ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ -คำสั่งทบทวน สิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการ (บอร์ด)รัฐวิสาหกิจทั้ง 58 แห่ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันกำลังเริ่มขึ้น ในมาตรการปรับบอร์ดรัฐวิสาหกิจให้ปลอดจากกลุ่มการเมือง ที่มักจะตบรางวัลให้กับคนของตัวเองเพื่อเข้ามาดูแลขุนทรัพย์ขนาดใหญ่
วันก่อนมีข่าวว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)สั่งการให้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) ในฐานะ รองประธานคสช. ไปทบทวนสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการ (บอร์ด)รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเริ่มจาก บมจ.การบินไทย
"จะตัดสิทธิประโยชน์เงินปันผล ตั๋วเครื่องบินพิเศษ ต่อไปจะไม่มีตั๋วบินฟรีให้กับบอร์ดของ การบินไทยอีกแล้ว ตรงนี้เป็นมติของคสช. ต่อไปจะไปดูรัฐวิสาหกิจอื่นๆ" นายอำพน กล่าว
โดยได้มีการเสนอบอร์ดเพื่อยกเลิกในวันที่ 12 มิ.ย.ที่ผ่านมา
เรื่องนี้นายโชคชัย ปัญญายงค์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บอกว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้แต่ยืนยันว่าที่ผ่านมาเรื่องสิทธิให้ตั๋วฟรีมีการพิจารณาของที่ประชุมผู้ถือหุ้นอย่างถูกต้อง
เป็นคำสั่งให้ปรับลดสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการ การบินไทย โดยให้ยกเลิกตั๋วเครื่องบินฟรีแก่กรรมการ (บอร์ด) ทุกคน จากปัจจุบันที่ได้รับบัตรโดยสารฟรีทั้งในและต่างประเทศอย่างละ 10 ใบต่อคน
เรื่อง สิทธิประโยชน์ตั๋วเครื่องบินฟรี ในอดีตบอร์ดและพนักงานการบินไทยระดับสูง จะได้รับสิทธิประโยชน์ตั๋วเครื่องบินฟรี แบบไม่จำกัดตลอดชีวิต ทั้งเส้นทางบินในประเทศและต่างประเทศ แม้เป็นบอร์ดเพียงวันเดียวก็ได้สิทธิเทียบเท่า รวมทั้งสิทธิบินฟรียังครอบคลุมไปถึงบิดา มารดา คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมก็ได้ด้วย
อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา ได้มีการทยอยปรับลดเรื่องสิทธิประโยชน์ทั้งบอร์ดและพนักงานลงเรื่อยมา ส่วนผู้บริหารและพนักงานของการบินไทยสิทธิบินฟรี หรือ ซื้อตั๋วราคาถูกเป็นเรื่องปกติสำหรับคนในธุรกิจการบิน
ทั้งนี้สิทธิบัตรโดยสารฟรีของบอร์ดการบินไทยพบว่า ปรับลดลงจากเดิมมาก เช่น จากที่เคยให้สิทธิเส้นทางบินต่างประเทศและในประเทศแก่บอร์ดและครอบครัว อย่างละ 30 ใบต่อปี ปรับลดเหลือ ละ 15 ใบต่อปี และขณะนี้ลดเหลืออย่างละ 10 ใบต่อปี เฉพาะอยู่ในตำแหน่งเท่านั้น ส่วนอดีตบอร์ดเคยได้สิทธิซื้อตั๋วส่วนลด 25% แบบตลอดชีพมีการปรับลดเหลือไม่เกิน 3 ปีและจำกัดจำนวนอีกด้วย
ขณะที่นักการเมือง จะเป็นกลุ่มบุคคลที่มีผลประโยชน์รวมทั้งจากพนักงานและผู้บริหารเองทำให้ไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้ ตอนนี้หลายๆคนอาจจะได้ยินข่าวการบินไทยเกี่ยวกับปัญหาการยกเลิก Route ที่ดังๆ และขาดทุน Route ในประเทศ พยายามจะยกเลิก Route หลาย Route แต่เจอการเมือง? ที่มาจากคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการบินโดยตรงเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ (ผู้ที่บินฟรี)
นอกจากนี้ยังมีการถูกรบกวน Load Facter ด้วยสิทธิพิเศษในการนั่งฟรีของญาติพี่น้องของพนักงานการบินไทยที่มักเดินทางในประเทศอีกด้วย
ขณะที่ระเบียบการในสิทธิประโยชน์ที่กรรมการและอดีตกรรมการการบินไทยได้รับในปัจจุบันมีหลายเรื่อง เช่น ได้รับบัตรโดยสารเฟิสต์คลาสปีละ 30 ใบ แบ่งเป็นเส้นทางบินระหว่างประเทศ 15 ใบ และเส้นทางบินในประเทศ 15 ใบ โดยสิทธิประโยชน์นี้รวมไปถึงบุคคลในครอบครัวและผู้ติดตามด้วย
ด้านอดีตกรรมการบริษัทจะได้รับบัตรโดยสารที่มีส่วนลด 75% ของค่าโดยสารปกติ โดยเส้นทางบินระหว่างประเทศจะได้รับปีละ 12 ใบ ส่วนเส้นทางบินในประเทศจะได้รับปีละ 6 ใบ ขณะที่บุคคลในครอบครัวของอดีตกรรมการและผู้ติดตามจะได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับอดีตกรรมการ
สำหรับพนักงานการบินไทยได้รับสิทธิประโยชน์ด้านตั๋วโดยสาร โดยพนักงานที่มีอายุงานไม่ถึง 10 ปี จะได้รับตั๋วโดยสารฟรีปีละ 2 ใบ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 1 ใบ และเส้นทางในประเทศ 1 ใบ แต่ถ้าอายุงานเกิน 10 ปี จะได้รับเพิ่มเป็นปีละ 4 ใบ เป็นเส้นทางระหว่างประเทศ 2 ใบ และเส้นทางในประเทศ 2 ใบ ฯลฯ
ในส่วนของเบี้ยประชุมสำหรับบอร์ดการบินไทยกรรมการแต่ละท่านจะได้รับอยู่เดือนละ 50,000-80,000 บาทต่อคน และยังมีเงินสำรองจ่ายหากไปรับประทานอาหารของโรงแรมในเครือการบินไทยจะได้รับอยู่คนละ 10,000-20,000 บาทต่อเดือน ใช้เงินไปกว่า 22 ล้านบาทแค่ปีเดียว
จากข้อมูลเดิมของASTVผู้จัดการ "Live" เมื่อปี2552 ที่สัมภาษณ์แหล่งข่าวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของสิทธิพิเศษทางการซื้อตั๋วโดยสารของคณะกรรมการและพนักงานการบินไทยว่า เป็นเหมือนการตอบแทนในการทำงานด้านสวัสดิการของคนทำงานที่ทำประโยชน์ให้กับบริษัทซึ่งถือเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ส่วนสิทธิพิเศษของนักการเมืองในการซื้อตั๋วโดยสารชั้นประหยัดแล้วสามารถอัปเกรดที่นั่งไปชั้นที่สูงขึ้นได้ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่มีมานานแล้ว
“ไม่มีระเบียบให้ถือเป็นแนวทางปฏิบัตินะ มันเริ่มมานานแล้วสำหรับพวกนักการเมืองที่สามารถขออัพเกรดที่นั่ง เพราะการให้สิทธิ์นี้ถือว่าเป็นอำนาจของผู้บริหารการบินไทย และก็เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กันและกันด้วย”
สิทธิ์ของกรรมการจะสามารถรับบัตรโดยสารให้เปล่า เพื่อเดินทางไป-กลับ ในเส้นทางต่างประเทศ 8 ใบ/ปี ในประเทศ 15 ใบ/ปี ในชั้นที่นั่ง Class สูงสุด ในกรณีที่ใช้บัตรโดยสารครบตามจำนวนดังกล่าวแล้ว และมีความประสงค์จะเดินทางอีก ให้ได้รับบัตรโดยสารแบบสำรองที่นั่ง โดยให้ส่วนลดในอัตรา 75 เปอร์เซ็นต์ของอัตราค่าโดยสารปกติ
สำหรับบุคคลในครอบครัวของกรรมการและบุคคลที่เกี่ยวข้อง 1 ท่าน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านบัตรโดยสารเช่นเดียวกับกรรมการ และให้ได้รับการยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถเดินทางพร้อมกรรมการก็คงให้ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านบัตรโดยสารนี้ด้วย
ด้านนาง แจ่มศรี สุกโชติรัตน์ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เล่าว่าสิทธิ์ทางการบินของอดีตกรรมการที่พ้นวาระไปแล้ว ให้ส่วนลดในอัตรา 75 เปอร์เซ็นต์ ของอัตราค่าโดยสารปกติตามชั้นที่ต้องการในเส้นทางต่างประเทศ 12 ใบ/ปี และในประเทศ 6 ใบ/ปี
“นโยบายการบินฟรีอันนี้มีมาตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กินงบประมาณเกินปีละอย่างน้อย 10 ล้าน แค่เฉพาะตั๋วเฟิร์สคลาสก็ครั้งละ 2 แสนกว่าบาทแล้ว” แจ่มศรี กล่าว
ปัจจุบันสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจได้มีการเสนอให้ยกเลิกสิทธิพิเศษบินฟรีของอดีตกรรมการที่พ้นวาระไปแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี 2552
“ขึ้นชื่อว่าอดีตบอร์ด ก็หมายความว่าไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับใช้บริษัทแล้ว ถ้ามองถึงเรื่องการมีจริยธรรม สิ่งนี้ก็จำเป็นต้องยกเลิกนะ เพื่อแสดงความรับผิดชอบ”
นอกจากนี้ ยังได้มีการยกเลิกนโยบายที่ให้สิทธิกรรมการและผู้บริหารสามารถอัปเกรดโดยสาร ที่ซื้อตั๋วโดยสารชั้นประหยัด แต่เลื่อนระดับไปนั่งชั้นธุรกิจหรือชั้น 1 เหมือนกับจ่ายเงินสลึงแต่นั่งบาท ซึ่งส่วนนี้ทำให้การบินไทยสูญเสียรายได้ไปกว่า 100 ล้านบาทต่อปี สำหรับที่การบินไทยแล้ว “ยิ่งใหญ่ยิ่งฟรีมาก” ระดับใหญ่ๆ นั้นไม่อั้น และกรรมการไม่ต่ำกว่า 10 ครั้ง แถมฟรีให้คนใกล้ชิด หรือหากเดินทางบ่อยกว่านั้นยังได้ส่วนลดในเปอร์เซ็นต์ที่สูงอีก
มีตั๋วสำหรับผู้มีพระคุณบ้าง อย่างอดีตกรรมการที่ทำงานเพียง 3 เดือน แล้วเกษียณอายุไปก็ยังคงได้รับสิทธิ์ตั๋วบินฟรีตลอด(ได้จะมีการประกาศยกเลิกแล้ว) ในแง่ของการมีจริยธรรม ซึ่งทำให้การบินไทยเสียทรัพยากรไปเพื่อสิ่งใดก็มิอาจรู้ และไม่เป็นการก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับบริษัทแม้แต่น้อย ซึ่งในส่วนนี้ทางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยพยายามเรียกร้องให้ยกเลิกสิทธิพิเศษพวกนี้ไป เนื่องจากมองว่าไม่มีความยุติธรรม
เป็นแค่ตัวอย่างเฉพาะของการบินไทย ที่ต่อไปนี้พวกเบ่งของฟรีจะหมดไป? แค่ระยะเวลาหนึ่ง
แต่จากข้อมูลของเวปไซค์ “เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย” (TPD-Thailand Political Database) ที่มีการเผยแพร่ไม่นานมานี้ http://www.tpd.in.th/content/details_1.php?ID=000175&type=000004#sthash.MrKtDRde.dpuf
เรื่อง “เปิดข้อมูลบอร์ดรัฐวิสาหกิจไทย ชี้ช่องโหว่งานตรวจสอบทุจริต” ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจาก เว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอัยการ www.cmiss.ago.go.th/director.phpและข้อมูลจากรายงานประจำปี ย้อนหลัง 2553-2555 ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจพบสถิติว่า ในปี 2556 มีรายชื่ออัยการหลายคนเข้าไปดำรงตำแหน่งกรรมการในรัฐวิสาหกิจ (บอร์ดรัฐวิสาหกิจ) เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ที่สำคัญ TPD ยังได้ตรวจสอบข้อมูล โดยมีตัวอย่าง พบว่า บุคคลที่เข้ามาเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ บางคนได้รับค่าตอบแทนรวมสูงสุดจากการเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ 1 แห่ง ประจำปี 2554 ได้ค่าตอบแทนรวมถึง 2,720,000.00 บาท
นี้คือค่าตอบแทนปีเดียว ไม่รวมสิทธิประโยชน์อีกเพียบ หาดูได้ในเวปไซค์ “เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย”