ASTVผู้จัดการรายวัน-แฉ”อำพน”ขอตั๋วฟรีล่วงหน้าเต็มสิทธิ์ก่อนกลับลำขอยกเลิกเอาใจ คสช.มี มติให้ยกเลิกตั๋วฟรีบอร์ดการบินไทยนำร่องเป็นหน่วยแรก ด้านสหภาพฯเห็นด้วย เผยต่อสู้มาตลอดแต่บอร์ดไม่ยอม หนุนลดเบี้ยประชุมบอร์ดและสิทธิประโยชน์ฝ่ายบริหารต่อ ชี้แม้ค่าใช้จ่ายจะลดลงไม่มากแต่เป็นการแสดงสปิริตที่บริหารงานผิดพลาดทำบริษัทขาดทุน แต่ไม่เคยลดผลประโยชน์ตัวเองเอาแต่โยนผิดให้พนักงาน
นายดำรง ไวยคณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คสช. มีมติให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วโดยสารเครื่องบินฟรีให้กับคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจนำร่อง ว่า เป็นเรื่องที่สหภาพฯ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอดเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากบอร์ดการบินไทยได้รับสิทธิประโยชน์ค่อนข้างมาก ก่อนหน้านี้ ได้รับตั๋วฟรีกันตลอดชีวิต แต่ได้ค่อยๆ ปรับลดลงเหลือตั๋วโดยสารเส้นทางระหว่างประเทศปีละ 10 ใบและเส้นทางในประเทศ 10 ใบ และได้รับเฉพาะอยู่ในวาระเท่านั้น ซึ่งการยกเลิกตั๋วฟรี แม้จะไม่ได้ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทการบินไทยลดลงมากนัก แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบของบอร์ดในฐานะที่บริหารงานผิดพลาดจนทำให้บริษัทขาดทุนกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทในปี 2556
ซึ่งนอกจากนี้ตั๋วโดยสารฟรีปีละ 20 ใบแล้ว บอร์ดยังมีผลตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมในปี 2556 รวมกว่า 21 ล้านบาทโดยบอร์ดจะได้รับค่าตอบแทนคนละ 50,000 บาทต่อเดือน และได้รับเบี้ยประชุมคนละ 30,000 บาทต่อครั้งหากเดือนใดมีประชุมเกิน 1 ครึ่งให้คงได้รับ 30,000 บาท กรณีได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในบริษัทย่อย หรืออนุกรรมการหรือคณะทำงานชุดต่างๆ จะได้รับรับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมคนละ 10,000 บาทต่อครั้ง หากประชุมเกิน 1 ครั้งให้ได้รับ 10,000 บาท
นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารของบริษัท ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ถือว่าเกินความจำเป็นเช่นกัน และควรมีการพิจารณาปรับลดเช่นกัน เช่น ค่าน้ำมันรถ ระดับ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) คนละ75,000 บาทต่อเดือน ซึ่งระดับ EVP มีถึง 9 คน ระดับผู้อำนวยการใหญ่ (VP) คนละ 70,000 บาท ซึ่งมีถึง 39 คน ควรพิจารณาตามจริงหรือปรับลดลง 50% เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายบริษัท
นายดำรงกล่าวว่า ที่ผ่านมา เมื่อบริษัทฯ มีปัญหาขาดทุนฝ่ายบริหารจะให้พนักงานช่วยกันประหยัด ออกมาตรการลดค่าใช้จ่าย ตัดค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา ในขณะที่ฝ่ายบริหารไม่เคยปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของตัวเองลงเลย ทั้งๆที่ในความเป็นจริง พนักงานทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากพนักงาน แต่มาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของฝ่ายบริหารและบอร์ด ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของบริษัท แต่ไม่เคยแสดงภาวะผู้นำเลย จึงเห็นด้วยกับแนวทางของคสช.อย่างมาก
ด้านแหล่งข่าวจากอดีตผู้บริหารบริษัท การบินไทย กล่าวว่า เคยมีการหารือถึงการลดและยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วฟรีของบอร์ด บริษัทแต่บอร์ดไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนายอำพน กิตติอำพน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นประธานบอร์ด ก็ไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อช่วงต้นปี 2557 นายอำพน เคยแจ้งขอตั๋วฟรีล่วงหน้า 10 ใบ ไว้แล้ว เนื่องจากนายอำพนเป็น บอร์ด 1 ใน 5 ที่ครบวาระ และมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามาอีก ซึ่งเป็นปกติของบอร์ดการบินไทยที่จะครบวาระมักจะแจ้งขอตั๋วฟรีที่เป็นสิทธิประโยชน์ไว้ล่วงหน้า เพราะตั๋วจะมีอายุ 1 ปี แต่สุดท้ายทางกระทรวงการคลังก็เสนอชื่อนายอำพนเป็นบอร์ดการบินไทยอีกวาระ
อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่า ก่อนที่จะมีการเสนอให้ที่ประชุมคสช.มีมติให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วฟรีของบอร์ดการบินไทยออกมานั้น นายอำพนได้แจ้งยกเลิกตั๋วฟรีที่ขอไว้ล่วงหน้าทั้งหมดก่อนแล้ว
///////
นายดำรง ไวยคณี ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การบินไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้า คสช. มีมติให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วโดยสารเครื่องบินฟรีให้กับคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจนำร่อง ว่า เป็นเรื่องที่สหภาพฯ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอดเป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากบอร์ดการบินไทยได้รับสิทธิประโยชน์ค่อนข้างมาก ก่อนหน้านี้ ได้รับตั๋วฟรีกันตลอดชีวิต แต่ได้ค่อยๆ ปรับลดลงเหลือตั๋วโดยสารเส้นทางระหว่างประเทศปีละ 10 ใบและเส้นทางในประเทศ 10 ใบ และได้รับเฉพาะอยู่ในวาระเท่านั้น ซึ่งการยกเลิกตั๋วฟรี แม้จะไม่ได้ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายของบริษัทการบินไทยลดลงมากนัก แต่เป็นการแสดงความรับผิดชอบของบอร์ดในฐานะที่บริหารงานผิดพลาดจนทำให้บริษัทขาดทุนกว่า 1.2 หมื่นล้านบาทในปี 2556
ซึ่งนอกจากนี้ตั๋วโดยสารฟรีปีละ 20 ใบแล้ว บอร์ดยังมีผลตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมในปี 2556 รวมกว่า 21 ล้านบาทโดยบอร์ดจะได้รับค่าตอบแทนคนละ 50,000 บาทต่อเดือน และได้รับเบี้ยประชุมคนละ 30,000 บาทต่อครั้งหากเดือนใดมีประชุมเกิน 1 ครึ่งให้คงได้รับ 30,000 บาท กรณีได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการในบริษัทย่อย หรืออนุกรรมการหรือคณะทำงานชุดต่างๆ จะได้รับรับค่าตอบแทนเป็นเบี้ยประชุมคนละ 10,000 บาทต่อครั้ง หากประชุมเกิน 1 ครั้งให้ได้รับ 10,000 บาท
นอกจากนี้ ฝ่ายบริหารของบริษัท ได้รับสิทธิประโยชน์ที่ถือว่าเกินความจำเป็นเช่นกัน และควรมีการพิจารณาปรับลดเช่นกัน เช่น ค่าน้ำมันรถ ระดับ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (EVP) คนละ75,000 บาทต่อเดือน ซึ่งระดับ EVP มีถึง 9 คน ระดับผู้อำนวยการใหญ่ (VP) คนละ 70,000 บาท ซึ่งมีถึง 39 คน ควรพิจารณาตามจริงหรือปรับลดลง 50% เพื่อช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายบริษัท
นายดำรงกล่าวว่า ที่ผ่านมา เมื่อบริษัทฯ มีปัญหาขาดทุนฝ่ายบริหารจะให้พนักงานช่วยกันประหยัด ออกมาตรการลดค่าใช้จ่าย ตัดค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลา ในขณะที่ฝ่ายบริหารไม่เคยปรับลดค่าใช้จ่ายในส่วนของตัวเองลงเลย ทั้งๆที่ในความเป็นจริง พนักงานทุกคนทำงานอย่างเต็มที่ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากพนักงาน แต่มาจากการบริหารงานที่ผิดพลาดของฝ่ายบริหารและบอร์ด ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของบริษัท แต่ไม่เคยแสดงภาวะผู้นำเลย จึงเห็นด้วยกับแนวทางของคสช.อย่างมาก
ด้านแหล่งข่าวจากอดีตผู้บริหารบริษัท การบินไทย กล่าวว่า เคยมีการหารือถึงการลดและยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วฟรีของบอร์ด บริษัทแต่บอร์ดไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะนายอำพน กิตติอำพน ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นประธานบอร์ด ก็ไม่เห็นด้วยมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อช่วงต้นปี 2557 นายอำพน เคยแจ้งขอตั๋วฟรีล่วงหน้า 10 ใบ ไว้แล้ว เนื่องจากนายอำพนเป็น บอร์ด 1 ใน 5 ที่ครบวาระ และมีแนวโน้มว่าจะไม่ได้รับการแต่งตั้งกลับเข้ามาอีก ซึ่งเป็นปกติของบอร์ดการบินไทยที่จะครบวาระมักจะแจ้งขอตั๋วฟรีที่เป็นสิทธิประโยชน์ไว้ล่วงหน้า เพราะตั๋วจะมีอายุ 1 ปี แต่สุดท้ายทางกระทรวงการคลังก็เสนอชื่อนายอำพนเป็นบอร์ดการบินไทยอีกวาระ
อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่า ก่อนที่จะมีการเสนอให้ที่ประชุมคสช.มีมติให้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ตั๋วฟรีของบอร์ดการบินไทยออกมานั้น นายอำพนได้แจ้งยกเลิกตั๋วฟรีที่ขอไว้ล่วงหน้าทั้งหมดก่อนแล้ว
///////