**ในความเป็นจริงก็เชื่อว่า สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. และแกนนำทั้งหลายที่เป็นทีมนักคิด-นักวางยุทธศาสตร์ ซึ่งไปช่วยงานกปปส.คงคาดไว้อยู่แล้วว่า
ข้อเสนอที่ขอให้ “ประมุข 3 ศาล”ในเวลานี้คือ ประธานศาลฎีกา-ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ไปร่วมหารือกับ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา และ ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศและดำเนินการให้มีนายกฯ คนใหม่
เป็นข้อเสนอที่ยากในทางปฏิบัติ และคงถูกปัดทิ้งภายในเวลาอันรวดเร็ว
อย่าว่าแต่ตะโกนขอกันอย่างที่ กำนันสุเทพ แถลงการณ์ออกมาเลย ลำพังแค่จะขอให้ดำเนินการในทางแบบ “ไม่เปิดเผย” ก็เป็นไปได้ยากอยู่แล้ว เพราะทั้งประธานศาลฎีกา-ศาลรธน.-ศาลปกครองสูงสุด คงไม่เอาชื่อเสียงของตัวเอง และเอาองค์กรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ยิ่งยุคสมัยนี้เป็นยุค “ความลับทางการเมืองไม่มีในโลก” ใครไปไหน ไปพบกับใคร ไปนั่งกินข้าวกับใคร ต่อให้ปิดเป็นความลับยังไง สุดท้ายวันข้างหน้าความลับก็แตก ก็ดูอย่างปี 49 ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ขนาดว่ามีคนของศาลฎีกาสมัยนั้น ที่ตอนนี้ก็มีบทบาทอยู่ในสังคมการเมือง คือ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา และ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ อดีตเลขานุการศาลฎีกา ไปนั่งกินข้าว กับบุคคลสำคัญอย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ที่บ้านของ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา แถวสุขุมวิท
**สุดท้าย ความลับก็แตก
กลายเป็นเรื่องที่ฝ่ายทักษิณ ชินวัตร และเสื้อแดง พูดอยู่ตลอดจนถึงทุกวันนี้ว่า เบื้องหลังขบวนการโค่นล้มทักษิณ มีบุคคลสำคัญของประเทศ ระดับผู้นำศาลฎีกา-องคมนตรี ไปนั่งประชุมวางแผนทำรัฐประหารกันโดยใช้ องค์กรตุลาการ เป็นหนึ่งในเครื่องมือโค่นล้ม
ทั้งที่ก็ไม่มีใครรู้กันว่า ความจริงเนื้อหา-สิ่งที่สนทนากันบนโต๊ะอาหารวันดังกล่าว จริงๆ อาจไม่ได้มีเรื่องการเมือง หรือเรื่องทักษิณอะไรเลยก็ได้
ที่สำคัญยุคสมัยปัจจุบัน การถ่ายคลิป-อัดเสียงการสนทนา ทำได้ง่ายดาย เป็นพยานหลักฐานมัดชนิดปฏิเสธไม่ได้ ช่วงนี้ ใครจะขยับอะไรก็ต้องระวันตัวกันสุดฤทธิ์ แถมสถานการณ์การเมืองแหลมคม สู้กับแบบแตกหัก ผู้นำองค์กรต่างๆ –บุคคลสำคัญของบ้านเมือง ก็คงไม่มีใครคิดอยากจะเอาตัวเองและองค์กร มาข้องแวะด้วย
ต้องไม่ลืมว่า สถานการณ์เวลานี้แตกต่างจากเมื่อปี 49 มาก “ตุลาการภิวัฒน์”มันใช้ไม่ได้อีกแล้วในยุคสมัยนี้ และฝ่ายศาลก็เห็นแล้วว่า การเอาองค์กรตุลาการ ไปยุ่งเกี่ยว และร่วมแก้ปัญหาการเมือง ทุกอย่างมันไม่จบเมื่อปัญหาคลี่คลาย แต่กลับทำให้องค์กรตุลาการถูกลางโยงเข้าไปอยู่ในวังวนความขัดแย้งการเมืองไปตลอด จนส่งผลต่อการยอมรับนับถือของสังคมมากพอสมควร
**เลยทำให้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวของสุเทพ และกปปส. ผ่านเลยมาสู่วันที่ 5 หลังจากเสนอข้อเรียกร้องดังกล่าวไปแล้ว ท่าทีจากฝ่าย 3 ศาล ยังไร้เสียงขานรับใดๆออกมา
แถมบางองค์กรอย่าง “ศาลยุติธรรม”ที่ต้องยอมรับว่า มีความเป็นกลาง-น่าเชื่อถือ-ปลอดการเมืองมากที่สุดกว่า ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นเสาหลักของประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ที่แยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ และตุลาการ มาตลอดก็มีทีท่าจากผู้บริหารสำนักงานศาลยุติธรรม ออกมาบอกให้รู้กันแล้วว่า ยากที่ศาลยุติธรรมจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองแบบนี้ได้
แม้ “ดิเรก อิงคนินันท์ –ประธานศาลฎีกา”จะยังนิ่งเงียบ และคงเงียบไปตลอด เพราะปกติเป็นคนไม่เปิดตัวกับสื่ออยู่แล้ว แต่ก็มีการแสดงความเห็นออกมาจากคนที่ถือว่าเกี่ยวข้องโดยตรง คือ ภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่บอกว่า ข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่ให้ประมุขศาลฎีการ่วมเสนอชื่อนายกฯ คนกลางนั้น "โดยอำนาจหน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกับศาล"
ลำพัง ศาลรธน.-ศาลปกครองสูงสุด ก็ยากที่จะขยับในเรื่องนี้อยู่แล้ว ยิ่งหากศาลฎีกา ที่ถือเป็นเสาหลักขององค์กรที่ใช้อำนาจผ่านศาล ไม่ขยับ ไม่เอาด้วย ก็บอกได้เลยว่า ข้อเสนอของ กปปส.ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง เพราะศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลปกครองสูงสุด ก็ยิ่งไม่เอาด้วยแน่นอน
ต่อให้ สุรชัย พยายามจะออกตัวว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมกันคิดหาทางออกให้ประเทศพ้นวิกฤตการเมือง แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า สถานะของ สุรชัย แตกต่างจากประธานศาลฎีกา-ศาลปกครองสูงสุด - ศาลรธน.มาก เพราะสุรชัย ที่ผ่านมาแล้วทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ-สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังรัฐประหารปี 49 และการเป็นส.ว.สรรหา 2 สมัย ตัว สุรชัย ทุกวันนี้ ก็คือ“นักการเมือง” สุรชัย ไม่ใช้ผู้นำองค์กรศาล–องค์กรอิสระ
อีกทั้ง ว่ากันตามจริง ตัวสุรชัย เองภาพก็ถูกอิงว่า อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเพื่อไทยมาตลอด ตั้งแต่ยังเป็น ส.ว.สรรหา ธรรมดา ยังไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นในสภาสูงแบบทุกวันนี้ การจะให้ สุรชัย เป็นคนกลางในการไปคุยกับ ประมุข 3 ศาล รวมถึงประธาน กกต.เอง เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และไปถึงขั้นเสนอชื่อนายกฯ โดยใช้มาตรา 3 หรือ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ
การขับเคลื่อนของสุรชัย แม้จะเป็น ว่าที่ประธานวุฒิสภา แต่ก็ยังไม่มีบารมีพอที่จะทำให้ ประมุข 3 ศาล ต้องเปิดประตูต้อนรับอย่างเป็นทางการ เพราะนอกจากภาพความเป็นนักการเมืองในสภาสูงของสุรชัยแล้ว ในแง่มุมข้อกฎหมาย ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่า สุรชัย จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ได้หรือไม่
หลังฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย แสดงทีท่าจะซื้อเวลา ไม่ยอมนำชื่อ สุรชัย ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยอ้างว่า มติเลือกประธานวุฒิสภา เมื่อ 9 พ.ค.เป็นการฝ่าฝืน และทำเกินรธน. มาตรา 132 และพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญ จึงอาจส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ผนวกกับก็ยังมีปัญหาในเรื่องสถานภาพของ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกฯ อยู่ว่า จะสามารถทูลเกล้าฯ ชื่อ สุรชัย ได้หรือไม่
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าปมสถานภาพของ นิวัฒน์ธำรง ในการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ รัฐบาลเพื่อไทยคงไม่คิดขยายความมากนัก เพราะไม่เช่นนั้น การทูลเกล้าฯ ร่าง พ.ร.ฏ.การเลือกตั้งฯ ของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ ก็จะกระทบไปด้วย เพราะทูลเกล้าฯ ไม่ได้ รัฐบาลเพื่อไทยจึงจะเน้นไปที่เรื่อง มติโหวตเลือกประธานวุฒิสภา มีปัญหามากกว่า
ปมสถานภาพของสุรชัย ในฐานะว่าที่ประธานวุฒิสภา ก็เลยอาจยิ่งทำให้ ประมุข 3 ศาล ยากที่จะเปิดโอกาสพูดคุยกับสุรชัย ในเรื่องร้อนๆ แบบนี้ได้ แม้สุรชัย จะยังคงเป็นรองประธานวุฒิสภาอยู่ ยังถือเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติคนเดียวที่เหลืออยู่ เพราะยังไม่ได้ลาออกจากรองประธานวุฒิสภา ก็ตาม
แม้ยังไม่รู้ว่าความคิดเห็นของ ส.ว.ที่ไปร่วมหารือกันเมื่อวันจันทร์ ที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา ในการนัดหารือนอกรอบ ส.ว.ทั้งหมด ต่อสถานการณ์การเมืองในเวลานี้จะออกมาอย่างไร แต่หากพิจารณาจากแค่ที่ กปปส.เรียกร้องให้ สุรชัยไปคุยกับ ประมุข 3 ศาล และประธานกกต. เพื่อหารือเรื่องนายกฯคนกลาง เป็นข้อเสนอที่กปปส. คิดได้ เสนอได้ แต่ในทางปฏิบัติ การไปพูดคุยดังกล่าวในรูปแบบ“เป็นทางการ”ยากจะเกิดขึ้นได้
**หรือหากจะให้พบ ก็ต้องมีคำมั่นสัญญาว่า ทุกอย่างต้องเป็นความลับ และไร้ข้อผูกมัดและการอ้างอิงถึง ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น
ข้อเสนอที่ขอให้ “ประมุข 3 ศาล”ในเวลานี้คือ ประธานศาลฎีกา-ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และ หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด ไปร่วมหารือกับ สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา และ ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. เพื่อร่วมกันหาทางออกให้กับประเทศและดำเนินการให้มีนายกฯ คนใหม่
เป็นข้อเสนอที่ยากในทางปฏิบัติ และคงถูกปัดทิ้งภายในเวลาอันรวดเร็ว
อย่าว่าแต่ตะโกนขอกันอย่างที่ กำนันสุเทพ แถลงการณ์ออกมาเลย ลำพังแค่จะขอให้ดำเนินการในทางแบบ “ไม่เปิดเผย” ก็เป็นไปได้ยากอยู่แล้ว เพราะทั้งประธานศาลฎีกา-ศาลรธน.-ศาลปกครองสูงสุด คงไม่เอาชื่อเสียงของตัวเอง และเอาองค์กรมายุ่งเกี่ยวกับการเมือง
ยิ่งยุคสมัยนี้เป็นยุค “ความลับทางการเมืองไม่มีในโลก” ใครไปไหน ไปพบกับใคร ไปนั่งกินข้าวกับใคร ต่อให้ปิดเป็นความลับยังไง สุดท้ายวันข้างหน้าความลับก็แตก ก็ดูอย่างปี 49 ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย. 49 ขนาดว่ามีคนของศาลฎีกาสมัยนั้น ที่ตอนนี้ก็มีบทบาทอยู่ในสังคมการเมือง คือ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ องคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา และ จรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และ อดีตเลขานุการศาลฎีกา ไปนั่งกินข้าว กับบุคคลสำคัญอย่าง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี ที่บ้านของ ปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา แถวสุขุมวิท
**สุดท้าย ความลับก็แตก
กลายเป็นเรื่องที่ฝ่ายทักษิณ ชินวัตร และเสื้อแดง พูดอยู่ตลอดจนถึงทุกวันนี้ว่า เบื้องหลังขบวนการโค่นล้มทักษิณ มีบุคคลสำคัญของประเทศ ระดับผู้นำศาลฎีกา-องคมนตรี ไปนั่งประชุมวางแผนทำรัฐประหารกันโดยใช้ องค์กรตุลาการ เป็นหนึ่งในเครื่องมือโค่นล้ม
ทั้งที่ก็ไม่มีใครรู้กันว่า ความจริงเนื้อหา-สิ่งที่สนทนากันบนโต๊ะอาหารวันดังกล่าว จริงๆ อาจไม่ได้มีเรื่องการเมือง หรือเรื่องทักษิณอะไรเลยก็ได้
ที่สำคัญยุคสมัยปัจจุบัน การถ่ายคลิป-อัดเสียงการสนทนา ทำได้ง่ายดาย เป็นพยานหลักฐานมัดชนิดปฏิเสธไม่ได้ ช่วงนี้ ใครจะขยับอะไรก็ต้องระวันตัวกันสุดฤทธิ์ แถมสถานการณ์การเมืองแหลมคม สู้กับแบบแตกหัก ผู้นำองค์กรต่างๆ –บุคคลสำคัญของบ้านเมือง ก็คงไม่มีใครคิดอยากจะเอาตัวเองและองค์กร มาข้องแวะด้วย
ต้องไม่ลืมว่า สถานการณ์เวลานี้แตกต่างจากเมื่อปี 49 มาก “ตุลาการภิวัฒน์”มันใช้ไม่ได้อีกแล้วในยุคสมัยนี้ และฝ่ายศาลก็เห็นแล้วว่า การเอาองค์กรตุลาการ ไปยุ่งเกี่ยว และร่วมแก้ปัญหาการเมือง ทุกอย่างมันไม่จบเมื่อปัญหาคลี่คลาย แต่กลับทำให้องค์กรตุลาการถูกลางโยงเข้าไปอยู่ในวังวนความขัดแย้งการเมืองไปตลอด จนส่งผลต่อการยอมรับนับถือของสังคมมากพอสมควร
**เลยทำให้ ข้อเรียกร้องดังกล่าวของสุเทพ และกปปส. ผ่านเลยมาสู่วันที่ 5 หลังจากเสนอข้อเรียกร้องดังกล่าวไปแล้ว ท่าทีจากฝ่าย 3 ศาล ยังไร้เสียงขานรับใดๆออกมา
แถมบางองค์กรอย่าง “ศาลยุติธรรม”ที่ต้องยอมรับว่า มีความเป็นกลาง-น่าเชื่อถือ-ปลอดการเมืองมากที่สุดกว่า ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นเสาหลักของประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ที่แยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ และตุลาการ มาตลอดก็มีทีท่าจากผู้บริหารสำนักงานศาลยุติธรรม ออกมาบอกให้รู้กันแล้วว่า ยากที่ศาลยุติธรรมจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมืองแบบนี้ได้
แม้ “ดิเรก อิงคนินันท์ –ประธานศาลฎีกา”จะยังนิ่งเงียบ และคงเงียบไปตลอด เพราะปกติเป็นคนไม่เปิดตัวกับสื่ออยู่แล้ว แต่ก็มีการแสดงความเห็นออกมาจากคนที่ถือว่าเกี่ยวข้องโดยตรง คือ ภัทรศักดิ์ วรรณแสง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม ที่บอกว่า ข้อเรียกร้องของ กปปส. ที่ให้ประมุขศาลฎีการ่วมเสนอชื่อนายกฯ คนกลางนั้น "โดยอำนาจหน้าที่ ไม่เกี่ยวข้องกับศาล"
ลำพัง ศาลรธน.-ศาลปกครองสูงสุด ก็ยากที่จะขยับในเรื่องนี้อยู่แล้ว ยิ่งหากศาลฎีกา ที่ถือเป็นเสาหลักขององค์กรที่ใช้อำนาจผ่านศาล ไม่ขยับ ไม่เอาด้วย ก็บอกได้เลยว่า ข้อเสนอของ กปปส.ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริง เพราะศาลรัฐธรรมนูญ-ศาลปกครองสูงสุด ก็ยิ่งไม่เอาด้วยแน่นอน
ต่อให้ สุรชัย พยายามจะออกตัวว่า ทุกฝ่ายต้องร่วมกันคิดหาทางออกให้ประเทศพ้นวิกฤตการเมือง แต่ก็ต้องยอมรับเช่นกันว่า สถานะของ สุรชัย แตกต่างจากประธานศาลฎีกา-ศาลปกครองสูงสุด - ศาลรธน.มาก เพราะสุรชัย ที่ผ่านมาแล้วทั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ-สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลังรัฐประหารปี 49 และการเป็นส.ว.สรรหา 2 สมัย ตัว สุรชัย ทุกวันนี้ ก็คือ“นักการเมือง” สุรชัย ไม่ใช้ผู้นำองค์กรศาล–องค์กรอิสระ
อีกทั้ง ว่ากันตามจริง ตัวสุรชัย เองภาพก็ถูกอิงว่า อยู่ฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลเพื่อไทยมาตลอด ตั้งแต่ยังเป็น ส.ว.สรรหา ธรรมดา ยังไม่ได้มีบทบาทโดดเด่นในสภาสูงแบบทุกวันนี้ การจะให้ สุรชัย เป็นคนกลางในการไปคุยกับ ประมุข 3 ศาล รวมถึงประธาน กกต.เอง เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ และไปถึงขั้นเสนอชื่อนายกฯ โดยใช้มาตรา 3 หรือ มาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญ
การขับเคลื่อนของสุรชัย แม้จะเป็น ว่าที่ประธานวุฒิสภา แต่ก็ยังไม่มีบารมีพอที่จะทำให้ ประมุข 3 ศาล ต้องเปิดประตูต้อนรับอย่างเป็นทางการ เพราะนอกจากภาพความเป็นนักการเมืองในสภาสูงของสุรชัยแล้ว ในแง่มุมข้อกฎหมาย ก็ยังมีปัญหาอยู่ว่า สุรชัย จะเข้าดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา ได้หรือไม่
หลังฝ่ายรัฐบาลเพื่อไทย แสดงทีท่าจะซื้อเวลา ไม่ยอมนำชื่อ สุรชัย ขึ้นทูลเกล้าฯ โดยอ้างว่า มติเลือกประธานวุฒิสภา เมื่อ 9 พ.ค.เป็นการฝ่าฝืน และทำเกินรธน. มาตรา 132 และพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมวุฒิสภา สมัยวิสามัญ จึงอาจส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกา และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ผนวกกับก็ยังมีปัญหาในเรื่องสถานภาพของ นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาการนายกฯ อยู่ว่า จะสามารถทูลเกล้าฯ ชื่อ สุรชัย ได้หรือไม่
อย่างไรก็ดี เชื่อว่าปมสถานภาพของ นิวัฒน์ธำรง ในการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ รัฐบาลเพื่อไทยคงไม่คิดขยายความมากนัก เพราะไม่เช่นนั้น การทูลเกล้าฯ ร่าง พ.ร.ฏ.การเลือกตั้งฯ ของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการให้มีการเลือกตั้งเร็วๆ ก็จะกระทบไปด้วย เพราะทูลเกล้าฯ ไม่ได้ รัฐบาลเพื่อไทยจึงจะเน้นไปที่เรื่อง มติโหวตเลือกประธานวุฒิสภา มีปัญหามากกว่า
ปมสถานภาพของสุรชัย ในฐานะว่าที่ประธานวุฒิสภา ก็เลยอาจยิ่งทำให้ ประมุข 3 ศาล ยากที่จะเปิดโอกาสพูดคุยกับสุรชัย ในเรื่องร้อนๆ แบบนี้ได้ แม้สุรชัย จะยังคงเป็นรองประธานวุฒิสภาอยู่ ยังถือเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติคนเดียวที่เหลืออยู่ เพราะยังไม่ได้ลาออกจากรองประธานวุฒิสภา ก็ตาม
แม้ยังไม่รู้ว่าความคิดเห็นของ ส.ว.ที่ไปร่วมหารือกันเมื่อวันจันทร์ ที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา ในการนัดหารือนอกรอบ ส.ว.ทั้งหมด ต่อสถานการณ์การเมืองในเวลานี้จะออกมาอย่างไร แต่หากพิจารณาจากแค่ที่ กปปส.เรียกร้องให้ สุรชัยไปคุยกับ ประมุข 3 ศาล และประธานกกต. เพื่อหารือเรื่องนายกฯคนกลาง เป็นข้อเสนอที่กปปส. คิดได้ เสนอได้ แต่ในทางปฏิบัติ การไปพูดคุยดังกล่าวในรูปแบบ“เป็นทางการ”ยากจะเกิดขึ้นได้
**หรือหากจะให้พบ ก็ต้องมีคำมั่นสัญญาว่า ทุกอย่างต้องเป็นความลับ และไร้ข้อผูกมัดและการอ้างอิงถึง ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น