มีข้อเสนอว่าควรมีการเลือกตั้งนายรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีโดยตรง เรื่องการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงนั้น คุณประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร อาจารย์พงศ์เพ็ญ ศกุนตาภัย และดร.กมล สมวิเชียร เคยเสนอไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 แต่เวลานั้นมีข้อถกเถียงกันมากว่าจะเหมือนกับระบบประธานาธิบดี ผมเองเคยให้ความเห็นไว้ว่า ในขณะที่เรามีการแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ผู้ว่าฯ ที่มาจากการแต่งตั้ง ก็คงจะใช้อิทธิพลในการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงได้
ผมได้เสนอว่า ถ้าเช่นนั้นให้พรรคการเมืองแต่ละพรรคเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีร่วมคณะเน้นบัญชีรายชื่ออย่างยาวเสียเลยจะไม่ดีกว่าหรือ เพราะประชาชนจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของรัฐบาลทั้งชุด และดูว่าพรรคใดจะเลือกใครมาเป็น รมต.แล้วประชาชนก็เลือกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ
ความคิดที่จะเปลี่ยนระบบการเลือกผู้บริหารนี้ ไม่น่าจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเมืองไทยมากนัก เราควรดูระบบการเมืองทั้งระบบมากกว่า และที่น่าจะเป็นจุดเน้นก็คือสภาผู้แทนฯ
เหตุใดเราจึงต้องมีผู้แทนราษฎรหลายร้อยคน หรือจังหวัดละหลายคน แล้วเมื่อดูรายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนฯ ก็จะพบว่า มีผู้แทนราษฎรจำนวนไม่ถึงร้อยคนที่มีบทบาทนอกนั้นก็นั่งเงียบๆ คอยยกมือ
การมีผู้แทนราษฎรจำนวนมาก ทำให้รัฐต้องเสียเงินมากตั้งแต่ต้นน้ำคือ การสมัคร การจัดการเลือกตั้ง การใช้เงินเพื่อหาเสียงและซื้อเสียง เมื่อเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรแล้วก็ยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากเช่น การต้องมีผู้ช่วยอีก 3-4 คน เงินเดือนๆ ละแสน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศปีละหลายล้านบาท นอกจากนั้นเมื่อมีผู้แทนฯ จำนวนมาก ผู้แทนฯ เหล่านี้ก็ยังไปคอยนั่งอยู่หน้าห้องรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยช่วยวิ่งเต้นเจรจาผลประโยชน์ต่างๆ ก่อให้เกิดการคอร์รัปชันอย่างมหาศาล
วิธีการลดปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ การลดขนาด (Downsizing) รัฐสภา ในระดับชาติเรามีปัญหาที่เป็นมหภาคคือ ปัญหาใหญ่ๆ และบางเรื่องก็ต้องการความชำนาญพิเศษ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นว่าเราต้องมีผู้แทนราษฎรจำนวนมาก ผมคิดว่ามีจังหวัดละคนก็น่าจะเพียงพอแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรให้ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้ ผมคาดว่าคงมีผู้สมัครอิสระหลายคนเหมือนกับการสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา และถ้าเป็นเช่นนี้ อิทธิพลของพรรคการเมืองก็คงจะน้อยลงตามไปด้วย เพราะไปๆ มาๆ อาจมีพรรคการเมืองที่มี ส.ส.อยู่ในสังกัดเพียงไม่กี่คนนอกนั้นก็เป็นผู้สมัครอิสระ
นอกจากจะมี ส.ส.จำนวนน้อยลงแล้ว เราอาจคิดถึงการมีตัวแทนอาชีพ และตัวแทน NGO เข้าร่วมในรัฐสภาด้วย เพราะจะได้เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่หลากหลาย และตัวแทนเหล่านี้มักมีความเป็นอิสระสูง การที่จะมีใครเข้ามาซื้อตัวหรือครอบงำก็คงจะลำบาก
ในอดีต ส.ส.ของเรามักจะเสียเปรียบข้าราชการ เพราะมีข้อมูลและความชำนาญน้อยกว่า มีนักวิชาการที่คอยช่วยศึกษาเรื่องราวต่างๆ น้อยกว่า และต้องพึ่งพาข้าราชการทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อปี 2514 ผมและเพื่อนๆ ได้เข้าไปช่วยทำการ “ปฏิรูปรัฐสภา” ซึ่งเป็นการปฏิรูปยุคแรกๆ วิธีการก็คือเราได้ตั้งศูนย์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ทำเป็นรายงานขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ และร่างกฎหมายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ นอกจากนั้นก็มีการปรับปรุงสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในปี 2514 นั้นมีเจ้าหน้าที่จบปริญญาโทเพียงคนเดียว และจบปริญญาตรีไม่กี่คน เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จบแค่ชั้นมัธยมเพราะเป็นพนักงานชวเลข เนื่องจากงานสำคัญของสภาฯ ก็คือ การจดรายงานการประชุม นอกจากนั้นคณะกรรมาธิการสามัญชุดต่างๆ ก็ไม่มีบทบาท เพราะคณะกรรมาธิการที่มีงานทำก็คือคณะที่มีกฎหมายเข้ามาให้พิจารณา คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจึงไม่เคยมีการประชุมแม้แต่ครั้งเดียว เพราะไม่มีเรื่องให้พิจารณา
บัดนี้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาก็มีเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง เมื่อมี ส.ส.จำนวนน้อยลง เจ้าหน้าที่ก็ควรจะมุ่งเน้นการศึกษา และการวิจัยให้มากกว่าที่เป็นอยู่
เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ ผมก็ได้แต่หวังว่าคงมีอะไรใหม่ๆ ที่ต่างไปจากรัฐธรรมนูญที่เราเคยมีมา จุดสำคัญก็คือรูปแบบของรัฐสภา และความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องการทบทวนบทบาทขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็ได้แต่หวังว่าเราคงจะไม่ซ้ำรอยเดิม
ผมได้เสนอว่า ถ้าเช่นนั้นให้พรรคการเมืองแต่ละพรรคเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีร่วมคณะเน้นบัญชีรายชื่ออย่างยาวเสียเลยจะไม่ดีกว่าหรือ เพราะประชาชนจะได้เห็นรูปร่างหน้าตาของรัฐบาลทั้งชุด และดูว่าพรรคใดจะเลือกใครมาเป็น รมต.แล้วประชาชนก็เลือกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ
ความคิดที่จะเปลี่ยนระบบการเลือกผู้บริหารนี้ ไม่น่าจะมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเมืองไทยมากนัก เราควรดูระบบการเมืองทั้งระบบมากกว่า และที่น่าจะเป็นจุดเน้นก็คือสภาผู้แทนฯ
เหตุใดเราจึงต้องมีผู้แทนราษฎรหลายร้อยคน หรือจังหวัดละหลายคน แล้วเมื่อดูรายละเอียดการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนฯ ก็จะพบว่า มีผู้แทนราษฎรจำนวนไม่ถึงร้อยคนที่มีบทบาทนอกนั้นก็นั่งเงียบๆ คอยยกมือ
การมีผู้แทนราษฎรจำนวนมาก ทำให้รัฐต้องเสียเงินมากตั้งแต่ต้นน้ำคือ การสมัคร การจัดการเลือกตั้ง การใช้เงินเพื่อหาเสียงและซื้อเสียง เมื่อเข้ามาเป็นผู้แทนราษฎรแล้วก็ยังมีค่าใช้จ่ายอีกมากเช่น การต้องมีผู้ช่วยอีก 3-4 คน เงินเดือนๆ ละแสน และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปดูงานต่างประเทศปีละหลายล้านบาท นอกจากนั้นเมื่อมีผู้แทนฯ จำนวนมาก ผู้แทนฯ เหล่านี้ก็ยังไปคอยนั่งอยู่หน้าห้องรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยช่วยวิ่งเต้นเจรจาผลประโยชน์ต่างๆ ก่อให้เกิดการคอร์รัปชันอย่างมหาศาล
วิธีการลดปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ การลดขนาด (Downsizing) รัฐสภา ในระดับชาติเรามีปัญหาที่เป็นมหภาคคือ ปัญหาใหญ่ๆ และบางเรื่องก็ต้องการความชำนาญพิเศษ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นว่าเราต้องมีผู้แทนราษฎรจำนวนมาก ผมคิดว่ามีจังหวัดละคนก็น่าจะเพียงพอแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรให้ผู้สมัครไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้ ผมคาดว่าคงมีผู้สมัครอิสระหลายคนเหมือนกับการสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา และถ้าเป็นเช่นนี้ อิทธิพลของพรรคการเมืองก็คงจะน้อยลงตามไปด้วย เพราะไปๆ มาๆ อาจมีพรรคการเมืองที่มี ส.ส.อยู่ในสังกัดเพียงไม่กี่คนนอกนั้นก็เป็นผู้สมัครอิสระ
นอกจากจะมี ส.ส.จำนวนน้อยลงแล้ว เราอาจคิดถึงการมีตัวแทนอาชีพ และตัวแทน NGO เข้าร่วมในรัฐสภาด้วย เพราะจะได้เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่หลากหลาย และตัวแทนเหล่านี้มักมีความเป็นอิสระสูง การที่จะมีใครเข้ามาซื้อตัวหรือครอบงำก็คงจะลำบาก
ในอดีต ส.ส.ของเรามักจะเสียเปรียบข้าราชการ เพราะมีข้อมูลและความชำนาญน้อยกว่า มีนักวิชาการที่คอยช่วยศึกษาเรื่องราวต่างๆ น้อยกว่า และต้องพึ่งพาข้าราชการทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมื่อปี 2514 ผมและเพื่อนๆ ได้เข้าไปช่วยทำการ “ปฏิรูปรัฐสภา” ซึ่งเป็นการปฏิรูปยุคแรกๆ วิธีการก็คือเราได้ตั้งศูนย์ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ทำเป็นรายงานขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ และร่างกฎหมายให้สมาชิกสภานิติบัญญัติ นอกจากนั้นก็มีการปรับปรุงสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาซึ่งไม่น่าเชื่อว่าในปี 2514 นั้นมีเจ้าหน้าที่จบปริญญาโทเพียงคนเดียว และจบปริญญาตรีไม่กี่คน เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่จบแค่ชั้นมัธยมเพราะเป็นพนักงานชวเลข เนื่องจากงานสำคัญของสภาฯ ก็คือ การจดรายงานการประชุม นอกจากนั้นคณะกรรมาธิการสามัญชุดต่างๆ ก็ไม่มีบทบาท เพราะคณะกรรมาธิการที่มีงานทำก็คือคณะที่มีกฎหมายเข้ามาให้พิจารณา คณะกรรมาธิการการต่างประเทศจึงไม่เคยมีการประชุมแม้แต่ครั้งเดียว เพราะไม่มีเรื่องให้พิจารณา
บัดนี้สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาก็มีเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นความก้าวหน้าในระดับหนึ่ง เมื่อมี ส.ส.จำนวนน้อยลง เจ้าหน้าที่ก็ควรจะมุ่งเน้นการศึกษา และการวิจัยให้มากกว่าที่เป็นอยู่
เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรขึ้นใหม่ ผมก็ได้แต่หวังว่าคงมีอะไรใหม่ๆ ที่ต่างไปจากรัฐธรรมนูญที่เราเคยมีมา จุดสำคัญก็คือรูปแบบของรัฐสภา และความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ นอกจากนั้นก็เป็นเรื่องการทบทวนบทบาทขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ก็ได้แต่หวังว่าเราคงจะไม่ซ้ำรอยเดิม