(1 ธ.ค.56)
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยครั้งยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นจริง ในรูปของ “การปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน” เมื่อมวลมหาประชาชน ใช้ความเป็น “อำนาจประชาชน”รุกไล่ “อำนาจทักษิณ” ที่เป็นแกนหลักของ “ระบอบทักษิณ” เข้ามุมอับได้ในทุกๆจุด และสามารถพิชิตปิดฉาก “อำนาจทักษิณ” ได้อย่างเป็นจริง แบบเบ็ดเสร็จ และสมบูรณ์สุดๆ !
ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นมาจนถึงวันนี้ได้ ก็ด้วยพลังมวลมหาประชาชนที่เป็น “มวลชนตื่นรู้” คือรู้เหตุแห่งวิบัติที่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยได้รับอยู่ จึงพร้อมใจกัน “ลุกฮือ”กันขึ้นมาเป็นเรือนแสนเรือนล้าน และพากัน “หลอมรวม” กันเข้าเป็น “กำปั้นยักษ์” ไล่ทุบระบอบทักษิณจนแตกกระเจิง !
แน่ละ ในห้วงสุดท้ายของการสับประยุทธ์ อาจยังมีปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องทำการแก้ไขอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อมั่นว่า ด้วย “พลานุภาพ” ของมวลมหาประชาชนอันยิ่งใหญ่ และด้วยความเป็น “อำนาจที่ใช้ปัญญาตื่นรู้เป็นตัวนำ” ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆได้ในที่สุด
ผู้เขียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งใน “คุณสมบัติ” ข้อนี้ของขบวนการประชาชนฯ ซึ่งจะเป็นหลักประกันสูงสุด ของการขับเคลื่อนของประเทศไทยไปสู่อนาคตอันสดใดได้อย่างเป็นจริง ในทุกๆห้วงของการเปลี่ยนแปลง ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้องและตรงเป้า ยังประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้อย่างแท้จริง อย่างต่อเนื่อง และยืนยาว
ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้ ผู้เขียนจึงขอวิสัชนาในเรื่องของการจัดตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลประชาชน อันเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ ที่จะเปิดฉากยุคสมัย “ประเทศไทยใหม่” ที่คนไทยไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อนว่า จะมีจริง
สภาประชาชนและรัฐบาลประชาชนเป็นอย่างไร ? สามารถอธิบายได้พอเป็นสังเขป ตามหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1.สถานภาพของสภาประชาชน (“องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร”ของประเทศไทย)
2.องค์ประกอบ 3 ส่วนของสภาประชาชน (สภาการเมืองประชาชน สภาภูมิปัญญาประชาชน และสภาผู้แทนประชาชน)
3.การได้มาซึ่งสมาชิกสภาทั้ง 3 ส่วน (คัดสรรและเลือกตั้ง)
4.โครงสร้างสภาประชาชน (สภาประชาชนแห่งชาติ สภาประชาชนแห่งภูมิภาค สภาประชาชนแห่งจังหวัด สภาประชาชนแห่งอำเภอ สภาประชาชนแห่งตำบล และสภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน)
5.กรอบอำนาจสภาประชาชน (อำนาจจัดการตนเอง อำนาจกำหนดจากเบื้องล่าง)
6.การได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชน (ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลประชาชน)
7.สถานภาพของรัฐบาลประชาชน (ผู้ใช้อำนาจบริหาร ให้เป็นไปตามกรอบกำหนดของสภาประชาชนในแต่ละห้วงระยะของการปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการกำหนดแนวนโยบาย แนวการบริหาร แนวการบริการ ฯลฯได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย และความเรียกร้องต้องการของประชาชน)
1.สถานภาพของสภาประชาชน (“องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร”ของประเทศไทย )
ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องสภาประชาชนและรัฐบาลประชาชนมาเป็นระยะๆ ในรูปของแนวคิดทฤษฎี แต่เมื่อคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้นำเสนออย่างเป็นทางการบนเวทีชุมนุมของมวลมหาประชาชน ก็หมายถึงว่า ทั้งสองเรื่องนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เกิดผลเป็นจริงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ จำเป็นที่ผู้เขียนจะต้องนำเสนอแนวทาง “ปฏิบัติ” นำร่องไปอีกขั้นหนึ่ง
สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องกำหนดสถานภาพสภาประชาชนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง ตลอดไป !
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่า สภาประชาชน ซึ่งเป็นกลไกอำนาจของประชาชน ที่ขบวนการประชาชนฯได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อให้เป็น “เวที” การแสดงออกซึ่งอำนาจสูงสุดของประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นเวทีเสริมสร้างทักษะรอบด้าน และยกระดับคุณค่าของความเป็นมนุษย์ได้เป็นลำดับ ทั้งทางด้านปัญญาตื่นรู้ (การเข้าถึงความจริง) ทางด้านความคิดอุดมการณ์ (การปรับจุดยืน ทัศนะ วิธีการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง) และทางด้านการปฏิบัติ(สามารถยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นเสมอ)นั้น จักต้องเป็น “องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร” ของประเทศไทย
ด้วยเหตุผลสำคัญๆ ดังนี้
ข้อแรก สภาประชาชน เป็นผลิตผลของ “อำนาจประชาชน”
“อำนาจประชาชน” ได้ถือกำเนิดขึ้นจากความตื่นรู้ของมวลชน ที่เริ่มต้นด้วยการ “จุดเทียนปัญญา” จากเทียนเล่มเล็กๆจำนวนน้อยๆ มาเป็นเทียนใหญ่ๆจำนวนมากๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน
มันเป็นพัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้กับ “อำนาจทักษิณ” กระทั่งในที่สุด ก็ผงาดขึ้นมาเป็น “คู่ขัดแย้งหลัก” กับ “อำนาจทักษิณ” และสามารถต่อสู้เอาชนะ “อำนาจทักษิณ” พลิกตัวเองจากความเป็น “ด้านรอง”ของคู่ขัดแย้งหลักนี้ ขึ้นมาเป็น “ด้านหลัก”ได้สำเร็จ และแล้ว“อำนาจประชาชน” ก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น “อำนาจกำหนด” หรือ “อำนาจนำ” ต่อจาก “อำนาจทักษิณ” อย่างเป็นจริง แสดงบทบาททางประวัติศาสตร์ ในการนำพาประเทศไทยก้าวเดินต่อไป
อีกทั้ง“อำนาจประชาชน”นี้ เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยโดยตรง จึงอยู่ในวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้อย่างยาวนาน มีความเป็น “อำนาจนำถาวร” อยู่ในตัว จึงมีสถานภาพของความเป็น “องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร” ของประเทศไทย อย่างแท้จริง
ข้อสอง สภาประชาชนมิใช่ “ทางเลือก” ที่จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มันเป็นสิ่งต้องมีตามการเกิดขึ้นของอำนาจประชาชนในฐานะ “อำนาจกำหนด” หรือ “อำนาจนำ” เหนือสังคมไทย มันมีความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ประกอบกันเข้าเป็น “สองด้าน” ของเหรียญเดียวกัน
ข้อสาม มันสะท้อนถึงสัจธรรม ที่ว่า “เมื่อมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้” หรือ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามหลักพุทธธรรมที่เราๆท่านๆต่างกระจ่างแจ้งอยู่ในใจ หากมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
ข้อสี่ เมื่อพิจารณาในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบและเนื้อหา ก็เห็นชัดว่า สภาประชาชนเป็นรูปแบบแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดของอำนาจประชาชน ปราศจากความแปลกแยกใดๆทั้งสิ้น ประกอบกันเข้าได้อย่างกลมกลืนที่สุด ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับการที่เรานำเอาระบบรัฐสภาที่เป็นรูปแบบการแสดงออกของอำนาจชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมตะวันตก มาใช้ในประเทศไทยอย่างไม่จำแนก จึงเต็มไปด้วยปัญหา หมักหมมกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ขัดขวางการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยโดยรวมอย่างชัดเจน จนถึงขั้นที่เราต้องตัดสินใจ “โละทิ้ง” แล้วสร้างกลไกอำนาจขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็คือ “สภาประชาชน”
ข้อห้า พิจารณาในทางปรัชญาการเมือง สภาประชาชนเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชน ที่ประชาชนโดยกลุ่มองค์กรในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ สามารถใช้อำนาจผ่านทางตัวแทนของตนในสภาประชาชน กำหนดกฎกติกาสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนเองได้มากที่สุดตั้งแต่ต้นจนปลาย ตรงข้ามกับรัฐสภาที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยกลุ่มทุน ที่กลุ่มทุนโดยพรรคการเมืองในการอุ้มชูของตน เป็นผู้ใช้อำนาจผ่านตัวแทนของตนในรัฐสภา ที่มุ่งหวังให้ตัวแทนของตนทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์เฉพาะตนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ เรื่องราวการทำงานของระบบรัฐสภาในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก และประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี
2.องค์ประกอบ 3 ส่วนของสภาประชาชน (สภาการเมืองประชาชน สภาภูมิปัญญาประชาชน และสภาผู้แทนประชาชน)
ส่วนแรก สภาการเมืองประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชนที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการเคลื่อนไหวต่อสู้กับ “อำนาจทักษิณ” จนประสบชัยชนะ
ส่วนที่สอง สภาภูมิปัญญาประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนบุคลากรระดับมันสมองของประเทศไทย ผู้มีผลงานชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
ส่วนที่สาม สภาผู้แทนประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มมวลชนทุกสาขาอาชีพ
3.การได้มาซึ่งสมาชิกสภาทั้ง 3 ส่วน(คัดสรรและเลือกตั้ง)
ใช้วิธีการคัดสรร คัดเลือกตัวแทน กลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชนฯ และวงการวิชาชีพเฉพาะที่เป็นแหล่งรวมของบุคลากรระดับมันสมองของชาติ ส่วนตัวแทนกลุ่มมวลชนสาขาอาชีพต่างๆ ให้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยมวลชนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆเป็นผู้นำเสนอชื่อบุคคลที่ตนเองไว้วางใจ เข้าสมัครรับเลือกตั้ง
4.โครงสร้างสภาประชาชน (สภาประชาชนแห่งชาติ สภาประชาชนแห่งภูมิภาค สภาประชาชนแห่งจังหวัด สภาประชาชนแห่งอำเภอ สภาประชาชนแห่งตำบล และสภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน)
สภาประชาชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับชาติ
สภาประชาชนแห่งภูมิภาค เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับภูมิภาค
สภาประชาชนแห่งจังหวัด เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับจังหวัด
สภาประชาชนแห่งอำเภอ เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับอำเภอ
สภาประชาชนแห่งตำบล เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับตำบล
สภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับหมู่บ้าน
5.กรอบอำนาจสภาประชาชน (อำนาจจัดการตนเอง อำนาจกำหนดจากเบื้องล่าง)
สภาประชาชนทุกระดับ มีอำนาจจัดการตนเองเป็นฐาน และประกอบกันเข้าเป็นอำนาจร่วม เป็น “อำนาจกำหนด” การขับเคลื่อนของอำนาจส่วนบน จนกระทั่งถึงระดับสภาประชาชนแห่งชาติ สะท้อนถึงลักษณะของความเป็นประชาธิปไตยที่ถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง โดย ประชาชนเป็นผู้มีเอกสิทธิ์ในการใช้อำนาจโดยตรงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
6.การได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชน (ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลประชาชน)
รัฐบาลประชาชน ในทุกระดับ เกิดจากมติร่วมกันของสภาประชาชนในระดับนั้นๆ ด้วยการคัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการรับผิดชอบการใช้อำนาจบริหาร ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในตำแหน่งต่างๆของรัฐบาลประชาชน จักต้องดำเนินไปภายในกรอบกำหนดของสภาประชาชน
7.สถานภาพของรัฐบาลประชาชน (ผู้ใช้อำนาจบริหาร ให้เป็นไปตามกรอบกำหนดของสภาประชาชน ในแต่ละห้วงระยะของการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการกำหนดแนวนโยบาย แนวการบริหาร แนวการบริการ ฯลฯ ได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย และความเรียกร้องต้องการของประชาชน)
รัฐบาลประชาชน เป็นองค์กรบริหาร รับอำนาจจากสภาประชาชน หัวหน้าคณะผู้บริหาร รับผิดชอบต่อสภาประชาชนโดยตรง การแต่งตั้งและการถอดถอน เป็นไปตามมติของสภา
------------------
การเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยครั้งยิ่งใหญ่ได้เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นจริง ในรูปของ “การปฏิวัติโดยมวลมหาประชาชน” เมื่อมวลมหาประชาชน ใช้ความเป็น “อำนาจประชาชน”รุกไล่ “อำนาจทักษิณ” ที่เป็นแกนหลักของ “ระบอบทักษิณ” เข้ามุมอับได้ในทุกๆจุด และสามารถพิชิตปิดฉาก “อำนาจทักษิณ” ได้อย่างเป็นจริง แบบเบ็ดเสร็จ และสมบูรณ์สุดๆ !
ทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นมาจนถึงวันนี้ได้ ก็ด้วยพลังมวลมหาประชาชนที่เป็น “มวลชนตื่นรู้” คือรู้เหตุแห่งวิบัติที่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยได้รับอยู่ จึงพร้อมใจกัน “ลุกฮือ”กันขึ้นมาเป็นเรือนแสนเรือนล้าน และพากัน “หลอมรวม” กันเข้าเป็น “กำปั้นยักษ์” ไล่ทุบระบอบทักษิณจนแตกกระเจิง !
แน่ละ ในห้วงสุดท้ายของการสับประยุทธ์ อาจยังมีปัญหาและอุปสรรคที่จะต้องทำการแก้ไขอยู่บ้าง แต่ก็เชื่อมั่นว่า ด้วย “พลานุภาพ” ของมวลมหาประชาชนอันยิ่งใหญ่ และด้วยความเป็น “อำนาจที่ใช้ปัญญาตื่นรู้เป็นตัวนำ” ย่อมสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆได้ในที่สุด
ผู้เขียนเชื่อมั่นอย่างยิ่งใน “คุณสมบัติ” ข้อนี้ของขบวนการประชาชนฯ ซึ่งจะเป็นหลักประกันสูงสุด ของการขับเคลื่อนของประเทศไทยไปสู่อนาคตอันสดใดได้อย่างเป็นจริง ในทุกๆห้วงของการเปลี่ยนแปลง ให้สามารถดำเนินไปได้อย่างถูกต้องและตรงเป้า ยังประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและประชาชนได้อย่างแท้จริง อย่างต่อเนื่อง และยืนยาว
ด้วยเหตุนี้ ในวันนี้ ผู้เขียนจึงขอวิสัชนาในเรื่องของการจัดตั้งสภาประชาชน และรัฐบาลประชาชน อันเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยครั้งใหญ่ ที่จะเปิดฉากยุคสมัย “ประเทศไทยใหม่” ที่คนไทยไม่เคยคิดเคยฝันมาก่อนว่า จะมีจริง
สภาประชาชนและรัฐบาลประชาชนเป็นอย่างไร ? สามารถอธิบายได้พอเป็นสังเขป ตามหัวข้อหลักๆ ดังนี้
1.สถานภาพของสภาประชาชน (“องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร”ของประเทศไทย)
2.องค์ประกอบ 3 ส่วนของสภาประชาชน (สภาการเมืองประชาชน สภาภูมิปัญญาประชาชน และสภาผู้แทนประชาชน)
3.การได้มาซึ่งสมาชิกสภาทั้ง 3 ส่วน (คัดสรรและเลือกตั้ง)
4.โครงสร้างสภาประชาชน (สภาประชาชนแห่งชาติ สภาประชาชนแห่งภูมิภาค สภาประชาชนแห่งจังหวัด สภาประชาชนแห่งอำเภอ สภาประชาชนแห่งตำบล และสภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน)
5.กรอบอำนาจสภาประชาชน (อำนาจจัดการตนเอง อำนาจกำหนดจากเบื้องล่าง)
6.การได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชน (ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลประชาชน)
7.สถานภาพของรัฐบาลประชาชน (ผู้ใช้อำนาจบริหาร ให้เป็นไปตามกรอบกำหนดของสภาประชาชนในแต่ละห้วงระยะของการปฏิบัติหน้าที่ ให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการกำหนดแนวนโยบาย แนวการบริหาร แนวการบริการ ฯลฯได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย และความเรียกร้องต้องการของประชาชน)
1.สถานภาพของสภาประชาชน (“องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร”ของประเทศไทย )
ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนได้นำเสนอเรื่องสภาประชาชนและรัฐบาลประชาชนมาเป็นระยะๆ ในรูปของแนวคิดทฤษฎี แต่เมื่อคุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้นำเสนออย่างเป็นทางการบนเวทีชุมนุมของมวลมหาประชาชน ก็หมายถึงว่า ทั้งสองเรื่องนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติให้เกิดผลเป็นจริงในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ จำเป็นที่ผู้เขียนจะต้องนำเสนอแนวทาง “ปฏิบัติ” นำร่องไปอีกขั้นหนึ่ง
สิ่งสำคัญที่สุด คือต้องกำหนดสถานภาพสภาประชาชนให้ถูกต้อง สอดคล้องกับความเป็นจริง ไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง ตลอดไป !
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนเห็นว่า สภาประชาชน ซึ่งเป็นกลไกอำนาจของประชาชน ที่ขบวนการประชาชนฯได้คิดประดิษฐ์ขึ้นมาในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้ เพื่อให้เป็น “เวที” การแสดงออกซึ่งอำนาจสูงสุดของประชาชนอย่างแท้จริง และเป็นเวทีเสริมสร้างทักษะรอบด้าน และยกระดับคุณค่าของความเป็นมนุษย์ได้เป็นลำดับ ทั้งทางด้านปัญญาตื่นรู้ (การเข้าถึงความจริง) ทางด้านความคิดอุดมการณ์ (การปรับจุดยืน ทัศนะ วิธีการให้สอดคล้องกับความเป็นจริง) และทางด้านการปฏิบัติ(สามารถยกระดับความสามารถและประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นเสมอ)นั้น จักต้องเป็น “องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร” ของประเทศไทย
ด้วยเหตุผลสำคัญๆ ดังนี้
ข้อแรก สภาประชาชน เป็นผลิตผลของ “อำนาจประชาชน”
“อำนาจประชาชน” ได้ถือกำเนิดขึ้นจากความตื่นรู้ของมวลชน ที่เริ่มต้นด้วยการ “จุดเทียนปัญญา” จากเทียนเล่มเล็กๆจำนวนน้อยๆ มาเป็นเทียนใหญ่ๆจำนวนมากๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 จนถึงปัจจุบัน
มันเป็นพัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างต่อเนื่องหลายปีติดต่อกัน ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวต่อสู้กับ “อำนาจทักษิณ” กระทั่งในที่สุด ก็ผงาดขึ้นมาเป็น “คู่ขัดแย้งหลัก” กับ “อำนาจทักษิณ” และสามารถต่อสู้เอาชนะ “อำนาจทักษิณ” พลิกตัวเองจากความเป็น “ด้านรอง”ของคู่ขัดแย้งหลักนี้ ขึ้นมาเป็น “ด้านหลัก”ได้สำเร็จ และแล้ว“อำนาจประชาชน” ก็ได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็น “อำนาจกำหนด” หรือ “อำนาจนำ” ต่อจาก “อำนาจทักษิณ” อย่างเป็นจริง แสดงบทบาททางประวัติศาสตร์ ในการนำพาประเทศไทยก้าวเดินต่อไป
อีกทั้ง“อำนาจประชาชน”นี้ เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของปวงชนชาวไทยโดยตรง จึงอยู่ในวิสัยที่จะดำรงอยู่ได้อย่างยาวนาน มีความเป็น “อำนาจนำถาวร” อยู่ในตัว จึงมีสถานภาพของความเป็น “องค์กรอำนาจสูงสุดถาวร” ของประเทศไทย อย่างแท้จริง
ข้อสอง สภาประชาชนมิใช่ “ทางเลือก” ที่จะมีก็ได้ ไม่มีก็ได้ มันเป็นสิ่งต้องมีตามการเกิดขึ้นของอำนาจประชาชนในฐานะ “อำนาจกำหนด” หรือ “อำนาจนำ” เหนือสังคมไทย มันมีความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ประกอบกันเข้าเป็น “สองด้าน” ของเหรียญเดียวกัน
ข้อสาม มันสะท้อนถึงสัจธรรม ที่ว่า “เมื่อมีสิ่งนี้ จึงมีสิ่งนี้” หรือ “มันก็เป็นเช่นนั้นเอง” ตามหลักพุทธธรรมที่เราๆท่านๆต่างกระจ่างแจ้งอยู่ในใจ หากมิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ อย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย
ข้อสี่ เมื่อพิจารณาในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบและเนื้อหา ก็เห็นชัดว่า สภาประชาชนเป็นรูปแบบแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติที่สุดของอำนาจประชาชน ปราศจากความแปลกแยกใดๆทั้งสิ้น ประกอบกันเข้าได้อย่างกลมกลืนที่สุด ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง กับการที่เรานำเอาระบบรัฐสภาที่เป็นรูปแบบการแสดงออกของอำนาจชนชั้นนายทุนอุตสาหกรรมตะวันตก มาใช้ในประเทศไทยอย่างไม่จำแนก จึงเต็มไปด้วยปัญหา หมักหมมกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และกลายเป็นอุปสรรคใหญ่ขัดขวางการพัฒนาประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยโดยรวมอย่างชัดเจน จนถึงขั้นที่เราต้องตัดสินใจ “โละทิ้ง” แล้วสร้างกลไกอำนาจขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็คือ “สภาประชาชน”
ข้อห้า พิจารณาในทางปรัชญาการเมือง สภาประชาชนเป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยของประชาชน ที่ประชาชนโดยกลุ่มองค์กรในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ สามารถใช้อำนาจผ่านทางตัวแทนของตนในสภาประชาชน กำหนดกฎกติกาสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิตของตนเองได้มากที่สุดตั้งแต่ต้นจนปลาย ตรงข้ามกับรัฐสภาที่เป็นตัวกำหนดลักษณะเฉพาะของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยกลุ่มทุน ที่กลุ่มทุนโดยพรรคการเมืองในการอุ้มชูของตน เป็นผู้ใช้อำนาจผ่านตัวแทนของตนในรัฐสภา ที่มุ่งหวังให้ตัวแทนของตนทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์เฉพาะตนเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ เรื่องราวการทำงานของระบบรัฐสภาในประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก และประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี
2.องค์ประกอบ 3 ส่วนของสภาประชาชน (สภาการเมืองประชาชน สภาภูมิปัญญาประชาชน และสภาผู้แทนประชาชน)
ส่วนแรก สภาการเมืองประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชนที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการเคลื่อนไหวต่อสู้กับ “อำนาจทักษิณ” จนประสบชัยชนะ
ส่วนที่สอง สภาภูมิปัญญาประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนบุคลากรระดับมันสมองของประเทศไทย ผู้มีผลงานชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
ส่วนที่สาม สภาผู้แทนประชาชน ประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มมวลชนทุกสาขาอาชีพ
3.การได้มาซึ่งสมาชิกสภาทั้ง 3 ส่วน(คัดสรรและเลือกตั้ง)
ใช้วิธีการคัดสรร คัดเลือกตัวแทน กลุ่มองค์กรการเมืองภาคประชาชนฯ และวงการวิชาชีพเฉพาะที่เป็นแหล่งรวมของบุคลากรระดับมันสมองของชาติ ส่วนตัวแทนกลุ่มมวลชนสาขาอาชีพต่างๆ ให้ใช้วิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยมวลชนกลุ่มสาขาอาชีพต่างๆเป็นผู้นำเสนอชื่อบุคคลที่ตนเองไว้วางใจ เข้าสมัครรับเลือกตั้ง
4.โครงสร้างสภาประชาชน (สภาประชาชนแห่งชาติ สภาประชาชนแห่งภูมิภาค สภาประชาชนแห่งจังหวัด สภาประชาชนแห่งอำเภอ สภาประชาชนแห่งตำบล และสภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน)
สภาประชาชนแห่งชาติ เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับชาติ
สภาประชาชนแห่งภูมิภาค เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับภูมิภาค
สภาประชาชนแห่งจังหวัด เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับจังหวัด
สภาประชาชนแห่งอำเภอ เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับอำเภอ
สภาประชาชนแห่งตำบล เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับตำบล
สภาประชาชนแห่งหมู่บ้าน เป็นองค์กรอำนาจสูงสุดระดับหมู่บ้าน
5.กรอบอำนาจสภาประชาชน (อำนาจจัดการตนเอง อำนาจกำหนดจากเบื้องล่าง)
สภาประชาชนทุกระดับ มีอำนาจจัดการตนเองเป็นฐาน และประกอบกันเข้าเป็นอำนาจร่วม เป็น “อำนาจกำหนด” การขับเคลื่อนของอำนาจส่วนบน จนกระทั่งถึงระดับสภาประชาชนแห่งชาติ สะท้อนถึงลักษณะของความเป็นประชาธิปไตยที่ถือเอาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นตัวตั้ง โดย ประชาชนเป็นผู้มีเอกสิทธิ์ในการใช้อำนาจโดยตรงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง
6.การได้มาซึ่งรัฐบาลประชาชน (ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ในรัฐบาลประชาชน)
รัฐบาลประชาชน ในทุกระดับ เกิดจากมติร่วมกันของสภาประชาชนในระดับนั้นๆ ด้วยการคัดสรรบุคคลที่มีคุณสมบัติพร้อมสำหรับการรับผิดชอบการใช้อำนาจบริหาร ทั้งนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของผู้รับผิดชอบในตำแหน่งต่างๆของรัฐบาลประชาชน จักต้องดำเนินไปภายในกรอบกำหนดของสภาประชาชน
7.สถานภาพของรัฐบาลประชาชน (ผู้ใช้อำนาจบริหาร ให้เป็นไปตามกรอบกำหนดของสภาประชาชน ในแต่ละห้วงระยะของการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ด้วยการกำหนดแนวนโยบาย แนวการบริหาร แนวการบริการ ฯลฯ ได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงของประเทศไทย และความเรียกร้องต้องการของประชาชน)
รัฐบาลประชาชน เป็นองค์กรบริหาร รับอำนาจจากสภาประชาชน หัวหน้าคณะผู้บริหาร รับผิดชอบต่อสภาประชาชนโดยตรง การแต่งตั้งและการถอดถอน เป็นไปตามมติของสภา
------------------