นักคิดท่านหนึ่งบอกว่า “คำถามคือสะพานที่ทำให้เราเดินไปสู่คำตอบ” ดังนั้นผมขอตั้งคำถามห้าข้อดังต่อไปนี้
ข้อที่หนึ่ง การกำหนดและเปิดเผยราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี
ตารางข้างล่างนี้คือราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีประจำเดือนมิถุนายน 2557 เราจะเห็นว่ามี 4 ราคาคือสำหรับผู้มีรายได้น้อย สำหรับครัวเรือนธรรมดา (Cooking) สำหรับการขนส่ง และสำหรับภาคอุตสาหกรรม
คำถามคือ ทำไมไม่มีราคาของภาคปิโตรเคมีซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใช้ก๊าซแอลพีจีมากที่สุดผมเคยได้ยินรัฐมนตรีพลังงาน (คุณพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) ตอบกระทู้ของ ส.ว.รสนา โตสิตระกูลว่า ราคา 16.10 บาทต่อกิโลกรัม เพราะการไม่ประกาศราคาให้โปร่งใสจึงได้มีการตั้งคำถาม และไม่ใช่การตอบด้วยปากเปล่า แต่เป็นการหยิบกระดาษขึ้นมาอ่าน ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นการจำผิด
ราคาก๊าซหุงต้มได้ทยอยขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัมมาตั้งแต่เดือนกันยายน 56 โดยมีแผนที่จะขึ้นติดต่อกัน 12 เดือนรวม 6 บาท โดยจะไปหยุดที่ 24.63 บาท แต่ได้ถูก คสช.สั่งหยุดเอาไว้ก่อนที่ 22.63 บาท (ดังตาราง)
เหตุผล (ที่ผมเข้าใจ) ก็คือบริษัท ปตท.ใช้สิทธิที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 เพราะคำว่า “สัมปทาน” สิทธิในปิโตรเลียมเป็นของบริษัทผู้รับสัมปทาน ไม่ใช่ของรัฐ ดังนั้น บริษัท ปตท.จึงมีสิทธิขายให้กับบริษัทลูกของตนเอง ในราคาเท่าใดก็ได้
แต่ยังโชคดีอยู่ตรงที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ใน ปตท.จึงสามารถเข้าไปกำหนดอะไรได้บ้าง อย่างไรก็ตาม คนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะกำลังมีการเสนอให้รัฐบาลขายหุ้นออกไปอีก 2% ให้เหลือ 49% โดยอ้างว่าเพื่อไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงได้
หมายเหตุ : ราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในเดือนเมษายนจากแหล่งสิริกิติ์ราคากิโลกรัมละ 9.91 บาท (ผลิตได้ 7.78 ล้านกิโลกรัม) ถูกกว่าราคาหน้าโรงกลั่นประมาณ 1 บาท
คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เคยขอให้มีการเปิดเผยต้นทุนทั้งการผลิตภายในประเทศและการนำเข้า ก็ได้ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นความลับทางการค้า
เจอเข้าอย่างนี้ก็ทำอะไรไม่ถูกครับ นอกจากจะต้องตั้งคำถามต่อไปว่า
“ประเทศนี้มันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร”
ข้อที่สอง คนไทยคิดอย่างไร หากบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมมีกำไรสุทธิปีละ 97% ของเงินลงทุน
แผ่นภาพข้างล่างนี้ผมสรุปมาจากรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติครับ
กระทรวงพลังงานมักอ้างเสมอๆ ว่า กิจการสัมปทานปิโตรเลียมรัฐได้รับส่วนแบ่งหลังจากหักต้นทุนออกแล้วมากกว่าที่บริษัทได้รับ ซึ่งก็อาจจะเป็นความจริง
แต่ถ้าคิดอีกมุมหนึ่งพบว่า ในปี 2554 บริษัทลงทุน 144,878 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิ 133,940 ล้านบาท หรือกำไรร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีเดียวกัน
มันสูงเกินไปไหม?
หลายท่านอาจจะคิดว่าเพราะเขามีความเสี่ยง ซึ่งก็จริงอีก! แต่มันเป็นธรรมแล้วหรือ ประเทศอื่นเขาทำกันอย่างไร
ในบางประเทศ เช่น นอร์เวย์อัตราค่าภาคหลวงจะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน เช่น ถ้าราคาต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ค่าภาคหลวงเป็นศูนย์ แต่ถ้ามากกว่านั้นจะเก็บในอัตราที่สูงมาก
แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมไทย เก็บค่าภาคหลวงตามปริมาณการผลิตแบบขั้นบันได ไม่ขึ้นกับราคา เมื่อเป็นอย่างนี้บริษัทก็เลือกผลิตให้ปริ่มๆ ขั้นบันไดด้านล่าง แทนที่จะเสียอัตราร้อยละ 15 ก็เสียแค่ร้อยละ 12.5 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งกำหนดไว้ร้อยละ 50-60 แต่รัฐบาลเราก็เรียกเก็บที่ 50% ตลอดมา
ทำไมเรื่องแค่นี้เราคิดไม่ทันเขา! หรือจงใจมาตั้งแต่ต้น
หมายเหตุ : ผมเคยเขียนมาแล้วว่า ระบบสัมปทานเป็นระบบที่ประเทศมหาอำนาจทางปิโตรเลียมเขาใช้กับประเทศเมืองขึ้น ประเทศที่ได้รับเอกราชเขาต่างก็ขอเปลี่ยนไปสู่ระบบการแบ่งปันผลผลิตกันหมดแล้ว (ในกลุ่มอาเซียน) การขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตัวเองในราคาถูกกว่าที่ขายให้คนไทย (ในคำถามข้อที่หนึ่ง) ก็เป็นผลมาจากระบบสัมปทาน
ด้วยเหตุนี้จึงขอให้ คสช.อย่าปล่อยให้มีการให้สัมปทานรอบใหม่ จนกว่าจะมีการปฏิรูปตามคำแถลงเพื่อยึดอำนาจของ คสช.
ข้อที่สาม ทำไมค่าการกลั่นไทยจึงสูงกว่าสิงคโปร์และประเทศอื่น
จากข้อมูลของบริษัทบีพี (ดังกราฟข้างล่าง) พบว่าค่าการกลั่น (ผลต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ) ในช่วงปี 2011 ถึง 2012 ค่าการกลั่นอยู่ระหว่าง ลบ 1 ถึง 9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ของไทยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 7.8 ถึง 10.6ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพบว่า ในเดือนเมษายน 2557 ราคาน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีราคาเฉลี่ยลิตรละ 21.22 บาท (ผลิตได้ทั้งหมด 4.37 ล้านบาร์เรล หรือ 694 ล้านลิตรแต่ราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันเบนซิน 91 และดีเซลลิตรละ 26.06 และ 26.21 บาท
กระทรวงพลังงานต้องอธิบายว่าทำไมราคาจึงต่างกันประมาณ 4 บาทต่อลิตร หรือ 19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลส่วนต่างนี้คือค่าการกลั่นครับ
อนึ่ง แต่จากบทความของ Dr. Robert Wisner, University Professor Emeritus Iowa State University and Biofuels Economist พบว่า น้ำมันดิบ 159 ลิตรเมื่อกลั่นแล้วจะได้ 170 ลิตร เรียกว่ามีของแถมฟรีอีกต่างหาก
ข้อที่สี่ น้ำมันดีเซลให้พลังงานมากกว่าน้ำมันเบนซินแต่ทำไมมีราคาต่ำกว่า
เรื่องนี้ทราบกันดีว่า รัฐบาลพยายามช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ใช้น้ำมันราคาถูกจึงควบคุมราคาน้ำมันดีเซลส่งผลให้คนหันไปใช้รถยนต์ดีเซลกันมากขึ้น รถเก๋งยี่ห้อแพงๆ ก็หันมาใช้ดีเซลกันแล้ว
ข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าอีกสองปีจะมีรถเก๋งแบบประหยัด (อีโคคาร์) ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลออกมาสู่ตลาดประเทศไทย คราวนี้แหละผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องจ่ายค่าน้ำมัน (ในรูปเงินเข้ากองทุนน้ำมัน) ให้กับผู้ใช้ดีเซล (ซึ่งไม่ใช่เกษตรกร) กันหน้ามืดแหละ
ตารางข้างล่างเป็นการสรุปของผมเองครับ ในปี 2545 ราคาขายปลีกน้ำมันสองชนิดสูงกว่ากันเพียงเล็กน้อย (9%) แต่ในปี 2557 น้ำมันเบนซินสูงกว่าดีเซลถึง 27%
ข้อที่ห้า ทำไมราคาเอทานอลซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมัน อี10 อี20 อี85 จึงแพงกว่าราคาในสหรัฐอเมริกาและบราซิลมาก
ข้อมูลข้างต้นนี้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าในขณะที่ราคาเอทานอลในประเทศสหรัฐอเมริกาและบราซิลของเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลิตรละประมาณ 15 บาท แต่ราคาในประเทศไทยสูงถึง 27 บาท (ประมาณจากราฟ ราคาอ้างอิงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เท่ากับ 26.81 บาท) ส่งผลให้ต้องนำเงินกองทุนมาชดเชยถึง 11.6 บาท และค่าการตลาด 6.34 บาทต่อลิตร (อี 85 จำหน่ายวันละ 8 แสนลิตร ชดเชยวันละ 10 ล้านบาท ค่าการตลาดก็สูงมาก)
ถามว่าเงินชดเชยนี้ไปเข้ากระเป๋าใคร เพราะเกษตรกรก็อยู่ในสภาพย่ำแย่
ผมเห็นด้วยกับคำพูดของประธาน คสช.ว่า ก่อนจะตัดสินใจอะไรเกี่ยวกับราคาน้ำมันต้องรู้โครงสร้างราคาน้ำมันก่อน และพูดทำนองว่าในสัปดาห์หน้าจะตัดสินใจ
ผมเห็นว่า คำถามเหล่านี้ คสช.ต้องตอบให้ได้ครับ ของอยู่บนผิวดินแท้ๆ หมดแล้วก็ปลูกใหม่ได้ ทำไมจึงมีราคาแพงกว่าของที่ลึกลงไปใต้ดินหลายพันเมตร แถมหมดแล้วหมดเลย
สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ผมเคยถูกเพื่อน (นายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) โทร.มาปลุกตั้งแต่ยังไม่สว่าง เพื่อให้ผมไปปลุกรองอธิการบดี (รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์) เพื่อไปให้ไปตอบคำถามของท่านนายกฯ ว่า “ทำไมค่าแรงงานในมาเลเซียสูงกว่าบ้านเรา แต่ราคาน้ำมันปาล์มจึงถูกกว่าในบ้านเรา”
แต่จนป่านนี้สถานการณ์จริงเป็นอย่างไรครับ?
อย่าให้เหลวนะครับ คสช.
ข้อที่หนึ่ง การกำหนดและเปิดเผยราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี
ตารางข้างล่างนี้คือราคาก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจีประจำเดือนมิถุนายน 2557 เราจะเห็นว่ามี 4 ราคาคือสำหรับผู้มีรายได้น้อย สำหรับครัวเรือนธรรมดา (Cooking) สำหรับการขนส่ง และสำหรับภาคอุตสาหกรรม
คำถามคือ ทำไมไม่มีราคาของภาคปิโตรเคมีซึ่งเป็นภาคส่วนที่ใช้ก๊าซแอลพีจีมากที่สุดผมเคยได้ยินรัฐมนตรีพลังงาน (คุณพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล) ตอบกระทู้ของ ส.ว.รสนา โตสิตระกูลว่า ราคา 16.10 บาทต่อกิโลกรัม เพราะการไม่ประกาศราคาให้โปร่งใสจึงได้มีการตั้งคำถาม และไม่ใช่การตอบด้วยปากเปล่า แต่เป็นการหยิบกระดาษขึ้นมาอ่าน ดังนั้นจึงไม่ใช่เป็นการจำผิด
ราคาก๊าซหุงต้มได้ทยอยขึ้นราคาเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัมมาตั้งแต่เดือนกันยายน 56 โดยมีแผนที่จะขึ้นติดต่อกัน 12 เดือนรวม 6 บาท โดยจะไปหยุดที่ 24.63 บาท แต่ได้ถูก คสช.สั่งหยุดเอาไว้ก่อนที่ 22.63 บาท (ดังตาราง)
เหตุผล (ที่ผมเข้าใจ) ก็คือบริษัท ปตท.ใช้สิทธิที่มีอยู่ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 เพราะคำว่า “สัมปทาน” สิทธิในปิโตรเลียมเป็นของบริษัทผู้รับสัมปทาน ไม่ใช่ของรัฐ ดังนั้น บริษัท ปตท.จึงมีสิทธิขายให้กับบริษัทลูกของตนเอง ในราคาเท่าใดก็ได้
แต่ยังโชคดีอยู่ตรงที่รัฐบาลถือหุ้นใหญ่ใน ปตท.จึงสามารถเข้าไปกำหนดอะไรได้บ้าง อย่างไรก็ตาม คนไทยต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเพราะกำลังมีการเสนอให้รัฐบาลขายหุ้นออกไปอีก 2% ให้เหลือ 49% โดยอ้างว่าเพื่อไม่ให้รัฐบาลแทรกแซงได้
หมายเหตุ : ราคาก๊าซแอลพีจีที่ผลิตได้ในเดือนเมษายนจากแหล่งสิริกิติ์ราคากิโลกรัมละ 9.91 บาท (ผลิตได้ 7.78 ล้านกิโลกรัม) ถูกกว่าราคาหน้าโรงกลั่นประมาณ 1 บาท
คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เคยขอให้มีการเปิดเผยต้นทุนทั้งการผลิตภายในประเทศและการนำเข้า ก็ได้ถูกปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นความลับทางการค้า
เจอเข้าอย่างนี้ก็ทำอะไรไม่ถูกครับ นอกจากจะต้องตั้งคำถามต่อไปว่า
“ประเทศนี้มันเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร”
ข้อที่สอง คนไทยคิดอย่างไร หากบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมมีกำไรสุทธิปีละ 97% ของเงินลงทุน
แผ่นภาพข้างล่างนี้ผมสรุปมาจากรายงานประจำปี 2554 ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติครับ
กระทรวงพลังงานมักอ้างเสมอๆ ว่า กิจการสัมปทานปิโตรเลียมรัฐได้รับส่วนแบ่งหลังจากหักต้นทุนออกแล้วมากกว่าที่บริษัทได้รับ ซึ่งก็อาจจะเป็นความจริง
แต่ถ้าคิดอีกมุมหนึ่งพบว่า ในปี 2554 บริษัทลงทุน 144,878 ล้านบาท แต่มีกำไรสุทธิ 133,940 ล้านบาท หรือกำไรร้อยละ 97 ของเงินลงทุนในปีเดียวกัน
มันสูงเกินไปไหม?
หลายท่านอาจจะคิดว่าเพราะเขามีความเสี่ยง ซึ่งก็จริงอีก! แต่มันเป็นธรรมแล้วหรือ ประเทศอื่นเขาทำกันอย่างไร
ในบางประเทศ เช่น นอร์เวย์อัตราค่าภาคหลวงจะขึ้นอยู่กับราคาน้ำมัน เช่น ถ้าราคาต่ำกว่า 30 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ค่าภาคหลวงเป็นศูนย์ แต่ถ้ามากกว่านั้นจะเก็บในอัตราที่สูงมาก
แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียมไทย เก็บค่าภาคหลวงตามปริมาณการผลิตแบบขั้นบันได ไม่ขึ้นกับราคา เมื่อเป็นอย่างนี้บริษัทก็เลือกผลิตให้ปริ่มๆ ขั้นบันไดด้านล่าง แทนที่จะเสียอัตราร้อยละ 15 ก็เสียแค่ร้อยละ 12.5 เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องภาษีเงินได้ปิโตรเลียมซึ่งกำหนดไว้ร้อยละ 50-60 แต่รัฐบาลเราก็เรียกเก็บที่ 50% ตลอดมา
ทำไมเรื่องแค่นี้เราคิดไม่ทันเขา! หรือจงใจมาตั้งแต่ต้น
หมายเหตุ : ผมเคยเขียนมาแล้วว่า ระบบสัมปทานเป็นระบบที่ประเทศมหาอำนาจทางปิโตรเลียมเขาใช้กับประเทศเมืองขึ้น ประเทศที่ได้รับเอกราชเขาต่างก็ขอเปลี่ยนไปสู่ระบบการแบ่งปันผลผลิตกันหมดแล้ว (ในกลุ่มอาเซียน) การขายก๊าซแอลพีจีให้บริษัทลูกของตัวเองในราคาถูกกว่าที่ขายให้คนไทย (ในคำถามข้อที่หนึ่ง) ก็เป็นผลมาจากระบบสัมปทาน
ด้วยเหตุนี้จึงขอให้ คสช.อย่าปล่อยให้มีการให้สัมปทานรอบใหม่ จนกว่าจะมีการปฏิรูปตามคำแถลงเพื่อยึดอำนาจของ คสช.
ข้อที่สาม ทำไมค่าการกลั่นไทยจึงสูงกว่าสิงคโปร์และประเทศอื่น
จากข้อมูลของบริษัทบีพี (ดังกราฟข้างล่าง) พบว่าค่าการกลั่น (ผลต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกับราคาน้ำมันดิบ) ในช่วงปี 2011 ถึง 2012 ค่าการกลั่นอยู่ระหว่าง ลบ 1 ถึง 9 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แต่ของไทยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 7.8 ถึง 10.6ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติพบว่า ในเดือนเมษายน 2557 ราคาน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยมีราคาเฉลี่ยลิตรละ 21.22 บาท (ผลิตได้ทั้งหมด 4.37 ล้านบาร์เรล หรือ 694 ล้านลิตรแต่ราคาหน้าโรงกลั่นของน้ำมันเบนซิน 91 และดีเซลลิตรละ 26.06 และ 26.21 บาท
กระทรวงพลังงานต้องอธิบายว่าทำไมราคาจึงต่างกันประมาณ 4 บาทต่อลิตร หรือ 19 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลส่วนต่างนี้คือค่าการกลั่นครับ
อนึ่ง แต่จากบทความของ Dr. Robert Wisner, University Professor Emeritus Iowa State University and Biofuels Economist พบว่า น้ำมันดิบ 159 ลิตรเมื่อกลั่นแล้วจะได้ 170 ลิตร เรียกว่ามีของแถมฟรีอีกต่างหาก
ข้อที่สี่ น้ำมันดีเซลให้พลังงานมากกว่าน้ำมันเบนซินแต่ทำไมมีราคาต่ำกว่า
เรื่องนี้ทราบกันดีว่า รัฐบาลพยายามช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้ใช้น้ำมันราคาถูกจึงควบคุมราคาน้ำมันดีเซลส่งผลให้คนหันไปใช้รถยนต์ดีเซลกันมากขึ้น รถเก๋งยี่ห้อแพงๆ ก็หันมาใช้ดีเซลกันแล้ว
ข่าวจากเพื่อนคนหนึ่งบอกว่าอีกสองปีจะมีรถเก๋งแบบประหยัด (อีโคคาร์) ซึ่งใช้น้ำมันดีเซลออกมาสู่ตลาดประเทศไทย คราวนี้แหละผู้ใช้น้ำมันเบนซินต้องจ่ายค่าน้ำมัน (ในรูปเงินเข้ากองทุนน้ำมัน) ให้กับผู้ใช้ดีเซล (ซึ่งไม่ใช่เกษตรกร) กันหน้ามืดแหละ
ตารางข้างล่างเป็นการสรุปของผมเองครับ ในปี 2545 ราคาขายปลีกน้ำมันสองชนิดสูงกว่ากันเพียงเล็กน้อย (9%) แต่ในปี 2557 น้ำมันเบนซินสูงกว่าดีเซลถึง 27%
ข้อที่ห้า ทำไมราคาเอทานอลซึ่งเป็นส่วนประกอบของน้ำมัน อี10 อี20 อี85 จึงแพงกว่าราคาในสหรัฐอเมริกาและบราซิลมาก
ข้อมูลข้างต้นนี้มาจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าในขณะที่ราคาเอทานอลในประเทศสหรัฐอเมริกาและบราซิลของเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ลิตรละประมาณ 15 บาท แต่ราคาในประเทศไทยสูงถึง 27 บาท (ประมาณจากราฟ ราคาอ้างอิงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ เท่ากับ 26.81 บาท) ส่งผลให้ต้องนำเงินกองทุนมาชดเชยถึง 11.6 บาท และค่าการตลาด 6.34 บาทต่อลิตร (อี 85 จำหน่ายวันละ 8 แสนลิตร ชดเชยวันละ 10 ล้านบาท ค่าการตลาดก็สูงมาก)
ถามว่าเงินชดเชยนี้ไปเข้ากระเป๋าใคร เพราะเกษตรกรก็อยู่ในสภาพย่ำแย่
ผมเห็นด้วยกับคำพูดของประธาน คสช.ว่า ก่อนจะตัดสินใจอะไรเกี่ยวกับราคาน้ำมันต้องรู้โครงสร้างราคาน้ำมันก่อน และพูดทำนองว่าในสัปดาห์หน้าจะตัดสินใจ
ผมเห็นว่า คำถามเหล่านี้ คสช.ต้องตอบให้ได้ครับ ของอยู่บนผิวดินแท้ๆ หมดแล้วก็ปลูกใหม่ได้ ทำไมจึงมีราคาแพงกว่าของที่ลึกลงไปใต้ดินหลายพันเมตร แถมหมดแล้วหมดเลย
สมัยพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ผมเคยถูกเพื่อน (นายกสมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) โทร.มาปลุกตั้งแต่ยังไม่สว่าง เพื่อให้ผมไปปลุกรองอธิการบดี (รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์) เพื่อไปให้ไปตอบคำถามของท่านนายกฯ ว่า “ทำไมค่าแรงงานในมาเลเซียสูงกว่าบ้านเรา แต่ราคาน้ำมันปาล์มจึงถูกกว่าในบ้านเรา”
แต่จนป่านนี้สถานการณ์จริงเป็นอย่างไรครับ?
อย่าให้เหลวนะครับ คสช.