คลังดึง "บสย.-แบงก์พาณิชย์" อัดฉีดผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อบรรเทาผลกระทบช่วงเศรษบกิจชะลอตัว คาดช่วยเหลือได้ไม่ต่ำกว่า 52,000 ราย วงเงินสินเชื่อในระบบ 280,000 ล้านบาท
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีที่ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก กระทรวงการคลังจึงหารือกับธนาคารพาณิชย์และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีและค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีเพิ่ม
นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้แก่เอสเอ็มอี โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อในโครงการ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) 5 ซึ่งปัจจุบันยังมีวงเงินค้ำประกันรองรับได้ถึง 165,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ไม่ต่ำกว่า 52,000 ราย และเกิดสินเชื่อในระบบประมาณ 280,000 ล้านบาท
คาดว่า บสย. จะออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบขณะนี้ โดยการยืดระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าเดิมของ บสย. ที่จะถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 ธันวาคม 2557 จำนวน 50,067 ราย คิดเป็นภาระค้ำประกันประมาณ 160,000 ล้านบาท คาดว่าจะทำให้ลูกค้ามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว 2,800 ล้านบาท และคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการ บสย. วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 และมีผลใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย บสย. กำลังหาแนวทางค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 50 ของวงเงินสินเชื่อ โดยเตรียมดึงสถาบันค้ำประกันสินเชื่อจากต่างชาติมาร่วมค้ำประกันกับ บสย. เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ปัจจุบัน บสย. ค้ำประกันสินเชื่อ 40 ล้านบาทต่อราย คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ 1.75 โดยกระทรวงการคลังพร้อมเจรจาให้คิดค่าธรรมเนียมอัตราผ่อนปรน โดย บสย. ยังมีวงเงินค้ำประกันที่เหลือ 165,000 ล้านบาท
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากดึงสถาบันค้ำประกันสินเชื่อต่างชาติมาช่วยค้ำประกันจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเอสเอ็มอีมีปัญหาได้รับผลกระทบจากยอดขายลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หากได้เงินทุนช่วยเหลือจะทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม
ปัจจุบันแม้เอ็นพีแอลของระบบจะอยู่ที่ร้อยละ 2 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ หากมีผู้ค้ำประกันน่าจะทำให้มีสินชื่อออกสู่ระบบ 150,000 ล้านบาท ส่วนกรณีประกาศกฎอัยการศึก มองว่าที่ผ่านมาการชุมนุมของกลุ่มการเมืองมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง กฎอัยการศึกจึงสามารถควบคุมปัญหาความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น จึงน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม.
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว โดยเฉพาะปัญหาการเมืองส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีที่ทำให้ยอดขายลดลงอย่างมาก กระทรวงการคลังจึงหารือกับธนาคารพาณิชย์และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ร่วมกันปล่อยสินเชื่อให้เอสเอ็มอีและค้ำประกันสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีเพิ่ม
นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กล่าวว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพคล่องให้แก่เอสเอ็มอี โดย บสย. ค้ำประกันสินเชื่อในโครงการ Portfolio Guarantee Scheme (PGS) 5 ซึ่งปัจจุบันยังมีวงเงินค้ำประกันรองรับได้ถึง 165,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเหลือเอสเอ็มอีได้ไม่ต่ำกว่า 52,000 ราย และเกิดสินเชื่อในระบบประมาณ 280,000 ล้านบาท
คาดว่า บสย. จะออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบขณะนี้ โดยการยืดระยะเวลาการชำระค่าธรรมเนียมออกไปอีก 6 เดือน ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะช่วยเสริมสภาพคล่องให้กับลูกค้าเดิมของ บสย. ที่จะถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน-31 ธันวาคม 2557 จำนวน 50,067 ราย คิดเป็นภาระค้ำประกันประมาณ 160,000 ล้านบาท คาดว่าจะทำให้ลูกค้ามีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว 2,800 ล้านบาท และคาดว่าจะนำเสนอคณะกรรมการ บสย. วันที่ 27 พฤษภาคม 2557 และมีผลใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2557
นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง สมาคมธนาคารไทย บสย. กำลังหาแนวทางค้ำประกันสินเชื่อเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 50 ของวงเงินสินเชื่อ โดยเตรียมดึงสถาบันค้ำประกันสินเชื่อจากต่างชาติมาร่วมค้ำประกันกับ บสย. เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ปัจจุบัน บสย. ค้ำประกันสินเชื่อ 40 ล้านบาทต่อราย คิดค่าธรรมเนียมค้ำประกันร้อยละ 1.75 โดยกระทรวงการคลังพร้อมเจรจาให้คิดค่าธรรมเนียมอัตราผ่อนปรน โดย บสย. ยังมีวงเงินค้ำประกันที่เหลือ 165,000 ล้านบาท
ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า หากดึงสถาบันค้ำประกันสินเชื่อต่างชาติมาช่วยค้ำประกันจะทำให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพิ่มขึ้น เนื่องจากปัจจุบันเอสเอ็มอีมีปัญหาได้รับผลกระทบจากยอดขายลดลงจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว หากได้เงินทุนช่วยเหลือจะทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่ม
ปัจจุบันแม้เอ็นพีแอลของระบบจะอยู่ที่ร้อยละ 2 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ธนาคารพาณิชย์จึงต้องระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ หากมีผู้ค้ำประกันน่าจะทำให้มีสินชื่อออกสู่ระบบ 150,000 ล้านบาท ส่วนกรณีประกาศกฎอัยการศึก มองว่าที่ผ่านมาการชุมนุมของกลุ่มการเมืองมีแนวโน้มจะเกิดความรุนแรง กฎอัยการศึกจึงสามารถควบคุมปัญหาความรุนแรงไม่ให้เกิดขึ้น จึงน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม.