คสช.สั่งเด้ง "อธิบดีจัดหางาน-ผอ.สำนักแรงงานต่างด้าว" เข้ากรุ เซ่นจัดระเบียบ ประสานกต.ชี้แจงกัมพูชา หลังรมว.มหาดไทยกัมพูชา จี้กองทัพไทยรับผิดชอบแรงงานเขมรเสียชีวิตระหว่างอพยพกลับ เชื่อเป็นความเข้าใจผิด "ประยุทธ์" คุยผู้แทนหอการค้าต่างประเทศเรื่องการค้า การลงทุน พร้อมชี้แจงสาเหตุถึงความจำเป็นที่ทหารต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ เพื่อรักษาประชาธิปไตยให้ยั่งยืน "อภิรัชต์"ลงพื้นที่ จัดระเบียบจยย.รับจ้างด้วยตัวเอง ที่เซนทรัลพระราม 9
วานนี้ (19 มิ.ย.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่ง ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ระบุว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหา และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
2. ให้นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาปฏิบัติหน้าที่อธิบดีกรมการจัดหางานอีกหน้าที่หนึ่ง โดยได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
3. ให้นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว มาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
4. ให้นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 มิ.ย.57 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
*กำชับเข้มห้ามค้าแรงงานเถื่อน
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (19 มิ.ย.) ที่กองบัญช่าการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้มอบหมายให้ พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามการทำงานของทุกฝ่ายงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งในส่วนของฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งส่วนงานขึ้นตรงหัวหน้าคสช.
ทั้งนี้ประธานการประชุมได้มีการกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันสังเกตการณ์ การใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้ละเอียดกว่าที่ผ่านมา รวมทั้งกรณีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งถือว่าประเทศไทย กำลังถูกจับตาว่า ดำเนินการถูกต้องตามหลักสากล และถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พูดคุยถึงปัญหาการค้าประเวณี ที่ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลและปราบปราม อีกทั้งยังระบุถึงปัญหาอาวุธสงคราม ที่ทางกองกำลังรักษาความสงบในแต่ละพื้นที่มีการติดตามตรวจยึดได้อย่างต่อเนื่องด้วยว่า ปัญหาอาวุธสงครามนั้น มีความเชื่อมโยงกับทั้งเรื่องของปัญหาแรงงาน ปัญหายาเสพติด รวมถึงปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันหามาตรการที่เข้มงวดต่อเนื่องจัดการกับขบวนการผิดกฎหมายเหล่านี้ รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ถาวรให้กับเยาวชนรุ่นหลังด้วย
ส่วนเรื่องของการแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่มีการขายเกินราคา ต้องให้ทุกส่วนช่วยกันคิด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับคนรากหญ้า ซึ่งปัญหานี้ถูกระบุว่า ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือจะทำอย่างไรกับผู้ที่พยายามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ต้นน้ำ ซึ่งจะยังไม่ดูที่การขายล็อตเตอรี่เกินราคาในขณะนี้ ซึ่งถือเป็นปัญหาปลายน้ำ
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่า หลังจาก คสช. ออกประกาศให้กวาดล้าง และจับกุมผู้กระทำความผิดค้าไม้เถื่อน ในเบื้องต้นทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 1-4 ได้ร่วมกันกวาดล้าง และจับกุม ผู้ต้องหาค้าไม้เถื่อนได้จำนวน 16 คน พร้อมของกลางใน 17 จังหวัด ได้ไม้สัก 633 ท่อน ไม้พยุง 270 ท่อน ไม้กระยาเลย 689 ท่อน รวมถึงสามารถยืดคืนพื้นที่ได้จำนวน 64 ไร่ รถยนต์ 6 คัน และเลื่อยโซ่ยนต์ 4 เครื่อง
สำหรับกรณีการอพยพของแรงงานกัมพูชา ในเบื้องต้นทาง คสช.ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในปีนี้จะมีแรงงานที่ครบกำหนดตัองเดินทางกลับประเทศ 60,000 ราย รวมถึงมีแรงงานที่เดินทางเข้า-ออกรายวัน ตามแนวชายแดน ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่า กระแสข่าวดังกล่าวน่าจะเกิดจากกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ และนายหน้าค้าแรงงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มแรงงานโดยตรง
ทั้งนี้ หากพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐคนใดกระทำเรื่องดังกล่าว จะเอาผิดทางวินัย และมีบทลงโทษทางอาญา
**ให้กต.ทำความเข้าใจกัมพูชา
พ.อ.วินธัย ยังกล่าวถึงกรณี นายซาร์ เค็ง รมว.มหาดไทย กัมพูชา ที่ออกมากล่าวตำหนิทางการไทย และเรียกร้องกองทัพไทย รับผิดชอบ กรณีที่แรงงานชาวกัมพูชาประสบอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ขณะเดินทางกลับประเทศว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานและเร่งทำความเข้าใจ ซึ่งต้องดูว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งที่รมว.มหาดไทยกัมพูชาพูดจริงหรือไม่ ขณะเดียวกันทราบว่า มีการส่งข่าวจากทางกัมพูชา คสช. จึงให้หัวหน้าส่วนราชการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ รวมถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงกับเอกอัครราชทูตกัมพูชา และเอกอัครทูตไทยในกัมพูชา เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ขณะที่กระทรวงกลาโหม ได้ใช้ช่องทางผู้ช่วยทูตทหาร ในการทำความเข้าใจ และถือว่าเราได้ใช้ทุกช่องทางทำความเข้าใจแล้ว
พ.อ.วินธัย กล่าวด้วยว่า ข่าวที่เกิดขึ้นความจริงแล้วไม่มีอะไรเลย น่าจะเป็นการสื่อสารที่เข้าใจผิดมากกว่า ที่เกิดขึ้นจากการสร้างข่าวลือ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไปทารุณกรรม หรือใช้มาตรการบังคับเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งคนที่รับข่าวสารก็คงต้องมีวิจารณญาณพอสมควร เมื่อถามว่าทำไมกองทัพไม่หาว่า ต้นตอของการสร้างข่าวลือมาจากไหน พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในกระบวนการอยู่ ซึ่งเท่าที่ได้รับข้อมูลมาส่วนหนึ่งว่ามีผู้ไม่หวังดีทำกันเป็นกระบวนการ อาจจะมาจากผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบธุรกิจแรงงาน ผู้ค้าแรงงาน ที่อาจเสียประโยชน์จึงปล่อยข่าวออกมาเพื่อสร้างความสับสน
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีนักการเมืองไทยไปร่วมมือกับนักการเมืองกัมพูชา สร้างข่าวนี้ออกมา พ.อ.วินธัย ตอบว่า เราไม่ได้ตั้งสมมติฐานอย่างนั้น ซึ่งเท่าที่ฟังท่าทีของกัมพูชา ก็มีความเข้าใจสถานการณ์ในไทย เมื่อถามต่อว่า ถ้าเข้าใจ ทำไม รมว.มหาดไทยกัมพูชาจึงออกมาเรียกร้องให้ คสช. รับผิดชอบ พ.อ.วินธัย ตอบว่า เรื่องนี้ยังเป็นข้อมูลผ่านสื่อ ซึ่งที่ผ่านมาระหว่างกองทัพไทย และกองทัพกัมพูชา ก็มีการประสานกันเพื่อทำความเข้าใจกันอยู่ แต่เขาจะเข้าใจหรือไม่ ก็ต้องรอดูกันต่อไป
** แรงงานกลับมาใหม่ต้องถูกกม.
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ทีมโฆษก คสช. ฝ่ายพลเรือน กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง ทางคสช.ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ผู้ที่ดูแลการเดินทางต้องรับผิดชอบ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านว่า ไม่มีการดำเนินการผลักดันแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ ทั้งนี้ คสช. ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวในระยะยาว โดยจะดูแลให้สอดคล้องตามสิทธิมนุษยชน ตามสิทธิที่พึ่งได้รับ และให้เขาทำงานในประเทศไทยอย่างมีความสุข
เมื่อถามว่า ผลกระทบกับผู้ประกอบไทยที่ขาดแรงงาน จะมีมาตรการอะไรเข้ามาดูแล ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เบื้องต้นเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจกับตัวแรงงาน ซึ่งตัวแรงงานมีความเข้าใจมากขึ้น มีการตั้งศูนย์ขึ้นทะเบียนแรงงานแบบเบ็ดเสร็จในหน่วยเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายได้มาขึ้นทะเบียน ส่วนแรงงานที่กลับไปแล้ว หากจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทยต้องเป็นไปตามกระบวนการของกระทรวงแรงงาน ซึ่งแรงงานส่วนหนึ่งที่กลับไปนั้น เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ที่มีข้อตกลงการทำงานในประเทศไทย 4 ปี และเขาก็สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อีก 3 ปี ส่วนแรงงานที่ผิดกฎหมายแต่มีการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อทำงานครบ 4 ปีก็สามารถต่อวีซ่าได้อีก 2 ปี เมื่อถามว่า กรณีนายหน้าที่มีการหักหัวคิวแรงงาน ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เรื่องนี้ทางคณะกรรมการก็ต้องพิจารณา เพื่อทำให้แรงงานต่างด้าวเป็นระบบ ซึ่งกำลังรวบรวมข้อมูลและแนวทางมาตรการเพื่อนำเสนอต่อหัวหน้า คสช. ซึ่งทางคสช.ได้มอบหมายให้นายจ้างไปเช็ครายชื่อลูกจ้างที่มีอยู่ให้เรียบร้อยเพื่อที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
** แจงตปท.ทหารจำเป็นต้องเข้ามา
เวลา 14.00 น. วานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะ หัวหน้าคสช. ได้เชิญผู้แทนหอการค้าต่างประเทศ เข้าหารือเรื่องการค้าการลงทุน หลังจากเมื่อวันที่ 18มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน 18 โครงการ มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้หัวหน้า คสช. ได้กล่าวขอบคุณผู้ที่มาร่วมหารือวันนี้ พร้อมกับชี้แจงการเข้ามาควบคุมสถานการณ์และบริหารประเทศ ว่า มาจากเหตุผลหลายประการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ มีปัญหา ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และจะทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยของไทยมีความยั่งยืน สมบูรณ์เหมือนกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นคสช.จึงต้องเข้ามาพยุงประชาธิปไตยให้มั่นคงต่อไปในอนาคต
ในขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ. ในฐานะ หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วย รถจักยานยนต์รับจ้าง รถตู้ และรถแท็กซี่
** ลุยจัดระเบียบวินจยย.รับจ้าง
ที่ห้างเซ็นทรัล พระราม 9 พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) พร้อมด้วย พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ในฐานะ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายอัฌษไธค์ (อัด-สะ-ไท) รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการมีใบอนุญาต ตั้งวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง เพื่อดำเนินการจัดระเบียบรถบริการสาธารณะ ตามนโยบายของ คสช.บริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 9
ทั้งนี้ พล.ต.อภิรัชต์ ระบุว่า การตรวจสอบในครั้งนี้พบว่ายังมีวินรถจักรยานยนต์รับจ้างอีกว่า 500 วิน ทั่วกรุงเทพฯ ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดช่องว่างต่อการเข้ามาหาผลประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ดังนั้นการดำเนินการเพื่อจัดระเบียบในระยะแรก จึงจะต้องเร่งให้วินรถจักรยานยนต์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง พร้อมทั้งติดป้ายแสดงราคาค่าโดยสาร เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาในช่วงเร่งด่วน รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสุภาพ ปลอดภัย
หากกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่อยู่ในเครื่องแบบ ทั้งในส่วนของทหาร ตำรวจ เกี่ยวข้อง พล.ต.อภิรัชต์ กล่าวว่า จะดำเนินการในขั้นเด็ดขาด กับคนกลุ่มนี้อย่างแน่นอน หากพบ จะสั่งพักงาน และตั้งคณะกรรมการสอบสวน และเมื่อสอบสวนแล้วพบว่ามีความผิดจริง ก็จะให้ออกจากราชการ และส่งดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ เบื้องต้นทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ได้มีข้อมูลและรายชื่อของกลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป หรืออาจจะมีการเรียกเข้ามาพูดคุย และรายงานตามตามประกาศของ คสช. ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเรียกตัวมาพูดคุยในบางส่วนแล้ว และหากประชาชนมีข้อมูล หรือเบาะแสที่เป็นประโยชน์ก็สามารถร้องเรียนหรือแจ้งมาได้ที่ศูนย์วิทยุของกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ขณะที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ระบุว่า จากนี้ต่อไปจะมีการดำเนินการอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และจะประเมินผลการดำเนินงานภายใน 1-2 เดือน หากพบมีข้อบกพร่อง ก็จะนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่มั่นใจภายในกรอบระยะ 3 เดือน จะสามารถขจัดกลุ่มผู้มีอิทธิพลและจัดระเบียบรถบริการสาธารณะให้เป็นรูปธรรมตามนโยบายของ คสช.ได้
** จัดระเบียบแท็กซี่ดอนเมือง
พล.ต.นิรันดร สมุทรสาคร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) ที่รับผิดชอบดูแลการจัดระเบียบรถแท็กซี่ ได้ลงพื้นที่สนามบินดอนเมือง เพื่อหารือกับ พล.อ.อ มนัส รูปขจร เจ้าของบริษัทพลังร่วม ซึ่งเป็นบริษัทดูแลรักษาความปลอดภัย และดูแลคิวแท็กซี่ ที่ดอนเมือง โดยจากการพูดคุยร่วมกัน ทั้งหมดเห็นตรงกันว่าจะเข้ามาช่วยกันบริหารดูแลแท็กซี่ เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เนื่องจากที่ดอนเมืองมีปัญหาแท็กซี่ไม่เพียงพอ เมื่อมีเครื่องบินลงพร้อมกัน และมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายของแท็กซี่ ซึ่ง คสช. จะเข้ามาดูแล โดยที่ดอนเมืองมีความแตกต่างจากสุวรรณภูมิ ที่มีบริษัทมาดูแลจัดระเบียบแท็กซี่โดยเฉพาะ แต่ที่ดอนเมือง ฝากให้ บริษัท รปภ. ดูแล ทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องกิริยามารยาท ตลอดจนปัญหาอาชญากรรม และการพนัน แต่ยืนยันว่าไม่มีมาเฟีย หรือ ผู้มีอิทธิพล ดังนั้นในอนาคตจะมีการนำระบบสมาร์ทการ์ด มาใช้ดูแลระบบแท็กซี่ ซึ่งในปัจจุบันมีแท็กซี่ทั่วประเทศกว่า1.1แสนคัน เป็นแท็กซี่อิสระ กว่า 3.7หมื่นคัน ขณะเดียวกันรถแท็กซี่เรียกร้องขอให้มีการปรับขึ้นค่าโดยสารเริ่มต้นเป็น 50 บาท ซึ่งเรื่องนี้ คสช.จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง โดยยืนยันการที่เข้ามาจัดระเบียบแท็กซี่เนื่องจากต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับแท็กซี่และผู้โดยสาร
**หนังสือลาออกบอร์ดบินไทยถึงมือ หน.คสช.
จากกรณีที่มีข่าว พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. รองหัวหน้า คสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ จะยื่นใบลาออกจากการเป็นประธานบอร์ด บริษัท การบินไทย ในวันที่ 19 มิ.ย. เพื่อให้มีการปฏิรูป และเปิดโอกาสให้ คสช.พิจารณาคนมีความสามารถมาแทน โดยใบลาออกดังกล่าว จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ให้ขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. นั้น ล่าสุด มีรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน ได้ส่งหนังสือลาออกถึงมือ พล.อ.ประยุทธ แล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องจัยตาการประชุมบอร์ดบริษัทการบินไทย ในวันนี้ ( 20 มิ.ย.) ซึ่งจะเริ่มในเวลา9.00น. ที่บริษัทการบินไทย สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยเป็นการประชุมประจำเดือนปกตินั้น คาดว่าพล.อ.อ.ประจิน จะแจ้งถึงเหตุผลการยื่นใบลาออกดังกล่าวต่อที่ประชุม
ล่าสุด มีรายงานเพิ่มเติมว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้รับหนังสือลาออกจาก พล.อ.อ.ประจินแล้ว และได้ยับยั้งการลาออกของ พล.อ.อ.ประจินไว้ก่อน
วานนี้ (19 มิ.ย.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ออกคำสั่ง ฉบับที่ 70/2557 เรื่อง การแต่งตั้งให้ข้าราชการปฏิบัติหน้าที่ ระบุว่า เพื่อให้การแก้ไขปัญหา และการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้
1. ให้นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน มาปฏิบัติราชการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
2. ให้นายสุเมธ มโหสถ รองปลัดกระทรวงแรงงาน มาปฏิบัติหน้าที่อธิบดีกรมการจัดหางานอีกหน้าที่หนึ่ง โดยได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
3. ให้นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว มาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน
4. ให้นายพิชิต นิลทองคำ จัดหางานจังหวัดชลบุรี มาปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารแรงงานต่างด้าว โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิมไปพลางก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 19 มิ.ย.57 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.
*กำชับเข้มห้ามค้าแรงงานเถื่อน
เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (19 มิ.ย.) ที่กองบัญช่าการกองทัพบก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้มอบหมายให้ พล.อ.วิชิต ศรีประเสริฐ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา เป็นประธานการประชุม เพื่อติดตามการทำงานของทุกฝ่ายงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทั้งในส่วนของฝ่ายความมั่นคง ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งส่วนงานขึ้นตรงหัวหน้าคสช.
ทั้งนี้ประธานการประชุมได้มีการกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยกันสังเกตการณ์ การใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายให้ละเอียดกว่าที่ผ่านมา รวมทั้งกรณีการใช้แรงงานเด็ก ซึ่งถือว่าประเทศไทย กำลังถูกจับตาว่า ดำเนินการถูกต้องตามหลักสากล และถูกต้องตามหลักสิทธิมนุษยชนหรือไม่
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พูดคุยถึงปัญหาการค้าประเวณี ที่ต้องช่วยกันสอดส่องดูแลและปราบปราม อีกทั้งยังระบุถึงปัญหาอาวุธสงคราม ที่ทางกองกำลังรักษาความสงบในแต่ละพื้นที่มีการติดตามตรวจยึดได้อย่างต่อเนื่องด้วยว่า ปัญหาอาวุธสงครามนั้น มีความเชื่อมโยงกับทั้งเรื่องของปัญหาแรงงาน ปัญหายาเสพติด รวมถึงปัญหาการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันหามาตรการที่เข้มงวดต่อเนื่องจัดการกับขบวนการผิดกฎหมายเหล่านี้ รวมถึงการสร้างภูมิคุ้มกันที่ถาวรให้กับเยาวชนรุ่นหลังด้วย
ส่วนเรื่องของการแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล ที่มีการขายเกินราคา ต้องให้ทุกส่วนช่วยกันคิด เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับคนรากหญ้า ซึ่งปัญหานี้ถูกระบุว่า ต้องแก้ที่ต้นเหตุ คือจะทำอย่างไรกับผู้ที่พยายามเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ต้นน้ำ ซึ่งจะยังไม่ดูที่การขายล็อตเตอรี่เกินราคาในขณะนี้ ซึ่งถือเป็นปัญหาปลายน้ำ
พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงว่า หลังจาก คสช. ออกประกาศให้กวาดล้าง และจับกุมผู้กระทำความผิดค้าไม้เถื่อน ในเบื้องต้นทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ภาค 1-4 ได้ร่วมกันกวาดล้าง และจับกุม ผู้ต้องหาค้าไม้เถื่อนได้จำนวน 16 คน พร้อมของกลางใน 17 จังหวัด ได้ไม้สัก 633 ท่อน ไม้พยุง 270 ท่อน ไม้กระยาเลย 689 ท่อน รวมถึงสามารถยืดคืนพื้นที่ได้จำนวน 64 ไร่ รถยนต์ 6 คัน และเลื่อยโซ่ยนต์ 4 เครื่อง
สำหรับกรณีการอพยพของแรงงานกัมพูชา ในเบื้องต้นทาง คสช.ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ในปีนี้จะมีแรงงานที่ครบกำหนดตัองเดินทางกลับประเทศ 60,000 ราย รวมถึงมีแรงงานที่เดินทางเข้า-ออกรายวัน ตามแนวชายแดน ซึ่งขณะนี้ได้รับรายงานว่า กระแสข่าวดังกล่าวน่าจะเกิดจากกลุ่มเจ้าหน้าที่รัฐ และนายหน้าค้าแรงงาน เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์จากกลุ่มแรงงานโดยตรง
ทั้งนี้ หากพบว่า เจ้าหน้าที่รัฐคนใดกระทำเรื่องดังกล่าว จะเอาผิดทางวินัย และมีบทลงโทษทางอาญา
**ให้กต.ทำความเข้าใจกัมพูชา
พ.อ.วินธัย ยังกล่าวถึงกรณี นายซาร์ เค็ง รมว.มหาดไทย กัมพูชา ที่ออกมากล่าวตำหนิทางการไทย และเรียกร้องกองทัพไทย รับผิดชอบ กรณีที่แรงงานชาวกัมพูชาประสบอุบัติเหตุจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ขณะเดินทางกลับประเทศว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานและเร่งทำความเข้าใจ ซึ่งต้องดูว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นสิ่งที่รมว.มหาดไทยกัมพูชาพูดจริงหรือไม่ ขณะเดียวกันทราบว่า มีการส่งข่าวจากทางกัมพูชา คสช. จึงให้หัวหน้าส่วนราชการทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการ รวมถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ได้ชี้แจงกับเอกอัครราชทูตกัมพูชา และเอกอัครทูตไทยในกัมพูชา เพื่อทำความเข้าใจให้ตรงกัน ขณะที่กระทรวงกลาโหม ได้ใช้ช่องทางผู้ช่วยทูตทหาร ในการทำความเข้าใจ และถือว่าเราได้ใช้ทุกช่องทางทำความเข้าใจแล้ว
พ.อ.วินธัย กล่าวด้วยว่า ข่าวที่เกิดขึ้นความจริงแล้วไม่มีอะไรเลย น่าจะเป็นการสื่อสารที่เข้าใจผิดมากกว่า ที่เกิดขึ้นจากการสร้างข่าวลือ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะไปทารุณกรรม หรือใช้มาตรการบังคับเกี่ยวกับแรงงาน ซึ่งคนที่รับข่าวสารก็คงต้องมีวิจารณญาณพอสมควร เมื่อถามว่าทำไมกองทัพไม่หาว่า ต้นตอของการสร้างข่าวลือมาจากไหน พ.อ.วินธัย กล่าวว่า ตอนนี้อยู่ในกระบวนการอยู่ ซึ่งเท่าที่ได้รับข้อมูลมาส่วนหนึ่งว่ามีผู้ไม่หวังดีทำกันเป็นกระบวนการ อาจจะมาจากผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบธุรกิจแรงงาน ผู้ค้าแรงงาน ที่อาจเสียประโยชน์จึงปล่อยข่าวออกมาเพื่อสร้างความสับสน
เมื่อถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีนักการเมืองไทยไปร่วมมือกับนักการเมืองกัมพูชา สร้างข่าวนี้ออกมา พ.อ.วินธัย ตอบว่า เราไม่ได้ตั้งสมมติฐานอย่างนั้น ซึ่งเท่าที่ฟังท่าทีของกัมพูชา ก็มีความเข้าใจสถานการณ์ในไทย เมื่อถามต่อว่า ถ้าเข้าใจ ทำไม รมว.มหาดไทยกัมพูชาจึงออกมาเรียกร้องให้ คสช. รับผิดชอบ พ.อ.วินธัย ตอบว่า เรื่องนี้ยังเป็นข้อมูลผ่านสื่อ ซึ่งที่ผ่านมาระหว่างกองทัพไทย และกองทัพกัมพูชา ก็มีการประสานกันเพื่อทำความเข้าใจกันอยู่ แต่เขาจะเข้าใจหรือไม่ ก็ต้องรอดูกันต่อไป
** แรงงานกลับมาใหม่ต้องถูกกม.
ด้าน ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ ทีมโฆษก คสช. ฝ่ายพลเรือน กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการเดินทาง ทางคสช.ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ผู้ที่ดูแลการเดินทางต้องรับผิดชอบ ซึ่งทางกระทรวงการต่างประเทศได้ทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านว่า ไม่มีการดำเนินการผลักดันแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ ทั้งนี้ คสช. ได้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวในระยะยาว โดยจะดูแลให้สอดคล้องตามสิทธิมนุษยชน ตามสิทธิที่พึ่งได้รับ และให้เขาทำงานในประเทศไทยอย่างมีความสุข
เมื่อถามว่า ผลกระทบกับผู้ประกอบไทยที่ขาดแรงงาน จะมีมาตรการอะไรเข้ามาดูแล ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เบื้องต้นเป็นการชี้แจงทำความเข้าใจกับตัวแรงงาน ซึ่งตัวแรงงานมีความเข้าใจมากขึ้น มีการตั้งศูนย์ขึ้นทะเบียนแรงงานแบบเบ็ดเสร็จในหน่วยเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับแรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมายได้มาขึ้นทะเบียน ส่วนแรงงานที่กลับไปแล้ว หากจะกลับมาทำงานที่ประเทศไทยต้องเป็นไปตามกระบวนการของกระทรวงแรงงาน ซึ่งแรงงานส่วนหนึ่งที่กลับไปนั้น เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ที่มีข้อตกลงการทำงานในประเทศไทย 4 ปี และเขาก็สามารถเข้ามาทำงานในประเทศไทยได้อีก 3 ปี ส่วนแรงงานที่ผิดกฎหมายแต่มีการพิสูจน์สัญชาติ เมื่อทำงานครบ 4 ปีก็สามารถต่อวีซ่าได้อีก 2 ปี เมื่อถามว่า กรณีนายหน้าที่มีการหักหัวคิวแรงงาน ร.อ.นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า เรื่องนี้ทางคณะกรรมการก็ต้องพิจารณา เพื่อทำให้แรงงานต่างด้าวเป็นระบบ ซึ่งกำลังรวบรวมข้อมูลและแนวทางมาตรการเพื่อนำเสนอต่อหัวหน้า คสช. ซึ่งทางคสช.ได้มอบหมายให้นายจ้างไปเช็ครายชื่อลูกจ้างที่มีอยู่ให้เรียบร้อยเพื่อที่เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบ
** แจงตปท.ทหารจำเป็นต้องเข้ามา
เวลา 14.00 น. วานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.ในฐานะ หัวหน้าคสช. ได้เชิญผู้แทนหอการค้าต่างประเทศ เข้าหารือเรื่องการค้าการลงทุน หลังจากเมื่อวันที่ 18มิ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้อนุมัติให้ส่งเสริมการลงทุน 18 โครงการ มูลค่ากว่า 1.2 แสนล้านบาท ทั้งนี้หัวหน้า คสช. ได้กล่าวขอบคุณผู้ที่มาร่วมหารือวันนี้ พร้อมกับชี้แจงการเข้ามาควบคุมสถานการณ์และบริหารประเทศ ว่า มาจากเหตุผลหลายประการ เช่น ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ มีปัญหา ไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และจะทำอย่างไรให้ประชาธิปไตยของไทยมีความยั่งยืน สมบูรณ์เหมือนกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นคสช.จึงต้องเข้ามาพยุงประชาธิปไตยให้มั่นคงต่อไปในอนาคต
ในขณะที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผบ.ทบ. ในฐานะ หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดระเบียบรถขนส่งสาธารณะ ซึ่งประกอบด้วย รถจักยานยนต์รับจ้าง รถตู้ และรถแท็กซี่
** ลุยจัดระเบียบวินจยย.รับจ้าง
ที่ห้างเซ็นทรัล พระราม 9 พล.ต.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (พล.1 รอ.) พร้อมด้วย พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผช.ผบ.ตร.) ในฐานะ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจนครบาล นายอัฌษไธค์ (อัด-สะ-ไท) รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อธิบดีกรมการขนส่งทางบก และส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบการมีใบอนุญาต ตั้งวินรถจักรยานยนต์รับจ้าง เพื่อดำเนินการจัดระเบียบรถบริการสาธารณะ ตามนโยบายของ คสช.บริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 9
ทั้งนี้ พล.ต.อภิรัชต์ ระบุว่า การตรวจสอบในครั้งนี้พบว่ายังมีวินรถจักรยานยนต์รับจ้างอีกว่า 500 วิน ทั่วกรุงเทพฯ ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ส่งผลให้เกิดช่องว่างต่อการเข้ามาหาผลประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอิทธิพล ดังนั้นการดำเนินการเพื่อจัดระเบียบในระยะแรก จึงจะต้องเร่งให้วินรถจักรยานยนต์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนไปขึ้นทะเบียนให้ถูกต้อง พร้อมทั้งติดป้ายแสดงราคาค่าโดยสาร เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสขึ้นราคาในช่วงเร่งด่วน รวมทั้งการให้บริการแก่ประชาชนด้วยความสุภาพ ปลอดภัย
หากกลุ่มผู้มีอิทธิพลที่อยู่ในเครื่องแบบ ทั้งในส่วนของทหาร ตำรวจ เกี่ยวข้อง พล.ต.อภิรัชต์ กล่าวว่า จะดำเนินการในขั้นเด็ดขาด กับคนกลุ่มนี้อย่างแน่นอน หากพบ จะสั่งพักงาน และตั้งคณะกรรมการสอบสวน และเมื่อสอบสวนแล้วพบว่ามีความผิดจริง ก็จะให้ออกจากราชการ และส่งดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ทั้งนี้ เบื้องต้นทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ได้มีข้อมูลและรายชื่อของกลุ่มคนเหล่านี้บางส่วนแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนพิจารณาว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อไป หรืออาจจะมีการเรียกเข้ามาพูดคุย และรายงานตามตามประกาศของ คสช. ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเรียกตัวมาพูดคุยในบางส่วนแล้ว และหากประชาชนมีข้อมูล หรือเบาะแสที่เป็นประโยชน์ก็สามารถร้องเรียนหรือแจ้งมาได้ที่ศูนย์วิทยุของกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ และกองบัญชาการตำรวจนครบาล
ขณะที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ระบุว่า จากนี้ต่อไปจะมีการดำเนินการอย่างเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ และจะประเมินผลการดำเนินงานภายใน 1-2 เดือน หากพบมีข้อบกพร่อง ก็จะนำมาปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด แต่มั่นใจภายในกรอบระยะ 3 เดือน จะสามารถขจัดกลุ่มผู้มีอิทธิพลและจัดระเบียบรถบริการสาธารณะให้เป็นรูปธรรมตามนโยบายของ คสช.ได้
** จัดระเบียบแท็กซี่ดอนเมือง
พล.ต.นิรันดร สมุทรสาคร ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 (มทบ.11) ที่รับผิดชอบดูแลการจัดระเบียบรถแท็กซี่ ได้ลงพื้นที่สนามบินดอนเมือง เพื่อหารือกับ พล.อ.อ มนัส รูปขจร เจ้าของบริษัทพลังร่วม ซึ่งเป็นบริษัทดูแลรักษาความปลอดภัย และดูแลคิวแท็กซี่ ที่ดอนเมือง โดยจากการพูดคุยร่วมกัน ทั้งหมดเห็นตรงกันว่าจะเข้ามาช่วยกันบริหารดูแลแท็กซี่ เพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้โดยสาร เนื่องจากที่ดอนเมืองมีปัญหาแท็กซี่ไม่เพียงพอ เมื่อมีเครื่องบินลงพร้อมกัน และมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายของแท็กซี่ ซึ่ง คสช. จะเข้ามาดูแล โดยที่ดอนเมืองมีความแตกต่างจากสุวรรณภูมิ ที่มีบริษัทมาดูแลจัดระเบียบแท็กซี่โดยเฉพาะ แต่ที่ดอนเมือง ฝากให้ บริษัท รปภ. ดูแล ทำให้อาจมีปัญหาในเรื่องกิริยามารยาท ตลอดจนปัญหาอาชญากรรม และการพนัน แต่ยืนยันว่าไม่มีมาเฟีย หรือ ผู้มีอิทธิพล ดังนั้นในอนาคตจะมีการนำระบบสมาร์ทการ์ด มาใช้ดูแลระบบแท็กซี่ ซึ่งในปัจจุบันมีแท็กซี่ทั่วประเทศกว่า1.1แสนคัน เป็นแท็กซี่อิสระ กว่า 3.7หมื่นคัน ขณะเดียวกันรถแท็กซี่เรียกร้องขอให้มีการปรับขึ้นค่าโดยสารเริ่มต้นเป็น 50 บาท ซึ่งเรื่องนี้ คสช.จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง โดยยืนยันการที่เข้ามาจัดระเบียบแท็กซี่เนื่องจากต้องการให้เกิดความเป็นธรรมกับแท็กซี่และผู้โดยสาร
**หนังสือลาออกบอร์ดบินไทยถึงมือ หน.คสช.
จากกรณีที่มีข่าว พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. รองหัวหน้า คสช. ฝ่ายเศรษฐกิจ จะยื่นใบลาออกจากการเป็นประธานบอร์ด บริษัท การบินไทย ในวันที่ 19 มิ.ย. เพื่อให้มีการปฏิรูป และเปิดโอกาสให้ คสช.พิจารณาคนมีความสามารถมาแทน โดยใบลาออกดังกล่าว จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ ให้ขึ้นอยู่กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้า คสช. นั้น ล่าสุด มีรายงานว่า พล.อ.อ.ประจิน ได้ส่งหนังสือลาออกถึงมือ พล.อ.ประยุทธ แล้ว
อย่างไรก็ตาม ต้องจัยตาการประชุมบอร์ดบริษัทการบินไทย ในวันนี้ ( 20 มิ.ย.) ซึ่งจะเริ่มในเวลา9.00น. ที่บริษัทการบินไทย สำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยเป็นการประชุมประจำเดือนปกตินั้น คาดว่าพล.อ.อ.ประจิน จะแจ้งถึงเหตุผลการยื่นใบลาออกดังกล่าวต่อที่ประชุม
ล่าสุด มีรายงานเพิ่มเติมว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้รับหนังสือลาออกจาก พล.อ.อ.ประจินแล้ว และได้ยับยั้งการลาออกของ พล.อ.อ.ประจินไว้ก่อน