มรดก “ยิ่งลักษณ์” ทิ้งให้คนไทยต้องเผชิญเศรษฐกิจตกต่ำ โอกาสตกงานเริ่มชัด ซ้ำร้ายค่าครองชีพพุ่งทุกรายการ น้ำมัน-ไฟฟ้า-แก๊ส ดาหน้าขึ้น หอการค้าคาดถ้าการเมืองไม่จบ ไตรมาส 3 ได้เห็นเลิกจ้าง ชี้บัณฑิตจบใหม่เลิกหวังได้งาน ใครสู้ไม่ไหวต้องพึ่งหนี้นอกระบบ ด้านนักเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ เผยเศรษฐกิจถูกกระตุ้นมากเกินไป จนไม่มีกำลังซื้อ ส่วนภาคแรงงานเผยค่ายรถยนต์ลดกำลังการผลิตจาก 3 กะเหลือ 2 ลดค่าล่วงเวลา ใครอยู่ไม่ได้ก็ลาออกไป เลี่ยงจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย
ตลอดระยะเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย เข้ามาบริหารประเทศ ผลงานของรัฐบาลนี้ทำเอาคนไทยไม่มีวันลืม เพียงไม่กี่เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศ สร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
พร้อมด้วยนโยบายประชานิยมที่มัดใจฐานเสียง จนทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็ได้สร้างปัญหาให้กับประเทศและฐานเสียงที่เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาอย่างโครงการรับจำนำข้าวและค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั้งการค้างจ่ายค่าข้าวและค่าแรงขั้นต่ำยังเป็นตัวผลักดันให้ราคาสินค้าเกือบทุกรายการปรับตัวขึ้น
สำหรับผลของการบริหารประเทศของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนพุ่งสูงขึ้น เห็นได้จากราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ 95 จาก 36.44 บาทต่อลิตร เมื่อสิงหาคม 2554 ปรับขึ้นเป็น 41.03 บาทต่อลิตร เทียบกับ 3 พฤษาคม 2557แก๊สโซฮอล์ 91 จาก 33.94 บาทต่อลิตร เป็น 38.54 ดีเซลจาก 26.99 บาท เป็น 29.99 บาท เพิ่มขึ้น 11-13.5% และเพิ่งมาลดลง 40 สตางค์ต่อลิตร เมื่อ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ถัดมาเป็นค่าไฟฟ้าที่ล่าสุดได้ปรับขึ้นอีกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ขยับไปอยู่ที่ 69 สตางค์ต่อหน่วย เทียบกับ 2 ปีก่อนที่ค่า FT อยู่ที่ 27.45 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 151% นับเป็นราคาที่สูงที่สุด ส่วนค่าน้ำประปาปรับเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนแต่ผู้ใช้จะทราบดีว่าการใช้น้ำในปริมาณเท่าเดิมแต่บิลที่เรียกเก็บกลับแจ้งราคาที่สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนๆ
นอกจากนี้ ค่าแก๊สหุงต้มได้ปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป โดยปรับขึ้นอีกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ต่อเดือน และจะทยอยปรับขึ้นเช่นนี้ไป 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิม ราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.82 บาท ทำให้จากเดิมแก๊สหุงต้มถัง 15 กิโลกรัมขยับจาก 295 บาท ตอนนี้ขายกันอยู่ที่ราคา 375 บาท โดยราคาเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 400 บาทต่อถัง
ค่าใช้จ่ายที่จ่อคิวในช่วงนี้อีกรายการหนึ่ง คือ ค่าเทอมของบุตรหลานที่ใกล้จะเปิดเรียน ทั้งในระดับอนุบาล ประถม มัธยมหรือมหาวิทยาลัย จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง
เงินในกระเป๋าเหลือน้อย
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ออกโครงการรถยนต์คันแรก เพื่อต้องการลดความไม่พอใจของค่ายรถยนต์จากกรณีที่ปล่อยให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่จนเกิดความเสียหายกับผู้ประกอบการเหล่านี้ที่ขู่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น โดยมีแรงจูงใจด้วยการคืนภาษีสรรพสามิตไม่เกิน 1 แสนบาท มาเป็นตัวล่อใจ มีผู้ใช้สิทธิในโครงการนี้จองรถมากกว่า 1 ล้านคัน
แม้รัฐบาลจะประสบความสำเร็จจากการกระตุ้นกำลังซื้อของคนในประเทศได้ด้วยการเข้าโครงการซื้อรถยนต์คันแรก 1 ล้านคัน แต่ผลที่ตามมาคือกำลังซื้อของคน 2-3 ล้านคนหายไปทันที เพราะจะต้องแบ่งเงินที่หามาได้เพื่อการชำระค่างวดรถยนต์ในทุกเดือน รวมถึงค่าบำรุงรักษาอื่นๆ ที่จะตามมาอีก
กำลังซื้อที่หดหายไปนี้จึงเป็นที่มาของการฉุดให้เศรษฐกิจด้านอื่นๆ ทรุดตัวลงตาม ลามเป็นลูกโซ่ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ขายสินค้าได้น้อยลง หากปล่อยให้สถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ความมั่นคงในหน้าที่การงานย่อมถูกสั่นคลอนได้ในไม่ช้า และโอกาสที่จะได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นย่อมมีความเป็นไปได้น้อยลง
ประกอบกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นจากนโยบายการลดการอุดหนุนของรัฐบาล เช่น ลอยตัวราคาแก๊สหุงต้ม น้ำมัน ทำให้กระทบไปยังค่าไฟฟ้าที่ต้องปรับราคาขึ้นตาม นี่จึงกลายเป็นภาวะที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ต้องหาทางรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
เมื่อรายได้เท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้สถานะทางการเงินของครอบครัวไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ใครที่มีภาระหนักก็อาจต้องพึ่งพาสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพื่อประคองให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ หากใครที่โชคร้ายเจอปัญหาเรื่องการเลิกจ้างงานก็ยิ่งจะทำให้สถานะทางการเงินแย่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ใครที่พึ่งหนี้ในระบบได้ก็แบกรับภาระดอกเบี้ยไม่มากนัก ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องพึ่งหนี้นอกระบบก็ต้องยอมแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ
นี่จึงกลายเป็นความโชคร้ายของคนไทยที่ต้องเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ยื้อเกมรักษาผลประโยชน์
ยิ่งความยืดเยื้อทางการเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มุ่งเน้นเพียงเพื่อชัยชนะนโยบายทุกอย่างก็สร้างปัญหา แถมการเดินหมากทางการเมืองก็นำพาไปสู่วิกฤตของประเทศ เริ่มตั้งแต่การแก้ไขกฎหมายที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของประชาชน อย่างเช่น กฎหมายนิรโทษกรรมที่มุ่งหวังล้างความผิดให้กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี
แม้ว่าจะขัดกับความรู้สึกของคนเสื้อแดง เนื่องจากหนึ่งในสาระของกฎหมายจะเป็นการเว้นโทษให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกคนเสื้อแดงกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงจากการชุมนุมเมื่อปี 2553 แต่พรรคเพื่อไทยก็เดินหน้าผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านไปได้ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร
แต่กระแสความไม่พอใจของคนทั้งประเทศที่คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว ผนวกกับการลาออกจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาเป็นแกนนำในการต่อต้าน มวลชนนับล้านคนที่ออกมาแสดงพลังคัดค้านทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภา
จนย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 ของการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลชุดนี้ แม้จะมีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการหลังการประกาศยุบสภาเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ยังคงสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ โดยที่การชุมนุมของนายสุเทพ ไม่สามารถกดดันให้พรรคเพื่อไทยพ้นไปจากอำนาจได้
จนต้องพึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ไม่เป็นธรรม เพื่อเปิดทางให้พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ภรรยาทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สุดท้ายยิ่งลักษณ์ก็ต้องพ้นสภาพไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 และคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติ 7 ต่อ 0 เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหามีมูลเป็นการส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่จบ และฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐอยู่ยังต้องมีการต่อสู้กันอีกหลายยก แต่ผลจากการยืดเยื้อ ผนวกกับนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไป กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์ถดถอยมากขึ้นทุกขณะ จนนำไปสู่โอกาสของการเลิกจ้างงานได้
การเมืองไม่จบไตรมาส 3 เห็นเลิกจ้าง
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าไทยได้ส่งสัญญาณไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นคนยังไม่รู้สึก ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ภาคธุรกิจจึงเริ่มบ่น ซึ่งกว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งราว 2-3 เดือนนับตั้งแต่มีการชุมนุมทางการเมือง
จากนั้นยอดขายเริ่มซึมในเดือนมีนาคม-เมษายน กระทบมายังธุรกิจขนาดเล็ก เห็นได้จากการปรับลดเงื่อนไขการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารออมสิน เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหาบเร่แผงลอย โดยเป็นการช่วยเหลือทั้งลูกค้าและตัวธนาคารเอง ซึ่งตอนนี้ธุรกิจขนาดเล็กอย่าง SME มีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว เนื่องจากยอดขายซึมลงทุกจังหวัด
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากชาวนาได้เงินจากโครงการรับจำนำข้าวล่าช้าและบางส่วนยังไม่ได้ ทำให้กำลังซื้อส่วนนี้หายไป ภาคการส่งออกที่ยังไม่ดีเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศลูกค้าในตลาดหลักยังฟื้นตัวไม่ดีนัก ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลง ลดค่าล่วงเวลา รวมไปถึงการจ้างงานน้อยลง
ทางหอการค้าไทยเคยประเมินถึงภาวะการว่างงานไว้ที่ 1.5-2 แสนคน โดยห่วงใยถึงบัณฑิตที่จบใหม่ที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานอีก 3 แสนคน เนื่องจากนายจ้างยังไม่ต้องการจ้างงานเพิ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2557 และผู้ที่เรียนจบมาในสาขาช่างจะมีโอกาสได้งานมากกว่าผู้ที่เรียนจบมาในสายสังคมศาสตร์
หากสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่คลี่คลายในครึ่งปีแรก ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เราจะได้เห็นการทยอยปิดตัวลงของภาคธุรกิจ โดยในไตรมาส 3 อาจจะมีตัวเลขคนว่างงานราว 1.3-1.5% แต่ถ้าการเมืองยุติได้เร็วปัญหาการว่างงานก็จะน้อยลงเหลือเพียง 1-1.3% ดังนั้นกลุ่มที่อยู่ในสถานะที่เสี่ยงที่สุดคือลูกจ้างรายวัน คนที่มีเงินเดือนประจำน่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก และดีที่สุดคงเป็นอาชีพข้าราชการที่มีความมั่นคงมากกว่าอาชีพอื่นๆ
นอกจากนี้ ในภาคประชาชนยังต้องเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊สหุงต้ม ราคาน้ำมัน รวมไปถึงค่าเทอมบุตรหลานที่กำลังใกล้จะมาถึง
ดร.ธนวรรธน์ แนะนำว่า ประชาชนต้องปรับตัวเพื่อรับกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น คนที่มีภาระไม่มากก็ต้องก่อหนี้ให้น้อย ส่วนคนที่มีภาระมากถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อาจต้องก่อหนี้เพิ่มและส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจว่าจะฟื้นตัวได้หรือไม่
ถ้าการเมืองไม่ฟื้นเศรษฐกิจคงแย่ และหากยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ งบประมาณปี 2558 ก็ไม่สามารถใช้ได้ บวกกับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวถ้ายังไม่ได้คืนมา ปีหน้าเศรษฐกิจอาจจะโตแค่ 0% หรือติดลบ โดยสถานการณ์ทางการเมืองนับเป็นฟืนชิ้นสำคัญที่เป็นตัวเร่งปัญหาเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
รัฐกระตุ้นจนหมดกำลังซื้อ
ผศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ด้วยสภาวะที่การเมืองยืดเยื้อ ไม่มีรัฐบาล ทำให้ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ มาช่วยกลไกเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาเพิ่มขึ้น
ในอดีตเศรษฐกิจถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้การบริโภคในปัจจุบันมีน้อยลง เนื่องจากคนดึงเอาเงินในอนาคตไปใช้ ดังนั้นความหวังที่จะให้การบริโภคมาเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจจึงทำได้ยาก อีกทั้งการส่งออกโดยอาศัยภาคต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวอย่างเด่นชัด
สภาพตอนนี้จึงติดขัดไปหมดหากรัฐจะใช้นโยบายการเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ก็อาจจะไม่เกิดผลเพราะคนกู้เงินกันไปมากแล้ว หากจะใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นก็ติดที่ความเป็นรัฐบาลรักษาการไม่สามารถทำอะไรได้
ส่วนโอกาสที่จะนำไปสู่ภาวการณ์เลิกจ้างงาน อาจจะยังไม่ถึงขั้นนั้น แม้จำนวนรถในสต๊อกไม่ได้ลดลงมาก แต่ยอดจำหน่ายรถยนต์ยังดี เพียงแต่รายได้ของแรงงานอาจจะน้อยลงจากการปรับลดค่าล่วงเวลา ขณะที่ภาคเกษตรก็เจอปัญหาภัยแล้ง แถมราคาสินค้าเกษตรไม่ดี ราคายางพารา และราคาข้าวลดลงมามาก
ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เริ่มขยับขึ้นมา แถมมาเจอเรื่องค่าครองชีพ น้ำประปา น้ำมัน ค่าไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นตัวเร่งส่งไปถึงหมวดอาหาร ทำให้เป็นห่วงเงินเฟ้อในครึ่งปีหลัง ถ้าดอกเบี้ยขึ้นจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งจะทำให้หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้นตามมา
นโยบายรถคันแรกจบแรงงานเสี่ยงตกงาน
นายชาลี ลอยสูง ประธานกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ภาวการณ์เลิกจ้างมีสัญญาณมาบ้างแล้ว เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการคืนซับคอนแทรกต์ไป ทำให้มีการเลิกจ้างไปบ้าง
ปัญหาด้านแรงงานในกลุ่มยานยนต์นั้น เกิดขึ้นจากโครงการรถยนต์คันแรก ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา เมื่อเริ่มโครงการนี้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ต้องระดมคนงานเข้ามาเพื่อเร่งการผลิตให้ทันกับการส่งมอบ ตอนนั้นมีการจ้างงาน 3 กะเต็ม มีเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลาไม่อั้น แต่ก็ยังผลิตไม่ทัน มาถึงวันนี้เศรษฐกิจเริ่มไม่ดี กำลังซื้อรายใหม่หายไป มีการทิ้งใบจองก็เริ่มลดกำลังการผลิตลง รถรุ่นเก่าที่ผลิตออกมาก็ระบายไม่ออก อย่างค่ายนิสสันตอนนี้ลดลงเหลือ 2 กะ แต่ยังไม่เลิกจ้างคนงาน เลี้ยงคนเอาไว้ก่อน แต่ค่าล่วงเวลา ปล่อยให้คนที่ทนไม่ได้ออกกันเอง เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย
เดิมรถปิกอัพจะขายได้ดีในต่างจังหวัด แต่จากปัญหาการค้างเงินจำนำข้าวของรัฐบาล รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ลดลง ทำให้ยอดขายรถปิกอัพลดลงไปมาก ซึ่งบริษัทรถยนต์ก็ได้ปรับแผนการผลิตมาเป็นขายในประเทศ 40% ที่เหลือเน้นส่งออก สภาพการเมืองที่เป็นอย่างนี้ทำให้ทุกอย่างหยุดหมด รายที่มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่างชะลอโครงการเพื่อรอดูสถานการณ์ อย่างค่ายฮอนด้าเดิมมีแผนจะย้ายไปที่จังหวัดปราจีนบุรี ตอนนี้ก็หยุดไปก่อน
ส่วนแรงงานในภาคอื่นๆ ก็อยู่ในสภาพทรงกับทรุด อย่างกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขึ้นอยู่กับการส่งออก ตอนนี้เศรษฐกิจยุโรปเริ่มดีขึ้น ต้องรอดูคำสั่งซื้อในช่วงไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 อีกครั้งหนึ่งว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนในเรื่องรายได้แล้ว ผู้ใช้แรงงานยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ยิ่งไม่มีรัฐบาลยิ่งทำให้ราคาสินค้าหลายรายการปรับเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแล สุดท้ายปัญหาเงินเฟ้อก็จะตามมา ยิ่งเป็นตัวบั่นทอนให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
ที่ผ่านมานโยบายรัฐบาลทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ทำสิ่งที่นอกเหนือความเป็นธรรมชาติ อย่างค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เหมือนเป็นการใส่ปุ๋ยเร่งการเติบโต สุดท้ายต้นไม้ก็ตาย เพราะราคาสินค้าต่างๆ ต้องปรับขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือค่าแรง 300 บาทนี้ ที่ใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2556 แต่ต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีเงื่อนไขว่าเมื่อใช้แล้วอีก 2 ปีจะไม่มีการปรับขึ้นค่าแรง ต้องรอไปถึงปี 2558 ถึงจะมาพิจารณากันอีกครั้ง ปัญหาคือผู้ใช้แรงงานจะทนกับสภาพค่าครองชีพที่เป็นอยู่ในเวลานี้ไหวหรือไม่
ดังนั้น แม้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะพ้นสภาพจากความเป็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และมีโอกาสที่จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองอีก 5 ปี แต่สิ่งที่ผ่านมาภายใต้การบริหารของเธอได้ทิ้งปัญหาให้กับคนไทย นั่นคือความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ ทั้งที่เกิดขึ้นจากนโยบายหาเสียงที่ผ่านมาหรือความต้องการที่จะเอาชนะกันในทางการเมือง คนที่รับกรรมมากที่สุดหนีไม่พ้นคนไทยทุกคนที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่รัฐบาลนี้ทิ้งไว้ให้
ตลอดระยะเวลา 2 ปี 9 เดือน 2 วัน ที่ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทย เข้ามาบริหารประเทศ ผลงานของรัฐบาลนี้ทำเอาคนไทยไม่มีวันลืม เพียงไม่กี่เดือนหลังเข้ารับตำแหน่ง ได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ของประเทศ สร้างความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
พร้อมด้วยนโยบายประชานิยมที่มัดใจฐานเสียง จนทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ก็ได้สร้างปัญหาให้กับประเทศและฐานเสียงที่เลือกพรรคเพื่อไทยเข้ามาอย่างโครงการรับจำนำข้าวและค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ทั้งการค้างจ่ายค่าข้าวและค่าแรงขั้นต่ำยังเป็นตัวผลักดันให้ราคาสินค้าเกือบทุกรายการปรับตัวขึ้น
สำหรับผลของการบริหารประเทศของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ทำให้ค่าครองชีพของประชาชนพุ่งสูงขึ้น เห็นได้จากราคาน้ำมัน แก๊สโซฮอล์ 95 จาก 36.44 บาทต่อลิตร เมื่อสิงหาคม 2554 ปรับขึ้นเป็น 41.03 บาทต่อลิตร เทียบกับ 3 พฤษาคม 2557แก๊สโซฮอล์ 91 จาก 33.94 บาทต่อลิตร เป็น 38.54 ดีเซลจาก 26.99 บาท เป็น 29.99 บาท เพิ่มขึ้น 11-13.5% และเพิ่งมาลดลง 40 สตางค์ต่อลิตร เมื่อ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ถัดมาเป็นค่าไฟฟ้าที่ล่าสุดได้ปรับขึ้นอีกเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ทำให้ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ขยับไปอยู่ที่ 69 สตางค์ต่อหน่วย เทียบกับ 2 ปีก่อนที่ค่า FT อยู่ที่ 27.45 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 151% นับเป็นราคาที่สูงที่สุด ส่วนค่าน้ำประปาปรับเพิ่มขึ้น แม้จะไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนแต่ผู้ใช้จะทราบดีว่าการใช้น้ำในปริมาณเท่าเดิมแต่บิลที่เรียกเก็บกลับแจ้งราคาที่สูงขึ้นกว่าเดือนก่อนๆ
นอกจากนี้ ค่าแก๊สหุงต้มได้ปรับขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2556 เป็นต้นไป โดยปรับขึ้นอีกกิโลกรัมละ 50 สตางค์ต่อเดือน และจะทยอยปรับขึ้นเช่นนี้ไป 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิม ราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.82 บาท ทำให้จากเดิมแก๊สหุงต้มถัง 15 กิโลกรัมขยับจาก 295 บาท ตอนนี้ขายกันอยู่ที่ราคา 375 บาท โดยราคาเป้าหมายอยู่ที่ประมาณ 400 บาทต่อถัง
ค่าใช้จ่ายที่จ่อคิวในช่วงนี้อีกรายการหนึ่ง คือ ค่าเทอมของบุตรหลานที่ใกล้จะเปิดเรียน ทั้งในระดับอนุบาล ประถม มัธยมหรือมหาวิทยาลัย จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานศึกษาแต่ละแห่ง
เงินในกระเป๋าเหลือน้อย
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ได้ออกโครงการรถยนต์คันแรก เพื่อต้องการลดความไม่พอใจของค่ายรถยนต์จากกรณีที่ปล่อยให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่จนเกิดความเสียหายกับผู้ประกอบการเหล่านี้ที่ขู่จะย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น โดยมีแรงจูงใจด้วยการคืนภาษีสรรพสามิตไม่เกิน 1 แสนบาท มาเป็นตัวล่อใจ มีผู้ใช้สิทธิในโครงการนี้จองรถมากกว่า 1 ล้านคัน
แม้รัฐบาลจะประสบความสำเร็จจากการกระตุ้นกำลังซื้อของคนในประเทศได้ด้วยการเข้าโครงการซื้อรถยนต์คันแรก 1 ล้านคัน แต่ผลที่ตามมาคือกำลังซื้อของคน 2-3 ล้านคนหายไปทันที เพราะจะต้องแบ่งเงินที่หามาได้เพื่อการชำระค่างวดรถยนต์ในทุกเดือน รวมถึงค่าบำรุงรักษาอื่นๆ ที่จะตามมาอีก
กำลังซื้อที่หดหายไปนี้จึงเป็นที่มาของการฉุดให้เศรษฐกิจด้านอื่นๆ ทรุดตัวลงตาม ลามเป็นลูกโซ่ไปยังภาคธุรกิจอื่นๆ ที่ขายสินค้าได้น้อยลง หากปล่อยให้สถานการณ์นี้ยืดเยื้อต่อไป ความมั่นคงในหน้าที่การงานย่อมถูกสั่นคลอนได้ในไม่ช้า และโอกาสที่จะได้รับการปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นย่อมมีความเป็นไปได้น้อยลง
ประกอบกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นจากนโยบายการลดการอุดหนุนของรัฐบาล เช่น ลอยตัวราคาแก๊สหุงต้ม น้ำมัน ทำให้กระทบไปยังค่าไฟฟ้าที่ต้องปรับราคาขึ้นตาม นี่จึงกลายเป็นภาวะที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ต้องหาทางรับมือกับสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
เมื่อรายได้เท่าเดิม แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้สถานะทางการเงินของครอบครัวไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ใครที่มีภาระหนักก็อาจต้องพึ่งพาสินเชื่อเพิ่มขึ้นเพื่อประคองให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ หากใครที่โชคร้ายเจอปัญหาเรื่องการเลิกจ้างงานก็ยิ่งจะทำให้สถานะทางการเงินแย่ยิ่งขึ้นกว่าเดิม ใครที่พึ่งหนี้ในระบบได้ก็แบกรับภาระดอกเบี้ยไม่มากนัก ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องพึ่งหนี้นอกระบบก็ต้องยอมแบกรับภาระดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ
นี่จึงกลายเป็นความโชคร้ายของคนไทยที่ต้องเผชิญกับสภาพเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ในเวลานี้
ยื้อเกมรักษาผลประโยชน์
ยิ่งความยืดเยื้อทางการเมืองที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มุ่งเน้นเพียงเพื่อชัยชนะนโยบายทุกอย่างก็สร้างปัญหา แถมการเดินหมากทางการเมืองก็นำพาไปสู่วิกฤตของประเทศ เริ่มตั้งแต่การแก้ไขกฎหมายที่อ่อนไหวต่อความรู้สึกของประชาชน อย่างเช่น กฎหมายนิรโทษกรรมที่มุ่งหวังล้างความผิดให้กับพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พี่ชายของนางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี
แม้ว่าจะขัดกับความรู้สึกของคนเสื้อแดง เนื่องจากหนึ่งในสาระของกฎหมายจะเป็นการเว้นโทษให้กับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ถูกคนเสื้อแดงกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตของคนเสื้อแดงจากการชุมนุมเมื่อปี 2553 แต่พรรคเพื่อไทยก็เดินหน้าผลักดันให้กฎหมายฉบับนี้ผ่านไปได้ในชั้นสภาผู้แทนราษฎร
แต่กระแสความไม่พอใจของคนทั้งประเทศที่คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว ผนวกกับการลาออกจากความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาเป็นแกนนำในการต่อต้าน มวลชนนับล้านคนที่ออกมาแสดงพลังคัดค้านทำให้กฎหมายฉบับนี้ไม่ผ่านในชั้นวุฒิสภา
จนย่างเข้าสู่เดือนที่ 7 ของการชุมนุมคัดค้านรัฐบาลชุดนี้ แม้จะมีสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการหลังการประกาศยุบสภาเมื่อ 9 ธันวาคม 2556 แต่นางสาวยิ่งลักษณ์ยังคงสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ โดยที่การชุมนุมของนายสุเทพ ไม่สามารถกดดันให้พรรคเพื่อไทยพ้นไปจากอำนาจได้
จนต้องพึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ไม่เป็นธรรม เพื่อเปิดทางให้พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ พี่ชายของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร ภรรยาทักษิณ ชินวัตร ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สุดท้ายยิ่งลักษณ์ก็ต้องพ้นสภาพไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 และคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติ 7 ต่อ 0 เห็นว่าพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหามีมูลเป็นการส่อว่าจงใจใช้อํานาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองยังไม่จบ และฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐอยู่ยังต้องมีการต่อสู้กันอีกหลายยก แต่ผลจากการยืดเยื้อ ผนวกกับนโยบายต่างๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการไป กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเข้าสู่สถานการณ์ถดถอยมากขึ้นทุกขณะ จนนำไปสู่โอกาสของการเลิกจ้างงานได้
การเมืองไม่จบไตรมาส 3 เห็นเลิกจ้าง
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าไทยได้ส่งสัญญาณไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นคนยังไม่รู้สึก ในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ภาคธุรกิจจึงเริ่มบ่น ซึ่งกว่าจะเริ่มเห็นสัญญาณทางเศรษฐกิจไม่ดีต้องใช้เวลาช่วงหนึ่งราว 2-3 เดือนนับตั้งแต่มีการชุมนุมทางการเมือง
จากนั้นยอดขายเริ่มซึมในเดือนมีนาคม-เมษายน กระทบมายังธุรกิจขนาดเล็ก เห็นได้จากการปรับลดเงื่อนไขการชำระหนี้ของลูกหนี้ธนาคารออมสิน เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มหาบเร่แผงลอย โดยเป็นการช่วยเหลือทั้งลูกค้าและตัวธนาคารเอง ซึ่งตอนนี้ธุรกิจขนาดเล็กอย่าง SME มีปัญหาทางเศรษฐกิจแล้ว เนื่องจากยอดขายซึมลงทุกจังหวัด
ทั้งนี้ เป็นผลมาจากชาวนาได้เงินจากโครงการรับจำนำข้าวล่าช้าและบางส่วนยังไม่ได้ ทำให้กำลังซื้อส่วนนี้หายไป ภาคการส่งออกที่ยังไม่ดีเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศลูกค้าในตลาดหลักยังฟื้นตัวไม่ดีนัก ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดกำลังการผลิตลง ลดค่าล่วงเวลา รวมไปถึงการจ้างงานน้อยลง
ทางหอการค้าไทยเคยประเมินถึงภาวะการว่างงานไว้ที่ 1.5-2 แสนคน โดยห่วงใยถึงบัณฑิตที่จบใหม่ที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานอีก 3 แสนคน เนื่องจากนายจ้างยังไม่ต้องการจ้างงานเพิ่มมาตั้งแต่ต้นปี 2557 และผู้ที่เรียนจบมาในสาขาช่างจะมีโอกาสได้งานมากกว่าผู้ที่เรียนจบมาในสายสังคมศาสตร์
หากสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่คลี่คลายในครึ่งปีแรก ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ เราจะได้เห็นการทยอยปิดตัวลงของภาคธุรกิจ โดยในไตรมาส 3 อาจจะมีตัวเลขคนว่างงานราว 1.3-1.5% แต่ถ้าการเมืองยุติได้เร็วปัญหาการว่างงานก็จะน้อยลงเหลือเพียง 1-1.3% ดังนั้นกลุ่มที่อยู่ในสถานะที่เสี่ยงที่สุดคือลูกจ้างรายวัน คนที่มีเงินเดือนประจำน่าจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก และดีที่สุดคงเป็นอาชีพข้าราชการที่มีความมั่นคงมากกว่าอาชีพอื่นๆ
นอกจากนี้ ในภาคประชาชนยังต้องเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าแก๊สหุงต้ม ราคาน้ำมัน รวมไปถึงค่าเทอมบุตรหลานที่กำลังใกล้จะมาถึง
ดร.ธนวรรธน์ แนะนำว่า ประชาชนต้องปรับตัวเพื่อรับกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น คนที่มีภาระไม่มากก็ต้องก่อหนี้ให้น้อย ส่วนคนที่มีภาระมากถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อาจต้องก่อหนี้เพิ่มและส่วนใหญ่ก็จะเป็นหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ต้องขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจว่าจะฟื้นตัวได้หรือไม่
ถ้าการเมืองไม่ฟื้นเศรษฐกิจคงแย่ และหากยังตั้งรัฐบาลไม่ได้ งบประมาณปี 2558 ก็ไม่สามารถใช้ได้ บวกกับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวถ้ายังไม่ได้คืนมา ปีหน้าเศรษฐกิจอาจจะโตแค่ 0% หรือติดลบ โดยสถานการณ์ทางการเมืองนับเป็นฟืนชิ้นสำคัญที่เป็นตัวเร่งปัญหาเหล่านี้ให้เกิดขึ้น
รัฐกระตุ้นจนหมดกำลังซื้อ
ผศ.ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ด้วยสภาวะที่การเมืองยืดเยื้อ ไม่มีรัฐบาล ทำให้ไม่มีอำนาจสั่งการใดๆ มาช่วยกลไกเศรษฐกิจ ยิ่งทำให้เศรษฐกิจมีปัญหาเพิ่มขึ้น
ในอดีตเศรษฐกิจถูกกระตุ้นมากเกินไป ทำให้การบริโภคในปัจจุบันมีน้อยลง เนื่องจากคนดึงเอาเงินในอนาคตไปใช้ ดังนั้นความหวังที่จะให้การบริโภคมาเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจจึงทำได้ยาก อีกทั้งการส่งออกโดยอาศัยภาคต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัวอย่างเด่นชัด
สภาพตอนนี้จึงติดขัดไปหมดหากรัฐจะใช้นโยบายการเงินเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ก็อาจจะไม่เกิดผลเพราะคนกู้เงินกันไปมากแล้ว หากจะใช้นโยบายการคลังมากระตุ้นก็ติดที่ความเป็นรัฐบาลรักษาการไม่สามารถทำอะไรได้
ส่วนโอกาสที่จะนำไปสู่ภาวการณ์เลิกจ้างงาน อาจจะยังไม่ถึงขั้นนั้น แม้จำนวนรถในสต๊อกไม่ได้ลดลงมาก แต่ยอดจำหน่ายรถยนต์ยังดี เพียงแต่รายได้ของแรงงานอาจจะน้อยลงจากการปรับลดค่าล่วงเวลา ขณะที่ภาคเกษตรก็เจอปัญหาภัยแล้ง แถมราคาสินค้าเกษตรไม่ดี ราคายางพารา และราคาข้าวลดลงมามาก
ตอนนี้เศรษฐกิจไม่ค่อยดีนัก ตัวเลขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) เริ่มขยับขึ้นมา แถมมาเจอเรื่องค่าครองชีพ น้ำประปา น้ำมัน ค่าไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นตัวเร่งส่งไปถึงหมวดอาหาร ทำให้เป็นห่วงเงินเฟ้อในครึ่งปีหลัง ถ้าดอกเบี้ยขึ้นจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งจะทำให้หนี้ภาคครัวเรือนสูงขึ้นตามมา
นโยบายรถคันแรกจบแรงงานเสี่ยงตกงาน
นายชาลี ลอยสูง ประธานกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ภาวการณ์เลิกจ้างมีสัญญาณมาบ้างแล้ว เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีการคืนซับคอนแทรกต์ไป ทำให้มีการเลิกจ้างไปบ้าง
ปัญหาด้านแรงงานในกลุ่มยานยนต์นั้น เกิดขึ้นจากโครงการรถยนต์คันแรก ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมา เมื่อเริ่มโครงการนี้ค่ายรถยนต์ต่างๆ ต้องระดมคนงานเข้ามาเพื่อเร่งการผลิตให้ทันกับการส่งมอบ ตอนนั้นมีการจ้างงาน 3 กะเต็ม มีเบี้ยเลี้ยง ค่าล่วงเวลาไม่อั้น แต่ก็ยังผลิตไม่ทัน มาถึงวันนี้เศรษฐกิจเริ่มไม่ดี กำลังซื้อรายใหม่หายไป มีการทิ้งใบจองก็เริ่มลดกำลังการผลิตลง รถรุ่นเก่าที่ผลิตออกมาก็ระบายไม่ออก อย่างค่ายนิสสันตอนนี้ลดลงเหลือ 2 กะ แต่ยังไม่เลิกจ้างคนงาน เลี้ยงคนเอาไว้ก่อน แต่ค่าล่วงเวลา ปล่อยให้คนที่ทนไม่ได้ออกกันเอง เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชยตามกฎหมาย
เดิมรถปิกอัพจะขายได้ดีในต่างจังหวัด แต่จากปัญหาการค้างเงินจำนำข้าวของรัฐบาล รวมไปถึงราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ ลดลง ทำให้ยอดขายรถปิกอัพลดลงไปมาก ซึ่งบริษัทรถยนต์ก็ได้ปรับแผนการผลิตมาเป็นขายในประเทศ 40% ที่เหลือเน้นส่งออก สภาพการเมืองที่เป็นอย่างนี้ทำให้ทุกอย่างหยุดหมด รายที่มีแผนจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ต่างชะลอโครงการเพื่อรอดูสถานการณ์ อย่างค่ายฮอนด้าเดิมมีแผนจะย้ายไปที่จังหวัดปราจีนบุรี ตอนนี้ก็หยุดไปก่อน
ส่วนแรงงานในภาคอื่นๆ ก็อยู่ในสภาพทรงกับทรุด อย่างกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขึ้นอยู่กับการส่งออก ตอนนี้เศรษฐกิจยุโรปเริ่มดีขึ้น ต้องรอดูคำสั่งซื้อในช่วงไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 อีกครั้งหนึ่งว่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมหรือไม่
นอกเหนือจากความไม่แน่นอนในเรื่องรายได้แล้ว ผู้ใช้แรงงานยังต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ยิ่งไม่มีรัฐบาลยิ่งทำให้ราคาสินค้าหลายรายการปรับเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปควบคุมดูแล สุดท้ายปัญหาเงินเฟ้อก็จะตามมา ยิ่งเป็นตัวบั่นทอนให้เศรษฐกิจแย่ลงไปอีก
ที่ผ่านมานโยบายรัฐบาลทำให้เศรษฐกิจไม่ดี ทำสิ่งที่นอกเหนือความเป็นธรรมชาติ อย่างค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เหมือนเป็นการใส่ปุ๋ยเร่งการเติบโต สุดท้ายต้นไม้ก็ตาย เพราะราคาสินค้าต่างๆ ต้องปรับขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ที่สำคัญคือค่าแรง 300 บาทนี้ ที่ใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2556 แต่ต้องไม่ลืมว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์มีเงื่อนไขว่าเมื่อใช้แล้วอีก 2 ปีจะไม่มีการปรับขึ้นค่าแรง ต้องรอไปถึงปี 2558 ถึงจะมาพิจารณากันอีกครั้ง ปัญหาคือผู้ใช้แรงงานจะทนกับสภาพค่าครองชีพที่เป็นอยู่ในเวลานี้ไหวหรือไม่
ดังนั้น แม้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะพ้นสภาพจากความเป็นนายกรัฐมนตรีไปแล้ว ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว และมีโอกาสที่จะถูกตัดสิทธิทางการเมืองอีก 5 ปี แต่สิ่งที่ผ่านมาภายใต้การบริหารของเธอได้ทิ้งปัญหาให้กับคนไทย นั่นคือความบอบช้ำทางเศรษฐกิจ ทั้งที่เกิดขึ้นจากนโยบายหาเสียงที่ผ่านมาหรือความต้องการที่จะเอาชนะกันในทางการเมือง คนที่รับกรรมมากที่สุดหนีไม่พ้นคนไทยทุกคนที่ต้องเผชิญกับสิ่งที่รัฐบาลนี้ทิ้งไว้ให้