หน.ทีมกฎหมาย ปชป. ชี้อำนาจทูลเกล้าฯ ประธานวุฒิสภา คือเลขาธิการวุฒิสภา ชี้รัฐบาลสิ้นสภาพมาตั้งแต่ ยิ่งลักษณ์ พ้นนายกฯ นิวัฒน์ธำรง ไม่มีอำนาจกราบบังคมทูล เหลืออำนาจนิติบัญญัติกับตุลาการเท่านั้น แนะควรหารือกันเสนอชื่อนายกฯ คนกลางเดินหน้าปฏิรูปประเทศ
วันนี้ (12 พ.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าตำแหน่งประธานวุฒิสภา และนายกรัฐมนตรีคนกลางว่า ทีมกฎหมายของพรรคเห็นว่าผู้ที่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ ชื่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นประธานวุฒิสภา คือ เลขาธิการวุฒิสภา ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 บัญญัติไว้ชัดว่า พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้นเมื่อขาดนายกรัฐมนตรี เท่ากับว่า ไม่สามารถเป็น ครม. ได้ คือไม่มีอำนาจกราบบังคมทูล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล จึงเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่รักษาการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ เพราะวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดไป ความเป็น ครม. ก็ต้องหมดไปตั้งแต่นาทีนั้น นายนิวัฒน์ธำรงมีหน้าที่แค่ทำงานประจำเท่านั้น
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า หน้าที่กราบบังคมทูลเป็นไปตามอำนาจ 3 อย่าง คือ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ซึ่งขณะนี้ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจแล้ว จึงเหลือเพียง 2 อำนาจ แต่ถ้าจะให้ฝ่ายนิติบัญญัติ คือนายสุรชัย ที่ขณะนี้เป็นรองประธานวุฒิสภา นำชื่อตัวเองขึ้นกราบบังคมทูลเป็นประธานวุฒิสภา คงจะไม่บังควร จึงถือเป็นอำนาจของเลขาธิการวุฒิสภา ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7
ส่วนผู้ที่มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกฯ คนกลาง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า เมื่อ ครม. ไม่มีอำนาจตามมาตรา 171 แล้ว จะเหลือ 2 องค์กร คือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ จึงสมควรที่ประธานศาลฎีกาและประธานวุฒิสภา คือนายสุรชัย จะร่วมหารือกัน หากประธานศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง นายสุรชัยก็ควรเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ประธานศาลปกครองสูงสุด ร่วมกันหารือเพื่อเสนอชื่อนายกฯ คนกลาง เมื่อได้ชื่อนายกฯ แล้วผู้ที่จะมีอำนาจทูลเกล้าฯ คือ นายสุรชัย ในฐานะประธานวุฒิสภา เพื่อให้นายกฯ คนกลางเดินหน้าปฏิรูปประเทศ แม้ว่าคนเสื้อแดงจะข่มขู่ว่าจะคัดค้านการดำเนินการตามมาตรา 7 แต่ดูจากกำลังของคนเสื้อแดงแล้ว เชื่อว่าไม่มีกำลังมาทำลายการขับเคลื่อนของมวลมหาประชาชนได้
วันนี้ (12 พ.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงผู้มีอำนาจในการทูลเกล้าตำแหน่งประธานวุฒิสภา และนายกรัฐมนตรีคนกลางว่า ทีมกฎหมายของพรรคเห็นว่าผู้ที่มีอำนาจในการทูลเกล้าฯ ชื่อนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นประธานวุฒิสภา คือ เลขาธิการวุฒิสภา ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บริหารสูงสุดฝ่ายนิติบัญญัติอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 บัญญัติไว้ชัดว่า พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ขึ้นเป็นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังนั้นเมื่อขาดนายกรัฐมนตรี เท่ากับว่า ไม่สามารถเป็น ครม. ได้ คือไม่มีอำนาจกราบบังคมทูล นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล จึงเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ไม่ใช่รักษาการหรือปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ เพราะวันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หมดไป ความเป็น ครม. ก็ต้องหมดไปตั้งแต่นาทีนั้น นายนิวัฒน์ธำรงมีหน้าที่แค่ทำงานประจำเท่านั้น
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า หน้าที่กราบบังคมทูลเป็นไปตามอำนาจ 3 อย่าง คือ ฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ซึ่งขณะนี้ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจแล้ว จึงเหลือเพียง 2 อำนาจ แต่ถ้าจะให้ฝ่ายนิติบัญญัติ คือนายสุรชัย ที่ขณะนี้เป็นรองประธานวุฒิสภา นำชื่อตัวเองขึ้นกราบบังคมทูลเป็นประธานวุฒิสภา คงจะไม่บังควร จึงถือเป็นอำนาจของเลขาธิการวุฒิสภา ผู้ที่ทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 7
ส่วนผู้ที่มีอำนาจในการเสนอชื่อนายกฯ คนกลาง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ เห็นว่า เมื่อ ครม. ไม่มีอำนาจตามมาตรา 171 แล้ว จะเหลือ 2 องค์กร คือฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการ จึงสมควรที่ประธานศาลฎีกาและประธานวุฒิสภา คือนายสุรชัย จะร่วมหารือกัน หากประธานศาลฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง นายสุรชัยก็ควรเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ประธานศาลปกครองสูงสุด ร่วมกันหารือเพื่อเสนอชื่อนายกฯ คนกลาง เมื่อได้ชื่อนายกฯ แล้วผู้ที่จะมีอำนาจทูลเกล้าฯ คือ นายสุรชัย ในฐานะประธานวุฒิสภา เพื่อให้นายกฯ คนกลางเดินหน้าปฏิรูปประเทศ แม้ว่าคนเสื้อแดงจะข่มขู่ว่าจะคัดค้านการดำเนินการตามมาตรา 7 แต่ดูจากกำลังของคนเสื้อแดงแล้ว เชื่อว่าไม่มีกำลังมาทำลายการขับเคลื่อนของมวลมหาประชาชนได้