอัตรา 50% จากกำไรสุทธิให้แก่กรมสรรพากร โดยบริษัทได้จ่ายไปแล้วกว่า 3,400 ล้านบาทเช่นกัน ซึ่งหากรวมผลตอบแทนทั้งหมดที่บริษัทได้จ่ายให้แก่รัฐ มีจำนวนสูงถึง 7,300 ล้านบาท
“กรณีที่ระบุว่ามีการซื้อขาย ส.ป.ก. ไม่จริง เพราะซื้อขายไม่ได้อยู่แล้ว แต่ที่เข้าไปใช้ ก็ขอหน่วยงานรัฐก่อนและจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรแล้วเกษตรกรก็ไปทำเรื่องสละสิทธิ์ ส่วนบริษัทอีโค่ เราไปเทคโอเว่อร์กิจการมาจากแพนโอเรียนท์ ซึ่งเป็นสัญชาติแคนาดา ก็ขอโอนสัมปทานจากกรมเชื้อเพลิงมาดูแลต่อ ซึ่งบริษัทจดทะเบียนที่เบอร์มิวด้า”น.ส.มนสิชากล่าว
พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา กล่าวว่า ไม่ได้กลัวอะไร หากจะมีการฟ้องร้องตน เนื่องจากมั่นใจว่ามีข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันจะถือโอกาสดังกล่าวขออำนาจศาลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับปริมาณสำรองน้ำมันที่พิสูจน์ทราบแล้วว่ามีไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาร์เรล เป็นทรัพยากรที่จะชี้ว่าไทยมีปริมาณน้ำมันดิบที่ทำให้คนไทยไม่ควรต้องใช้น้ำมันที่แพงเช่นปัจจุบัน
“เราเองก็พยายามหาที่อยู่บริษัท รายชื่อผู้บริหาร ก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ก็อยากให้ชัดเจนเรื่องกำลังการผลิตของบริษัทอีโค่ด้วยว่าเท่าใดแน่ ซึ่งกรมเชื้อเพลิงระบุปี 2552 พื้นที่ผลิตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะ อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพมีกำลัง 1.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน แต่เมื่อตรวจสอบพบปี 2552 จนถึงก.พ.2557 กำลังการผลิตวันละ 1,000 บาร์เรลต่อวัน จนกระทั่งเพิ่มขึ้นอยู่ปัจจุบัน4,000บาร์เรลต่อวัน จึงต้องการรู้ว่าเพิ่มมาจากไหน ส่วนที่หายหายไปไหน”พ.ท.รัฐเขตกล่าว
น.ส.มนสิชา การุณยฐิติ ผู้จัดการฝ่ายบริหารและรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยถึงกรณีที่ พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ได้กล่าวหาบริษัทลักลอบดำเนินกิจการขุดเจาะ สำรวจ ผลิตน้ำมันดิบโดยผิดกฎหมายระหว่างปี 2551-2555 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันว่า บริษัทได้ทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อให้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบเรื่องนี้เพื่อความโปร่งใส และเตรียมจะส่งเรื่องให้สำนักงานทนายความดำเนินการฟ้องร้องคดีอาญาข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา และฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งต่อ พ.ท.รัฐเขต ภายในสัปดาห์หน้า ส่วนสื่อต่างๆ ที่นำเสนออาจได้รับข้อมูลเพียงด้านเดียว จึงจะชี้แจง แต่ยังไม่คิดจะฟ้องร้องในขณะนี้
ทั้งนี้ บริษัทยืนยันใน 3 ประเด็นที่ถูกกล่าวหา คือ การลักลอบขุดเจาะและผลิต ไม่เป็นความจริง เพราะได้ทำตามขั้นตอนกฎหมายของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานตามที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียม เลขที่ 3/2546/60 แปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43 และสัมปทานเลขที่ 5/2546/62 แปลงสำรวจปิโตรเลียมบนบกหมายเลข L33/43 ตั้งแต่ปี 2546 โดยมีพื้นที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอวิเชียรบุรี และอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และได้รับการอนุญาตกำหนดให้เป็นพื้นที่ผลิตจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ในปี 2552
ส่วนกรณีที่ระบุว่า มีการผลิตน้ำมันดิบในพื้นที่ ส.ป.ก.นั้น ที่ผ่านมา เป็นการผลิตโดยเปิดเผยจริง มีการทำหนังสือยืนยัน ขอความยินยอมให้เข้าใช้ที่ดินจากสำนักงานปฏิรูปที่ดิน จังหวัดเพชรบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2553 และหนังสือคำขอในวันที่ 11 ก.พ.2553 ต่อมาปี 2555 ทางสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีคำสั่งให้บริษัทหยุดผลิตปิโตรเลียมบนที่ดินดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2555 ด้วยเหตุที่การให้ความยินยอมที่ผ่านมานั้นให้เฉพาะแก่การสำรวจปิโตรเลียมเท่านั้น ซึ่งบริษัทก็ได้หยุดการผลิตน้ำมันตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.2555 เป็นต้นมา และได้ยื่นขอทุเลาคำสั่ง และได้รับการผลิตในแปลง L44-V เนื่องจากไม่ได้อยู่เขต ส.ป.ก.ในขณะนี้
สำหรับข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าภาคหลวงมานาน 5 ปี จนทำให้รัฐสูญเสียรายได้มหาศาลนั้น ยืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบันบริษัทได้เสียค่าภาคหลวงให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติไปแล้วกว่า 1,400 ล้านบาท ขณะเดียวกันยังได้จ่ายเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษให้แก่รัฐอีกกว่า 2,500 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังต้องนำเสียภาษีปิโตรเลียม ในอัตรา 50% จากกำไรสุทธิให้แก่กรมสรรพากร โดยบริษัทได้จ่ายไปแล้วกว่า 3,400 ล้านบาทเช่นกัน ซึ่งหากรวมผลตอบแทนทั้งหมดที่บริษัทได้จ่ายให้แก่รัฐ มีจำนวนสูงถึง 7,300 ล้านบาท
“กรณีที่ระบุว่ามีการซื้อขาย ส.ป.ก. ไม่จริง เพราะซื้อขายไม่ได้อยู่แล้ว แต่ที่เข้าไปใช้ ก็ขอหน่วยงานรัฐก่อนและจ่ายเงินชดเชยให้กับเกษตรกรแล้วเกษตรกรก็ไปทำเรื่องสละสิทธิ์ ส่วนบริษัทอีโค่ เราไปเทคโอเว่อร์กิจการมาจากแพนโอเรียนท์ ซึ่งเป็นสัญชาติแคนาดา ก็ขอโอนสัมปทานจากกรมเชื้อเพลิงมาดูแลต่อ ซึ่งบริษัทจดทะเบียนที่เบอร์มิวด้า”น.ส.มนสิชากล่าว
พ.ท.รัฐเขต แจ้งจำรัส ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา กล่าวว่า ไม่ได้กลัวอะไร หากจะมีการฟ้องร้องตน เนื่องจากมั่นใจว่ามีข้อมูลที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันจะถือโอกาสดังกล่าวขออำนาจศาลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับปริมาณสำรองน้ำมันที่พิสูจน์ทราบแล้วว่ามีไม่ต่ำกว่า 650 ล้านบาร์เรล เป็นทรัพยากรที่จะชี้ว่าไทยมีปริมาณน้ำมันดิบที่ทำให้คนไทยไม่ควรต้องใช้น้ำมันที่แพงเช่นปัจจุบัน
“เราเองก็พยายามหาที่อยู่บริษัท รายชื่อผู้บริหาร ก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอด ก็อยากให้ชัดเจนเรื่องกำลังการผลิตของบริษัทอีโค่ด้วยว่าเท่าใดแน่ ซึ่งกรมเชื้อเพลิงระบุปี 2552 พื้นที่ผลิตจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะ อำเภอวิเชียรบุรี และศรีเทพมีกำลัง 1.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน แต่เมื่อตรวจสอบพบปี 2552 จนถึงก.พ.2557 กำลังการผลิตวันละ 1,000 บาร์เรลต่อวัน จนกระทั่งเพิ่มขึ้นอยู่ปัจจุบัน4,000บาร์เรลต่อวัน จึงต้องการรู้ว่าเพิ่มมาจากไหน ส่วนที่หายหายไปไหน”พ.ท.รัฐเขตกล่าว